วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE <p><strong>วัตถุประสงค์ของวารสาร</strong></p> <p><strong> </strong>วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรเป็นวารสารวิชาการที่ให้บริการเผยแพร่ความรู้แก่สังคม โดยมีเป้าหมายดังนี้ 1) เพื่อเผยแพร่ผลงานการวิจัยและองค์ความรู้ทางการศึกษาของคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา เจ้าหน้าที่ นักวิชาการของมหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไป 2) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการเรียนการสอนในสายครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 3) เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการด้านการเรียนการสอนในทุกระดับ 4) เพื่อสร้างความร่วมมือด้านวิชาการของบุคลากรทางการศึกษาทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน</p> <p> </p> <p><strong>ขอบเขตเนื้อหาการตีพิมพ์</strong></p> <p> ขอบเขตเนื้อหาที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ได้แก่ ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ประกอบด้วย (1) จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว (2) การประถมศึกษา (3) การศึกษาปฐมวัย (4) การสอนคณิตศาสตร์/คณิตศาสตร์ศึกษา (5) การสอนสังคมศึกษา (6) การสอนภาษาอังกฤษ (7) การสอนภาษาไทย (8) พลศึกษา (9) ดนตรีศึกษา (10) การวิจัยทางการศึกษา (11) การสอนภาษาจีน (12) คอมพิวเตอร์ศึกษา (13) หลักสูตรและการสอน (14) บริหารการศึกษา และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอื่นๆ</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>ประเภทบทความที่รับตีพิมพ์</strong></p> <ul> <li>บทความวิจัย (Research Article)</li> <li>บทความวิชาการ (Academic Article)</li> </ul> <p><strong> </strong></p> <p><strong>รูปแบบภาษาที่รับตีพิมพ์ </strong><strong>: </strong>ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่วารสารประจำปี</strong></p> <p> ทางวารสารกำหนดการเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน) คือ</p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน</p> <p> ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม</p> <p> </p> <p><strong>กระบวนการตีพิมพ์</strong></p> <p><strong> </strong>กระบวนการตีพิมพ์ผลงานในวารสารตั้งแต่การคัดเลือกบทความซึ่งจะต้องได้รับการกลั่นกรองจากกองบรรณาธิการวารสารเป็นเบื้องต้น การคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะในสาขาเพื่อการประเมินบทความอย่างน้อย 3 ท่าน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน และไม่เปิดเผยรายชื่อผู้ประเมินและผู้นิพนธ์ (Double-blind Peer Review) อีกทั้ง บทความที่ส่งเข้ามาเผยแพร่ในวารสารจะต้องเป็นบทความต้นฉบับ (Original Paper) ที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ไหนมาก่อนหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากกองบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิในวารสารอื่นๆ ทั้งนี้ ผู้นิพนธ์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของทางวารสารอย่างเคร่งครัด และอ้างอิงรูปแบบตามที่วารสารกำหนดเท่านั้น อีกทั้งจะต้องต้องปรับแก้ตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิอย่างครบถ้วนถูกต้อง</p> <p> หากบทความไม่เป็นไปตามที่วารสารกำหนดและ/หรือไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทางวารสารขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับตีพิมพ์บทความไม่ว่ากรณีใดๆ นอกจากนี้ ทางวารสารจะออกหนังสือรับรองการตีพิมพ์ก็ต่อเมื่อบทความได้รับการยอมรับ (Accept Paper) จากกองบรรณาธิการภายหลังที่ผู้นิพนธ์ได้ปรับแก้ตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและผ่านการตรวจสอบของวารสารแล้วเท่านั้น</p> <p> ข้อมูล การอ้างอิง รูปภาพ ความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ที่จะต้องตรวจสอบเป็นเบื้องต้นและจะต้องไม่คัดลอกผลงานจากแหล่งอื่นทั้งที่เป็นข้อมูลออนไลน์และในรูปแบบเอกสารเกิน 25 เปอร์เซ็นต์ (ตรวจสอบโดย Copy Catch) หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น การฟ้องร้องทางลิขสิทธิ์ เป็นต้น ผู้นิพนธ์จะต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวและไม่ถือเป็นความบกพร่องของกองบรรณาธิการวารสาร</p> <p> </p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมสำหรับการตีพิมพ์</strong></p> <p> ปัจจุบัน ทางวารสารยังไม่ได้กำหนดค่าตีพิมพ์ (ฟรี)</p> <p> </p> <p><strong>เจ้าของวารสาร</strong></p> <p> คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 69 หมู่ 1 ต.นครชุม อ.เมือง จ.กำแพงเพชร 62000 โทรศัพท์ 055-706-555</p> คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร th-TH วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 2465-5473 <p>CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0</p> ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/4115 <p>การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนพัฒนาการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ ปีการศึกษา 2567 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนทั้งสิ้น 39 คน เป็นกลุ่มทดลอง ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) ชุดกิจกรรมแนะแนว โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาการคิดแก้ปัญหา 7 กิจกรรม 2) เครื่องมือแบบวัดการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test ผลการวิจัย พบว่า หลังจากใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ นักเรียนมีคะแนนการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ชนนิกานต์ ปักคะมา วิกานดา ชัยรัตน์ Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-24 2025-04-24 9 17 1 11 การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ระบบสุริยะ ผ่านการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/4091 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านลำมะโกรก ก่อนเรียนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม 2) เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านลำมะโกรก หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านลำมะโกรก ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านลำมะโกรก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 29 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบบสุริยะ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (One sample t - test)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกม อยู่ในระดับมาก</p> <p> </p> ภัทริน สมภักดี วรรณพร เลี่ยมสกุล ปราณี เลิศแก้ว Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-29 2025-04-29 9 17 12 26 การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยน้ำขาว อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/3966 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านและ การเขียนคำพื้นฐานในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยน้ำขาวอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยน้ำขาว อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ก่อนเรียนและหลังเรียนการใช้แบบฝึกทักษะและ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยน้ำขาว อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยน้ำขาว อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะด้านการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานในภาษาไทย จำนวน 15 แผน ซึ่งได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.67 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานในภาษาไทยซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.923 และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.67 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบทีที่ไม่อิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยน้ำขาว จำนวน 15 แผน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.03 / 80.48 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยน้ำขาว ภายหลังใช้แบบฝึกทักษะสูงกว่าก่อนใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยน้ำขาว มีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานในภาษาไทย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ลักศณาพร แซ่หว้า มนตรี หลินภู Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-05-14 2025-05-14 9 17 27 38 การศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/4983 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 5 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ หลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 รวมนักเรียนทั้งสิ้น 27 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น จำนวน 9 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย เลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานค่าเฉลี่ยของ 1 ประชากร</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 85.19 ของนักเรียนทั้งหมดมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการทำความเข้าใจปัญหา ด้านวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนแก้ปัญหา ด้านดำเนินการแก้ปัญหา และด้านการสรุปคำตอบ 2) ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ หลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เรื่อง ร้อยละโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ธนะวัฒน์ เสงี่ยมศักดิ์ เกษสุดา บูรณพันศักดิ์ นฤมล ศักดิ์ปกรณ์กานต์ เขมิกา อารมณ์ อภิญญา ศักดิ์ผดุงกิจ Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-05-16 2025-05-16 9 17 39 51 รูปแบบการพัฒนาครูสู่ครูมืออาชีพ ด้านการจัดการจัดการเรียนรู้ สู่การรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/5076 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการพัฒนาครูสู่ครูมืออาชีพ ด้านการจัดการเรียนรู้สู่การรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อาชีพ โดยทำการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรพัฒนาครูสู่มืออาชีพของ 38 ราชภัฏ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา 2) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการพัฒนาครูสู่ครูมืออาชีพ กลุ่มเป้าหมายคือครูกลุ่มทดลองจำนวน 13 คน จาก 4 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการวิจัย และกลุ่มเปรียบเทียบคือครูที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาครูสื่อครูมืออาชีพของ 38 ราชภัฏจำนวน 25 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบ ฯ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.884, 0.828 และ 0.789 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ One-way MANOVA ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบฯ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการพัฒนาครู ระบบสนับสนุน เงื่อนไขความสำเร็จ และการวัดและประเมินผล 2) ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการพัฒนาครูสู่ครูมืออาชีพทั้งภาพรวมและรายองค์ประกอบ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกัน</p> อนุ เจริญวงศ์ระยับ จิราวรรณ เทพจินดา ฤกษ์ฤดี นาควิจิตร ญาณิศา บุญจิตร์ Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-05-30 2025-05-30 9 17 52 65 แนวทางการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) กับการจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากำแพงเพชร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/4218 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) กับการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 306 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ซึ่งมีค่า IOC เท่ากับ 0.92 และค่าความเชื่อมั่น 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน โดยใช้การเลือกแบบ Snowball Sampling เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การส่งเสริม Soft Power ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านวัฒนธรรมร่วมด้วยช่วยกัน อยู่ในระดับมากที่สุด และแนวทางการส่งเสริมควรมุ่งพัฒนาความร่วมมือกับชุมชน สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน</p> โชคชัย จาดเมือง สกุล อยู่สุ่ม โสภณ ดวงปัญญาสว่าง Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-05-30 2025-05-30 9 17 66 77 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/4863 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ โดยมีขั้นตอนที่ 1 การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ จำนวน 330 คน เป็นผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 155 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และครูจำนวน 175 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งขั้น เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า <span style="font-size: 0.875rem;">1. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มี</span>ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการมีวิสัยทัศน์เปลี่ยนแปลง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการทำงานเป็นทีม 2. <span style="font-size: 0.875rem;">แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน</span>เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ พบว่าผู้บริหารควรกำหนดนโยบาย แผนพัฒนา ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมด้านต่าง ๆ ให้ผู้บริหารสถานศึกษาครบทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการมีวิสัยทัศน์เปลี่ยนแปลง ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการบริหารความเสี่ยง และด้านการตัดสินใจมีการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมอย่างถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ การประยุกต์ใช้กับการบริหารงานและจัดการสอนผ่านนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีดิจิทัล ควรมีการจัดอบรม สัมมนา ประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้เกี่ยวกับวิธีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมที่หลากหลายมีการสนับสนุนงบประมาณการจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา จัดแหล่งเรียนรู้ เข้านิเทศติดตามการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อการนำไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง</p> นิติพงษ์ สกุณา ศุภชีพ โชติธนโยธิน อนพัทย์ บัวคง สถิรพร เชาวน์ชัย Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-12 2025-06-12 9 17 78 96 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผล ของสถานศึกษา อำเภอทุ่งฝน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/4219 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา อำเภอทุ่งฝน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี อำเภอทุ่งฝน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา อำเภอทุ่งฝน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารและครูของโรงเรียนในอำเภอทุ่งฝน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ปีการศึกษา 2567 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 44 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คนโดยวิธีเจาะจง และครูผู้สอน จำนวน 40 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie R. V. &amp; Morgan, 1970) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรา ส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอทุ่งฝนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสื่อสารด้วยดิจิทัล รองลงมาคือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล ตามด้วยด้านความร่วมมือดิจิทัล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการรู้ดิจิทัล ประสิทธิผลของสถานศึกษา อำเภอทุ่งฝน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากร รองลงมา คือด้านวิสัยทัศน์ร่วมขององค์กร ด้านโครงสร้างองค์กร การสร้างเครือข่าย ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านบรรยากาศภายในองค์กร 2) ระดับความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษาโดยภาพรวมมีสหสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยด้านที่มีสหสัมพันธ์สูงสุด คือ ด้านการสื่อสารดิจิทัล ส่วนด้านที่มี ค่าสหสัมพันธ์กันต่ำสุด คือ การรู้ดิจิทัล</p> นุสรา วัตละยาน ศิริลักษณ์ กล้าการขาย สุพรรณี เกตุอยุ๋ สถิรพร เชาวน์ชัย Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-17 2025-06-17 9 17 97 108