https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMLC/issue/feedวารสาร มจร ภาษาและวัฒนธรรม2025-03-28T15:01:07+07:00Dr. Roongroj Siriphanroongroj.siri@mcu.ac.thOpen Journal Systems<p><strong>วารสาร มจร ภาษาและวัฒนธรรม</strong></p> <p><strong>E-ISSN</strong>:2730-3438</p> <p><strong>กำหนดออก</strong>: 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม </p>https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMLC/article/view/4287The Concept of Śūnyatā in Madhyamaka and Yogācāra2024-12-17T11:04:21+07:00Kanong Paliphatrangkurakanong.p@arts.tu.ac.thพระมหาไวทย์ชนินทร์ มีสุวรรณwaichanin007@gmail.com<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดศูนยตาของมัธยมกะ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดศูนยตาของโยคาจาระ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดศูนยตาของมัธยมกะและโยคาจาระ โดยใช้ข้อมูลจากคัมภีร์มูลมัธยมกการิกา ไตรสวภาวนิทเทส รวมไปถึงเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นหลักในการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดศูนยตาของนิกายมัธยมกะและนิกายโยคาจาระ ผลการศึกษาพบว่าแนวคิดศูนยตาของทั้งสองนิกายนั้นมีความเหมือนกันในระดับสมมุติสัจจะ เป็นศูนยตาเพราะทุกสรรพสิ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น แต่ในระดับปรมัตถ์นั้นโยคาจาระมีความเห็นว่านิพพานอันเป็นผลของการเห็นศูนยตานั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่โดยที่ไม่ต้องอาศัยปัจจัยใดๆเกิดขึ้น เกิดจากการเห็นกระแสของวิญญาณที่บริสุทธิ์จากความเห็นว่ามีผู้รู้และสิ่งที่ถูกรับรู้อันเป็นทวิภาวะ โยคาจาระยืนยันว่านิพพานอันเป็นโลกุุตรธรรมนั้นมีสวภาวะ ในขณะที่มัธยมกะยังยืนยันความเป็นสิ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้นแม้กระทั่งนิพพาน หมายถึงว่าแม้แต่นิพพานก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เองอย่างอิสระ ต้องอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ไม่มีสวภาวะ</p>2025-03-12T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 วารสาร มจร ภาษาและวัฒนธรรมhttps://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMLC/article/view/4453การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการสวดมนต์2025-01-23T15:43:58+07:00อนุวัต สมัคศิริกิจanuwutpopone@gmail.com<p>บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการสวดมนต์ผลการศึกษาพบว่าการสวดมนต์ก่อนนอน ทุกวันอย่างน้อย ๑ เดือนขึ้นไป บทสวดมนต์ที่นิยมสวดคือบท อิติปิโส กับบท พระคาถาชินบัญชร ติดต่อกัน และมีนั่งสมาธิบ้าง ผลที่ได้คือช่วยให้เรื่องคลี่คลายปัญหา เรื่องลดความเครียด นอนหลับได้สนิทมากกว่าเดิม ทำให้เห็นแนวทางให้การแก้ไขปัญหาหรือมีสิ่งศักดิ์มาช่วยให้เรื่องราวต่างคลี่คลายลงไปได้ การสวดมนต์อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา ๑ เดือนเป็นอย่างน้อยและสวดมนต์อย่างน้อย ๑ บทขึ้นไป จะทำให้ปัญหาในชีวิตคลี่คลายลงไปได้แล้วทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ด้านกาย ทำให้สุขภาพร่างกายเป็นปกติ ระบบต่างทำงานอย่างมีประสิทธิ์ภาพ ทางจิตใจ ทำให้ จิตใจสงบ เกิดบุญกุศล เกิดปัญญามองเห็นแนวทางการแก้ไขปัญหา ด้านสังคม มีจิตอาสา สามัคคีในชุมชน ดังนั้น การสวดมนต์นั้น ส่งผลดีจิตใจ เพราะทำให้จิตใจสงบ มีความร่มเย็น มีสมาธิ จิตใจมีเมตตา เห็นอกเห็นใจผู้อื่น คิดแต่จะทำความดี และส่งผลดีต่อร่างกาย จิตใจ ทำให้สุขภาพแข็งแรง ระบบในภายร่างกายทำงานอย่างปกติ ทำให้ร่างกายภายนอกสดใส หน้าตามีราศี มีออร่า หน้ามอง มีผลต่ออารมก็ดี ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง เกิดปัญญาให้การแก้ไขปัญหา ทำให้ชีวิตมีความสุข</p>2025-03-12T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 วารสาร มจร ภาษาและวัฒนธรรมhttps://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMLC/article/view/4339Influence of Patronage of Buddhism By Kings In the Past on Thai Culture2025-02-16T17:27:04+07:00Rurngvit Phetkrairurngvitukkhadhammo@ibsc.mcu.ac.th<p>This academic article has three objectives. 1. To study the Buddhist expansion under influential patronage by previous Kings in covering the historical events, social and political conditions; 2. To explore the ways that Buddhism retained unique cultural and religious features through Monarchs’ patronages; 3. To analyze how Buddhism patronages has influenced culturally, materially, monastically and socially to contemporary Thai society. The findings of this article were found that Thai culture has been continuously and steadily changing under the guidance of previous kings ever since Buddhism first spread over Suvarnabhumi, ancient Thailand. The emergence of Buddhism in the Suvarnabhumi Kingdom is attested to by historic buildings and artifacts such as Phra Pathom Chedi. Throughout Thailand's history, an increasing number of Buddhist temples, pagodas, and stupas have been constructed. Tradition, philosophy, and belief are examples of non-material culture that is also transmitted. These cultures are still well-known today, and several have turned into popular tourist destinations. Buddhist customs and ceremonies, like Phapa, Kathina, and Ordination, are still observed in Thailand today. All of these Thai cultures are products of the historical patronage of Buddhism by Thai monarchs. </p>2025-03-12T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 วารสาร มจร ภาษาและวัฒนธรรมhttps://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMLC/article/view/4298Language and the Pursuit of Knowledge: A Buddhist Philosophy Perspective2025-02-14T23:51:07+07:00Dharma Priya Bhikkhudharmapriya38@gmail.com<p>This article explores the relationship between language and knowledge acquisition from a Buddhist perspective. In Buddhist epistemology, language is seen as a skillful means to convey the Buddha’s teachings, or <em>dhamma</em>. While language is crucial for transmitting knowledge, it is limited in expressing ultimate truths. This paper highlights the distinction between the language of conceptual understanding and direct experience, examines the relationship between language and dependent origination, and discusses the practice of Right Speech and meditation as paths to achieving the final goal of enlightenment. A middle-way approach to language is also emphasized to encourage the intelligent, balanced, and skillful use of language. Moreover, the article investigates the interconnected and mutually reinforcing relationship between language, knowledge acquisition, and epistemology. This examination clarifies the knowledge acquisition process and supports the spiritual path. Collectively, these themes challenge the assumption that language can fully encapsulate reality, highlighting its intrinsic limitations, particularly when conveying ultimate truths. By analyzing these perspectives, the article underscores the importance of transcending linguistic patterns to engage with deeper forms of understanding.</p>2025-03-12T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 วารสาร มจร ภาษาและวัฒนธรรมhttps://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMLC/article/view/4302การอยู่ร่วมกันที่พึงประสงค์ตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ในสังคมไทยปัจจุบัน2025-01-07T16:57:00+07:00sanguan Laphonthansanguan.laphonthan@gmail.com<p>เนื่องจากสังคมไทยปัจจุบันมีปัญหาต่าง ๆ มากมาย เช่น ปัญหาอาชญากรรม โจรกรรม และปัญหาอื่น ๆ เป็นต้น การอยู่ร่วมกันที่พึงประสงค์หรือต้องการ ต้องเป็นการอยู่ร่วมกันด้วยความการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสียสละแบ่งปันเฉลี่ยให้ ไม่ใช่ให้จนร่ำรวยหรือให้จนหมดเนื้อหมดตัว แต่เป็นการแบ่งปันให้เพื่อแสดงอัธยาศัยไมตรีผู้ให้ไม่จำเป็นต้องร่ำรวยหรือมีฐานะดีกว่าผู้รับเสมอไป และยังรวมถึงการช่วยเหลือสงเคราะห์ด้วยปัจจัยสี่ทุนหรือทรัพย์สินสิ่งของตลอดจนให้ความรู้ความเข้าใจพุดจาแต่สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์หรือเป็นความจริงต่อกัน ช่วยเหลือด้วยแรงกายและขวนขวายช่วยเหลือกิจการต่าง ๆ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ทั้งช่วยแก้ไขปัญหาและช่วยปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นในด้านคุณธรรมจริยธรรมเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี และร่วมสุขร่วมทุกข์ร่วมรับรู้ร่วมแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขร่วมกัน สังคหวัตถุ 4 เป็นเสมือนยานพาหนะที่จะนำมนุษย์ไปสู่ความสุขความเจริญ สังคมของมนุษย์ประกอบขึ้นด้วยบุคคลที่มีภูมิหลังแตกต่างกันมีทั้งคนดีและคนไม่ดี มีทั้งคนที่ร่ำรวยและยากจน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัย สังคหวัตถุ 4 เป็นเครื่องยึดเหนียวบุคคลแต่ละคนให้มีความผูกพันกัน เพื่อสังคมจะได้ดำรงอยู่ในความสงบ และได้รับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น พระพุทธองค์ทรงชี้แนะไว้ว่าถ้าสังคมใดปราศจากสังคหวัตถุ 4 แล้ว สังคมนั้นก็จะมีแต่ความยุ่งเหยิง ไร้สันติสุข</p>2025-03-12T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 วารสาร มจร ภาษาและวัฒนธรรม