วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JEDU-SRRU
<p><strong>วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (Journal of Education Panyaphat Surindra Rajabhat University)</strong> เป็นวารสารวิชาการที่ครอบคลุมด้านการศึกษา สหวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมถึงวิทยาการด้านการบูรณาการศาสตร์เพื่อการพัฒนา มีนโยบายในการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยของนิสิต/นักศึกษา ครูผู้สอน คณาจารย์ และนักวิชาการที่สนใจ ในรูปแบบบทความวิจัย และบทความวิชาการ</p>
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (FACULTY OF EDUCATION, SURINDRA RAJABHAT UNIVERSITY)
th-TH
วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
2985-0878
<p>ข้อความลิขสิทธิ์</p>
-
ห้องเรียนแห่งความสุขในยุคการศึกษา 5.0
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JEDU-SRRU/article/view/3267
<p>ห้องเรียนแห่งความสุขในยุคการศึกษา 5.0 เป็นการปฏิวัติแนวคิดการศึกษาที่เน้นการผสานรวมความเป็นอยู่ที่ดีและความสุขของนักเรียนเข้ากับกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้เทคโนโลยี ล้ำสมัยเพื่อสร้างประสบการณ์การศึกษาที่น่าตื่นเต้นและลึกซึ้ง ห้องเรียนแห่งความสุขให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพจิต และอารมณ์ของผู้เรียน โดยมุ่งสร้างบรรยากาศการเรียนที่สนับสนุน การเติบโตด้านวิชาการและความเป็นอยู่ที่ดี สะท้อนถึงการเดินทางใหม่ที่เตรียมพร้อมนักเรียนสำหรับโลกอนาคตที่เต็มไปด้วยโอกาสและความท้าทาย บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ห้องเรียนแห่งความสุขในยุคการศึกษา 5.0 โดยผู้เขียนได้ข้อค้นพบและข้อเสนอเกี่ยวกับกระบวนการสร้างสรรค์และปัจจัยความสำเร็จของห้องเรียนแห่งความสุขในยุคการศึกษา 5.0 ภายใต้กรอบแนวคิดโรงเรียนแห่งความสุขสู่ห้องเรียนแห่งความสุขในยุคการศึกษา 5.0 และการบริหารจัดการด้วยวงจรคุณภาพ PDCA ดังนี้ กระบวนการสร้างสรรค์ห้องเรียน แห่งความสุขในยุคการศึกษา 5.0 มีรูปแบบขั้นตอน D-P-L-A-C-E ประกอบด้วย 1) การกำหนดเป้าหมาย 2) การวางแผน 3) การเป็นผู้นำในการดำเนินการ 4) การประเมิน 5) การปรับปรุงและพัฒนา และ 6) การขยายผล และปัจจัยความสำเร็จของห้องเรียนแห่งความสุขในยุคการศึกษา 5.0 ได้แก่ ครูผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตรและกิจกรรม การเรียนรู้ สภาพแวดล้อมทางกายภาพและเทคโนโลยี การบริหารจัดการ ทั้งหมดนี้เป็นส่วนสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างห้องเรียนที่ส่งเสริม ทั้งความรู้ทางวิชาการ ความเป็นอยู่ที่ดีและความสุขของนักเรียน เพื่อเตรียมพร้อมพวกเขาสำหรับโลกอนาคตที่เต็มไปด้วยโอกาสและความท้าทาย</p>
วรพล ศรีเทพ
ยุทธพล สะและหมัด
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-30
2025-06-30
3 1
145
168
-
การสอนบูรณาการฐานพุทธศาสตร์ตามแนวคิดมรณศึกษาเพื่อส่งเสริม นักอนาคตศาสตร์รุ่นเยาว์สำหรับผู้เรียนในระบบโรงเรียนไทย
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JEDU-SRRU/article/view/3407
<p>ประเด็นสำคัญของการจัดการศึกษา คือ การเตรียมให้ผู้เรียนในระบบโรงเรียนไทยสามารถดำรงชีวิต เป็นยุคสมัยที่สังคมต้องเผชิญกับความซับซ้อนอย่างมาก อันเนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปรากฏการณ์ทางสังคมมีความซับซ้อนจากประเด็นที่หลากหลาย มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสภาวะสงครามความอดยาก การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ และ ฯลฯ เพื่อสร้างภูมิคุ้นกันแก่ผู้เรียนในระบบโรงเรียนไทยให้สามารถรับมือต่อความซับซ้อนหรือการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้ การสอนบูรณาการแนวคิดมรณศึกษาฐานพุทธศาสตร์ เป็นการจัดการศึกษาที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ในประเด็นความตายและการสูญเสีย การพัฒนาจิตใจและอารมณ์ ให้ผู้เรียนสามารถปรับตัว ตลอดจนความสามารถในการเผชิญสถานการณ์อย่างมีสติและ มีเหตุผลบนฐาน พุทธศาสตร์ที่สอนให้เข้าใจเกี่ยวกับสภาวะความเป็นจริงของตัวมนุษย์และความสัมพันธ์ของมนุษย์กับความเป็นไปตามธรรมชาติ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ เข้าใจเหตุและปัจจัยของการเกิดขึ้นตั้งอยู่ และดับไปของสรรพสิ่ง ทั้งที่มองเห็นและ ไม่เห็น ให้มีวิจารณญาณกับสิ่งแปลกใหม่ที่เกิดขึ้น รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม ซึ่งเป็นอีกวิธีการหนึ่งในการส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นนักอนาคตศาสตร์รุ่นเยาว์ เพื่อเตรียมรับมือการสถานการณ์โลกพลิกผันได้อย่างมีคุณภาพ</p>
วรินทร สิริพงษ์ณภัทร
ภูมิณัฏฐ์ ยงค์พีระกุล
อรณิชา ชมภูศรี
ชรินทร์ มั่งคั่ง
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-30
2025-06-30
3 1
169
186
-
Soft Power and music in Thai society
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JEDU-SRRU/article/view/3411
<pre class="tw-data-text tw-text-large tw-ta" dir="ltr" data-placeholder="คำแปล" aria-label="ข้อความแปล" data-ved="2ahUKEwi-wL2vwIyGAxWJUGwGHV0SAlgQ3ewLegQICRAU">ดนตรีมีบทบาทสำคัญในการเป็นเครื่องมือ Soft Power ของสังคมไทย โดยสร้าง ความน่าสนใจและความเข้าใจจากนานาชาติ การนำเสนอวัฒนธรรมและทัศนคติไทยผ่านดนตรีหลากหลายรูปแบบไม่เพียงสร้างความเพลิดเพลิน แต่ยังเป็น Soft Power ที่ทรงพลัง ทำให้ทั่วโลกชื่นชมความเป็นไทย แม้โลกดนตรีจะพัฒนาและแนวโน้มการฟังที่เปลี่ยนไป แต่ดนตรีไทย บางประเภทได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในการสร้างความบันเทิง และทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จัก นโยบายต่างประเทศเสริมสร้าง Soft Power โดยยกระดับสถานะประเทศเพื่อเป็นสะพานเชื่อมระหว่างประเทศมหาอำนาจและกำลังพัฒนา การทูตเชิงวัฒนธรรมผ่านดนตรีส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและสร้างพันธมิตร ดนตรีเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่หล่อหลอมสังคมทั้งในและนอกประเทศ การผสมผสานดนตรีท้องถิ่นกับนวัตกรรมช่วยสร้างความเข้าใจ ในวัฒนธรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยว ดนตรีจึงเป็นตัวแทน Soft Power ที่มีอิทธิพลในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของไทยในระดับโลก</pre>
จิระนันท์ โตสิน
โกวิทย์ ขันธศิริ
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-30
2025-06-30
3 1
187
208
-
ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ที่มีต่อทักษะพื้นฐานการเล่นแชร์บอลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JEDU-SRRU/article/view/3510
<p> </p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานการเล่นแชร์บอลก่อนเรียนและหลังเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ 2) เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานการเล่นแชร์บอลตามหลังเรียนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินทักษะปฏิบัติ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะพื้นฐานการเล่นแชร์บอลหลังเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 2) ทักษะพื้นฐานการเล่นแชร์บอลหลังเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p>
นิคม อนากาศ
มนูญพงศ์ ชัยพันธุ์
นาราภัทร รัตนพิรุณ
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-30
2025-06-30
3 1
1
18
-
การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JEDU-SRRU/article/view/2954
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะด้านการอ่าน จับใจความสำคัญ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความสำคัญก่อนและหลังเรียน โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษาที่ 2566 จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC 2) แบบวัดทักษะด้านการอ่านจับใจความสำคัญ จำนวน 5 ชุด จากวรรณกรรม 5 ประเภท ได้แก่ นิทาน โฆษณา บทความ ข่าว และสารคดี 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ทดสอบค่าที (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญ .01</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะด้านการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิค CIRC ดีขึ้นตามลำดับ พบว่า ทักษะการอ่านจับใจความโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับดีมาก (= 2.51, S.D. = 0.41) เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละประเด็นพบว่า ทักษะการตัดพลความเพื่อให้ได้ใจความหลัก (= 2.54, S.D. = 0.19) อยู่ในระดับดีมาก ทักษะการสรุปใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน ( = 2.59, S.D. = 0.09) อยู่ในระดับดีมาก และทักษะการอธิบาย ให้เหตุผลเพื่อยืนยันคำตอบ ( = 2.40, S.D. = 0.14) อยู่ในระดับดีมาก 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ( = 16.05, S.D. = 1.41) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 11.73, S.D. = 1.44) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
อรอนุตร ธรรมจักร
พัฒจิรา จันทะวัน
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-30
2025-06-30
3 1
19
34
-
ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JEDU-SRRU/article/view/3002
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด และศึกษาเจตคติต่อคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ 0.80 ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.70 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25 – 0.63 แบบวัดความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เป็นแบบอัตนัยจำนวน 5 ข้อ มีค่า(IOC) อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.52 – 0.79 และค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.20 – 0.88 และแบบวัดเจตคติ มีลักษณะเป็นแบบมาตรประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีค่า (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.80 ผลวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีเจตคติต่อคณิตศาสตร์หลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนคิดว่าวิชาคณิตศาสตร์สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ นักเรียนชอบเล่นเกมคณิตศาสตร์ และนักเรียนคิดว่าวิชาคณิตศาสตร์มีประโยชน์ตามลำดับ</p>
อนุธิดา รัตนะ
ยุภาดี ปณะราช
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-30
2025-06-30
3 1
35
50
-
บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการปฏิบัติตน ตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JEDU-SRRU/article/view/4464
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท และ 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ปีการศึกษา 2566 จำนวน 309 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม มีความเชื่อมั่น 0.972 วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีแอลเอสดีของฟิชเชอร์</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน</li> </ol>
ศุภณัฐ นิยมธรรม
เฉลิมชัย หาญกล้า
ภูวดล จุลสุคนธ์
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-30
2025-06-30
3 1
51
70
-
การพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JEDU-SRRU/article/view/4248
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเกมการศึกษาที่ส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เกมการศึกษา 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) เกมการศึกษาที่พัฒนาประกอบด้วย 5 เกม ได้แก่ เกมจัดกลุ่มรูปเรขาคณิต เกมแยกรูปเรขาคณิต เกมต่อรูปเรขาคณิต เกมสะท้อนรูปเรขาคณิต และเกมหมุนรูปเรขาคณิต ซึ่งการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษามีประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E1/E2) เท่ากับ 72.27/74.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียน โดยใช้เกมการศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p>
วิมลรัตน์ ฉายาปิยะนันท์
มนูญพงศ์ ชัยพันธุ์
นาราภัทร รัตนพิรุณ
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-30
2025-06-30
3 1
71
86
-
กลยุทธ์การสอนประวัติศาสตร์ผ่านประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมชุมชน เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองนิเวศศาสตร์ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JEDU-SRRU/article/view/3824
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแผนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่บูรณาการประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมชุมชน ที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองนิเวศศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ประเมินพฤติกรรมความเป็นพลเมืองนิเวศศาสตร์ หลังการใช้แผนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่บูรณาการประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมชุมชน ที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองนิเวศศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตัวอย่างที่ได้ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับฉลาก ชั้นเรียน คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิชัยวิทยา จำนวน 18 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการสอนประวัติศาสตร์ผ่านประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมชุมชน จำนวน 18 ชั่วโมง 2) แบบประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ และ 3) แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติความเป็นพลเมืองนิเวศศาสตร์ ใช้รูปแบบวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ผลการประเมินคุณภาพของแผนการเรียนรู้ มีผลรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (M=4.60, SD=0.21)</li> </ol> <p> 2. ระดับคะแนนการประเมินพฤติกรรมความเป็นพลเมืองนิเวศศาสตร์ของนักเรียน หลังจากการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมชุมชนนักเรียน อยู่ในระดับเหมาะสมมาก (M=4.46, SD=0.56)</p>
ชรินทร์ มั่งคั่ง
ศรศวร ไชโย
ภคนันท์ โหมดบุตร
วรินทร สิริพงษ์ณภัทร
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-30
2025-06-30
3 1
87
104
-
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบนำตนเอง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชา คณิตศาสตร์การเงิน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JEDU-SRRU/article/view/2809
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบนำตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 14 คน ใช้เวลาในการทดลองทั้งหมด 15 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ (100 นาที) รวมทั้งสิ้น 25 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ รูปแบบ การจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นโดยการใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมนุษยนิยม (Humanism) แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) และแนวคิดการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบไปด้วยรายวิชาคณิตศาสตร์จำนวน 15 แผนการเรียนรู้ แบบบันทึกผลการเรียนรู้ แบบวัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม</p> <p> ผลการวิจัยสรุปได้ว่า</p> <ol> <li>รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบนำตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีกระบวนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน (SCIF) ได้แก่ ขั้นที่ 1 เรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-study: S) ขั้นที่ 2 ตรวจสอบความเข้าใจ (Checking for understanding: C) ขั้นที่ 3 บูรณาการความรู้ (Integration: I) และ ขั้นที่ 4 สะท้อนผลลัพธ์ (Feedback: F)</li> </ol> <p> 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบนำตนเอง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า 1) การเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
อนุพงศ์ สุขเกษม
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-30
2025-06-30
3 1
105
124
-
การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะ และเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JEDU-SRRU/article/view/4221
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้เกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R จำนวน 4 ชุด ประกอบด้วย นิทาน เรื่องสั้นหรือบทความ บทเพลง และบทร้อยกรอง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 20 ข้อ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การหาความตรง (IOC) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แบบทดสอบ t-test กรณีทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง ดัชนีประสิทธิผล ดัชนีประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าความยาก (p) ค่าอำนาจจำแนก (r)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 86.75/88.50 2) ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.47, S.D. = 0.63)</p>
ชุติมณฑน์ บุญทองดี
อุไวรรณ สิงห์ทอง
เสาวลักษณ์ บุบผาสังข์
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-30
2025-06-30
3 1
125
144