วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU <p><strong>วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร</strong> E-ISSN: 2774-0390 เป็นวารสารที่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลดัชนีอ้างอิงวารสารไทย หรือ TCI กลุ่มที่ 2 เปิดรับความวิจัยและบทความวิชาการ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ในกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์ ประกอบด้วย การบริหารธุรกิจ การจัดการ การบัญชี การตลาด การจัดการทรัพยากรมนุษย์ นิเทศศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเงินการธนาคาร คอมพิวเตอร์ธุรกิจ จิตวิทยาประยุกต์ รัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ การบริหาร การพัฒนา การศึกษา ทั้งนี้ทุกบทความจะได้รับการกลั่นกรองและประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาวิชา และหลากหลายสถาบัน บทความละ 3 ท่านต่อ 1 บทความ ผ่านระบบเว็บไซต์ THAIJO แบบไม่เห็นกันทั้งสองฝ่ายระหว่างผู้ประเมินและผู้นิพนธ์ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ (ตั่้งแต่ปี พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป)</p> <p><strong>ประกาศ เรื่อง แจ้งการเพิ่มจำนวนฉบับต่อปี</strong></p> <p>กองบรรณาธิการวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ได้ประชุมกันและมีมติเพิ่มจำนวนเล่มจาก 3 ฉบับต่อปี เป็น 4 ฉบับต่อปี ดังนี้ ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม) ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน) ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน) และฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม) ทั้งนี้เพื่อให้บทความที่ส่งเข้ามาเพื่อขอรับการพิจารณาให้ตีพิมพ์ในวารสารฯ ได้รับการตีพิมพ์ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยจะมีผลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป </p> <p>จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน</p> <p>กองบรรณาธิการ</p> <p>11 มกราคม 2567</p> คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร th-TH วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2774-0390 <p>บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน</p> โครงการระหว่างวัยด้านการศึกษาเพื่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุไทย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2306 <p> การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของการดำเนินนโยบายของภาครัฐ เนื่องจากตลาดแรงงานที่ประชากรในวัยทำงานลดลงในขณะที่งบประมาณในการดูแลผู้สูงอายุด้านสุขภาพหรือการจ่ายเบี้ยชราภาพมีแนวโน้มสูงขึ้น ที่ผ่านมานโยบายรัฐในการดูแลผู้สูงอายุมักมุ่งไปที่โครงการด้านสุขภาพและสังคมสงเคราะห์เป็นหลัก ก่อนที่แนวคิดโครงการระหว่างวัยเพื่อดึงศักยภาพของผู้สูงอายุจะได้รับความสนใจมากขึ้น โครงการเรียนรู้ระหว่างวัยเกิดจากแนวคิดหลัก 2 แนวคิด ได้แก่ แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตและแนวคิดทุนทางสังคม แนวคิดทั้งสองนี้มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ระหว่างกลุ่มคนในช่วงอายุที่แตกต่างกัน ประสบการณ์โครงการระหว่างวัยด้านการศึกษาของไทยเน้นการสร้างพื้นที่และโอกาสให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมโดยให้ผู้สูงอายุเป็นแหล่งความรู้และประสบการณ์ให้กับเยาวชนและผู้อื่นในชุมชนเป็นสำคัญ</p> ปิยากร หวังมหาพร Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-03-23 2024-03-23 4 1 1 12 การสร้างต้นแบบนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่นำร่อง ตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2225 <p><strong> </strong>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนที่ระบุถึงแนวทางการพัฒนามาตรการ และกลไกในการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม <strong> </strong>ผลการศึกษา พบว่า ต้นแบบนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่นำร่อง ตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร กำหนดเป้าหมายร่วมกัน ภายใต้วิสัยทัศน์ระยะสั้นและระยะกลาง “ชุมชนออนซอน มีอาชีพเสริมสร้างรายได้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต” วิสัยทัศน์ระยะยาว “กุดบากออนซอน” 3 ระยะ ระยะสั้น 3-6 เดือน ทดลองต้นแบบนโยบายยกระดับรายได้ ด้านการเลี้ยงสัตว์เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร “หอยเชอรี่ปลอดภัย” ด้านการเกษตร “เพาะกล้าออนซอน” ด้านแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าคราม“ออนซอนผ้าคราม” เป้าหมาย “อยู่รอด” เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย มีอาหารบริโภคความอยู่รอด ระยะกลาง 1– 3 ปี โครงการความมั่นคงทางอาหารภายในครอบครัว โครงการชุมชนสะอาด โครงการยกระดับรายได้ โครงการชุมชนมีส่วนร่วม เป้าหมาย “อยู่ได้” มีอาหารในครัวเรือนที่เพียงพอ การจัดการขยะในครัวเรือนที่เหมาะสม ยกระดับรายได้ในครัวเรือน ระยาว 3 ปีขึ้นไป 5 มิติ แก้ไขปัญหาความยากจน มิติการพัฒนาคุณภาพตลอดชีวิต มิติการพัฒนาบ้านน่าอยู่ มิติการยกระดับรายได้ มิติชุมชนมีส่วนร่วม และมิติความมั่นคงด้านทรัพยากรเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี</p> ชนินทร์ วะสีนนท์ นันทกาญจน์ เกิดมาลัย ปทุมทิพย์ ม่านโคกสูง มาลี ศรีพรหม กาญจนา วงษ์สวัสดิ์ ภาวิณี แสนชนม์ นิรมล เนื่องสิทธะ ปริฉัตร ภูจิตร รจิตรา กาญบุตร Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-03-23 2024-03-23 4 1 13 28 ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/1616 <p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน และ 2) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ทั้ง 5 ด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 297 คน ได้มาโดยสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผู้วิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการเป็นผู้นำด้านวิสัยทัศน์ รองลงมาคือ ด้านการเป็นพลเมืองยุคดิจิทัล ด้านความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ ด้านการปรับปรุงอย่างเป็นระบบด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล 2) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ ผู้บริหารยอมรับในนโยบายของระดับท้องถิ่น ระดับชาติและดำเนินการแปลงเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของนโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยจัดเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ งบประมาณบริหารงานบุคคล และบริหารทั่วไป เพื่อสำหรับนำนโยบายไปปฏิบัติและวางแผนสำหรับผู้ปฏิบัติให้ชัดเจน ด้านการสร้างด้านวัฒนธรรมการเรียนรู้สู่ยุคดิจิทัล ควรส่งเสริมพัฒนาครู ให้ตระหนักเห็นความสำคัญ และมีทักษะในการสร้างนวัตกรรมนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยผลักดันให้ครูและผู้เรียนคิดค้นนวัตกรรมการบริหารจัดการและนวัตกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง ด้านการเป็นพลเมืองยุคดิจิทัล ควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน พร้อมกับใช้เป็นเครื่องมือในการค้นคว้าพัฒนาความรู้ของตน รวมทั้งสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา และจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาของโรงเรียน รวมทั้งมีแผนการจัดการที่ชัดเจน ด้านการปรับปรุงอย่างเป็นระบบ ควรมีการติดตามและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการให้ครอบคลุมภารกิจของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมาย มีการยกย่องเชิดชูเกียรติครูและผู้เรียนที่ประสบความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยี และด้านการเป็นผู้นำมีวิสัยทัศน์ ควรมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล สร้างโอกาสทางสังคม สร้างความเท่าเทียมกันทางสังคมและสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิตนักเรียน</p> สุภิชฌาย์ ศิริโรจน์ กิจพิณิฐ อุสาโห Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-03-23 2024-03-23 4 1 29 44 ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลของบุคลากร กรมการปกครองสังกัดระทรวงมหาดไทย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2124 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยด้านทักษะดิจิทัลที่จำเป็นของบุคลากร กรมการปกครอง<br />สังกัดกระทรวงมหาดไทย และระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลของบุคลากร กรมการปกครอง สังกัด<br />กระทรวงมหาดไทย 2) ศึกษาปัจจัยด้านทักษะดิจิทัลที่จำเป็นของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลของบุคลากร กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย 3) หาแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน<br />ด้านดิจิทัลของบุคลากร กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ปลัดอำเภอ สังกัด<br />กระทรวงมหาดไทย จำนวน 310 คน โดยการหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการคำนวณจากสูตรของยามาเน่<br />เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ<br />ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยด้านทักษะดิจิทัล <br />ที่จำเป็นของบุคลากร กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลของบุคลากรกรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยด้านทักษะดิจิทัลที่จำเป็นของบุคลากรส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากร กรมการปกครองสังกัดกระทรวงมหาดไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ &lt;.05 มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์= .4234)แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลของบุคลากร กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย ควรมีการสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน และการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน มีการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเน้นการเรียนรู้จากการทำงานจริง การสลับหมุนเวียนกันทำงานโดยกำหนดแนวทาง วางแผนกำกับ ติดตาม ดูแล อย่างต่อเนื่อง ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานให้อยู่ในรูปแบบของดิจิทัล มีการการติดตั้งอุปกรณ์การใชงานบริเวณที่ตั้งขององค์การ โดยเฉพาะการใชเครื่องมือสื่อสารที่เป็นโทรศัพท์มือถือซึ่งมีการใช้อินเทอร์เน็ต (Internet) ผ่านสัญญาณไวไฟ (Wi-Fi) เพื่อรองรับกับบุคลากรและการติดด่อสื่อสารระหว่างบุคลากรด้วยกันหรือการติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอก เป็นระบวนการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการทำงานร่วมกันแบบออนไลน์การใช้งานและการแบ่งปันพื้นที่การทำงานออนไลน์การใช้งานโปรแกรมแบ่งปันหน้าจอ การใช้งานโปรแกรมประชุมทางไกลผ่านจอภาพ เรียนรู้การทำงานโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ได้แก่ Video conference, E–mail, Messaging และเครื่องมือเทคโนโลยีในการแชร์ข้อมูล เพื่อที่จะให้สามารถทำงานร่วมกันได้ในสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น</p> พงศภัค แสงใสแก้ว ชาติชัย อุดมกิจมงคล สามารถ อัยกร Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-03-23 2024-03-23 4 1 45 58 แรงจูงใจ และกลยุทธ์การตลาดบริการ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้แอปพลิเคชัน สั่งอาหารของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2109 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำคัญของแรงจูงใจ และกลยุทธ์การตลาดบริการสำหรับผู้ใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหาร และ 2) ศึกษาแรงจูงใจ และกลยุทธ์การตลาดบริการ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหารของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ประชากร คือ ผู้บริโภคที่เคยใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหารในจังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวนเท่ากับ 385 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยวิธี Enter ผลการวิจัย พบว่า ผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหารให้ความสำคัญกับแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก โดยแรงจูงใจภายในมากที่สุด รองลงมา คือ แรงจูงใจภายนอก ผู้บริโภคมักตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหาร หลังจากได้ศึกษาข้อมูลรายละเอียดผลิตภัณฑ์ ภาพ ราคา และโปรโมชัน ซึ่งมีการใช้บริการสั่งอาหารออนไลน์ผ่าน Grab Food มากที่สุด รองลงมา คือ LINE MAN และ Food Panda ส่วนกลยุทธ์การตลาดบริการ พบว่า ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ ได้แก่ 1) ด้านลักษณะทางกายภาพ มีการจัดประเภทอาหารเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการสั่งซื้อ 2) ด้านผลิตภัณฑ์ มีการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้บริการว่าอาหารมีรสชาติทีดี วัตถุดิบทีมีคุณภาพ และบรรจุภัณฑ์มีความเหมาะสม 3) ด้านการส่งเสริมการตลาด มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง 4) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน มีพนักงานจัดส่งอาหารเพียงพอ การบริการครอบคลุมพื้นที่ 5) ด้านบุคลากร มีพนักงานจัดส่งอาหารที่แต่งตัวสะอาดเรียบร้อย มีความสุภาพและอัธยาศัยดี 6) ด้านราคา มีรูปแบบการชำระเงินหลากหลาย อัตราค่าบริการมีความเหมาะสม และ 7) ด้านกระบวนการ มีขั้นตอนการสมัครและเริ่มใช้งานง่าย สะดวกและรวดเร็วตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า แรงจูงใจทุกตัวมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอพพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อธิบายค่าความผันแปรของแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอพพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ ได้ร้อยละ 58.50 ส่วนกลยุทธ์การตลาดบริการ พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมการตลาด และด้านกระบวนการมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนด้านช่องทางการจัดจำหน่ายกับด้านลักษณะทางกายภาพ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อธิบายค่าความผันแปรของกลยุทธ์การตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอพพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ ได้ร้อยละ 72.90</p> ภาศิริ เขตปิยรัตน์ วัชราภรณ์ อารีรัตนศักดิ์ สินีนาถ วิกรมประสิทธิ์ อาภา ไสยสมบัติ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-03-23 2024-03-23 4 1 59 72 สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/1813 <p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางของสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 89 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 และแบบสัมภาษณ์ สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผู้วิจัย พบว่า 1) ระดับสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีการกระจายตัวน้อย ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านพัฒนาตนเอง รองลงมา คือ ด้านมุ่งผลสัมฤทธิ์ และด้านบริการที่ดี ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านทำงานเป็นทีม 2) แนวทางภาวะสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ 1) ผู้บริหารควรใช้กระบวนการ PDCA ในการบริหารสถานศึกษา 2) ผู้บริหารควรเปิดใจรับฟังความคิดเห็นครู 3) ผู้บริหารควรจัดให้มีการทำ PLC ร่วมกับครูและบุคลากรในสถานศึกษา และ 4) ผู้บริหารควรบริหารงานเน้นการสร้างสัมพันธ์ที่ดี</p> ภคพร อุตตะกะ กิจพิณิฐ อุสาโห Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-03-23 2024-03-23 4 1 73 84 พัฒนาการรูปแบบการซื้อสิทธิ์และขายเสียงในประเทศไทย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/1976 <p> การเลือกตั้งเป็นหลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยให้มีสิทธิมีเสียงในการปกครองตนเองโดยเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่แทนตน สำหรับประเทศไทยนั่นเป็นที่รู้กันว่าที่ใดมีเลือกตั้งที่นั้นมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง จะเห็นว่าการซื้อสิทธิ์ขายเสียงเป็นหนึ่งในพฤติกรรมทุจริตการเลือกตั้ง โดยใช้เงิน การเสนอสิ่งตอบแทนในรูปผลประโยชน์ หรือทรัพย์สินต่าง ๆ แลกเปลี่ยนกับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง อย่างไรก็ตามผลการศึกษาพัฒนาการรูปแบบการซื้อสิทธิ์และขายเสียง ประกอบด้วย (1) การซื้อเสียงในลักษณะของการให้เงิน (2) รูปของการให้คำมั่นสัญญาว่าจะช่วยเหลือ (3) รูปแบบของนโยบายพัฒนาพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐาน (4) การซื้อสิทธิ์ในทางนโยบายขายฝัน และ (5) การซื้อสิทธิ์ในเชิงหุ้นส่วนธุรกิจการเมือง</p> พินิจ บำรุง สัญญา เคณาภูมิ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-03-23 2024-03-23 4 1 85 102 การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนกลุ่ม 8 (เชียงยืน) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุดรธานี เขต 1 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/1803 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนกลุ่ม 8 (เชียงยืน) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ประชากรที่ศึกษา คือ โรงเรียน จำนวน 8 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 84 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91. เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Google form ผ่านช่องทางอีเมล์. สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนกลุ่ม 8 (เชียงยืน) สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีการกระจายตัวน้อย (µ = 3.71, α = 0.38) ทุกด้านอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการนิเทศการศึกษา 2. แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนกลุ่ม 8 (เชียงยืน) ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน วิเคราะห์ นิเทศติดตาม ประเมินผล และพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ควรมีการรวมกลุ่มกันเพื่อจัดทำแผนการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกันเป็นการระดมความคิดจากครูผู้สอน ควรให้ครูได้มีส่วนร่วมกำหนดแนวทางในการพัฒนาการปรับปรุงการใช้สื่อนวัตกรรม ควรสนับสนุนให้ครูจัดสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ควรสนับสนุนให้ครูมีส่วนร่วมในการสร้างแบบฟอร์มในด้านการวัดและประเมินผลให้มากขึ้น และควรส่งเสริมให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการนิเทศภายในสถานศึกษาให้มากขึ้น</p> ธนิตา ฤาชากุล กิจพิณิฐ อุสาโห Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-03-23 2024-03-23 4 1 103 120 ธรรมาภิบาลและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมการปกครองจังหวัดสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2098 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับธรรมาภิบาล ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านธรรมาภิบาลและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรของกรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร จำนวน 181 คน โดยการหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการคำนวณจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1. ธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัด<br />สกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลหลักความรับผิดชอบมีอิทธิพลสูงที่สุด) รองลงมา คือ หลักคุณธรรม และหลักความโปร่งใส ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ = .519 3. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลด้านความรับผิดชอบในงาน มีอิทธิพลสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ และด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ = .394 4. ปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร มีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงาน ค่าตอบแทนและสวัสดิการ มีอิทธิพลสูงที่สุดรองลงมา คือ สภาพการทำงาน และความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ = .542</p> ศิริพงษ์ มีสุวรรณ ชาติชัย อุดมกิจมงคล สามารถ อัยกร Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-03-23 2024-03-23 4 1 121 136 ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/1798 <p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำตามสถานการณ์ และแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ประชากร คือ โรงเรียน จำนวน 63 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ ครูผู้สอน จำนวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Google form ได้รับการตอบกลับร้อยละ 91.72 การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีการกระจายตัวน้อย ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ แบบขายความคิด รองลงมา คือ แบบมีส่วนร่วม และแบบมอบหมายงาน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ แบบสั่งการ 2. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนได้เป็นผู้วางแผนปฏิบัติงานด้วยตนเอง มีการอธิบายหรือแจ้งครูผู้สอนทราบถึงความคาดหวังของโรงเรียน ผู้บริหารควรบอกรายละเอียดของงานที่ตนเองต้องการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำให้ละเอียดชัดเจน ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการปฏิบัติงาน ให้ครูผู้สอนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย และผู้บริหารควรกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเต็มใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ</p> สุดารัตน์ แสงสิทธิ์ กิจพิณิฐ อุสาโห Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-03-23 2024-03-23 4 1 137 148 อิทธิพลของการออกแบบการเรียนรู้ที่มีต่อประสิทธิผลในการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านระบบเปิดขนาดใหญ่ (MOOCs) ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติของไทย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2055 <p> บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้ต่อปัจจัยด้านการออกแบบการเรียนรู้ผ่านการเรียนรู้ผ่านระบบ MOOCs ของมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติของไทย 2) ระดับประสิทธิผลในการเรียนรู้ผ่านการเรียนรู้ผ่านระบบ MOOCs ของบุคลากร และ 3) อิทธิพลของปัจจัยด้านการออกแบบการเรียนรู้ที่มีต่อประสิทธิผลในการเรียนรู้ผ่านการเรียนรู้ออนไลน์ระบบ MOOCs ของบุคลากร ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรที่ทำงานประจำแบบเต็มเวลาของมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติของไทยจำนวน 9 แห่ง สำหรับกลุ่มตัวอย่างงานวิจัยกำหนดได้ที่ 400 ตัวอย่าง และสามารถเก็บข้อมูลได้จำนวน 355 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 88.75 ของกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการรับรู้ถึงปัจจัยการออกแบบการเรียนรู้ทั้ง 6 ด้านผ่านการเรียนรู้ระบบ MOOCs ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีปัจจัย 2 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ และด้านระบบเทคโนโลยี 2) ระดับประสิทธิผลในการเรียนรู้ผ่านระบบ MOOCs จากการรับรู้ของบุคลากรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยด้านการออกแบบการเรียนรู้ (ทั้ง 6 ตัวแปรย่อย) ได้แก่ การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ การกำกับการเรียนรู้ตนเอง การออกแบบการนำเสนอเนื้อหา ระบบจัดการการเรียนรู้ ระบบเทคโนโลยี มีอิทธิพลในทางบวกต่อประสิทธิผลในการเรียนรู้ผ่านระบบMOOCs อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่า ปัจจัยย่อยด้านการกำกับเรียนรู้ตนเองมีอิทธิพลทางบวกต่อระดับประสิทธิผลในการเรียนรู้ผ่านระบบ MOOCs มากที่สุด</p> สุปัญญดา สุนทรนนธ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-03-23 2024-03-23 4 1 149 160 ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/1797 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 3 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 132 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผู้วิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีวิสัยทัศน์สู่การเปลี่ยนแปลงและด้านการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด อยู่ในระดับที่เท่ากัน อันดับที่ 2 คือ ด้านการสร้างเครือข่ายทำงานเป็นทีม 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 3 ได้แก่ ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ มีความกล้าคิดกล้าแสดงความคิด ผู้บริหารจะต้องมีการคิดที่ริเริ่มสร้างสรรค์ ต้องแสดงออกถึงความเป็นผู้นำเพื่อขับเคลื่อนให้สถานศึกษาเกิดแนวคิดอย่างสร้างสรรค์ มีการประชุมพูดคุยกับบุคลากร มีการสร้างเครือข่ายในการทำงาน ระดมความคิดและประสบการณ์จากบุคลากร แล้วนำมาสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ทำตามแผนที่กำหนดไว้และเป็นผู้นำนวัตกรรมในสถานศึกษา</p> วรรณิศา มาลัยทอง กิจพิณิฐ อุสาโห Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-03-23 2024-03-23 4 1 161 172 ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการ คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2085 <p> บทความวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการและประสิทธิผลการดำเนินงานตาม<br />อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู 2)<br />เปรียบเทียบประสิทธิผลการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทาง<br />กฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู ตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการที่มี<br />ผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภูกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนผู้มาติดต่อขอรับบริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณผู้วิจัยพบว่า 1) คุณภาพการให้บริการด้านกฎหมายของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทาง<br />กฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู แตกต่างกันตามปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ระดับการศึกษา และ<br />รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ยกเว้นปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อาชีพ และประสบการณ์การมาขอรับบริการ 3) ตัวแปร<br />คุณภาพการให้บริการสามารถร่วมกันพยากรณ์ระดับประสิทธิผลการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน<br />อัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู ได้ร้อยละ 82.90 อย่างมี<br />นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรที่มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยสูงที่สุด ได้แก่ การตอบสนองต่อผู้รับบริการ รองลงมาคือ การรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ ความเป็นรูปธรรมของบริการ ความเชื่อถือไว้วางใจได้ การให้ความมั่นใจ<br />แก่ผู้รับบริการ ตามลำดับ.</p> ทัศนียา ศิริขันธ์ ละมัย ร่มเย็น Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-03-23 2024-03-23 4 1 173 190 ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2052 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำตามสถานการณ์ 2) ระดับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 1,681 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน รวมจำนวนทั้งสิ้น 313 คน ทำการสุ่มอย่างด้วยวิธีการเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของตัวแปร ด้านภาวะผู้นำตามสถานการณ์ เท่ากับ .94 และตัวแปรด้านการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ด้านการมีส่วนร่วม ด้านสั่งการ ด้านขายความคิดและด้านมอบหมายงาน ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 สามารถทำนายการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาประสิทธิภาพการทำนายได้ร้อยละ 52.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงเป็นสมการพยากรณ์ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Ẑ<strong><sub>y</sub></strong> = .387 (Z<sub>1</sub>) + .370 (Z<sub>4</sub>) + .248 (Z<sub>2</sub>) + .116 (Z<sub>3</sub>)</p> ฐิติพัฒน์ หิรัญนิธิธำรง สมชัย พุทธา หมิงชุน เชี่ย Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-03-23 2024-03-23 4 1 191 204 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภูเขต 2 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2028 <p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ประชากรและ กล่มุตัวอย่าง จำนวน 290 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Google form ผ่านช่องทางอีเมล์ การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก สำหรับด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การบริหารการเปลี่ยนแปลง รองลงมา คือ มนุษยสัมพันธ์ และสมรรถนะผู้นำ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้นำในอนาคต 2) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหาร ได้แก่ ผู้บริหารควรศึกษาระบบสังคมในสถานศึกษา อันประกอบด้วย นโยบาย สถานศึกษา วัฒนธรรมองค์การ รูปแบบการเรียนรู้ ภาษา การสื่อสาร การมีส่วนร่วม การให้คำปรึกษา การวัดและประเมินผล สื่อและอุปกรณ์การสอนหลักสูตร วิธีการสอน และเจตคติ ความเชื่อ และการกระทำของบุคลากรเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการบริหารสถานศึกษา เป็นต้น รวมถึงการสร้างความประทับใจหรือสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่องค์การและผู้ที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติตนให้แบบอย่างที่ดีแก่บุคลากรในองค์การด้วยยการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมของตน การสร้างความเชื่อถือและสร้างแรงจูงใจให้แก่ทีมงาน และการน้อมนําคุณลักษณะของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน อันได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดี</p> ปิยวุฒิ ภูมิพัฒน์ กิจพิณิฐ อุสาโห Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-03-23 2024-03-23 4 1 205 216 ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/1932 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรสังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร จำนวน 216 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนครโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ตัวแปรของการบริหารทรัพยากรมนุษย์สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 41.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาตัวแปรย่อย พบว่า ตัวแปรย่อยที่มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐานของตัวพยากรณ์ สูงที่สุด คือ ความปลอดภัยและสุขภาพ รองลงมาคือ การประเมินผลการปฏิบัติงาน ยกเว้นการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร และค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น สำหรับตัวแปรของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ<span style="font-size: 0.875rem;"> อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาตัวแปรย่อย พบว่า ตัวแปรย่อยที่มีค่าสัมประสิทธิ์การ</span>ถดถอยมาตรฐานของตัวพยากรณ์สูงที่สุด คือ การพัฒนาองค์กร รองลงมาคือ การฝึกอบรมและพัฒนา และการพัฒนาสายอาชีพ ตามลำดับ</p> สันติภาพ วะชุม ละมัย ร่มเย็น Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-03-23 2024-03-23 4 1 217 232 การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/1897 <p> บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 และ 2) เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานบริหารบุคคล จำนวน 124 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง อยู่ในระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสร้างเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ รองลงมาคือด้านสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง และด้านวางแผนอัตรากำลังและการดำรงตำแหน่ง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการรักษาวินัย และการออกจากราชการ 2) ปัญหาการบริหารงานบุคคลโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3 โดยเรียงลำดับค่าความถี่จากมากไปหาน้อย ได้แก่ โรงเรียนขาดการรายงานผลการดำเนินการทางวินัยการลาออกของครูและบุคลากรทางการศึกษา รองลงมาคือ การปฏิบัติงานที่ไม่ทันกำหนดเวลา การมอบหมายงานให้บุคลากรไม่ตรงกับความถนัดของบุคลากร การสร้างความเข้าใจให้แก่บุคลากรในองค์กรไม่ชัดเจน และการสร้างขวัญและกำลังใจบุคลากร ตามลำดับ</p> ภัทรารัตน์ รูปศรี อมรทิพย์ เจริญผล Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-03-23 2024-03-23 4 1 233 244 การแก้ไขปัญหานักศึกษาลาออกจากสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2234 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการลาออกของนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการคงอยู่ของนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดเวทีเสวนากับนักศึกษาและอาจารย์ สาขาวิชานิติศาสตร์ รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการบรรยายพรรณนาจากข้อมูลเชิงสถิติ ประกอบกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม ข้อค้นพบของการวิจัย คือ อัตราค่าเฉลี่ยของนักศึกษาที่ลาออกระหว่างเรียนอยู่ที่ ร้อยละ 25.54 สาเหตุหลักคือ นักศึกษาต้องการทำงาน ส่วนสาเหตุประการรองลงมา คือ นักศึกษาย้ายสาขาไปเรียนสาขาอื่น ซึ่งจากการสัมภาษณ์ พบว่า สาเหตุคือนักศึกษาเรียนกฎหมายไม่ไหวมีความยากกว่าเรียนสาขาวิชาอื่น ซึ่งการเรียนสาขาวิชานิติศาสตร์มีองค์กรวิชาชีพได้แก่ เนติบัณฑิตยสภา และสภาทนายความกำกับหลักสูตรอยู่ตามกฎหมายจึงไม่สามารถเปลี่ยนรูปแบบหลักสูตรโดยเฉพาะการสอบข้อเขียนตามหลักกฎหมาย การวิจัยเสนอแนะแนวเสนอทางสาขาวิชานิติศาสตร์จัดกิจกรรมเพิ่มเติมให้กับนักศึกษา ได้แก่ 1) กิจกรรมฝึกเขียนตอบปัญหากฎหมายอย่างต่อเนื่อง 2) กิจกรรมติวข้อกฎหมายเพิ่มเติม 3) กิจกรรมการลงพื้นที่จริงและปรับใช้กับข้อกฎหมายจากกรณีจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ นำไปสู่การทำงานวิจัยถัดไป เรื่องการปรับแนวทางการเรียนการสอนทางด้านนิติศาสตร์โดยการลงพื้นที่กรณีศึกษาเพื่อลดปัญหาการลาออก</p> วาสินี ตองตาสี ปาจรีย์ สุริยาชัยวัฒน์ โนวงษ์ ดนัยณัฐ จิระวัฒนาสมกุล Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-03-23 2024-03-23 4 1 245 258 การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มหนองหาน 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/1809 <p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มหนองหาน 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 98 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93. การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยใช้โปรแกรม Google form ผ่านช่องทางอีเมล์ การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผู้วิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มหนองหาน 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีการกระจายตัวน้อย เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล 2. แนวทางพัฒนาการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหาร คือ ผู้บริหารควรให้คณะครูเข้ามามีส่วนในการร่วมคิดร่วมทำ ร่วมตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อำนาจในการตัดสินในแก่คณะครูด้วยความเชื่อใจ ผู้บริหารให้อำนาจและโอกาสครูได้แสดงความสามารถในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารควรสร้างความชัดเจนและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาร่วมกันปรับปรุงพัฒนาเป้าหมายขององค์กร และผู้บริหารควรมีกระบวนการการบริหารเป็นไปตามขั้นตอนมีการวางแผนการดำเนินงานและประเมินผล</p> ศิริพร จันทะศรี กิจพิณิฐ อุสาโห Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-03-23 2024-03-23 4 1 259 270 บทบาทของผู้นำชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อสัมฤทธิ์ผล ตามมาตรการการป้องกันปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2101 <p> บทความวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับบทบาทของผู้นำชุมชน การมีส่วนร่วมของประชาชน และสัมฤทธิ์ผลตามมาตรการการป้องกันปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร 2) ศึกษาอิทธิพลของบทบาทของผู้นำชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อสัมฤทธิ์ผลตามมาตรการการป้องกันปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร จำนวน 398 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผู้วิจัยพบว่า1) บทบาทของผู้นำชุมชนในการดำเนินงานตามนโยบายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสัมฤทธิ์ผลตามมาตรการการป้องกันปัญหายาเสพติด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) บทบาทของผู้นำชุมชน ด้านการป้องกันยาเสพติด ด้านการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ และด้านการบำบัดรักษายาเสพติด มีอิทธิพลต่อสัมฤทธิ์ผลตามมาตรการการป้องกันปัญหายาเสพติด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถร่วมกันทำนายระดับสัมฤทธิ์ผลตามมาตรการการป้องกันปัญหายาเสพติดได้ร้อยละ 44.80 ยกเว้นด้านการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการดำเนินการมีอิทธิพลต่อสัมฤทธิ์ผลตามมาตรการการป้องกันปัญหายาเสพติด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถร่วมกันทำนายระดับสัมฤทธิ์ผลตามมาตรการการป้องกันปัญหายาเสพติดได้ร้อยละ 38.50 ยกเว้นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล</p> วันชนะ ดวงจันทร์ทิพย์ ชาติชัย อุดมกิจมงคล สามารถ อัยกร Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-03-23 2024-03-23 4 1 271 288 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในชนบท กรณีศึกษาผู้บริโภคในอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2265 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในชนบท กรณีศึกษาผู้บริโภคในอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยความปลอดภัยและความไว้วางใจในช่องทางการซื้อสินค้าออนไลน์ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคในชนบท จำนวน 400 คน ที่เคยซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และอาศัยอยู่ในอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ Chi-Square, Cramer’s V และ Somers’ d ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ในทุกด้าน ประกอบด้วย ช่องทางออนไลน์ ที่ซื้อ ความถี่ในการซื้อ จำนวนเงินในการซื้อ ประเภทสินค้าที่ซื้อ และช่วงเวลาที่ซื้อ ในขณะที่ เพศ มีความสัมพันธ์กับ ช่องทางออนไลน์ที่ซื้อ และประเภทสินค้าที่ซื้อ อายุ มีความสัมพันธ์กับ ช่องทางออนไลน์ที่ซื้อ จำนวนเงินในการซื้อ และประเภทสินค้าที่ซื้อ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4Ps มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ด้านความถี่ในการซื้อ จำนวนเงินที่ซื้อ และช่วงเวลาที่ซื้อ และ 3) ปัจจัยด้านความปลอดภัยและความไว้วางใจในช่องทางการซื้อสินค้าออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ในด้าน ช่องทางออนไลน์ที่ซื้อ ความถี่ในการซื้อ จำนวนเงินในการซื้อ และช่วงเวลาที่ซื้อ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ขนิษฐา พัฒนสิงห์ ญาสินี ศรีอรรชนานันท์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-03-27 2024-03-27 4 1 289 302