วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา (Journal of Interdisciplinary Research and Educational Innovation) https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JIREI <p><strong>วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา</strong></p> <p><strong>Journal of Interdisciplinary Research and Educational Innovation</strong></p> <p><strong>ISSN 2821-9791 (Online)</strong></p> <p><strong>วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา</strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาในศาสตร์หลากหลายแขนงและเผยแพร่ผลงานวิชาการ บทความวิจัยและบทความวิชาการของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณาจารย์ นักวิจัยและนิสิต นักศึกษา ในด้านสหวิทยาการต่าง ๆ ด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ด้านศาสนา ปรัชญา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภาษาศาสตร์ สาขาการศึกษาเชิงประยุกต์ การพัฒนาการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ศึกษา คณิตศาสตร์ศึกษา การพัฒนาหลักสูตร เทคโนโลยีการศึกษา การพัฒนาวิชาชีพครู และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่ 2 ฉบับ (ปี 2565)</strong></p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน (เผยแพร่ทางเวปไซต์ 30 มิถุนายน)</p> <p>ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม (เผยแพร่ทางเวปไซต์ 30 ธันวาคม)</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ</strong></p> <p>วารสารมีกระบวนการการพิจารณาบทความโดยการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ อย่างน้อย 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double-blind peer review) โดยผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง (Author) ผู้แต่ง (Author) ไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน (Reviewer) และผู้ประเมินไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้แต่ง รวมทั้งได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์</p> <p>บทความที่ส่งมาขอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความของวารสาร และจะต้องจัดพิมพ์บทความตามรูปแบบ (Template) ที่วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษากำหนดเท่านั้น ไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงด้วยทุกครั้ง</p> <p>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ 4,500 บาท ต่อบทความ</p> <p> </p> <p><strong>เจ้าของวารสาร</strong></p> <p>บริษัท วิทยาพัฒน์ จำกัด</p> บริษัท วิทยาพัฒน์ จำกัด th-TH วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา (Journal of Interdisciplinary Research and Educational Innovation) 2821-9791 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีเสมือนจริงภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JIREI/article/view/2112 <p>บทความนี้นำเสนอกระบวนการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงภูมิศาสตร์ <strong>(</strong>AR Books Magics Map) เพื่อเข้ามาใช้ในกระบวนการจัดการศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจพร้อมทั้งทำให้เกิดประสิทธิภาพทางการเรียนการสอน และทำให้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงแหล่งความรู้ที่มีทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ได้มากขึ้น สมาร์ทโฟนจะช่วยกระตุ้นความสนใจให้แก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาและมีการเปิดโลกทัศน์ในการเรียนซึ่งทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุกและเข้าใจง่าย ผ่านการโปรแกรมเทคโนโลยีเสมือนจริงภูมิศาสตร์ (AR Books Magics Map) ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาท เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนจึงทำให้ผู้สอนจัดการเรียนการสอนได้ง่ายขึ้น สิ่งสำคัญผู้ปกครองมีการสนับสนุนผู้เรียนในการใช้เทคโนโลยีอย่างจริงจัง ผู้สอนจึงสนใจที่จะใช้สื่อการเรียนรู้ สามมิติแบบมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริง โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม Augmented Reality (AR) ในการเรียนการสอน เรื่อง ทวีปอเมริกาใต้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อพัฒนาการเรียนให้ดีขึ้น</p> ภทรพรรณ กุลด้วง Tonsak Sanitnam สุวัตร์ ผาทอง Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา (Journal of Interdisciplinary Research and Educational Innovation) 2023-12-22 2023-12-22 2 2 33 42 การพัฒนาสื่อพอดแคสต์ เพื่อใช้จัดการเรียนการสอนรายวิชา ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก 2 สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JIREI/article/view/2116 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพพอดแคสต์ วิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก 2 เรื่อง กำเนิดเกาหลี และอาณาจักรโชซอนโบราณ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบทดสอบก่อน และหลังเรียนโดยใช้สื่อประเภทพอดแคสต์ประกอบการเรียนการสอน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการรับชมสื่อประเภทพอดแคสต์ โดยมีวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 30 คน และมีเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก 2 เรื่อง กำเนิดเกาหลี และอาณาจักรโชซอนโบราณ สคริปต์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบประเมินความพึงพอใจสื่อพอดแคสต์ และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติวิเคราะห์ความแตกต่าง (T-test)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การตรวจสอบคุณภาพความตรงเชิงเนื้อหา ในการพัฒนาสื่อพอดแคสต์โดยผู้เชี่ยวชาญผลปรากฎว่า ใช้ได้ ทุกรายการ 2) คะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 4.20 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.79 และคะแนนหลังเรียนได้ค่าเฉลี่ย 8.73 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.63 โดยมีค่า <br />t-test เท่ากับ -11.08 จากค่าสถิติในข้างต้นจะเห็นว่านักเรียนมีคะแนนหลังเรียน สูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผลการประเมินความพึงพอใจในสื่อพอดแคสต์อยู่ในระดับ มาก ทุกรายการ</p> Narathip Kaewthong พิไลลักษณ์ คำมาระ Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา (Journal of Interdisciplinary Research and Educational Innovation) 2023-12-22 2023-12-22 2 2 43 52 ภาวะผู้นำพลวัตร (Dynamic Leadership) : ภาวะผู้นำเชิงรุกมุ่งสู่คุณภาพ ขององค์กรในยุคปัญญาประดิษฐ์ (AI) https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JIREI/article/view/2574 <p>ภาวะผู้นำพลวัตรเป็นภาวะผู้นำที่ทันสมัยสอดคล้องกับยุคปัญญาประดิษฐ์ ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมแห่งความไว้วางใจ สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ยืดหยุ่น สร้าง<br />แรงบันดาลใจแก่บุคลากร พัฒนาบุคลากรด้วยวิธีการหลากหลาย ช่วยให้เกิดทักษะในการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว สามารถปรับกลยุทธ์เพื่อก้าวนำหน้าคู่แข่ง ผู้นำให้ความสำคัญกับประสิทธิผลของการทำงาน สามารถสร้างฐานลูกค้าที่ภักดีและพึงพอใจ ช่วยให้องค์กรเกิดคุณภาพ มีชื่อเสียง และเกิดภาพลักษณ์ที่ดี โดยภาวะผู้นำพลวัตรในยุคปัญญาประดิษฐ์มีคุณลักษณะสำคัญ ได้แก่ การทำงานเชิงรุก เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล มีความยืดหยุ่นและประนีประนอม <br />มีความฉลาดทางอารมณ์ และมีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ</p> สมชาย เทพแสง อัจฉริยา เทพแสง กันต์ฐมณีญา นฤโฆษกิตติกีรติ Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา (Journal of Interdisciplinary Research and Educational Innovation) 2023-12-22 2023-12-22 2 2 1 16 ทักษะอนาคต (Future Skills) ที่จำเป็นสำหรับผู้นำ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JIREI/article/view/2575 <p>ทักษะอนาคตเป็นกรอบความเชี่ยวชาญและความสามารถของผู้นำในการบริหารจัดการให้เกิดคุณภาพ มีอิทธิพลและบทบาทสำคัญต่อองค์กรในอนาคต เป็นทักษะที่มีความโดดเด่น ทำให้ผู้นำสามารถเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลก เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ ทักษะอนาคตที่จำเป็นสำหรับผู้นำมีทั้งทักษะที่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทำแทนได้ ได้แก่ การแก้ปัญหา การสื่อสาร การคำนวณ การวิเคราะห์เรื่องที่ซับซ้อน และทักษะที่ AI ทำแทนไม่ได้ ได้แก่ความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดทางวัฒนธรรม มนุษยสัมพันธ์ การปรับตัวและยืดหยุ่น</p> สมชาย เทพแสง อัจฉริยา เทพแสง กันต์ฐมณีญา นฤโฆษกิตติกีรติ เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา (Journal of Interdisciplinary Research and Educational Innovation) 2023-12-22 2023-12-22 2 2 17 32