วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP
<p><strong><img src="https://so08.tci-thaijo.org/public/site/images/journal.ssr@mcu.ac.th/-1-copy-1.png" alt="" width="30" height="40" /><br />วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์</strong></p> <p> ISSN 2822-065X (Print)</p> <p> ISSN 2822-0676 (Online)</p> <p><strong><img src="https://so08.tci-thaijo.org/public/site/images/journal.ssr@mcu.ac.th/-1-copy-1.png" alt="" width="30" height="40" /><br />กำหนดออก</strong> : 3 ฉบับต่อปี</p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน </p> <p> ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม</p> <p> ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม</p> <p><strong><img src="https://so08.tci-thaijo.org/public/site/images/journal.ssr@mcu.ac.th/-1-copy-1.png" alt="" width="30" height="40" /><br />นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ :</strong><strong> </strong></p> <p> วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน</p> <p> </p> <p><strong><img src="https://so08.tci-thaijo.org/public/site/images/journal.ssr@mcu.ac.th/-1-copy-1.png" alt="" width="30" height="40" /><br />ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร:</strong></p> <p> 1) บทความวิชาการ (Academic Article)</p> <p> 2) บทความวิจัย (Research Article)</p> <p> 3) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)</p> <p> </p> <p><strong><img src="https://so08.tci-thaijo.org/public/site/images/journal.ssr@mcu.ac.th/-1-copy-1.png" alt="" width="30" height="40" /><br />การพิจารณาและคัดเลือกบทความ:</strong></p> <p> บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Reviewer) จำนวน 3 คน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double – Blind Peer Review)</p> <p><strong><img src="https://so08.tci-thaijo.org/public/site/images/journal.ssr@mcu.ac.th/-1-copy-1.png" alt="" width="30" height="40" /><br />เจ้าของวารสาร:</strong></p> <p>สมาคมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสตร์</p>
Academic Association on the Political Science and Public Administration
th-TH
วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
2822-065X
-
รายงานดัชนีการรับรู้การทุจริต พ.ศ. 2567 กับการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันของไทย
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4482
<p>บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์นำเสนอเกี่ยวกับสถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชันในวงราชการไทยในปัจจุบัน โดยพิจารณาจากค่าดัชนีการรับรู้การทุจริต ที่ประเมินโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ซึ่งผลจากการประเมินล่าสุดของปี 2567 ประเทศไทยได้ 34 คะแนน เป็นคะแนนประเมินที่ต่ำที่สุดในรอบสิบกว่าปี คะแนนของประเทศไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มีการเพิ่มอำนาจให้กับองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ภาคประชาชนก็มีการรวมตัวกันเป็นสมาคม เป็นองค์กรต่าง ๆ ทำการรณรงค์เพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน มีการประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ชาติ มีการทำแผนปรับปรุงระบบราชการให้ปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส และเปิดเผย ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล แต่ผลการประเมินก็ไม่ดีขึ้น ผู้เขียนได้แยกแยะให้เห็นว่าในการปรับปรุงค่าดัชนีการรับรู้การทุจริต ได้มีการดำเนินมาตรการในสามแนวทางใหญ่ ๆ คือ แนวทางที่ 1 การใช้กฎหมายบังคับโดยภาครัฐ มีการตั้งองค์กรอิสระเพื่อตรวจสอบและปรับปรุงกฎหมายที่ให้อำนาจหน่วยงานเพิ่มขึ้นในการตรวจสอบและลงโทษการทุจริต แนวทางที่ 2 ในภาคเอกชนมีการตั้งภาคีเครือข่ายเพื่อตรวจสอบและรณรงค์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ใช้สื่อออนไลน์ในการเผยแพร่ข่าวสารการทุจริตที่ประชาชนพบเห็น มีการนำหลักศาสนาต่าง ๆ มาโน้มน้าวให้ผู้บริหารราชการระดับสูง ข้าราชการและประชาชนมีความซื่อสัตย์สุจริต และแนวทางที่ 3 เป็นการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีสนับสนุนและปรับปรุงการทำงานของภาคราชการตามนโยบายการเป็นรัฐบาลดิจิทัล เพื่อให้ระบบราชการมีความรวดเร็ว โปร่งใส เปิดเผยและตรวจสอบได้ โดยหวังว่ามาตรการสามแนวทางใหญ่ ๆ นี้หวังว่าจะช่วยปรับปรุงดัชนี CPI ของประเทศไทยให้ดีขึ้นได้</p>
อรุณัฐ ปุณยกนก
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-25
2025-04-25
7 2
63
76
-
จริยธรรมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างรับผิดชอบ ในการตัดสินใจด้านทรัพยากรมนุษย์
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4529
<p>ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะในกระบวนการสรรหา การคัดเลือก การประเมินผล และการพัฒนาพนักงาน ด้วยความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และความแม่นยำในการทำนายแนวโน้มต่าง ๆ การนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในงานทรัพยากรมนุษย์ต้องเผชิญกับความท้าทายด้านจริยธรรมหลายประการ ซึ่งรวมถึงปัญหาความลำเอียงของขั้นตอนวิธี (อัลกอริทึม) ความโปร่งใสในการตัดสินใจ ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และความรับผิดชอบขององค์กรในการใช้เทคโนโลยีนี้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเด็นทางจริยธรรมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในงานทรัพยากรมนุษย์ และนำเสนอแนวทางการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีความรับผิดชอบเพื่อลดความเสี่ยงด้านจริยธรรมที่อาจเกิดขึ้น บทความนี้มุ่งเน้นการวิเคราะห์แนวทางการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีจริยธรรมในทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้หลักจริยธรรมหลัก 4 ประการ ได้แก่ ความโปร่งใส ความสามารถในการอธิบายและตีความได้ ความเป็นธรรม และความสามารถในการตรวจสอบได้ พร้อมนำเสนอตัวอย่างกรณีศึกษาทั้งในเชิงบวกและเชิงลบเกี่ยวกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น บทความยังเสนอแนวทางปฏิบัติที่ดีในการออกแบบและพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ให้สามารถตัดสินใจอย่างเป็นธรรมและมีความรับผิดชอบ การปฏิบัติตามหลักจริยธรรมทั้ง 4 ประการนี้จะช่วยเสริมสร้างความไว้วางใจระหว่างองค์กรและพนักงาน พัฒนาประสิทธิภาพการตัดสินใจด้านทรัพยากรมนุษย์ และช่วยให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์ได้อย่างเต็มศักยภาพและมีความรับผิดชอบต่อสังคม</p>
นันทยา รื่นกลิ่น
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-25
2025-04-25
7 2
77
88
-
พลเมืองกับบทบาทในการสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างยั่งยืน
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4408
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของพลเมืองในการสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างยั่งยืน โดยเน้นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับชาติ พลเมืองมีบทบาทสำคัญไม่เพียงแต่ในการใช้สิทธิพื้นฐาน เช่น การเลือกตั้งและการแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะ แต่ยังรวมถึงการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ และการเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยเน้นให้เห็นว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ได้แก่ การศึกษา ซึ่งช่วยเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจในกระบวนการทางการเมือง ทำให้ประชาชนสามารถมีบทบาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เทคโนโลยีและสื่อสังคมออนไลน์ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี และวิเคราะห์ถึงอุปสรรคที่ขัดขวางการมีส่วนร่วมทางการเมือง เช่น ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษา การขาดพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็น และการขาดวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน แนวทางแก้ไขที่เสนอนั้นมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง การสร้างพื้นที่สำหรับการมีส่วนร่วมของประชาชน และการส่งเสริมความหลากหลายทางความคิดในสังคม ดังนั้น การมีส่วนร่วมของพลเมืองในกระบวนการทางการเมืองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนประชาธิปไตยไปสู่ความเป็นธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคม การสร้างเครือข่ายพลเมืองที่เข้มแข็งและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเสรี จะช่วยให้เกิดความโปร่งใส ความไว้วางใจในภาครัฐ และการพัฒนาสังคมอย่างมั่นคงในระยะยาว</p>
อภิวัฒชัย พุทธจร
นนธวัฒน์ มีนิล
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-25
2025-04-25
7 2
89
102
-
ศีลธรรมและการเมือง: การบูรณาการปรัชญา ของโสกราตีส เพลโต และอริสโตเติล
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4409
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ศีลธรรมและการเมือง ผ่านแนวคิดของ โสเครตีส เพลโต และอริสโตเติล ซึ่งเน้นว่าคุณธรรมของผู้นำและความยุติธรรมในสังคมเป็นรากฐานสำคัญของรัฐที่มั่นคง โสเครตีส เชื่อว่าผู้นำต้องมีคุณธรรมและปัญญา โดยใช้ กระบวนการสอบถามและแลกเปลี่ยน (วิธีการของโสกราตีส) เพื่อแสวงหาความจริงและพัฒนาจิตสำนึกทางศีลธรรม เพลโต ขยายแนวคิดนี้ไปสู่โครงสร้างรัฐ โดยเสนอ รัฐในอุดมคติ ที่มีการแบ่งหน้าที่ชัดเจนระหว่างผู้ปกครอง นักรบ และผู้ผลิต เพื่อให้เกิดความสมดุลทางสังคม อริสโตเติล ปรับแนวคิดนี้ให้เข้ากับสภาพความเป็นจริง โดยเสนอ ระบอบผสม (Mixed Government) ที่รวมประชาธิปไตยและคณาธิปไตยเข้าด้วยกันเพื่อลดการใช้อำนาจโดยมิชอบ การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ศีลธรรมและการเมืองต้องดำเนินควบคู่กัน ผู้นำที่มีคุณธรรม ระบบการปกครองที่มีความสมดุล และการกระจายอำนาจอย่างเหมาะสม จะช่วยให้รัฐมีเสถียรภาพและประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี แนวคิดของนักปรัชญาเหล่านี้ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในยุคปัจจุบัน เพื่อสร้างระบบการเมืองที่ยุติธรรมและยั่งยืน</p>
พระมหาปณวัศ ปุญฺญโชตโก
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-25
2025-04-25
7 2
103
116
-
มาคิอาเวลลีกับศิลปะแห่งการครองอำนาจ
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4420
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดของ นิโคโล มาคิอาเวลลี ผ่านผลงานสำคัญเจ้าผู้ปกครอง ซึ่งเป็นรากฐานของปรัชญาการเมืองเชิงปฏิบัติที่เน้นการรักษาอำนาจและเสถียรภาพของรัฐ ในสภาพแวดล้อมที่ผันผวน แนวคิดหลักของมาคิอาเวลลี ได้แก่ การแยกศีลธรรมออกจากการเมือง โดยมองว่า ผู้นำควรคำนึงถึง ผลลัพธ์และความมั่นคงของรัฐมากกว่าคุณธรรม นอกจากนี้ เขายังเสนอว่า การสร้างความกลัวในหมู่ประชาชน มีประสิทธิภาพมากกว่าความรัก เพราะความกลัวช่วยให้รัฐมีเสถียรภาพมากขึ้น แนวคิดของมาคิอาเวลลีสะท้อนให้เห็นถึง ศาสตร์แห่งอำนาจที่อาศัยกลยุทธ์มากกว่าศีลธรรม <br />โดยเน้นการรักษาภาพลักษณ์ของผู้นำ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและควบคุมประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวิเคราะห์ผลกระทบของแนวคิดมาคิอาเวลลีต่อการเมืองปัจจุบัน เช่น การบริหารจัดการวิกฤต การสร้างภาพลักษณ์ผ่านสื่อ และการรักษาอำนาจของผู้นำ แม้แนวคิดของเขาจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงจริยธรรม แต่ก็ยังคงเป็นกรอบสำคัญในการทำความเข้าใจพลวัตของอำนาจและกลไกทางการเมือง ดังนั้น บทความนี้จึงมุ่งนำเสนอแนวคิดของมาคิอาเวลลี ในฐานะเครื่องมือสำคัญในการทำความเข้าใจโครงสร้างอำนาจของรัฐ และการที่ผู้นำสามารถ ปรับตัวเพื่อรักษาอำนาจในสถานการณ์ที่ซับซ้อน แนวคิดเหล่านี้ยังคงมีอิทธิพลและความเกี่ยวข้องในโลกการเมืองร่วมสมัย</p>
เชาวลิต จันมณี
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-25
2025-04-25
7 2
117
131
-
การบูรณาการหลักธรรมในการส่งเสริมการบริการสาธารณะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4526
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะหลักสังคหวัตถุ 4 ร่วมกับหลักการให้บริการสาธารณะสมัยใหม่ ประกอบด้วยหลักความเสมอภาค หลักความต่อเนื่อง และหลักการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ในการพัฒนาการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การศึกษาพบว่า การนำหลักสังคหวัตถุ 4 มาประยุกต์ใช้ร่วมกับหลักการบริการสาธารณะสมัยใหม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยหลักทาน การให้ สนับสนุนหลักความเสมอภาคในการให้บริการ หลักปิยวาจา วาจาเป็นที่รัก และหลักอัตถจริยา การประพฤติประโยชน์ สอดคล้องกับหลักความต่อเนื่องในการให้บริการ และหลักสมานัตตตา การวางตนสม่ำเสมอ สนับสนุนหลักการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาการบริการให้ดียิ่งขึ้นผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า การบูรณาการหลักธรรมดังกล่าวช่วยสร้างจิตสำนึกในการให้บริการ พัฒนาคุณภาพการบริการ และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน นำไปสู่การยกระดับคุณภาพการบริการสาธารณะที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง</p>
พระหลง อิทฺธิญาโณ (เคอคำ)
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-25
2025-04-25
7 2
132
142
-
ความคิดเห็นต่อระบบติดตามผลการตรวจราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-INSPECTION) ของบุคลากรหน่วยรับตรวจราชการ กระทรวงยุติธรรม
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4532
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อการใช้ระบบติดตาม ผลการตรวจราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Inspection) 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการใช้ระบบติดตามผลการตรวจราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Inspection) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสื่อสารสนเทศที่ใช้กับระดับความคิดเห็นต่อระบบติดตามผลการตรวจราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Inspection) 4. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเมนูการใช้งานกับระดับความคิดเห็นต่อระบบติดตามผลการตรวจราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Inspection) และ (5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจกับความคิดเห็นต่อระบบติดตามผลการตรวจราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Inspection) ของบุคลากรหน่วยรับตรวจราชการ กระทรวงยุติธรรม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ บุคลากรหน่วยรับตรวจราชการ ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ส่วนภูมิภาค จำนวน 305 คน ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-Test, One-Way Anova, Lsd, Pearson Product Moment Correlation Coefficient, Chai-Square และ Cramer’v โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นต่อการใช้งานระบบติดตามผลการตรวจราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Inspection) ของบุคลากรหน่วยรับตรวจราชการ กระทรวงยุติธรรม ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.44 และ S.D. = .52) การทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประเภทตำแหน่ง หน่วยงานที่สังกัด และอายุงานที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อระบบติดตามผลการตรวจราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Inspection) ไม่แตกต่างกัน สื่อสารสนเทศที่ใช้มีความสัมพันธ์กับระดับความคิดเห็นต่อการใช้งานระบบ เมนูการใช้งานมีความสัมพันธ์กับระดับความคิดเห็นต่อการใช้งานระบบ และความรู้ความเข้าใจมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการใช้งานระบบ</p>
พิมพ์พิชชา คนหมั่น
ศรีรัฐ โกวงศ์
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-25
2025-04-25
7 2
1
16
-
การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความไว้วางใจทางการเมือง ของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองในจังหวัดเลย
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4631
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองในจังหวัดเลย 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองในจังหวัดเลย และ 3. นำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองในจังหวัดเลย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการสนทนากลุ่มเฉพาะ และการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดเลย จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองในจังหวัดเลย ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> =3.84, S.D.=0.72) 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองในจังหวัดเลย พบว่า ปัจจัยการกล่อมเกลาทางเมืองและการประยุกต์หลักพุทธธรรมมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองในจังหวัดเลย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมกับพรรคการเมืองตามหลักอปริหานิยธรรม มีการจัดประชุมสม่ำเสมอ มีระบบประชุมที่เป็นระเบียบ ยึดมั่นในกฎหมาย เคารพผู้อาวุโสและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสิทธิสตรี ทำงานร่วมกับองค์กรอื่น และสนับสนุนคนดีเข้าสู่การเมือง อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดในการติดตามมติที่ประชุม การมีส่วนร่วมของประชาชน และการประเมินผลที่เป็นรูปธรรม</p>
พระมหาธนวัฒน์ ปริยตฺติเมธี
วัชรินทร์ ชาญศิลป์
สุมาลี บุญเรือง
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-25
2025-04-25
7 2
17
32
-
อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์และ การมีส่วนร่วมของพนักงานที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4717
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ระดับภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ การมีส่วนร่วมของพนักงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร 2. อิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ และการมีส่วนร่วมของพนักงานที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร และ 3. อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ ที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานผ่านการมีส่วนร่วมของพนักงานศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพนักงานจากศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร จำนวน 118 แห่ง รวมทั้งสิ้น 300 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้เกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกตได้ และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิของศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่าน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อความเข้าใจในผลการวิจัยเชิงปริมาณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการปฏิบัติงานของพนักงานอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาคือการมีส่วนร่วมของพนักงานซึ่งอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ และการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยของตัวแปรต่าง ๆ อยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ และการมีส่วนร่วมของพนักงาน ล้วนมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจรอย่างมีนัยสำคัญ และ 3. การมีส่วนร่วมของพนักงานเป็นตัวแปรสื่อกลางที่ทำให้ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณส่งผลทางอ้อมเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับผลการปฏิบัติงานในที่สุด</p>
อรรัช เรือขวางเพ็ชร
พงศ์ธวัช จันทบูลย์
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-25
2025-04-25
7 2
33
48
-
การสร้างระบบการจัดการขยะต้นทางชุมชนวิถีพุทธ
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4637
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัญหาและผลกระทบด้านการจัดการขยะต้นทาง 2. เพื่อสร้างแกนนำจิตอาสาและพัฒนาระบบการจัดการขยะในระดับครัวเรือน 3. เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนและการขยายผลในพื้นที่ต้นแบบ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การวิจัยเชิงเอกสารศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเชิงพื้นที่ การวิจัยเชิงปฏิบัติการภาคสนามใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่มเฉพาะ พื้นที่ในการวิจัย ได้แก่ 1. ชุมชนในตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 4 ชุมชน 2. ชุมชนในตำบลท่ากว้าง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1 ชุมชน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 6 คน ผู้แทนองค์กรศาสนาและผู้นำชุมชน 6 คน ผู้แทนประชาชน 6 คน รวม 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ประกอบเนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1. การจัดการขยะต้นทางในชุมชนวิถีพุทธมีปัญหาหลัก ได้แก่ การสะสมของขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ขาดความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมจากประชาชน รวมถึงขาดความรู้ในการคัดแยกและจัดการขยะ การแก้ไขปัญหาต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน เช่น การควบคุมการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ การให้ความรู้ และการสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม 2. แนวทางการพัฒนาระบบการจัดการขยะในระดับครัวเรือน ได้แก่ 1. คัดแยกขยะจากบ้าน เช่น ขยะอินทรีย์ รีไซเคิล และขยะอันตราย 2. นำขยะบางประเภทไปทำบุญ 3. ขายหรือใช้ขยะเพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น การรีไซเคิล 4. ทำให้ชุมชนสะอาดและน่าอยู่ 3. การขยายผลของการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนจะช่วยให้ชุมชนได้รับประโยชน์ ได้แก่ 1. สร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะและวัสดุรีไซเคิล 2. เสริมสร้างความสามัคคีในชุมชน 3. ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อการพัฒนาและความเจริญของชุมชนในระยะยาว</p>
หัฏฐกรณ์ แก่นท้าว
รัฐพล เย็นใจมา
เอนก ใยอินทร์
นพดล ดีไทยสงค์
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-25
2025-04-25
7 2
49
62