วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE <p style="tab-stops: 21.3pt 70.9pt 92.15pt;"><u><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH Sarabun New',sans-serif; color: black; background: white;">วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร</span></u><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH Sarabun New',sans-serif; color: black; background: white;"> </span></p> <p><u>กำหนดออก : </u><u>2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</u></p> <p><u>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : จัดพิมพ์ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย ผลงานสร้างสรรค์ ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับศึกษาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ การบริหารการศึกษา ยุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา การสอน จิตวิทยาการศึกษา และการแนะแนว หลักสูตร การศึกษา การวิจัย การวัดผลและประเมินผลการศึกษา สังคมศึกษา การประถมศึกษา การศึกษาปฐมวัย ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน คอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์ศึกษา สุขศึกษาและพลศึกษา การสอนวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา</u></p> <p><u>ISSN: 2465-5473 (Print) </u></p> <p>ISSN XXXX-XXXX (Online)</p> th-TH <p>CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0</p> ejfe_edukpru@hotmail.com (Associate Professor Bandhit Chatwirote (Ph.D.)) ejfe_edukpru@hotmail.com (Thitinon Chodthitinonkun) Thu, 26 Dec 2024 08:52:52 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การสอนภาษาไทยแนวใหม่ในฐานะภาษาต่างประเทศด้วยกระบวนการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบ MEN2C Process & 7 Techniques https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/3925 <p>บทความนี้มุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ โดยใช้กระบวนการ MEN2C Process และเทคนิค 7 Techniques ที่ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและสนุกสนาน MEN2C Process ประกอบด้วยการสร้างแรงจูงใจ (Motivation), การสัมผัสกับภาษา (Exposure), การหล่อเลี้ยงทักษะ (Nurturing), การตรวจสอบความเข้าใจ (Checking), และการทบทวนและสรุป (Consolidation) เทคนิค 7 Techniques นั้นรวมถึงการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ความเสมือนจริง (VR) และเสริมจริง (AR) การออกแบบหลักสูตรแบบ Hybrid การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย การประเมินผลที่ทันสมัย การพัฒนาครูผู้สอน และการศึกษาพฤติกรรม และทัศนคติของผู้เรียน การใช้ MEN2C Process และ 7 Techniques นั้นสามารถทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียนรู้ สัมผัสภาษาไทยในบริบทที่สมจริง และสามารถทบทวนและสรุปความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้จึงเสนอแนวทางการสอนภาษาไทยที่มีความหลากหลายและยืดหยุ่น ตอบสนองต่อความต้องการและลักษณะเฉพาะของผู้เรียนในยุคปัจจุบัน</p> วรพล ศรีเทพ, เป็นปลื้ม เชยชม Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/3925 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 คุณธรรมของขงจื๊อสู่คุณลักษณะครูที่ดี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/4058 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดเรื่องคุณธรรมของครูตามหลักปรัชญาขงจื๊อ เพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครูให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขงจื๊อเป็นนักปรัชญาจีนที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อความคิด ค่านิยม และวัฒนธรรมจีนมาอย่างยาวนาน คำสอนของท่านยังคงทรงคุณค่าและสามารถนำมาปรับใช้กับครูในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี บทความนี้นำเสนอคุณธรรม 8 ประการตามแนวคิดขงจื๊อ ซึ่งประกอบด้วย เหริน (ความเมตตา) อี้ (ความชอบธรรม) หลี่ (มารยาท) จื่อ (ความรอบรู้) ซิ่น (ความซื่อสัตย์) หยง (ความกล้าหาญ) เชียน (ความถ่อมตน) และ กง (ความเคารพ) โดยอธิบายความหมาย และแนวทางการนำไปใช้ในบริบทของความเป็นครู คุณธรรมเหล่านี้จะช่วยให้ครูสามารถพัฒนาศิษย์ได้อย่างเต็มศักยภาพ ทั้งด้านความรู้และคุณธรรม ผ่านการเป็นแบบอย่างที่ดีและกระบวนการสอนที่มีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การสร้างคนดีและคนเก่งเพื่อพัฒนาสังคมต่อไปในอนาคต แนวคิดของขงจื๊อยังคงทันสมัยและเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาครูได้อย่างยั่งยืน</p> วรพรรรณ ขาวประทุม Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/4058 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์จีนเรื่อง“把”โดยใช้สถานการณ์จำลองแก้ปัญหาของนักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/3868 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์จีน “把” โดยใช้สถานการณ์จำลอง และศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 25 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ไวยากรณ์จีน“把”โดยใช้สถานการณ์จำลอง 4 ขั้นตอน แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที(t-test) ผลจากการวิจัย พบว่า ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์จีน“把” ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.33 และ 26.70 ตามลำดับ ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการเรียน และจากการศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจหลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 นักศึกษายังสามารถนำความรู้ไปใช้ในด้านการเรียนการสอนและสามารถนำไปประยุกต์ ในระหว่างการฝึกสอนได้ โดยคิดเป็นร้อยละ 100</p> <p> </p> นันทิวัน อินหาดกรวด, วรรษวัลย์ วงศ์กำแหง, พีรพัฒน์ พวงจิตร Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/3868 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด (Open Approach) https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/2947 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด (Open Approach) และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด (Open Approach) ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด (Open Approach) โรงเรียนอนุบาลศรีธาตุ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 28 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เพราะเป็นนักเรียนที่ผู้วิจัยรับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนและมีความบกพร่องในการแก้ โจทย์ปัญหาการบวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) วัดผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลศรีธาตุ ผลการวิจัยพบว่า 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด (Open Approach) </p> ชุติมน ขันทจร, สมใจ ภูครองทุ่ง, อ้อยใจ ปากวิเศษ Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/2947 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 การออกแบบบัตรเกมเพื่อใช้ในการเรียนคำศัพท์ภาษาไทย - เวียดนามด้วยตนเอง https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/3370 <p style="font-weight: 400;">งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบัตรเกมที่ส่งเสริมการเรียนคำศัพท์ภาษาไทยด้วยตนเองของนักศึกษาเวียดนาม และผลสัมฤทธิ์จากการเรียนคำศัพท์ด้วยตนเองโดยใช้บัตรเกม ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 รวมทั้งศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้บัตรเกมคำศัพท์ด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยคือนักศึกษาชาวเวียดนามชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2023 – 2024 ที่เรียนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยดานัง ประเทศเวียดนาม (University of Foreign Language Studies, The University of Danang) จำนวน 27 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 1. บัตรเกมที่ส่งเสริมการเรียนคำศัพท์ภาษาไทยโดยมีคำศัพท์จำนวน 104 คำ 2. แบบทดสอบ ผลสัมฤทธิ์การเรียนคำศัพท์ด้วยตนเองโดยใช้บัตรเกมของนักศึกษาเวียดนาม จำนวน 52 ข้อเป็นแบบอัตนัย 3. แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาชาวเวียดนามที่มีต่อการเรียนโดยใช้บัตรเกม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์การวิจัยครั้งนี้ คือ คะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย (Paired sample t-test) ผลการวิจัยคือ 1) ผู้วิจัยได้บัตรเกมจำนวน 2 ชุด มีคำศัพท์จำนวน 104 คำซึ่งแบ่งเป็นคำศัพท์ภาษาไทยจำนวน 52 คำและภาษาเวียดนามจำนวน 52 คำ โดยใช้หมวดคำศัพท์ชื่อผักและผลไม้ในชีวิตประจำวัน 2) ผลสัมฤทธิ์จากการเรียนคำศัพท์ด้วยตนเอง โดยใช้บัตรเกมของนักศึกษาเวียดนามหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักศึกษาชาวเวียดนามมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้บัตรเกมคำศัพท์ด้วยตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด</p> Nguyen Kieu Yen, Do Thi Hong Tham, Truong Thi Gam Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/3370 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อบล็อกแนะนำการท่องเที่ยว เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/3386 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบล็อกแนะนำการท่องเที่ยวเมืองดานัง ประเทศเวียดนามให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่สนใจจะไปท่องเที่ยวเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม และศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อบล็อกแนะนำการท่องเที่ยวเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ประชากร ในงานวิจัยครั้งนี้คือผู้ที่เข้าชมในบล็อก Thiawdanang (เที่ยวดานัง) https://sites.google.com/view/thiawdanang ตั้งแต่วันที่ 14 - 28 เมษายน 2567 จำนวน 171 คน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่ตอบแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจจำนวน 51 คน มาจากการกำหนดจำนวน 15 – 30% ของกลุ่มตัวอย่าง และกำหนดโดยการใช้เงื่อนไขผู้ที่ทำแบบประเมินคือลำดับ 1 – 51 คนแรกที่ทำแบบประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่</p> <ol> <li>เว็บบล็อกแนะนำการท่องเที่ยวเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม Thiawdanang (เที่ยวดานัง) https://sites.google.com/view/thiawdanang</li> <li>แบบประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อบล็อกแนะนำการท่องเที่ยวเป็นแบบสอบถามออนไลน์</li> </ol> <p>สถิติที่ใช้ในงานวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. บล็อกแนะนำการท่องเที่ยวที่สร้างขึ้นมีเนื้อหาเป็นการแนะนำภูเขา หงู หั่นห์ เซิน (Ngu Hanh Son) ประกอบด้วย ความรู้ ข้อมูลทั่วไป การเดินทางแผนที่ วิดีโอแนะนำ ภาพประกอบ ข้อเสนอแนะการท่องเที่ยว ที่เป็นทั้งภาษาไทยและภาษาเวียดนาม 2. นักท่องเที่ยวชาวไทยมีความพึงพอใจต่อบล็อกแนะนำการท่องเที่ยวในระดับดีมาก</p> Nguyen Kieu Yen, Nguyen Thi Thu Sang, Pham Thi Minh Chau Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/3386 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 AN ANALYSIS OF TRANSLATION STRATEGIES FROM THAI INTO ENGLISH: A CASE STUDY OF THE MUSEUM LABELS AT KHON KAEN https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/3255 <p>Translation is the transfer of meaning from the source language to the receptor language (target language), which is considered as an essential tool for transferring knowledge and culture, especially in the context of tourist attractions. It employs various translation strategies to convey information about national identity and culture and foster understanding among speakers of different languages. This study aimed to analyze the problems solving of 8 translation strategies by Baker (1992) for non-equivalence at word level using in labels at Khon Kaen National Museum. The data were collected from the museum labels at Khon Kaen National Museum using a purposive sampling method. As a qualitative study, data analysis was conducted based on Baker’s (1992) translation strategies. The results indicated that translation with more general words was the most frequently employed strategy, while translation by cultural substitution and translation by illustration did not appear in the results of this study.</p> <p> </p> Phatnariya Yamsrisuk Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/3255 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700