https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/issue/feed
วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
2024-06-26T10:33:14+07:00
Associate Professor Bandhit Chatwirote (Ph.D.)
ejfe_edukpru@hotmail.com
Open Journal Systems
<p style="tab-stops: 21.3pt 70.9pt 92.15pt;"><u><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH Sarabun New',sans-serif; color: black; background: white;">วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร</span></u><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH Sarabun New',sans-serif; color: black; background: white;"> </span></p> <p><u>กำหนดออก : </u><u>2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</u></p> <p><u>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : จัดพิมพ์ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย ผลงานสร้างสรรค์ ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับศึกษาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ การบริหารการศึกษา ยุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา การสอน จิตวิทยาการศึกษา และการแนะแนว หลักสูตร การศึกษา การวิจัย การวัดผลและประเมินผลการศึกษา สังคมศึกษา การประถมศึกษา การศึกษาปฐมวัย ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน คอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์ศึกษา สุขศึกษาและพลศึกษา การสอนวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา</u></p> <p><u>ISSN: 2465-5473 (Print) </u></p> <p>ISSN XXXX-XXXX (Online)</p>
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/2434
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ชุดกิจกรรมปฏิบัติการทดลอง เรื่อง การแยกสาร
2024-02-01T11:22:06+07:00
ปราณี เลิศแก้ว
pranee_l@kpru.ac.th
ธิดารัตน์ พรหมมา
a@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมปฏิบัติการทดลองกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การแยกสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมปฏิบัติการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 138 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมปฏิบัติการทดลอง เรื่อง การแยกสาร แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมปฏิบัติการทดลอง เรื่อง การแยกสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 79.75/77.75 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 70/70 ที่ตั้งไว้</li> <li>ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมปฏิบัติการทดลอง เรื่อง การแยกสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมปฏิบัติการทดลอง</li> <li> <p>เรื่อง การแยกสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> </li> <li> <p><span style="font-size: 0.875rem;">ความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมปฏิบัติการทดลอง เรื่อง การแยกสาร ของนักเรียน</span>ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.45, S.D. = 0.69)</p> </li> </ol>
2024-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/2562
การศึกษา การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่องปริซึม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2023-11-27T08:28:33+07:00
ทวีศักดิ์ ขันตรี
thawisak.kh@ksu.ac.th
วรรณธิดา ยลวิลาศ
a@gmail.com
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์และสาเหตุการเกิดมโนทัศน์คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายการวิจัยเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีวิธีการเลือกแบบสุ่มเลือกโดยใช้สลากในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ 2. แบบสัมภาษณ์นักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่มีมโนทัศน์คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ โดยจำแนกออกเป็น 4 ด้าน ซึ่งพบว่า นักเรียนมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง คิดเป็นร้อยละ 70 รองลงมา มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการแก้โจทย์ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 65 มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการตีความโจทย์ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 60 และมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับนิยาม ทฤษฎี และสมบัติ คิดเป็นร้อยละ 30 ตามลำดับ และ 2) สาเหตุมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนส่วนมากมาจากนักเรียนยังไม่เข้าใจในเรื่องปริซึม และยังไม่สามารถแก้โจทย์ปัญหาและตีความโจทย์ปัญหาที่กำหนดได้ เพราะยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของเนื้อหา</p>
2024-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/2708
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พหุนาม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT
2024-02-07T11:05:06+07:00
ธนพรณ์ ศิลาพจน์
thanaphon.si@ksu.ac.th
ปวีณา ขันธ์ศิลา
paweena.kh@ksu.ac.th
ประภาพร หนองหารพิทักษ์
a@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พหุนามของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ให้มีประสิทธิภาพ</p> <p>ตามเกณฑ์ 70/70 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง พหุนาม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ร่วมมือเทคนิค TGT กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสงเปลือยวิทยายน จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และสถิติทดสอบค่าที t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT เรื่อง พหุนาม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 74.80/79.10 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 70/70 และ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พหุนาม โดยใช้การจัดการเรียนรู้ร่วมมือเทคนิค TGT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/2737
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ โดยใช้การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบร่วมกับเทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2024-02-07T11:02:47+07:00
ฐิติรัตน์ กุลาหล่า
thitirat.la@ksu.ac.th
ปวีณา ขันธ์ศิลา
paweena.kh@ksu.ac.th
ประภาพร หนองหารพิทักษ์
prapaporn.no@ksu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบร่วมกับเทคนิค TAI ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโคกนาดี อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 มีจำนวนนักเรียน 12 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบร่วมกับเทคนิค TAI แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์แบบปรนัย เลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test ผลวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.40</p>
2024-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/2900
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ (Jigsaw) ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ในบทเรียนเรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2024-05-07T10:40:14+07:00
อนุพงศ์ สุขเกษม
kunshy.baicha@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน โดยการเปรียบเทียบก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้และเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติทีแบบไม่อิสระ การทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติทดสอบของวิลค็อกซัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำด้วยการทดสอบไฟรด์แมน และการทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ด้วยการทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/2946
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนนับไม่เกิน 1,000 และ 0 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก ร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะ
2024-05-07T10:47:31+07:00
ณัฐณิชา ภูมิมา
natnicha.pu@ksu.ac.th
สมใจ ภูครองทุ่ง
a@gmail.com
อุทุมพร แสนโยธา
a@gmail.com
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง จำนวนนับไม่เกิน 1,000 และ 0 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนแบบเชิงรุกร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนแบบเชิงรุกร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง จำนวนนับไม่เกิน 1,000 และ 0 แบบบันทึกคะแนน แบบฝึกทักษะและใบกิจกรรมของนักเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ผลจากการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุกร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะ ผลปรากฏว่า คะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ 9.04 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 16.43 คะแนน ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เท่ากับ 7.39 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียน โดยรวมในระดับพึงพอใจมากที่สุด</p>
2024-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/3527
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยวิธีการสอนด้วยชุดกิจกรรมสามก๊ก 6 ขั้นตอน (SAMKOK 6 STEPS) เรื่อง สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ กรุงเทพเทพมหานคร
2024-06-10T10:40:24+07:00
วรพล ศรีเทพ
worapol.sri@hotmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมสามก๊ก 6 ขั้นตอน (SAMKOK 6 STEPS) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ มาตรฐาน 80/80 2. เพื่อศึกษาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนที่เรียน ด้วยชุดกิจกรรมสามก๊ก 6 ขั้นตอน เรื่อง สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนเรื่องสามก๊ก ตอนกวนอู ไปรับราชการกับโจโฉด้วย ชุดกิจกรรมสามก๊ก 6 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ จำนวน 2 ห้องเรียน ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4 จำนวน 68 คน โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เนื่องจากนักเรียนทั้งสองห้องมีระดับความสามารถในการเรียนรู้ใกล้เคียงกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ ด้วยวิธีการสอนด้วยชุดกิจกรรมสามก๊ก 6 ขั้นตอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สามก๊ก ตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ แบบทดสอบความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยวิธีการสอนด้วยชุดกิจกรรมสามก๊ก 6 ขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าเฉลี่ยโดยใช้การทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. <span style="font-size: 0.875rem;">ชุดกิจกรรมสามก๊ก 6 ขั้นตอน (SAMKOK 6 STEPS) โดยการใช้ตัวแทน (Representations) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 86.10/83.00 2. </span><span style="font-size: 0.875rem;">ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมสามก๊ก 6 ขั้นตอน (SAMKOK 6 STEPS) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน 3. </span><span style="font-size: 0.875rem;">ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนเรื่อง สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉโดยวิธีการสอนด้วยชุดกิจกรรมสามก๊ก 6 ขั้นตอน (SAMKOK 6 STEPS) อยู่ใน</span>ระดับมาก</p>
2024-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร