https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JEDU-SRRU/issue/feed วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-12-31T00:35:34+07:00 นางสาวปิยพร สีสันต์ journaledu@srru.ac.th Open Journal Systems <p><strong>วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (Journal of Education Panyaphat Surindra Rajabhat University)</strong> เป็นวารสารวิชาการที่ครอบคลุมด้านการศึกษา สหวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมถึงวิทยาการด้านการบูรณาการศาสตร์เพื่อการพัฒนา มีนโยบายในการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยของนิสิต/นักศึกษา ครูผู้สอน คณาจารย์ และนักวิชาการที่สนใจ ในรูปแบบบทความวิจัย และบทความวิชาการ</p> https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JEDU-SRRU/article/view/3320 การพัฒนาสมรรถนะครูภาษาไทยรุ่นใหม่สำหรับการปฏิวัติทางการศึกษาดิจิทัล 2024-12-24T10:38:32+07:00 วรพล ศรีเทพ worapol.sri@hotmail.com <p>การปฏิวัติเทคโนโลยีดิจิทัลได้สร้างความท้าทายต่อวิธีการสอนภาษาไทยแบบดั้งเดิม ซึ่งอาจทำให้นักเรียนขาดแรงจูงใจหากครูยังยึดติดกับวิธีการสอนเก่าที่ขาดการบูรณาการเทคโนโลยี สื่อการสอนที่น่าสนใจ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยนิพนธ์บทความนำเสนอรูปแบบกระบวนการพัฒนาสมรรถนะครูภาษาไทยรุ่นใหม่ในยุคการศึกษาดิจิทัล เรียกว่า "COOLTHAISA" ประกอบด้วยกระบวนการพัฒนาและสมรรถนะครูภาษาไทยรุ่นใหม่ในยุคการศึกษาดิจิทัล ได้แก่ กระบวนการพัฒนาสมรรถนะครูภาษาไทยรุ่นใหม่ในยุคการศึกษาดิจิทัล ประกอบด้วย การเสริมสร้างความรู้ดิจิทัล เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้แบบผสมผสาน ออกแบบสื่อมัลติมีเดีย ประยุกต์ใช้เกมเพื่อการเรียนรู้ ปรับวิธีสอนตามความต้องการรายบุคคล ประยุกต์ใช้การประเมินผลดิจิทัล วิเคราะห์ข้อมูลผู้เรียน นำเทคโนโลยี VR/AR มาใช้ แลกเปลี่ยนความรู้และแนวปฏิบัติที่ดี ยอมรับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสมรรถนะครูภาษาไทยรุ่นใหม่ในยุคการศึกษาดิจิทัล ประกอบด้วย ปรับตัวอย่างมืออาชีพ เครื่องจักรสร้างสรรค์การเรียนรู้ เปลี่ยนรูปแบบใหม่ โลกจำลองพลิกการเรียนรู้ ปัญญาแห่งการเรียนรู้ถาวร ซึ่งกระบวนการพัฒนาข้างต้นจะเป็นการช่วยส่งเสริมการปฏิรูปการสอนภาษาไทยยุคใหม่อันเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนในยุคปัจจุบัน</p> 2025-01-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JEDU-SRRU/article/view/2595 การศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS 2024-06-24T15:05:29+07:00 พันแสง จันทร์แดง saeng9175@gmail.com สมพล พวงสั้น sompon.ps@gmail.com นิตยา พวงพุก nitapoungphuk310.nit@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS กับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 2) ศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS จำแนกตามขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยฉะเชิงเทรา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที<br>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS จำแนกตามขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหา ดังนี้ ความสามารถในการทำความเข้าใจโจทย์ปัญหาอยู่ในระดับสูงมาก (ร้อยละ 95.00) ความสามารถในการดำเนินการแก้โจทย์ปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 61.67) และความสามารถในการสรุปคำตอบของโจทย์ปัญหาอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 56.67) </p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JEDU-SRRU/article/view/2993 การพัฒนาแบบฝึกทักษะที่ส่งเสริมความสามารถในการแต่งกาพย์ยานี 11 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2024-12-18T13:15:41+07:00 พรเทวา หินอ่อน 62100101201@udru.ac.th วนิดา พรมเขต wanida.pr@udru.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะที่ส่งเสริมความสามารถในการแต่งกาพย์ยานี 11 ของนักเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนการแต่งกาพย์ยานี 11 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนโนนสูง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี จำนวน 1 ห้อง 40 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน 2) แบบฝึกทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแต่งกาพย์ยานี 11 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยค่า t–test for Dependent Sample</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะ มีประสิทธิภาพ 85.14/86.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 โดยแบบฝึกทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 ที่กลุ่มตัวอย่างได้คะแนนมากที่สุด ได้แก่ แบบฝึกทักษะที่ 3 เรื่อง ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี 11 (87.33 เปอร์เซ็นต์) ส่วนแบบฝึกทักษะที่กลุ่มตัวอย่างได้คะแนนน้อยที่สุด ได้แก่ แบบฝึกทักษะที่ 1</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JEDU-SRRU/article/view/3003 การศึกษาความสามารถในการสื่อสารสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และความรับผิดชอบโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2024-06-24T15:04:29+07:00 วุฒิชัย ร่วมจิตร 63040140130@udru.ac.th ยุภาดี ปณะราช 63040140130@udru.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ และเปรียบเทียบหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้กับเกณฑ์ ร้อยละ&nbsp;70 และศึกษาความรับผิดชอบหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่&nbsp;2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่&nbsp;2 จำนวน&nbsp;34 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม&nbsp;เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย&nbsp;แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้&nbsp;แบบวัดความสามารถในการสื่อสารสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความรับผิดชอบ&nbsp;วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่&nbsp;2 มีความสามารถในการสื่อสารสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ หลังสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ และหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ&nbsp;70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ&nbsp;.05 และมีความรับผิดชอบหลังการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JEDU-SRRU/article/view/3971 กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 2024-09-10T17:30:11+07:00 ประจักษ์ สระแก้ว srakaew1@gmail.com <p>การวิจัย เรื่อง กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ด้านการบริหารจัดการ การพัฒนาครู และด้านการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice: BP) วิสัยทัศน์ (Vision) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำนวน 291 โรงเรียน และการศึกษานโยบายการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้&nbsp; 1. กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ด้านการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์สภาพปัญหาของทุกโรงเรียน 2) การวางแผนร่วมกันของเครือข่าย 3) การสร้างเครือข่าย/การแบ่งปัน 4) การพัฒนาทีมงาน 5) การลงมือปฏิบัติ 6) การประเมินผล/การปรับปรุง 7) การสนทนากลุ่มของผู้บริหาร และ 8) การชื่นชมทุกๆ ฝ่าย โดยต้องอาศัยภาวะผู้นำและคุณธรรมของผู้บริหารในการดำเนินการทุกขั้นตอน&nbsp;&nbsp; <br>2. กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ด้านการพัฒนาครู ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การรับทราบนโยบาย 2) การวางแผนร่วมกันของครูและผู้อำนวยการ 3) การแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน/การสร้างเครือข่าย 4) การอบรมเพื่อสร้างความเป็นผู้นำทางวิชาการและเทคนิคการสอนให้กับครู 5) การลงมือปฏิบัติ 6) การประเมินผล 7) การปรับปรุง และ <br>8) การรายงาน/การจัดทำ Best Practice โดยต้องอาศัยภาวะผู้นำและคุณธรรมของผู้บริหารในการดำเนินการทุกขั้นตอน และต้องให้ขวัญและกำลังใจให้ตรงกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครู&nbsp; <br>3. กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ด้านการยกระดับผลสัมฤทธิ์ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การประเมินนักเรียนตามมาตรฐาน ตามตัวชี้วัด ทุกชั้น ทุกคน 2) การวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล/รายชั้น 3) ประชุมร่วมกับผู้บริหาร เพื่อนครู ผู้ปกครอง และกรรมการโรงเรียน 4) สร้างนวัตกรรมการสอนที่เน้นการใช้ Active Learning ประกอบการใช้สื่อผสม 5) สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียน และพันธสัญญาแห่งความสำเร็จ 6) การลงมือปฏิบัติ/การฝึกซ้ำย้ำทวน/การเสริมแรงเชิงบวก 7) การประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นนาที และประเมินทุกคน และ 8) การสรุปผล การทำ Best Practice เพื่อแบ่งปันและเผยแพร่ความสำเร็จ โดยต้องอาศัยภาวะผู้นำและคุณธรรมของผู้บริหารในการดำเนินการทุกขั้นตอน</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JEDU-SRRU/article/view/3580 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้แบบฝึกการอ่านเรื่องสั้นด้วยเทคนิคการอ่านแบบร่วมมือ(CSR) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านห้วยหละ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน 2024-06-13T12:53:10+07:00 อาภัสรา อินทผสม g653303016@northcm.ac.th ชนินทร์ ยาระณะ g653303016@northcm.ac.th วารุณี โพธาสินธุ์ g653303016@northcm.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและประเมินความเหมาะสมแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจด้วยเทคนิคการอ่านแบบร่วมมือ (CSR) ร่วมกับเรื่องสั้นภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกการอ่านเรื่องสั้นด้วยเทคนิคการอ่านแบบร่วมมือ(CSR) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านห้วยหละ อำเภอบ้านโฮ่ง&nbsp; จังหวัดลำพูน ประชากร ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านห้วยหละ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 16 คน ได้มาโดยการใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องในการวิจัยได้แก่ 1) แบบฝึกการอ่านเรื่องสั้นด้วยเทคนิคการอ่านแบบร่วมมือ(CSR) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5&nbsp; 2) แผนการจัดการเรียนรู้เทคนิคการอ่านแบบร่วมมือ (CSR) ร่วมกับเรื่องสั้นภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นระถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) แบบทดสอบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังเรียน&nbsp;&nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลความเหมาะสมของแบบฝึกการอ่านเพื่อความเข้าใจด้วยเทคนิคการอ่านแบบร่วมมือ (CSR) ร่วมกับเรื่องสั้นภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก 2) ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนสูงขึ้นหลังเรียนด้วยแบบฝึกการอ่านเรื่องสั้นด้วยเทคนิคการอ่านแบบร่วมมือ(CSR) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : ทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ, เทคนิคการอ่านแบบร่วมมือCSR (collaborative strategic reading), แบบฝึกการอ่านเรื่องสั้นด้วยเทคนิคการอ่านแบบร่วมมือ(CSR)</p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> 2025-01-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JEDU-SRRU/article/view/3201 การส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยเทคนิค Learning Together ร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิก 2024-12-26T18:06:48+07:00 จักรพงษ์ วารี j_waree@yahoo.com วราภรณ์ สาทิพย์จันทร์ j_waree@yahoo.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสื่อเรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค Learning Together ร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิก 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนของนักเรียน เรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัยด้วยเทคนิค Learning Together ร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิก 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ต่อการจัดการเรียนรู้เรื่อง การใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัยด้วยเทคนิค Learning Together ร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนบ้านชำปะโต จำนวนนักเรียน 19 คนได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) สื่อโมชันกราฟิกเรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัย 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัย 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลการเรียนรู้โดย dependent sample t – test</p> <p>ผลการวิจัย</p> <ol> <li>ผลวิเคราะห์คุณภาพของสื่อโมชันกราฟิก อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.32/81.05 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80</li> <li>ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อโมชันกราฟิกร่วมกับด้วยเทคนิค Learning Together ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 คะแนน หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.53 คะแนน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> <li>ผลวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนโดยเรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัย ด้วยเทคนิค Learning Together ร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิก ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57</li> </ol> 2025-01-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์