https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JIREI/issue/feed
วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา (Journal of Interdisciplinary Research and Educational Innovation)
2024-12-27T09:14:54+07:00
ดร.กันต์ฐมณีญา นฤโฆษกิตติกีรติ
jirei.journal@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา</strong></p> <p><strong>Journal of Interdisciplinary Research and Educational Innovation</strong></p> <p><strong>ISSN 2821-9791 (Online)</strong></p> <p><strong>วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา</strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาในศาสตร์หลากหลายแขนงและเผยแพร่ผลงานวิชาการ บทความวิจัยและบทความวิชาการของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณาจารย์ นักวิจัยและนิสิต นักศึกษา ในด้านสหวิทยาการต่าง ๆ ด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ด้านศาสนา ปรัชญา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภาษาศาสตร์ สาขาการศึกษาเชิงประยุกต์ การพัฒนาการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ศึกษา คณิตศาสตร์ศึกษา การพัฒนาหลักสูตร เทคโนโลยีการศึกษา การพัฒนาวิชาชีพครู และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่ 2 ฉบับ (ปี 2565)</strong></p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน (เผยแพร่ทางเวปไซต์ 30 มิถุนายน)</p> <p>ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม (เผยแพร่ทางเวปไซต์ 30 ธันวาคม)</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ</strong></p> <p>วารสารมีกระบวนการการพิจารณาบทความโดยการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ อย่างน้อย 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double-blind peer review) โดยผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง (Author) ผู้แต่ง (Author) ไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน (Reviewer) และผู้ประเมินไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้แต่ง รวมทั้งได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์</p> <p>บทความที่ส่งมาขอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความของวารสาร และจะต้องจัดพิมพ์บทความตามรูปแบบ (Template) ที่วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษากำหนดเท่านั้น ไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงด้วยทุกครั้ง</p> <p>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ 4,500 บาท ต่อบทความ</p> <p> </p> <p><strong>เจ้าของวารสาร</strong></p> <p>บริษัท วิทยาพัฒน์ จำกัด</p>
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JIREI/article/view/3881
พลังอ่อนโยน (Soft Power) : กลยุทธ์ของภาวะผู้นำในยุคปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)
2024-09-01T15:29:52+07:00
สมชาย เทพแสง
Somchai17@hotmail.com
อัจฉริยา เทพแสง
Somchai17@hotmail.com
กันต์ฐมณีญา นฤโฆษกิตติกีรติ
tpdotw@gmail.com
<p>ภาวะผู้นำในยุคปัญญาประดิษฐ์ควรใช้พลังอ่อนโยนเป็นกลยุทธ์ในการบริหารงานให้ประสบผลสำเร็จ เพราะถือว่ามีความสำคัญต่อองค์กรหรือประเทศ ทำให้เกิดประสิทธิผลอย่างยั่งยืน และสร้างชื่อเสียงในด้านคุณภาพของผลผลิตและบริการ เสริมสร้างภาพลักษณ์บนเวทีระหว่างประเทศ ตลอดจนเสริมสร้างคุณค่าทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการศึกษา โดยเน้นส่งเสริมทางวัฒนธรรม อาหาร ภาษา วิถีชีวิต และสถานที่ท่องเที่ยว โดยกลยุทธ์พลังอ่อนโยนของภาวะผู้นำ ได้แก่ <strong> </strong>การใช้เทคโนโลยี AI การคิดสร้างสรรค์ ความฉลาดทางอารมณ์ การสร้างแรงบันดาลใจ มนุษยสัมพันธ์ ความเห็นอกเห็นใจ ความไว้วางใจ การทำงานเป็นทีม แล<strong>ะ</strong>การคิดแบบพัฒนา</p>
2024-12-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา (Journal of Interdisciplinary Research and Educational Innovation)
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JIREI/article/view/4158
ภาวะผู้นำอนาคต : การพัฒนาองค์กรสมัยใหม่ในยุคปัญญาประดิษฐ์
2024-12-23T19:00:22+07:00
สมชาย เทพแสง
Somchai17@hotmail.com
อัจฉริยา เทพแสง
mindthep9@gmail.com
กันต์ฐมณีญา นฤโฆษกิตติกีรติ
tpdotw@gmail.com
<p>ภาวะผู้นำอนาคตเป็นรูปแบบของผู้นำสมัยใหม่ เป็นกุญแจสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรในยุคปัญญาประดิษฐ์ <strong> ช่วยพัฒนาผลผลิตและการบริการที่มีคุณภาพ </strong> เพิ่มผลกำไรที่คุ้มค่า ส่งเสริม<strong>ขวัญกำลังใจแก่</strong>บุคลากร <strong> สร้างความประทับใจและความภักดีแก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง </strong> โดยภาวะผู้นำอนาคต มีทักษะสำคัญ ได้แก่ ความฉลาดทางอารมณ์ การสร้างความไว้วางใจ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และการสร้างวัฒนธรรมที่แตกต่าง มีคุณลักษณะสำคัญ ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ ความยืดหยุ่น ความเห็นอกเห็นใจ ความทะเยอทะยาน และใฝ่เรียนรู้ ที่สำคัญสร้างแบรนด์ให้องค์กรมีชื่อเสียง มีความทันสมัยเป็นที่ประจักษ์แก่ลูกค้า ตลาด สังคม ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ</p>
2024-12-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา (Journal of Interdisciplinary Research and Educational Innovation)
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JIREI/article/view/4327
ปัจจัยสนับสนุนที่มีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในองค์กร ภาครัฐและภาคเอกชนในยุคปัญญาประดิษฐ์
2024-12-23T22:34:39+07:00
วสันต์ เกิดสวัสดิ์
vason2555@gmail.com
สหพัฒน์ หอมจันทร์
tpdotw@gmail.com
กันต์ฐมณีญา นฤโฆษกิตติกีรติ
umarit.co@gmail.com
<p>คุณประโยชน์ของการนำ AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการให้บริการของภาครัฐและภาคเอกชน คือ (1) การดำเนินงานมีประสิทธิภาพประสิทธิผลมากขึ้น (2) ช่วยการพัฒนาบริการภาครัฐและภาคเอกชนใหม่ ๆ และทำให้มีคุณภาพมากขึ้น (3) ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ (4) ทำน้อยแต่ได้มากเพราะได้ผลลัพธ์จากการดำเนินงานที่ดีขึ้น โดยใช้ความพยายามน้อยลง การเตรียมความพร้อมในการใช้ AI ของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ผู้บริหารระดับสูงต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีการปลูกฝังแนวคิดการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จาก AI ในหน่วยงาน และพัฒนาแนวทางการจัดการข้อมูลและเครื่องมือเกี่ยวกับ AI อย่างมีแบบแผนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั่วโลกมีการประยุกต์ใช้ AI เพื่อให้บริการประชาชนในด้านต่าง ๆ อาทิ สวัสดิการสังคม สาธารณสุข ความมั่นคงภายในประเทศ การทหาร การคมนาคมขนส่ง การศึกษา เหตุฉุกเฉิน ประชาสัมพันธ์ และอื่น ๆ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence: AI เป็นเทคโนโลยีที่หลายประเทศได้นำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านอุตสาหกรรม ด้านสุขภาพ เป็นต้น การพัฒนาดิจิทัล จึงเป็นกลไกในการยกระดับการทำงานของทุกภาคส่วนให้ทันสมัยและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภาครัฐและภาคเอกชนในการให้บริการที่รวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งประเทศไทยได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยี AI โดยกำหนดนโยบายแผนพัฒนาด้านดิจิทัลและแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์ อย่างไรก็ตามจากผลการสำรวจการประยุกต์ใช้งาน AI ในประเทศไทยพบว่า วัตถุประสงค์สำคัญที่องค์กรต่าง ๆ นำ AI มาใช้เนื่องจากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและให้บริการขององค์กร โดยประยุกต์ใช้สำหรับการบริหารจัดการภายในองค์กร ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนนำมาใช้เพื่อยกระดับการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภาครัฐและภาคเอกชน ลดความซ้ำซ้อนและสร้างมาตรฐานในการทำงานเนื่องจาก AI เป็นเทคโนโลยีที่สามารถเลียนแบบความสามารถของมนุษย์ที่ซับซ้อนได้ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมในทุกด้านเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในด้านรูปแบบการทำงานให้เป็นรูปแบบดิจิทัล ได้แก่ การจัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล การพัฒนาระบบการทำงานและการให้บริการที่มีความสะดวก รวดเร็ว เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้แก่องค์กรภาครัฐและภาคเอกชนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น โดยมีข้อเสนอแนะ คือควรมีการปลูกฝังแนวคิดการพัฒนา AI ในหน่วยงาน ส่งเสริมและกระตุ้นให้บุคลากรมีทักษะทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้น สร้างความร่วมมือของบุคลากรเพื่อขับเคลื่อนหน่วยงานให้มีความก้าวหน้า พัฒนากระบวนการและขั้นตอนที่จะนำเทคโนโลยี AI มาใช้ ตลอดจนการวางแผนการทำงานให้ผู้ที่ใช้งานปัญญาประดิษฐ์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนควรมีการประเมินความเหมาะสมในการนำปัญญาประดิษฐ์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน</p>
2024-12-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา (Journal of Interdisciplinary Research and Educational Innovation)