วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา (Journal of Interdisciplinary Research and Educational Innovation)
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JIREI
<p><strong>วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา</strong></p> <p><strong>Journal of Interdisciplinary Research and Educational Innovation</strong></p> <p><strong>ISSN 2821-9791 (Online)</strong></p> <p><strong>วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา</strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาในศาสตร์หลากหลายแขนงและเผยแพร่ผลงานวิชาการ บทความวิจัยและบทความวิชาการของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณาจารย์ นักวิจัยและนิสิต นักศึกษา ในด้านสหวิทยาการต่าง ๆ ด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ด้านศาสนา ปรัชญา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภาษาศาสตร์ สาขาการศึกษาเชิงประยุกต์ การพัฒนาการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ศึกษา คณิตศาสตร์ศึกษา การพัฒนาหลักสูตร เทคโนโลยีการศึกษา การพัฒนาวิชาชีพครู และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่ 2 ฉบับ (ปี 2565)</strong></p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน (เผยแพร่ทางเวปไซต์ 30 มิถุนายน)</p> <p>ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม (เผยแพร่ทางเวปไซต์ 30 ธันวาคม)</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ</strong></p> <p>วารสารมีกระบวนการการพิจารณาบทความโดยการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ อย่างน้อย 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double-blind peer review) โดยผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง (Author) ผู้แต่ง (Author) ไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน (Reviewer) และผู้ประเมินไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้แต่ง รวมทั้งได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์</p> <p>บทความที่ส่งมาขอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความของวารสาร และจะต้องจัดพิมพ์บทความตามรูปแบบ (Template) ที่วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษากำหนดเท่านั้น ไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงด้วยทุกครั้ง</p> <p>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ 4,500 บาท ต่อบทความ</p> <p> </p> <p><strong>เจ้าของวารสาร</strong></p> <p>บริษัท วิทยาพัฒน์ จำกัด</p>
th-TH
jirei.journal@gmail.com (ดร.กันต์ฐมณีญา นฤโฆษกิตติกีรติ)
jirei.journal@gmail.com (ดร.กันต์ฐมณีญา นฤโฆษกิตติกีรติ)
Sat, 21 Jun 2025 15:01:25 +0700
OJS 3.3.0.8
http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss
60
-
ปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานในด้านความภักดีต่อองค์กรของพนักงานรักษาความปลอดภัย ในมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JIREI/article/view/4670
<p>การลาออกกลางคันของพนักงานรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นปัญหาที่ส่งผลเสียหายต่อประสิทธิภาพการดำเนินกิจการขององค์กร ซึ่งเกิดจากสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งคือความภักดีต่อองค์กรของพนักงานรักษาความปลอดภัย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานในด้านความภักดีต่อองค์กรของพนักงานรักษาความปลอดภัย 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานกับความภักดีต่อองค์กรของพนักงานรักษาความปลอดภัย และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานในด้านความภักดีต่อองค์กรของพนักงานรักษาความปลอดภัย เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมาย คือ พนักงานรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทั้งหมด จำนวน 124 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติหาความสัมพันธ์วิเคราะห์แบบสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานทั้ง 11 ด้านอยู่ในระดับมาก และมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับความภักดีต่อองค์กรของพนักงานรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อให้พนักงานรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์มีความภักดีต่อองค์กร คือ องค์กรควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านความมั่นคงปลอดภัยในการทำงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านการปกครองและบังคับบัญชา ตามลำดับ</p>
วสันต์ เกิดสวัสดิ์, สหพัฒน์ หอมจันทร์
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา (Journal of Interdisciplinary Research and Educational Innovation)
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JIREI/article/view/4670
Sat, 21 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
การศึกษากระบวนการทำงานเป็นทีมที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ ธุงใยแมงมุม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JIREI/article/view/5187
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ความคิดสร้างสรรค์ และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เข้าร่วมกิจกรรมการประดิษฐ์ธุงใยแมงมุม โดยใช้แนวคิดกระบวนการกลุ่มเป็นกรอบในการส่งเสริมการเรียนรู้ การวิจัยใช้กลุ่มประชากรทั้งหมดจำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ และแบบประเมินความพึงพอใจ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ในระดับดี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.26) โดยเฉพาะด้านความมีน้ำใจช่วยเหลือกันอยู่ในระดับสูงที่สุด ความคิดสร้างสรรค์ในการทำธุงใยแมงมุมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 2.97) นักเรียนสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ วัสดุ และสีสันได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์ผลงานที่ประณีต และมีความคิดริเริ่ม ส่วนความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.49) โดยเฉพาะด้านการมีส่วนร่วมและการได้รับความรู้ใหม่ สะท้อนให้เห็นว่ากิจกรรมประดิษฐ์ธุงใยแมงมุมส่งเสริมทั้งการเรียนรู้ ทักษะสังคม ความคิดสร้างสรรค์ และทัศนคติเชิงบวกได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
Sittiya Srijunkaew, อารีรัตน์ แสนคำ
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา (Journal of Interdisciplinary Research and Educational Innovation)
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JIREI/article/view/5187
Sat, 21 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
ภาวะผู้นำแบรนด์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JIREI/article/view/5203
<p>งานวิจัยเรื่องภาวะผู้นำแบรนด์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่างมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำแบรนด์ของผู้บริหารและคุณภาพของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบรนด์กับคุณภาพของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดภาคเหนือตอน และ 3)ศึกษาภาวะผู้นำแบรนด์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ประจำปีการศึกษา 2567 จำนวน 857 ตน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์ และสมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลวิจัยพบว่าระดับภาวะผู้นำแบรนด์และคุณภาพของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง อยู่ในระดับมาก ภาวะผู้นำแบรนด์ของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับคุณภาพของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และภาวะผู้นำแบรนด์ส่งผลต่อคุณภาพของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 มีค่าพยากรณ์ได้ร้อยละ 36</p>
สมชาย เทพแสง, อัจฉริยา เทพแสง, พรรัชต์ ลังกะสูตร
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา (Journal of Interdisciplinary Research and Educational Innovation)
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JIREI/article/view/5203
Sat, 21 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
การศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสารสกัดมะกรูดเพื่อพัฒนาเป็นสเปรย์ระงับกลิ่นเท้า
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JIREI/article/view/5207
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบมะกรูดและผิวมะกรูดในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus, FT Isolate 1 และ FT Isolate 2 ที่แยกได้จากเท้าของผู้มีกลิ่นเท้า และ 2) คัดเลือกสารสกัดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สเปรย์สมุนไพรระงับกลิ่นเท้า การทดลองใช้วิธี Agar well diffusion พบว่าสารสกัดจากผิวมะกรูดมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียทั้งสามชนิดได้ดีกว่าสารสกัดจากใบมะกรูด โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งเชื้อ (MIC) และค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการฆ่าเชื้อ (MBC) เท่ากับ 125 µg/ml ต่อเชื้อทั้งสามชนิด จากนั้นจึงนำสารสกัดจากผิวมะกรูดที่ความเข้มข้นดังกล่าวมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สเปรย์สมุนไพร และทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียอีกครั้งด้วยวิธีเดียวกัน ผลการทดสอบพบว่าสเปรย์สมุนไพรสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียทั้ง 3 ชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน สรุปได้ว่าสารสกัดจากผิวมะกรูดและผลิตภัณฑ์สเปรย์สมุนไพรที่พัฒนาขึ้นมีศักยภาพในการนำไปใช้ควบคุมเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นเท้า</p>
กมณรัตน์ นทีสินทรัพย์, กรรณิกา เงินบุตรโคตร, โสฬส พึ่งทัศน์ , ประดิษฐ์ หวังมาน
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา (Journal of Interdisciplinary Research and Educational Innovation)
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JIREI/article/view/5207
Sat, 21 Jun 2025 00:00:00 +0700
-
วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน: การเรียนรู้ที่มีความหมายผ่านบริบทจริง
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JIREI/article/view/5209
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้บริบทชีวิตประจำวันของผู้เรียนเป็นจุดเริ่มต้น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีความหมายและสอดคล้องกับการพัฒนาสมรรถนะสำคัญในศตวรรษที่ 21 โดยอิงจากกรอบแนวคิดของทฤษฎีโครงสร้างนิยม (Constructivism) การเรียนรู้เชิงบริบท (Context-Based Learning) และความฉลาดรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) บทความได้นำเสนอแนวคิดทฤษฎี พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรมและกรณีศึกษาจริงที่สะท้อนถึงการนำบริบทในชีวิตประจำวันมาใช้ในการออกแบบการเรียนรู้ เช่น การวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม หรือการสำรวจสารเคมีในผลิตภัณฑ์ในบ้าน นอกจากนี้ยังเสนอข้อแนะนำในการจัดการเรียนรู้ 5 ด้าน ได้แก่ การออกแบบคำถามจากชีวิตจริง การพัฒนาสื่อบริบท การสนับสนุนเชิงระบบ การพัฒนาวิชาชีพครู และการประเมินผลที่สอดคล้องกับลักษณะกิจกรรมแบบมีความหมาย เพื่อให้การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในชั้นเรียนสามารถเชื่อมโยงกับโลกจริงได้อย่างมีพลัง สร้างผู้เรียนที่สามารถนำวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างรู้เท่าทันและยั่งยืน</p>
พีรพงศ์ บุญฤกษ์
Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา (Journal of Interdisciplinary Research and Educational Innovation)
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JIREI/article/view/5209
Sat, 21 Jun 2025 00:00:00 +0700