วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP
<p><strong><img src="https://so08.tci-thaijo.org/public/site/images/journal.ssr@mcu.ac.th/-1-copy-1.png" alt="" width="30" height="40" /><br />วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์</strong></p> <p> ISSN 2822-065X (Print)</p> <p> ISSN 2822-0676 (Online)</p> <p><strong><img src="https://so08.tci-thaijo.org/public/site/images/journal.ssr@mcu.ac.th/-1-copy-1.png" alt="" width="30" height="40" /><br />กำหนดออก</strong> : 3 ฉบับต่อปี</p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน </p> <p> ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม</p> <p> ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม</p> <p><strong><img src="https://so08.tci-thaijo.org/public/site/images/journal.ssr@mcu.ac.th/-1-copy-1.png" alt="" width="30" height="40" /><br />นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ :</strong><strong> </strong></p> <p> วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน</p> <p> </p> <p><strong><img src="https://so08.tci-thaijo.org/public/site/images/journal.ssr@mcu.ac.th/-1-copy-1.png" alt="" width="30" height="40" /><br />ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร:</strong></p> <p> 1) บทความวิชาการ (Academic Article)</p> <p> 2) บทความวิจัย (Research Article)</p> <p> 3) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)</p> <p> </p> <p><strong><img src="https://so08.tci-thaijo.org/public/site/images/journal.ssr@mcu.ac.th/-1-copy-1.png" alt="" width="30" height="40" /><br />การพิจารณาและคัดเลือกบทความ:</strong></p> <p> บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Reviewer) จำนวน 3 คน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double – Blind Peer Review)</p> <p><strong><img src="https://so08.tci-thaijo.org/public/site/images/journal.ssr@mcu.ac.th/-1-copy-1.png" alt="" width="30" height="40" /><br />เจ้าของวารสาร:</strong></p> <p>สมาคมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสตร์</p>
th-TH
journal.ajppa@mcu.ac.th (รองศาสตราจารย์ ดร. เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง)
suphattharachai.sis@mcu.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภัทรชัย สีสะใบ)
Wed, 25 Jun 2025 03:33:12 +0700
OJS 3.3.0.8
http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss
60
-
องค์กรแห่งการเรียนรู้กลไกสำคัญในการเพิ่มความสามารถ ในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4829
<p>ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรแห่งการเรียนรู้ มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้บุคลากรและองค์กรสามารถปรับตัวและสร้างนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ Peter Senge ได้นำเสนอ วินัย 5 ประการ ที่ช่วยเสริมสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ 1. ความรอบรู้แห่งตน (การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพ) 2. แบบแผนความคิด (เข้าใจสมมติฐานพื้นฐานและเปิดรับมุมมองใหม่) 3. วิสัยทัศน์ร่วม (สร้างเป้าหมายและแรงขับเคลื่อนร่วมกัน) 4. การเรียนรู้เป็นทีม (ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ) และ 5. การคิดเชิงระบบ (เข้าใจความเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่าง ๆ ในองค์กร) ความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน คือการรักษาความได้เปรียบทางธุรกิจในระยะยาว ซึ่งเกิดจากการสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า ความยืดหยุ่นในการปรับตัว และนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของตลาด องค์กรแห่งการเรียนรู้ช่วยเสริมสร้างความสามารถนี้ผ่าน 3 กลไกหลัก ได้แก่ 1. การสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง 2. ความคล่องตัวในการปรับตัวต่อโอกาสและความท้าทาย และ 3. วัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการทดลองและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยวัฒนธรรมที่เปิดกว้าง ผู้นำที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และโครงสร้างองค์กรที่ยืดหยุ่น พร้อมทั้งใช้เครื่องมือ เช่น ชุมชนนักปฏิบัติ และการทบทวนหลัง เพื่อสกัดบทเรียนจากประสบการณ์ ในยุคดิจิทัลองค์กรที่ลงทุนในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจะสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันและสร้างคุณค่าร่วมกับสังคมได้อย่างยั่งยืน</p>
นันทยา รื่นกลิ่น
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4829
Wed, 25 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
แนวคิดว่าด้วยความเสมอภาค วิเคราะห์ในเชิงปรัชญาทางการเมืองตะวันตกและตามแนวพุทธ
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4763
<p>บทความนี้มุ่งวิเคราะห์แนวคิดเรื่องความเสมอภาคในเชิงปรัชญา โดยเปรียบเทียบระหว่างปรัชญาตะวันตกและหลักคำสอนในพุทธศาสนา เพื่อค้นหามิติที่หลากหลายของความเสมอภาคและวิธีที่แนวคิดทั้งสองสามารถเสริมสร้างกันในบริบทสังคมสมัยใหม่ ปรัชญาตะวันตก ที่มุ่งเน้นการสร้างความเสมอภาคผ่านโครงสร้างสังคม เช่น กฎหมาย เศรษฐกิจ และการเมือง โดยชี้ให้เห็นว่าการลดความเหลื่อมล้ำในระดับโครงสร้างคือกุญแจสู่ความยุติธรรม พุทธศาสนานำเสนอแนวคิดความเสมอภาคในระดับจิตวิญญาณ โดยเน้นการละวางอัตตาและการตระหนักถึงศักยภาพที่เท่าเทียมกันของมนุษย์ทุกคนในการเข้าถึงความหลุดพ้นจากทุกข์ บทความนี้ยังชี้ให้เห็นจุดร่วมของแนวคิดทั้งสอง ได้แก่ การปฏิเสธการแบ่งแยกและการเลือกปฏิบัติ รวมถึงการมุ่งสร้างความยุติธรรมในสังคม แนวคิดตะวันตกและพุทธศาสนายังมีจุดเด่นและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน โดยแนวคิดตะวันตกเน้นการแก้ไขปัญหาในระดับระบบ แต่ขาดความลึกซึ้งในด้านจิตใจ ขณะที่พุทธศาสนาเน้นการพัฒนาภายในที่สามารถลดความขัดแย้งในระยะยาว แต่ขาดกรอบปฏิบัติที่ชัดเจนในเชิงระบบ ยังได้เสนอกรณีศึกษา ที่ผสานโครงสร้างทางสังคมแบบตะวันตกกับคุณค่าจิตวิญญาณของพุทธศาสนา เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและจิตใจ การประยุกต์ใช้แนวคิดทั้งสองในบริบทสมัยใหม่ การสร้างสังคมที่สมดุลและยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยทั้งการจัดการระบบภายนอกและการพัฒนาภายในร่วมกัน</p>
จักรวาล เหมือนแจ่ม
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4763
Wed, 25 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
การประยุกต์หลักธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4660
<p>บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนไทยเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตย การประยุกต์หลักธรรมเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษานี้มุ่งเน้นการวิเคราะห์และประยุกต์ใช้หลักธรรมต่าง ๆ เช่น หลักสังคหวัตถุ 4 ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนไทย พบว่า การประยุกต์หลักธรรมสามารถสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของความสามัคคีและการมีส่วนร่วมในชุมชน การศึกษานี้เสนอแนวทางในการประยุกต์หลักธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนไทยในยุคปัจจุบัน อาทิเช่น การใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจระหว่างประชาชน การส่งเสริมการสนทนาและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเปิดเผย และการสร้างความสามัคคีและการร่วมมือในการแก้ไขปัญหาทางการเมือง</p>
สัภยา ขาวหมื่นไวย์, จักรวาล เหมือนแจ่ม
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4660
Wed, 25 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
แนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4666
<p>บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา ซึ่งภาวะผู้นำที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสังคมที่มีความเข้มแข็งและเป็นธรรม บทความนี้มุ่งเน้นการวิเคราะห์และประยุกต์ใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนา คือ หลักปาปณิกธรรม เพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองไทยในยุคปัจจุบัน พบว่า การประยุกต์หลักธรรมในพระพุทธศาสนาสามารถเสริมสร้างภาวะผู้นำที่มีคุณธรรมและเป็นธรรม โดยเฉพาะในเรื่องของความซื่อสัตย์ ความเมตตา และความเสียสละ บทความได้นี้เสนอแนวทางในการประยุกต์หลักธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองไทย คือ หลักปาปณิกธรรม ที่กล่าวถึงลักษณะของผู้นำที่ดีไว้ 3 ประการ คือ 1. จักขุมา มองการณ์ไกลหรือมีมุมมองที่กว้างกว่าบุคคลทั่วไปในองค์กร 2. วิธูโร มีการจัดการธุระได้ดี และ 3. นิสสยสัมปันโน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เข้ากับคนในองค์กรหรือประชาชนได้ดีมีความอ่อนน้อมถ่อมตน</p>
พระอธิการประเสริฐ ปญฺญาวโร, จักรวาล เหมือนแจ่ม, สัภยา ขาวหมื่นไวย์
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4666
Wed, 25 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการกรมกำลังพลทหารอากาศ
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4620
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบในการพัฒนาสมรรถนะที่สำคัญของข้าราชการกรมกำลังพลทหารอากาศ 2. เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการกรมกำลังพลทหารอากาศ และ 3. เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการกรมกำลังพลทหารอากาศ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการกรมกำลังพลทหารอากาศ ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น จำนวน 573 คน โดยผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie & Morgan ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากร โดยใช้สูตรจนได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 230 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความสำคัญของสมรรถนะของข้าราชการกรมกำลังพลทหารอากาศ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.980 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ</p> <p>ผลการวิจัย 1. องค์ประกอบในการพัฒนาสมรรถนะที่สำคัญของข้าราชการกรมกำลังพลทหารอากาศ พบว่า ได้องค์ประกอบหลักสมรรถนะของข้าราชการกรมกำลังพลทหารอากาศ 5 องค์ประกอบ ดังนี้ ด้านการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน ด้านการทำงานเป็นทีมเดียวกัน ด้านการสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรมในองค์กร ด้านการติดตามและการประเมินผล และด้านการจัดการทรัพยากรในองค์กร และองค์ประกอบย่อย 18 องค์ประกอบ 2. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการกรมกำลังพลทหารอากาศ พบว่า ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ขององค์ประกอบที่สำคัญของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการกรมกำลังพลทหารอากาศ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. การประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการกรมกำลังพลทหารอากาศ พบว่า ความเป็นประโยชน์ขององค์ประกอบที่สำคัญของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการกรมกำลังพลทหารอากาศ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความเหมาะสม และความเป็นไปได้ขององค์ประกอบที่สำคัญของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการกรมกำลังพลทหารอากาศ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก.</p>
แพรพลอย วิไลลักษณ์, วันชัย ปานจันทร์, กิตติ ชุณหศรีวงศ์, อรไท ชั้วเจริญ
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4620
Wed, 25 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4749
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับความนิยมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความนิยมทางการเมือง และ 3. นำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนมีต่อพรรคการเมืองในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 18 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้ และการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 663,550 คน ใช้สูตรการคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ ทำให้ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ความนิยมทางการเมือง พบว่า ประชาชนมีแนวโน้มสนับสนุนพรรคการเมืองที่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างต่อเนื่อง มีอุดมการณ์และนโยบายที่ชัดเจน โดยพฤติกรรมการเลือกพรรคสะท้อนผ่านความเชื่อมั่นในบทบาทของพรรคในฐานะตัวแทนผลประโยชน์ของสังคม และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของพรรคอย่างสม่ำเสมอ 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพล ได้แก่ ด้านกลุ่มเพื่อน ด้านกลุ่มทางสังคม และด้านสถาบันการศึกษา ซึ่งสามารถทำนายแนวโน้มความนิยมทางการเมืองได้ 46.7 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ขณะเดียวกัน หลักสังคหวัตถุ 4 ด้านปิยวาจา วจีไพเราะ และด้านอัตถจริยา สงเคราะห์ประชาชน ก็มีผลต่อความนิยมในระดับหนึ่ง คิดเป็น 17.3 และ 3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมช่วยเสริมสร้างความนิยมของพรรคที่ยึดมั่นในคุณธรรม ความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมของประชาชน การใช้แนวทางนี้จะนำไปสู่การเมืองที่โปร่งใส ยั่งยืน และเป็นธรรม ซึ่งตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง</p>
พระมหาสมัคร อติภทฺโท, วัชรินทร์ ชาญศิลป์, เติมศักดิ์ ทองอินทร์
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4749
Wed, 25 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนจังหวัดสมุทรสงคราม
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4788
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนจังหวัดสมุทรสงคราม 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมือง และ 3. นำเสนอการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 18 คน และจัดการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ให้ข้อมูลจำนวน 9 คน เพื่อยืนยันข้อมูลเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งมีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดสมุทรสงคราม โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 399 คน คำนวณจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ จากประชากรทั้งหมด 127,460 คน ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนจังหวัดสมุทรสงครามควรมีคุณลักษณะสำคัญ 6 ประการ ได้แก่ ความรับผิดชอบตนเอง การเคารพสิทธิของผู้อื่น การเคารพความแตกต่าง การเคารพหลักความเสมอภาค การเคารพกติกา และความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งส่งเสริมประชาธิปไตยให้มั่นคงและยั่งยืน 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมือง ได้แก่ ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ และความรู้ โดยสามารถทำนายแนวโน้มของความเป็นพลเมืองได้ร้อยละ 60.6 และหลักพุทธธรรมโดยเฉพาะหลักสัปปุริสธรรม 7 ประการ สามารถทำนายแนวโน้มได้ร้อยละ 67.7 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแนวคิดทางพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความเป็นพลเมือง และ 3. การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ประการ ได้แก่ การรู้จักเหตุ ผล ตนเอง ประมาณ กาลเวลา ชุมชน และบุคคล ช่วยเสริมสร้างวิจารณญาณ ความร่วมมือ และประชาธิปไตยที่มั่นคงในระดับท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ</p>
ปลื้มจิต ลาภอุดมเลิศ, สุรพล สุยะพรหม, สุมาลี บุญเรือง
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4788
Wed, 25 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายยุวชนประชาธิปไตยของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4661
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายยุวชนประชาธิปไตยของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายยุวชนประชาธิปไตยฯ และ 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายยุวชนประชาธิปไตยฯ โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ยุวชนประชาธิปไตยรุ่นปี 2565 – 2567 จำนวน 217 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ยุวชนประชาธิปไตยที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ และรุ่นปีที่ฝึกอบรมที่แตกต่างกัน มีภาพรวมความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายที่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ยุวชนประชาธิปไตยที่มีเพศแตกต่างกัน มีความสำเร็จระยะสั้นที่แตกต่างกัน และยุวชนประชาธิปไตยที่มีอายุ ระดับการศึกษา และรุ่นปีที่ฝึกอบรมแตกต่างกัน มีความสำเร็จระยะยาวที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านความร่วมมือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านระบบสารสนเทศ ด้านภาวะผู้นำ ด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ และด้านการสร้างความสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กับภาพรวมความสำเร็จ ความสำเร็จระยะสั้น และความสำเร็จระยะยาว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพรวมความสำเร็จ และความสำเร็จระยะสั้น มี 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ และด้านการสร้างความสัมพันธ์ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จระยะยาว มี 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ ด้านการสร้างความสัมพันธ์ และด้านความร่วมมือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
ปัณฑ์ธร อิสรปัญญากุล, เอกลักษณ์ ไชยภูมี
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4661
Wed, 25 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดอุบลราชธานี
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4697
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น และ 3. นำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อการส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.991 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 399 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานีสะท้อนผ่านสามด้าน ได้แก่ บุคลิกภาพมีความน่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจ แรงจูงใจด้านความสำเร็จผ่านการทำโครงการที่เห็นผลเป็นรูปธรรม และความสามารถในการสร้างนวัตกรรมท้องถิ่น 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า กระบวนการส่งเสริมที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี ได้ร้อยละ 8.40 ส่วนราชสังคหวัตถุ 4 ส่งผลต่อภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี ได้ร้อยละ 15.90 และ 3. พุทธบูรณาการเพื่อการส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น การสนับสนุนบุคลากร การส่งเสริมอาชีพสุจริตผ่านการฝึกอบรม และการสื่อสารที่สร้างสรรค์</p>
พระมหาฉัตรชัย ปญฺญาวฑฺฒโน (พลศรี), เติมศักดิ์ ทองอินทร์, สุมาลี บุญเรือง
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4697
Wed, 25 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานด้านดิจิทัลของบุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 2 และพื้นที่เขตตรวจราชการส่วนกลาง
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4805
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานด้านดิจิทัลของบุคลากร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2. ศึกษาปัจจัยภายในองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานด้านดิจิทัลของบุคลากรและ 3. ศึกษาปัจจัยภายในองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานด้านดิจิทัลของบุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 2 และพื้นที่เขตตรวจราชการส่วนกลาง โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 2 และพื้นที่เขตตรวจราชการส่วนกลาง จำนวน 106 คน ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 1. สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การหาค่าร้อยละ และการหาค่าเฉลี่ย และ 2. สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การหาค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ โดยค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้กำหนดไว้ที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานด้านดิจิทัลของบุคลากรในสำนักงานฯ ทั้ง 3 ปัจจัยภายใน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีระดับประสิทธิภาพการทำงานด้านดิจิทัลของบุคลากรในสำนักงานฯ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า บุคลากรในสำนักงานฯ ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีประสิทธิภาพการทำงานด้านดิจิทัลที่ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยภายในองค์กรที่ศึกษา พบว่ามีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานด้านดิจิทัลของบุคลากรในสำนักงานฯ ทุกปัจจัย ในขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานด้านดิจิทัลของบุคลากรในสำนักงานฯ มี 5 ปัจจัย จาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงาน คือ ด้านปัจจัยค้ำจุน ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร คือ ด้านความอดทนในความเสี่ยง ด้านเอกลักษณ์ และด้านรูปแบบการสื่อสาร และปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจทักษะดิจิทัล คือ ด้านคุณลักษณะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
แทนไท อดิศัยมนตรี, เอกลักษณ์ ไชยภูมี
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/AJPP/article/view/4805
Wed, 25 Jun 2025 00:00:00 +0700