https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/issue/feed วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2024-09-24T19:04:45+07:00 Assoc. Prof. Sanyasorn Swasthaisong, Ph.D. jmssnru@snru.ac.th Open Journal Systems <p><strong>*** ประกาศ ช่วงเวลาการตีพิมพ์เผยแพร่บทความในวารสาร</strong></p> <p>ภายหลังจากที่ วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ที่ได้รับการรับรองคุณภาพจากฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐานและความน่าเชื่อถือของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารของเรา</p> <p>จากความสำเร็จดังกล่าว ทำให้วารสารของเรามีบทความคุณภาพสูงส่งเข้ามาพิจารณาจำนวนมาก ส่งผลให้ขณะนี้บทความอยู่ระหว่างรอการตีพิมพ์ค่อนข้างยาว จนถึง <strong>ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2568</strong></p> <p>อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิจัยที่ดี เราจึงยังคงเปิดรับบทความจากนักวิชาการทุกท่านอย่างต่อเนื่อง ตามปกติ</p> <p>จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ</p> <p>วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร</p> <p>5 สิงหาคม 2567</p> https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2448 รูปแบบการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างรู้เท่าทันของผู้บริโภคไทย 2023-11-11T23:02:03+07:00 ปวรพล สอนระเบียบ pawonpol.dmc1.utcc@gmail.com สุทธนิภา ศรีไสย์ pawonpol.dmc1.utcc@gmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างรู้เท่าทันของผู้บริโภคไทย ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากประชากรไทยจำนวน 1,175 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ วิธีการสกัดองค์ประกอบและการหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธกอนอลด้วยวิธีวาริแมกซ์ ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคไทยมีรูปแบบการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างรู้เท่าทัน 6 รูปแบบ ได้แก่ 1) ผู้บริโภคที่กระตือรือร้น 2) ผู้บริโภคที่เน้นการประเมินข้อมูล 3) ผู้บริโภคที่เปิดรับข้อมูลทุกช่องทาง 4) ผู้บริโภคที่พิจารณาใครครวญอย่างละเอียดรอบคอบก่อนตัดสินใจ 5) ผู้บริโภคที่เน้นความสะดวกสบาย และ 6) ผู้บริโภคที่พิจารณาแค่ฉลากผลิตภัณฑ์ องค์ความรู้ที่ได้รับจากผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างรู้เท่าทันของผู้บริโภคไทยมีด้วยกัน 6 รูปแบบ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้อย่างเหมาะสมต่อไป</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2801 การศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2024-02-07T12:15:22+07:00 วิทวัส เจริญรัตน์ witthawat.ch65@snru.ac.th เอกลักษณ์ เพียสา akkaluckpheasa@gmail.com วันเพ็ญ นันทะศรี wanphen48@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณด้วยการสังเคราะห์เอกสารและสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสารแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 แหล่ง ขั้นตอนที่ 2 การประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสารและแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสังเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดทิศทางขององค์การ 2) การกำหนดกลยุทธ์ 3) การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 4) การสร้างวัฒนธรรมองค์การ 5) การควบคุมและประเมินผลกลยุทธ์ และ 6) กระบวนการคิดในระดับสูง 2. การประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน พบว่า ทั้ง 6 องค์ประกอบ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3314 แนวทางการพัฒนาคุณภาพบริการที่มีอิทธิพลต่อการบอกต่อของผู้ใช้บริการหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 4 2024-04-23T22:28:54+07:00 วันวิสา ชนูนันท์ 64130702106@udru.ac.th สืบชาติ อันทะไชย 64130702106@udru.ac.th <p>การวิจัยนี้ผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงแนวทางในการพัฒนาคุณภาพบริการของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 4 ซึ่งในปัจจุบันหน่วยงานยังไม่มีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพบริการตามแนวคิดของ (Parasuraman, Zeithaml &amp; Berry, 1988) ที่ได้กำหนดมิติการประเมินคุณภาพบริการ 5 มิติ ซึ่งประกอบไปด้วย ความเป็นรูปธรรม ความเชื่อถือ การตอบสนอง การให้ความเชื่อมั่น และการรู้จักและเข้าใจ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพบริการ และระดับการบอกต่อของผู้ใช้บริการหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 4 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพบริการต่อการบอกต่อของผู้ใช้บริการหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 4 และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาคุณภาพบริการที่มีผลต่อการบอกต่อของผู้ใช้บริการหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 4 การวิจัยนี้เป็นรูปแบบผสมผสานวิธีระหว่างเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่มาใช้บริการขออนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 4 จำนวน 400 คน ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อคุณภาพบริการอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความเชื่อถือ รองลงมาคือ การตอบสนอง ความเป็นรูปธรรม การให้ความเชื่อมั่น และการรู้จักและเข้าใจ ตามลำดับ และผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการบอกต่อ อยู่ในระดับมาก การวิเคราะห์ความสัมพันธ์คุณภาพบริการกับการบอกต่อ พบว่า คุณภาพบริการมีอิทธิพลต่อการบอกต่อนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทิศทางบวก อยู่ในระดับสูง เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ แนวทางในการพัฒนาฯ คือ สำนักงานควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้รับบริการ การให้บริการจะต้องคำนึงถึงผู้รับบริการเป็นหลัก และเมื่อเกิดข้อผิดพลาดให้รีบดำเนินการแก้ไขโดยทันที จึงจะทำให้ผู้รับบริการเกิดความประทับใจในการบริการ และเกิดการบอกต่อจากประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้รับบริการรายอื่น ๆ ต่อไป</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3513 การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระทรวงศึกษาธิการ 2024-05-27T21:23:52+07:00 วัฒนะ อินไข wattana.a@sueksa.go.th มัตธิมา กรงเต้น matthima.kr@spu.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2) เพื่อศึกษาการตรวจสอบภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 220 ตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ ด้านกิจกรรมการควบคุม ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านการติดตามและประเมินผล ส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการทั้งด้านการเบิกจ่าย ด้านการใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ และด้านการปฏิบัติตามที่ระเบียบกำหนด ยกเว้นปัจจัยด้านด้านสภาพแวดล้อมการควบคุมที่ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณ ทั้ง 3 ด้าน รวมถึงปัจจัยด้านการประเมินความเสี่ยงไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในด้านการเบิกจ่าย และด้านการปฏิบัติตามที่ระเบียบกำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 2) ปัจจัยด้านการตรวจสอบภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พบว่า ปัจจัยเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในทุกด้าน ได้แก่ คือ ด้านการวางแผนงานตรวจสอบ ด้านการปฏิบัติงานตรวจสอบ และด้านการรายงานและการติดตามผลการตรวจสอบ ส่งผลเชิงบวก ต่อประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3368 การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการให้เหตุผลและการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การประยุกต์ของอนุพันธ์ 2024-05-04T23:15:30+07:00 พงศกร พุฒฟัก pongsakonpu65@nu.ac.th จักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม chakkridk@nu.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางและศึกษาผลการส่งเสริมทักษะการให้เหตุผลและการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้กระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การประยุกต์ของอนุพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 33 คน โรงเรียนมัธยมศึกษา แห่งหนึ่งในจังหวัดพิจิตร ปีการศึกษา 2566 ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 3 วงจร ระยะเวลาทั้งหมด 8 ชั่วโมง และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบทดสอบ ผลการวิจัย พบว่า 1. แนวทางการส่งเสริมทักษะการให้เหตุผลและการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในแต่ละขั้นตอนกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ สิ่งที่ครูควรเน้น ได้แก่ ก่อนการจัดการเรียนรู้ควรเตรียมสถานการณ์ปัญหาที่มีความชัดเจนทางภาษาและใกล้เคียงกับบริบทชีวิตจริงของนักเรียน ขั้นตอนที่ 1 แนะนำให้นักเรียนระบุคำตอบแยกเป็นรายข้อ ขั้นตอนที่ 2 ชี้แนะให้นักเรียนทดลองสร้างข้อคาดการณ์และให้เหตุผลและใช้คำถามให้นักเรียนเกิดความสงสัยในข้อคาดการณ์ แล้วชี้แนะให้สร้างข้อคาดการณ์ที่แตกต่างออกไปและให้เหตุผล ขั้นตอนที่ 3 แนะนำให้นักเรียนปรับข้อคาดการณ์ของตัวเองให้มีความน่าเชื่อถือ ขั้นตอนที่ 4 สนับสนุนให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในขั้นตอนวิธีทำ และขั้นตอนที่ 5 การใช้คำถามให้นักเรียนสรุปว่าข้อคาดการณ์ควรเป็นอย่างไรจึงเหมาะสมกับการหาข้อสรุป 2. ผลการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ของนักเรียน พบว่าทักษะการให้เหตุผลและการโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมีพัฒนาการดีขึ้นทุก ๆ กิจกรรมและการทดสอบ ตามลำดับ</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2691 การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 2024-01-07T16:30:59+07:00 อักษรศาสตร์ ทองคำบุตร asksornn@gmail.com <p>การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2) เปรียบเทียบสภาพการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน และ 3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 จำนวน 225 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายและกำหนดสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .91 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) การเปรียบเทียบการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนขยายโอกาส จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3) การส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มี 5 แนวทาง คือ 1) ด้านเกษตรกรรม ควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชน เพื่อนำไปต่อยอดใช้ในชีวิตจริงได้ 2) ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ควรเชิญปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านมาให้ความรู้และแนะแนวเส้นทางการประกอบอาชีพให้กับนักเรียน 3) ด้านการแพทย์แผนไทย ควรใช้สิ่งใกล้ตัวของนักเรียนและเชิญปราชญ์ชาวบ้านด้านการแพทย์แผนไทยมาให้ความรู้เพิ่มเติม 4) ด้านศิลปกรรม ควรจัดการเรียนรู้โดยศึกษาจากวัฒนธรรมความเป็นมาของชุมชน 5) ด้านภาษาและวรรณกรรม ควรจัดการเรียนรู้โดยอาศัยจุดเด่นของแต่ละชุมชนหรือเชิญปราชญ์ชาวบ้านที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้มาให้ความรู้</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2568 การถ่ายทอดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการตลาดดิจิทัลสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 2023-11-22T22:01:51+07:00 ณัฐชนัญ เสริมศรี natchanun.s@dru.ac.th ทรงรัฏต์ ชอุ่มดวง songrath.c@dru.acc.th <p>การพัฒนาการถ่ายทอดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการตลาดดิจิทัลได้สอบถามความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการตลาดดิจิทัลกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้งหมด 195 คน โดยได้นำองค์ประกอบของความต้องการมีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการตลาดดิจิทัลมาพัฒนาเป็นเนื้อหาการเรียนรู้ภายใต้การถ่ายทอดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการตลาดดิจิทัลตามแนวทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) 7 ขั้นตอน ในรูปแบบบทเรียนออนไลน์ และได้นำไปให้กลุ่มตัวอย่างสำหรับการทดลองเรียนจำนวน 79 คน พร้อมกับศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการตลาดดิจิทัลหลังเรียน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ความต้องการมีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการตลาดดิจิทัลของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเข้าถึงลูกค้า 2) การสร้างสรรค์เนื้อหาที่มีความน่าสนใจ 3) การวิเคราะห์และเลือกกลุ่มผู้ซื้อเฉพาะเจาะจง และ 4) การนำเสนอรายละเอียดความเป็นเจ้าของ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2. การถ่ายทอดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการตลาดดิจิทัลตามแนวทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) 7 ขั้นตอน ในรูปแบบบทเรียนออนไลน์ ได้ค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลสัมฤทธิ์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการตลาดดิจิทัลหลังเรียนรู้ผ่านการถ่ายทอดการใช้เทคโนโลยีด้านการตลาดดิจิทัลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ได้ค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (70%) เท่ากับร้อยละ 82.15 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 9.56 ค่าความต่าง (t) เท่ากับ 11.29 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญที่ .05</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3460 การบริหารการเงินและการใช้เทคโนโลยีที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรฝ่ายการเงินและบัญชี ของธุรกิจแร่อุตสาหกรรมในประเทศไทย 2024-05-28T11:11:27+07:00 กาญจนา พันเทียน ganjana.pan2405@gmail.com พรทิวา แสงเขียว academicporntiwa@gmail.com ถิรวุฒิ ยังสุข Tirawut.yo@spu.ac.th <p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการเงินและการใช้เทคโนโลยีและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรฝ่ายการเงินและบัญชีของธุรกิจแร่อุตสาหกรรมในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 273 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก การบริหารการเงินและการใช้เทคโนโลยี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) การบริหารการเงิน ด้านการตรวจสอบเอกสารทางการเงินและด้านทักษะความรู้ของบุคลากรมีผลต่อ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านความละเอียดรอบคอบ 2) การบริหารการเงิน ด้านการรับ-จ่ายเงิน และด้านระเบียบบังคับใช้ มีผลต่อ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านเสร็จตรงตามระยะเวลา 3) การบริหารการเงิน ด้านการตรวจสอบเอกสารทางการเงินและด้านทักษะความรู้ของบุคลากรมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านสามารถตรวจสอบความถูกต้อง 4) การใช้เทคโนโลยี ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ด้านกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ และด้าน Artificial Intelligence มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านความละเอียดรอบคอบ 5) การใช้เทคโนโลยี ด้านกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ มีผลต่อ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านเสร็จตรงตามระยะเวลา 6) การใช้เทคโนโลยีด้านการเก็บข้อมูลบนคลาวด์และการใช้ Software as a Service และด้าน Artificial Intelligence มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านสามารถตรวจสอบความถูกต้อง ประโยชน์ของผลการวิจัย เพื่อให้บุคลากรฝ่ายการเงิน ของธุรกิจแร่อุตสาหกรรม ในเขตประเทศไทยและหน่วยงานอื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและงานบัญชี ซึ่งเป็นส่วนช่วยให้ทราบถึงการบริหารการเงิน ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และนำไปปรับปรุง แก้ไขเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3268 การบริหารงานตามกรอบการบริการสาธารณะแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหัวบ่อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม 2024-04-17T11:39:07+07:00 เด่นศักดิ์ ยะไชยศรี llnwden@gmail.com กชกร เดชะคำภู Monydecha@gmail.com จารุกัญญา อุดานนท์ jimlim66@hotmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับ<br />การบริหารงานตามกรอบการบริการสาธารณะแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหัวบ่อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามกรอบการบริการสาธารณะแนวใหม่<br />เป็นการศึกษาแบบผสานวิธีโดยใช้วิธีวิจัยเชิงประมาณ โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหัวบ่อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม จำนวน 40 คน และกลุ่มเป้าหมาย การสัมภาษณ์<br />เชิงลึก ได้แก่ ข้าราชการ ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหัวบ่อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม จำนวน 19 คน และสถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์<br />ต่อการบริหารงานตามกรอบการบริการสาธารณะแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหัวบ่อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ &lt;.05 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ ระดับสูง และมีความสัมพันธ์ในทางบวก 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามกรอบการบริการสาธารณะแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหัวบ่อ ด้านการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ควรมีการลงพื้นที่สำรวจปัญหาและความต้องการของประชาชนก่อนจัดบริการสาธารณะโดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลและการเดินทางไม่สะดวก ด้านการให้คุณค่าความเป็นพลเมือง เจ้าหน้าที่ควรมีความซื่อสัตย์ สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่และการให้บริการเหมือนกันทุกรายโดยไม่เลือกปฏิบัติ ด้านความรับผิดชอบในการทำงาน ควรมีการกำหนดนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ตามกฎหมายระเบียบ สามารถนำพาองค์กรไปสู่ผลสำเร็จและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ด้านมุ่งให้คุณค่ากับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ ควรมีการจัดทำการประเมินความเสี่ยงของการดำเนินงานหรือการปฏิบัติหน้าที่ที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตหรือก่อให้เกิดการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ส่วนรวมของหน่วยงาน</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3372 การประเมินผลการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการบริหารงานสาธารณสุขท้องถิ่นภายหลังการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร 2024-05-13T11:35:14+07:00 พิศดาร แสนชาติ pissadarn@snru.ac.th ดวงละพา กุดนอก tocktack3717@gmail.com อรุณธร ลาสุด runthorn6570@gmail.com ธิดามาศ ยะภักดี Thidamard631@gmail.com ฤทัยรัตน์ อุปพงษ์ ruthai13tuk@gmail.com <p>ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครได้ดำเนินการรับถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 144 แห่ง จากกระทรวงสาธารณสุข และได้มีการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการบริหารงานสาธารณสุขท้องถิ่นภายหลังการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร การวิจัยเชิงสำรวจนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังกล่าว โดยศึกษาแบบเจาะจงจากประชากรในการวิจัยคือ ตัวแทนเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครในปี 2566 จำนวน 144 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมของการบริหารสาธารณสุขท้องถิ่นของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร มีผลการปฏิบัติในระดับดี เมื่อพิจารณาการบริหารงานรายด้าน พบว่า มีการบริหารงานในระดับดีมากจำนวน 3 ด้าน ได้แก่ การบริหารงานข้อมูลบริการสุขภาพ การบริหารงานสาธารณสุขมูลฐานและการจัดบริการปฐมภูมิ และการบริหารงบประมาณ การเงิน บัญชี และการพัสดุ ตามลำดับ ส่วนการบริหารงานอีก 4 ด้าน จัดอยู่ในระดับดี ได้แก่ การบริหารงานบุคคล การบริหารยา เวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ การบริหารโครงสร้างองค์กร และการกำกับ ติดตาม และประเมินผล</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3391 การเปรียบเทียบความแตกต่างของการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวระหว่างการสื่อสารการตลาดออนไลน์และออฟไลน์ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 2024-06-03T12:51:07+07:00 สุมลมาลย์ อรรถวุฒิชัย phum-pham@hotmail.com สมใจ วงค์เทียนชัย Somjai.w@acc.msu.ac.th เผด็จ ทุกข์สูญ phadetttooksoon@gmail.com สุวัจนกานดา พูลเอียด aj.ka.phuniat@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ระดับการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยว และเปรียบเทียบการรับรู้ข้อมูลที่แตกต่างกันระหว่างการสื่อสารการตลาดแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยจำแนกตามประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอำเภอแม่สอด จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 395 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษาพฤติกรรมการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในอำเภอแม่สอด พบว่า ส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวเป็นประจำในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เพื่อมาพักผ่อนและหาซื้อสินค้าตามย่านการค้ากับกลุ่มเพื่อนและครอบครัวด้วยรถยนต์ส่วนตัว ทั้งนี้ มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาท่องเที่ยวประมาณ 3,000 บาทต่อคน ในขณะที่ ผลการศึกษาการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวผ่าน รูปแบบการสื่อสารการตลาดออนไลน์ ประกอบด้วย การถ่ายทอดสด ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และการตลาดเชิงเนื้อหา และ รูปแบบการสื่อสารการตลาดออฟไลน์ ประกอบด้วย ป้ายโฆษณา แผ่นพับใบปลิว และสื่อวิทยุ พบว่า นักท่องเที่ยวมีการรับรู้ข้อมูลอยู่ในระดับมาก และนอกจากนี้ผลการศึกษาการเปรียบเทียบความแตกต่างของการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวผ่านรูปแบบการสื่อสารการตลาด พบว่า ประสบการณ์การมาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในอำเภอแม่สอดที่ต่างกัน ระดับการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวผ่านการนำเสนอภาพนิ่ง การตลาดเชิงเนื้อหา ป้ายโฆษณา และแผ่นพับใบปลิว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางที่สถิติที่ .05 และ .01 โดยเมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ยจะพบว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวเป็นประจำ มีค่าเฉลี่ยของการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวมากกว่านักท่องเที่ยวที่ไม่ค่อยได้เดินทางมา ในขณะที่ การนำเสนอข้อมูลการท่องเที่ยวผ่านการถ่ายทอดสด ภาพเคลื่อนไหว และสื่อวิทยุ ไม่มีความแตกต่างกันในการรับรู้</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2840 การรับรู้ประสบการณ์ตราสินค้า คุณค่าตราสินค้า และการตัดสินใจใช้บริการ สถานบริการออกกำลังกาย 2024-02-07T12:22:44+07:00 สุศิษฎา อินทรา susisada.intra@gmail.com โสภาค พาณิชพาพิบูล soparks@live.com <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประสบการณ์ตราสินค้า คุณค่าตราสินค้า และการตัดสินใจใช้บริการสถานบริการออกกำลังกายของผู้ใช้บริการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้บริการสถานบริการออกกำลังกายจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 612 คน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้ประสบการณ์ตราสินค้าสถานบริการออกกำลังกาย การรับรู้คุณค่าตราสินค้า และการตัดสินใจใช้บริการ ในภาพรวมทุกประเด็นอยู่ในระดับมาก และพบว่า การรับรู้ประสบการณ์ตราสินค้ามีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณค่าตราสินค้า และการตัดสินใจใช้บริการสถานบริการออกกำลังกาย</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2803 การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา 2024-02-07T11:54:47+07:00 พิชยันต์ นันทะศรี pichayan1234@gmail.com เอกลักษณ์ เพียสา akkaluckpheasa@gmail.com อภิสิทธิ์ สมศรีสุข apisit_edu@snru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัย จากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 แหล่ง ขั้นตอนที่ 2 การประเมินความเหมาะสมองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสาร และแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษามี 6 องค์ประกอบ และการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน พบว่า ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ 1) การมีวิสัยทัศน์เชิงเทคโนโลยี 2) การส่งเสริมเทคโนโลยีในการเรียนการสอน 3) ผลิตภาพและความเป็นมืออาชีพ 4) กฎหมายและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี 5) การวัดและประเมินผลโดยใช้เทคโนโลยี 6) การบริหารและการดำเนินงานในการใช้เทคโนโลยี มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2599 การเสริมสร้างศักยภาพแกนนำภาคประชาชนในการแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคมด้านสวัสดิการสังคม จังหวัดสระบุรี 2023-12-02T23:41:18+07:00 อำนวย ปิ่นพิลา dr.amnuay_@hotmai.com พรรณรักษ์ ขันทะสีมา khantaseema16420@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ให้กับแกนนำภาคประชาชนเกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายด้านสวัสดิการสังคมของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ในจังหวัดสระบุรี 2) เพื่อเสริมสร้างทักษะพัฒนาแกนนำภาคประชาชนในการแก้ไขความเหลื่อมล้ำด้านสวัสดิการสังคม การวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดย 1) การสัมภาษณ์เชิงลึก 2) การสนทนากลุ่ม และ 3) การจัดเวทีสาธารณะเพื่อให้มีการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ กับกลุ่มตัวอย่างทั้ง 13 อำเภอ ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาวะผู้นำต้องทำให้เป็นตัวอย่างเห็นชัดเจน ด้านจิตอาสาต้องอธิบายให้สมาชิกใหม่มีความเข้าใจถึงการเข้ามาร่วมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทน ด้านสุขภาพ ส่วนใหญ่ที่มาประชุมหรือทำกิจกรรมร่วมกันมีสุขภาพดี ด้านความรู้ไม่จำเป็นต้องจบระดับปริญญา ซึ่งแกนนำมีองค์ความรู้อยู่ในตัวเอง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเวลา แกนนำจะต้องมีเวลาทำกิจกรรมโดยจะต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้า (2) ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้เฉพาะในส่วนที่ตนเองรับผิดของเท่านั้น ยังไม่มีความเข้าใจในที่ชัดเจน ขาดการบูรณการในการทำงานร่วมกันและความพร้อมในการดำเนินกิจกรรม เกี่ยวกับงบประมาณยังไม่พอเพียงในการดำเนินกิจกรรม และขาดการสนับสนุนเชิงนโยบายด้านการส่งเสริมงานระดับท้องถิ่น สำหรับแนวทางการแก้ไข เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานควรปรับปรุงและพัฒนาบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินงานของตนเองให้มีความพร้อมทั้งในด้านความรู้และความเข้าใจอย่างชัดเจน</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3406 ความต้องการศึกษาต่อและปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโทหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบัญชี) มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2024-05-14T01:12:35+07:00 ลภัสรดา พีชญาธีรนาถ Laphatrada2355@gmail.com สาธิยา กลิ่นสุคนธ์ Satiya.kli@lru.ac.th กานต์ธีรา นามวงศ์ kantheera.nam@gmail.com <p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการและปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบัญชี) มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้สนใจศึกษาต่อ จำนวน 350 คน เครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยใช้สถิติเชิงพรรณาวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ ทดสอบค่าไคสแควร์ (Chi-Square) ทดสอบค่าที (t – test) และทดสอบค่าเอฟ (ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ผู้สนใจส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุต่ำกว่า 25 ปี เป็นศิษย์ปัจจุบันที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วุฒิที่กำลังจะสำเร็จ/สำเร็จการศึกษาบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี มีเกรดเฉลี่ยสะสม 3.01 – 3.50 ภูมิลำเนาจังหวัดเลย อาชีพปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นนิสิต/นักศึกษา และมีรายได้ต่อเดือนมีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท และส่วนใหญ่มีเหตุผลในการศึกษาต่อคือต้องการได้รับความรู้และประสบการณ์เพิ่มขึ้น ประเด็นที่ต้องการมุ่งเน้นในการศึกษาต่อด้านการบัญชี ช่วงวันและเวลาในการศึกษาต่อเป็นวันหยุดราชการ วันเสาร์-วันอาทิตย์ (08.30 - 16.30) รูปแบบการเรียนเป็นภาคพิเศษ (วันเสาร์–วันอาทิตย์) และบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจคือตนเอง ในส่วนปัจจัยในการตัดสินใจศึกษา พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการประกอบอาชีพ รองลงมาด้านหลักสูตร ด้านสถาบันการศึกษา ด้านปัจจัยพื้นฐานและครอบครัว ด้านเศรษฐกิจและสังคม และด้านค่าใช้จ่ายในการศึกษา ตามลำดับ ส่วนผลการเปรียบเทียบพบว่าผู้สนใจที่มีเพศ อายุ รายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบัญชี) โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และผู้สนใจที่มีเพศ อายุ รายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบัญชี) โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2909 คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม 2024-02-16T23:03:13+07:00 ศิริญญา แก่นพันธ์ kanyarat_k75@hotmail.com ชาติชัย อุดมกิจมงคล chardchai_u@hotmail.com สามารถ อัยกร saamm_5@hotmail.com <p>บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์การ ของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม 2) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม และ 3) เพื่อหาแนวทางพัฒนาความผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม จำนวน 204 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) การวัดระดับคุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการวิเคราะห์ระดับอิทธิพลของคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม พบว่าตัวแปรคุณภาพชีวิตการทำงานสามารถร่วมกันพยากรณ์ระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม ได้ร้อยละ 63.90 3) แนวทางพัฒนาความผูกพันต่อองค์การของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม ควรเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ด้านสิทธิส่วนบุคคลในสถานที่ทำงาน และด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3462 คุณลักษณะและทักษะนักบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย 2024-06-03T10:36:21+07:00 สุทธินันท์ ทองเที่ยง do.ow5022010039@hotmail.com กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์ do.ow5022010039@hotmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะและทักษะนักบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของนักบัญชี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักวิชาการเงินและบัญชี เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดตรัง พัทลุง สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 244 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะนักบัญชี ได้แก่ ด้านการคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหาส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านกระบวนการปฏิบัติงาน ด้านความทันต่อเวลา ด้านความมีมาตรฐานและด้านความถูกต้อง และพบว่าด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านกระบวนการปฏิบัติงาน ในส่วนด้านความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีส่งผลเชิงลบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านกระบวนการปฏิบัติงานด้านความทันต่อเวลา ด้านความมีมาตรฐาน ด้านความถูกต้อง ครบถ้วนและด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพส่งผลเชิงลบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านความถูกต้อง ครบถ้วน 2) ทักษะนักบัญชี ได้แก่ ด้านทักษะวิชาชีพบัญชีส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านกระบวนการปฏิบัติงาน ด้านความทันต่อเวลา ด้านความมีมาตรฐาน ด้านความถูกต้อง ครบถ้วน และด้านเทคนิคเฉพาะเกี่ยวกับวิชาชีพส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพภาพการปฏิบัติงานด้านกระบวนการปฏิบัติงาน ด้านความทันต่อเวลา ในส่วนของด้านเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลเชิงลบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านกระบวนการปฏิบัติงาน ด้านความทันต่อเวลา ด้านความมีมาตรฐาน ด้านความถูกต้อง ครบถ้วน และด้านเทคนิคเฉพาะเกี่ยวกับวิชาชีพส่งผลเชิงลบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านความมีมาตรฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3515 ทักษะและจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 2024-06-14T10:35:59+07:00 ปุญยานุช อินต๊ะสาร punyanuchintasan@gmail.com พรรณทิพย์ อย่างกลั่น phanthip.ya@spu.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะสำหรับผู้ทำบัญชีในอนาคตและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักบัญชีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จำนวน 353 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ทักษะด้านเทคโนโลยี และประสบการณ์ด้านบัญชี ส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ ในขณะที่ทักษะทางสังคม และทักษะด้านเทคโนโลยี ส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านความทันต่อเวลา ด้านความถูกต้อง และด้านความมีคุณภาพ และจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความเที่ยงธรรม การรักษาความลับ และพฤติกรรมทางวิชาชีพส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ จรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความรู้ความสามารถ ด้านการรักษาความลับ และด้านพฤติกรรมทางวิชาชีพส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านความทันต่อเวลา จรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความรู้ความสามารถ พฤติกรรมทางวิชาชีพ และความโปร่งใสส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านความถูกต้อง และจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความเที่ยงธรรม และความโปร่งใส ส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านความมีคุณภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3183 แนวทางการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดร้านค้าปลีกดั้งเดิมในชุมชนที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคเขตพื้นที่อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ 2024-05-04T13:22:10+07:00 มยุราพร สุทธิประภา 64130702103@udru.ac.th สืบชาติ อันทะไชย subchat.un@udru.ac.th <p>การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ 2) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค เขตพื้นที่อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ 3) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดร้านค้าปลีกดั้งเดิมในชุมชนส่งผลต่อความต้องการของผู้บริโภคให้กลับมาซื้อซ้ำ และมีการบอกต่อ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยรูปแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่เขตพื้นที่อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 400 คน การทดสอบสมมติฐานของส่วนประสมทางการตลาดกับกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในร้านค้าปลีกดั้งเดิมในชุมชนเขตพื้นที่อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ พบว่า ด้านการสร้างประสบการณ์ ด้านความคุ้มค่า ด้านการเข้าถึงผู้บริโภค ด้านการสร้างความสัมพันธ์ ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในร้านค้าปลีกดั้งเดิมในชุมชนเขตพื้นที่อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากผลการสัมภาษณ์สามารถนำมาสรุปเป็นแนวทางการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดร้านค้าปลีกดั้งเดิมในชุมชนที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค เขตพื้นที่อำเภอเมือง บึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ร้านค้าปลีกในชุมชนมีจำนวนมากขึ้นจึงจะต้องมีการปรับตัวต้องนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการอำนวยความสะดวก มีช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งหน้าร้านและออนไลน์ มีบริการเก็บเงินปลายทาง มีการจัดโปรโมชัน มีพื้นจอดรถสะดวกสบาย</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3451 ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานผ่านระบบ KTB Corporate Online และคุณลักษณะของนักบัญชียุคดิจิทัล ที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้งานระบบ New GFMIS Thai ของสำนักงานอัยการสูงสุด 2024-05-31T22:49:29+07:00 กรหยก บุญสม cool_p007@hotmail.com พรทิวา แสงเขียว cool_p007@hotmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานผ่านระบบ KTB Corporate Online ที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้งานระบบ New GFMIS Thai ของสำนักงานอัยการสูงสุด 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของนักบัญชียุคดิจิทัล ที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้งานระบบ New GFMIS Thai ของสำนักงานอัยการสูงสุด โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักวิชาการเงินและบัญชีของสำนักงานอัยการสูงสุด จำนวน 193 คน และนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานผ่านระบบ KTB Corporate Online คือ ด้านทำให้บรรลุผลสำเร็จมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการยอมรับการใช้งานระบบ New GFMIS Thai ด้านความง่ายในการใช้งาน และด้านประโยชน์ที่ได้รับ และพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัญชี และด้านความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร ส่งผลเชิงบวกต่อการยอมรับการใช้งานระบบ New GFMIS Thai ด้านประโยชน์ที่ได้รับ และด้านความปลอดภัยในการใช้งาน และด้านขั้นตอนการปฏิบัติงาน ส่งผลเชิงลบต่อการยอมรับการใช้งานระบบ New GFMIS Thai ด้านประโยชน์ที่ได้รับ คุณลักษณะของนักบัญชียุคดิจิทัล คือ ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัญชี และด้านการคิดวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาส่งผลเชิงบวกต่อการยอมรับการใช้งานระบบ New GFMIS Thai ด้านความง่ายในการใช้งาน และพบว่า ด้านการคิดวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหา ส่งผลเชิงบวกต่อการใช้งานระบบ New GFMIS Thai ด้านประโยชน์ที่ได้รับ และด้านความปลอดภัยในการใช้งาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 และด้านความรู้และทักษะทางวิชาชีพบัญชี ส่งผลเชิงลบต่อการยอมรับการใช้งานระบบ New GFMIS Thai ด้านความง่ายในการใช้งาน และด้านความปลอดภัยในการใช้งาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3129 ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครพนม 2024-03-31T21:12:58+07:00 วีรศักดิ์ หะติง wassana0818@gmail.com จารุกัญญา อุดานนท์ jimlim66@hotmail.com กชกร เดชะคำภู Monydecha@gmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัจจัยด้านความสามารถของบุคลากร ปัจจัยด้านรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และปัจจัยด้านภาวะผู้นำ 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดนครพนม และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครพนม จำนวน 227 คน โดยการหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการคำนวณจากสูตรของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครพนม โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครพนม โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครพนม ประกอบด้วย ด้านความสามารถของบุคลากรด้านภาวะผู้นำ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยปัจจัยด้านความสามารถของบุคลากรส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครพนมมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครพนมได้ร้อยละ 67.30</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3520 ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม 2024-05-27T21:12:24+07:00 สายใจ วานิชสุจิต mirinzaamasher@gmail.com สำราญ วิเศษ Wised2520@gmail.com จารุกัญญา อุดานนท์ jimlim66@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนมโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ บุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดนครพนม จำนวน 259 คนเป็นการสุ่มตามความน่าจะเป็น โดยใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเป็นสัดส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One sample t – test สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์สมมติฐาน ได้แก่ การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความรับผิดชอบในการทำงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยมีค่าสมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเป็น .662 (R) และสามารถพยากรณ์ถึงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม ได้ร้อยละ 66</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2746 อิทธิพลของภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้และคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของคณะภคินีรักกางเขนแห่งท่าแร่ 2024-01-25T12:50:36+07:00 ปราณี แสนต่างนา praneesy@gmail.com ชาติชัย อุดมกิจมงคล chardchai_u@hotmail.com สามารถ อัยกร Saamm_5@hotmail.com <p>การวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้กับคุณภาพชีวิตในการทำงานภายในคณะภคินีรักกางเขนแห่งท่าแร่ซึ่งเป็นสถาบันทางศาสนาที่มีบทบาทสำคัญในสังคมและศาสนาในประเทศไทยและลาว ซึ่งในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจองค์กรต่าง ๆ ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ และเพิ่มประสิทธิผลในการทำงาน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้และคุณภาพชีวิตในการทำงานของคณะภคินีรักกางเขนแห่งท่าแร่ 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของคณะภคินีรักกางเขนแห่งท่าแร่ 3) ศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้และคุณภาพชีวิตในการทำงานส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของคณะภคินีรักกางเขนแห่งท่าแร่ 4) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของคณะภคินีรักกางเขนแห่งท่าแร่ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรในฝ่ายต่าง ๆ ของคณะภคินีรักกางเขนแห่งท่าแร่ ซึ่งประกอบด้วย 1) ฝ่ายการศึกษา 2) ฝ่ายอบรม 3) ฝ่ายอภิบาลแพร่ธรรม รวมทั้งสิ้น 222 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของคณะภคินีรักกางเขนแห่งท่าแร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คุณภาพชีวิตในการทำงานของคณะภคินีรักกางเขนแห่งท่าแร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของคณะภคินีรักกางเขนแห่งท่าแร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) ผลการวิเคราะห์อิทธิพลของภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของคณะภคินีรักกางเขนแห่งท่าแร่ พบว่าตัวแปรภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 66.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ผลการวิเคราะห์อิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของคณะภคินีรักกางเขนแห่งท่าแร่ พบว่าตัวแปรคุณภาพชีวิตในการทำงานสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 70.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6) แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของคณะภคินีรักกางเขนแห่งท่าแร่ เน้นการพัฒนาด้านเวลาและค่าใช้จ่าย โดยมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ การพัฒนาทักษะและความรู้ของบุคลากร การสร้างระบบการให้รางวัลและการสนับสนุน และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3586 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์และการยอมรับการใช้เทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจสมัครแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus ของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาไชยปราการ 2024-06-14T10:52:12+07:00 พฤกษ์ เชิงเงี้ยว benzzagreenday@gmail.com ศิริรัตน์ รัตนพิทักษ์ sirirat_rat@utcc.ac.th <p>การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์และการยอมรับการใช้เทคโนโลยี ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจสมัครแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus ของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาไชยปราการ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณแจกแบบสอบถามกับลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาไชยปราการ จำนวน 337 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบหาความสัมพันธ์แบบถดถอยเชิงพหุและการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์ กับลูกค้าที่ตัดสินใจและไม่ตัดสินใจสมัครแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus จำนวน 20 คน ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ส่งผลต่อการตัดสินใจสมัครแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus ที่ระดับนัยสำคัญ .05 2) การยอมรับการใช้เทคโนโลยี ด้านการรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ส่งผลการตัดสินใจสมัครแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus ที่ระดับนัยสำคัญ .05</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2755 ปัญหาทางกฎหมายในการนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวจำเลยมาประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลในการลดโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 2024-01-25T20:38:42+07:00 จักรกฤษ หลักหาญ beam55661@gmail.com ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล lawan.tha.2499@gmail.com ปวินี ไพรทอง prawinee.pra@stou.ac.th <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาที่มา หลักเกณฑ์ และแนวความคิด เกี่ยวกับการลดโทษให้แก่จำเลยเมื่อมีเหตุบรรเทาโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 2) ศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ในการลดโทษให้แก่จำเลย ตามหลักกฎหมายของประเทศไทย ประเทศเยอรมนี ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอังกฤษ 3) ศึกษาปัญหาทางกฎหมายในการนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวจำเลยในส่วนที่เป็นโทษหรือในด้านความชั่วร้าย มาประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลในการลดโทษ 4) เสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้มีการกำหนดโทษจำเลยแต่ละรายนั้นเป็นไปด้วยความเหมาะสม และ 5) ให้สามารถบังคับใช้กฎหมาย และป้องกันปัญหาอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากการศึกษาค้นคว้าตำรา บทความ งานวิจัยทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลดโทษให้แก่จำเลยเมื่อมีเหตุบรรเทาโทษ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิจัย และนำมาวิเคราะห์ปัญหา อันนำไปสู่ข้อสรุปและข้อเสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย จากการศึกษาวิจัย พบว่า 1) ปัจจุบันศาลได้นำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 มาลดโทษให้แก่จำเลยถึงกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงในเกือบจะทุกคดี 2) บทบัญญัติ มาตรา 78 ไม่เปิดช่องให้ศาลนำข้อเท็จจริงในส่วนที่เป็นโทษแก่ตัวจำเลย หรือในด้านความชั่วร้ายของจำเลย มาประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลในการลดโทษได้ 3) การลดโทษให้แก่จำเลย ถึงกึ่งหนึ่งนี้ ทำให้การกำหนดโทษแต่ละคดีไม่มีความเหมาะสมกับจำเลยแต่ละราย ทำให้ผู้กระทำความผิดไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย และทำให้ขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายอาญา 4) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 โดยบัญญัติให้ศาลสามารถนำข้อเท็จจริง ในส่วนที่เป็นโทษแก่จำเลยมาประกอบการใช้ดุลพินิจลดโทษให้แก่จำเลยได้ 5) หากมีการกำหนดโทษให้มีความเหมาะสมกับจำเลยแต่ละราย จะสามารถบังคับใช้กฎหมายอาญาในการป้องกันอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2567 ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ 2023-11-22T21:59:42+07:00 ปรัชญ์ทวิพร พันธ์วงศ์ pruttawipornpanwong@gmail.com <p>การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การปฏิบัติงาน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ จำนวน 421 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายจากการกำหนดขนาดของตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ 15 จากจำนวนประชากร กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 6 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเชื่อมั่น .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 ด้าน 1) ด้านการมีใจใฝ่บริการ ควรมีจิตสาธารณะและพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีความรู้รอบด้านเพื่อตอบสนองความต้องการของเพื่อนร่วมงานได้ 2) ด้านการเสริมพลังอำนาจ ควรมอบหมายงานให้ตรงตามความถนัดและความสามารถของเพื่อนร่วมงานแต่ละบุคคล และสร้างขวัญกำลังใจให้เพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ 3) ด้านการมีวิสัยทัศน์ ควรมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มองภาพในอนาคตของสถานศึกษาที่เป็นไปได้ และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามีส่วนร่วมในการวางแผนงาน และ 4) ด้านการเคารพให้เกียรติ ควรเคารพให้เกียรติและให้โอกาสเพื่อนร่วมงานได้แสดงความคิดเห็นในการปฏิบัติงานอย่างอิสระ</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2688 ระบบและกลไกการหนุนเสริมงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2024-01-04T22:17:13+07:00 พัสรินณ์ พันธุ์แน่น pasrin2009@gmail.com สุวิมล วงศ์สิงห์ทอง suwimonv@yahoo.com ดวงทิพย์ จันทร์อ่วม duangthip556@hotmail.com ดาวพระศุกร์ ทองกลิ่น dawprasug@hotmail.com <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและหนุนเสริมโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นในพื้นที่ชุมชนสายคลองพระพิมลราชา จังหวัดนนทบุรี และชุมชนบางบัว กรุงเทพมหานคร อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน และเพื่อศึกษาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการหนุนเสริมงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นและจัดทำชุดความรู้ระบบและกลไกในการหนุนเสริมงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในพื้นที่สายคลองพระพิมลราชา จังหวัดนนทบุรี ใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย อาจารย์ เครือข่าย และชาวบ้านจำนวน 80 คน ซึ่งได้มาจากการลงพื้นที่เพื่อพัฒนาโจทย์วิจัยควบคู่กับการค้นหาทีมวิจัย พื้นที่ศึกษา คือ ชุมชนริมคลองพระพิมลราชา และชุมชนริมคลองบางบัว ผลการวิจัยพบว่า ระบบและกลไกการหนุนเสริมงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะ ต้นน้ำ คือการศึกษาพื้นที่และโจทย์วิจัยที่มาจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ระยะกลางน้ำ คือการติดตามหนุนเสริมความรู้และกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น และระยะปลายน้ำ คือการหนุนเสริมความรู้ด้านการเขียนและเผยแพร่ผลการวิจัย สร้างเครือข่ายโดยใช้แนวคิดการสร้างความเป็นกลุ่มก้อน และแนวคิดการทำงานแบบใกล้ชิดทำให้สามารถสร้างเครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการ ส่งผลให้เกิดโครงการวิจัยใหม่สร้างนักวิจัยชุมชนและเครือข่ายที่ประกอบด้วย นักวิจัยอาจารย์ นักวิจัยชาวบ้าน เครือข่ายสถาบันการศึกษา และเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน สำหรับการจัดทำชุดความรู้ซึ่งเป็นเครื่องมือในการถ่ายโอนความรู้ในชุมชน ส่งผลให้ชุมชนสามารถบูรณาการความรู้เชิงวิชาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2950 การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 2024-02-26T17:58:01+07:00 นิรมล เนื่องสิทธะ nnueangsittha@gmail.com จินตนา จันทนนท์ jintana.jun3457@gmail.com นันทกาญจน์ เกิดมาลัย nantakan.k@snru.ac.th นวรัตน์ สุรัติวรพัทธ์ nawarat2626994@gmail.com เจตรัมภา พรหมทะสาร nnueangsittha@gmail.com กฤตกร มั่นสุวรรณ nnueangsittha@gmail.com วาทินี ศรีมหา nnueangsittha@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาต้นทุนรายผลิตภัณฑ์ 2) ศึกษาผลตอบแทนรายผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่สมาชิกกลุ่มเครื่องปั้นดินเผา จำนวน 20 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละและอัตราส่วน จากการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ กระถางปลูกต้นไม้ โอ่งพร้อมฝาปิด กระถางแขวนและผลิตภัณฑ์ ประเภทงานตามสั่งของลูกค้า ต้นทุนผลิตภัณฑ์ภาพรวมมีต้นทุนการผลิต 28,245 บาท/เดือน สามารถผลิตสินค้าได้ 6 ประเภท จำนวน 1,430 ชิ้น ภาพรวมต้นทุนต่อหน่วยสินค้าต่อชิ้นเท่ากับ 19.75 บาท (ประมาณเป็นจำนวนเต็มได้เท่ากับชิ้นละ 20 บาท) ต้นทุนส่วนใหญ่มาจากค่าแรงงาน 19,520 บาท คิดเป็น 69.10% รองลงมาคือวัตถุดิบ 6,325 บาท คิดเป็น 22.39% และค่าใช้จ่าย 2,400 บาท คิดเป็น 8.51% เรียงตามลำดับ ในส่วนการจำแนกต้นทุนรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ต้นทุนการผลิต ต้นทุนส่วนใหญ่มาจากค่าแรงงาน อยู่ระหว่าง 61.32-69.97% รองลงมาคือวัตถุดิบ อยู่ระหว่าง 22.36-29.38 % และค่าใช้จ่าย คิดเป็น 7.22-9.30% รายได้จากการขาย แบ่งเป็น 2 แบบ คือจากราคาขายส่งโดยต้องจัดซื้อจำนวน 20 ชิ้นขึ้นไป และราคาขายปลีก โดยราคาจากการประมาณการกำหนดไว้เพื่อขายจะแยกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ มีราคาตั้งแต่ 19.60 – 50.40 บาท ซึ่งเป็นการกำหนดราคาขายจากสินค้าลักษณะเดียวกันที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด จะมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 30,000-70,000 บาท/เดือน กำไรอยู่ระหว่าง 9,000-35,000 บาท และราคาขายจริงไม่แตกต่างกันมากจากราคาประมาณการ สามารถคิดอัตราผลตอบแทนได้ดังนี้ อัตราผลตอบแทนภาพรวมของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา อัตราส่วนกำไรขั้นต้นอยู่ระหว่าง 33.35-64.12% และอัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net Profit Margin: NPM) 32.59-55.75 %</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3558 สภาพแวดล้อมขององค์กร การปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบก 2024-05-30T22:35:00+07:00 พัชร์นรินทร์ ผินโพธิ์ patnarin016@gmail.com ประเวศ เพ็ญวุฒิกุล Pravasxyz248@gmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมขององค์กรและการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบก จำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า สภาพแวดล้อมขององค์กร ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงาน และด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ มีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ด้านความถูกต้องของงบการเงิน ด้านความน่าเชื่อถือของงบการเงิน และด้านทันต่อเวลา ส่วนความเข้าใจในขั้นตอนจัดทำบัญชีมีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ด้านความถูกต้องของงบการเงิน และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี มีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ด้านความน่าเชื่อถือของงบการเงิน รวมถึงความรู้ทางด้านบัญชี และ ความเข้าใจในขั้นตอนการจัดทำบัญชี มีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ด้านทันต่อเวลา ข้อเสนอแนะที่ได้ คือ หน่วยงานควรให้ความสำคัญในการพิจารณาการให้ค่าตอบแทนและความก้าวหน้าในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ให้เหมาะสมกับผลงานและประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3373 สมรรถนะบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานอัยการ สังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 2024-05-12T11:57:45+07:00 อัจฉรา รูปเรี่ยม archara1987@gmail.com กชกร เดชะคำภู Monydecha@gmail.com สำราญ วิเศษ Wised2520@gmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานอัยการ สังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 2) ศึกษาสมรรถนะบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานอัยการ สังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 3) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานอัยการ สังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสำนักงานอัยการ สังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 จำนวน 223 คน ใช้วิธีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .96 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานอัยการ สังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) สมรรถนะบุคคลด้านทัศนคติ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านแรงจูงใจ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานอัยการ สังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 มีอำนาจทำนายประมาณร้อยละ 74.80 3) ด้านทัศนคติ ควรมีการสนับสนุนและพัฒนาบุคลากรให้ศึกษาและใช้งานระบบเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่เสมอ เพื่อให้บุคลากรมีความรู้สึกว่าการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลไม่ได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน ด้านความรู้ ควรมีการจัดฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานเพื่อให้บุคลากรสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ ด้านทักษะ ควรเปิดโอกาสให้บุคลากรได้ใช้ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในการแก้ไขปัญหา ด้านแรงจูงใจ ควรมีการให้สวัสดิการด้านต่าง ๆ ให้คำชมเชยกับผู้ที่ปฏิบัติงานเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ</p> 2024-09-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร