วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU <p><strong>*** ประกาศ ช่วงเวลาการตีพิมพ์เผยแพร่บทความในวารสาร</strong></p> <p>ภายหลังจากที่ วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ที่ได้รับการรับรองคุณภาพจากฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐานและความน่าเชื่อถือของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารของเรา</p> <p>จากความสำเร็จดังกล่าว ทำให้วารสารของเรามีบทความคุณภาพสูงส่งเข้ามาพิจารณาจำนวนมาก ส่งผลให้ขณะนี้บทความอยู่ระหว่างรอการตีพิมพ์ค่อนข้างยาว จนถึง <strong>ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2568</strong></p> <p>อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิจัยที่ดี เราจึงยังคงเปิดรับบทความจากนักวิชาการทุกท่านอย่างต่อเนื่อง ตามปกติ</p> <p>จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ</p> <p>วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร</p> <p>5 สิงหาคม 2567</p> th-TH <p>บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน</p> jmssnru@snru.ac.th (Assoc. Prof. Sanyasorn Swasthaisong, Ph.D.) jmssnru@gmail.com (นางสาวสิริกร กุมภักดี) Sun, 22 Dec 2024 22:56:36 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตระหนักในการผลิตพืชตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลบางเลน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3187 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยและความตระหนักในการผลิตพืชตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตระหนักในการผลิตพืชตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลบางเลน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรในพื้นที่จำนวน 343 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรในพื้นที่ตำบลบางเลน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีความตระหนักในการผลิตพืชตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีอยู่ในระดับสูง โดยเกษตรกรตระหนักถึงการใส่ใจการจัดเก็บวัตถุอันตรายทางการเกษตรและสารเคมีชนิดต่างๆ ในสถานที่เหมาะสม เป็นสัดส่วนมากที่สุด และมีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความตระหนักในการผลิตพืชตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีจำนวน 4 ปัจจัย ได้แก่ การศึกษาระดับประถม การศึกษาระดับปริญญาตรี การเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร และการศึกษาระดับมัธยมต้น ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่าตัวแปรที่มีผลต่อความตระหนักในการผลิตพืชตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีมี 4 ตัวแปร ได้แก่ อายุของเกษตรกร การเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร การศึกษาระดับประถม และการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความตระหนักในการผลิตพืชตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ได้ร้อยละ 33.8</p> ณัฐวรณ์ ตรีสันเทียะ, วราภรณ์ คำทับทิม, สุภาสิณี นุ่มเนียม Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3187 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำส่งแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3598 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำส่งแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์จำนวน 400 คน โดยที่ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์มีระดับปัจจัยภายในที่มีผลต่อการนำส่งแบบแสดงรายงานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์มีระดับปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการนำส่งแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์มีระดับการตัดสินใจนำส่งแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำส่งแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ประกอบด้วย จรรยาบรรณความซื่อสัตย์ ความรู้ความเข้าใจทางภาษี พฤติกรรมส่วนบุคคล และการใช้เทคโนโลยี ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการตัดสินใจประกอบด้วย ความคาดหวังจากการชำระภาษี ความยุติธรรมของภาระการเสียภาษี และผลกระทบทางกฎหมาย ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ชนัญชิดา ผัดสุรินทร์, จิรพงษ์ จันทร์งาม Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3598 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ตของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3124 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอินเทอร์เน็ต และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอินเทอร์เน็ตของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วย F-test โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน ANOVA และ MANOVA ผลการวิจัยพบว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ในเขตเทศบาลนครสกลนคร มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และจำแนกตาม 1) อายุ พบว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ที่มีอายุแตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ด้านมาตรการทางภาษี และด้านสิทธิประโยชน์ค่าลดหย่อนภาษี 2) ระดับการศึกษา พบว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านมาตรการทางภาษี และด้านสิทธิประโยชน์ค่าลดหย่อนภาษี และ 3) อาชีพ พบว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านมาตรการทางภาษี และด้านสิทธิประโยชน์ค่าลดหย่อนภาษี</p> เจตรัมภา พรหมทะสาร, กฤตกร มั่นสุวรรณ, อธิษฐาน ทองเชื้อ, จินตนา จันทนนท์, นวรัตน์ สุรัติวรพัทธ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3124 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลการสังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ แบบจักรวาลนฤมิต ที่ส่งเสริมการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับห้องเรียนเคมี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3450 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์กรอบแนวคิดของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบจักรวาลนฤมิตที่ส่งเสริมการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับห้องเรียนเคมี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 26 คน โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ในการสำรวจบริบทและผู้เชี่ยวชาญในการตรวจเอกสาร และกรอบแนวคิดการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบจักรวาลนฤมิตที่ส่งเสริมการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับห้องเรียนเคมี จำนวน 5 คน การวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาหลายรูปแบบ ได้แก่ การวิจัยเอกสาร และการวิจัยเชิงสำรวจที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปตีความและการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า การสังเคราะห์กรอบแนวคิดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบจักรวาลนฤมิตที่ส่งเสริมการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับห้องเรียนเคมี ได้แก่กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี ประกอบด้วย 5 พื้นฐาน ได้แก่ 1) พื้นฐานด้านบริบท 2) พื้นฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ 3) พื้นฐานด้านศาสตร์การสอน 4) พื้นฐานด้านเทคโนโลยี และ 5) พื้นฐานการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ และกรอบแนวคิดในการออกแบบ ประกอบด้วย 4 พื้นฐาน คือ 1) กระตุ้นโครงสร้างทางปัญญา 2) การสนับสนุนการปรับโครงสร้างทางปัญญา 3) การส่งเสริมการขยายโครงสร้างทางปัญญา และ 4) การช่วยเหลือการปรับสมดุลทางปัญญา นอกจากนี้ผลจากการศึกษาพื้นฐานด้านบริบทที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นและการสัมภาษณ์ผู้เรียนพบว่า ผู้เรียนไม่เคยมีประสบการณ์เรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ และกิจกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการส่งเสริมการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ การจัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่เป็นการถ่ายทอดความรู้จากครู และจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีความสอดคล้องระหว่างหลักการทฤษฎีกับกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี และกรอบแนวคิดการออกแบบ</p> มาริสา แสนสระดี, รมย์วรินทร์ กำลังเลิศ, ปรมะ แขวงเมือง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3450 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 ทักษะที่พึงประสงค์และความฉลาดทางอารมณ์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของนักบัญชี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3559 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของทักษะที่พึงประสงค์ของนักบัญชีมีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชี และเพื่อศึกษาผลกระทบของความฉลาดทางอารมณ์ของนักบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักบัญชี ซึ่งเป็นพนักงานที่อยู่ในสำนักงานบัญชี ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ จำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถาม วิธีที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทักษะที่ พึงประสงค์ ความฉลาดทางอารมณ์ของนักบัญชี และมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ทักษะด้านปัญญา ทักษะด้านเทคนิคทั่วไปและเทคนิคเฉพาะเกี่ยวกับวิชาชีพ ทักษะการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาทางบัญชี และทักษะด้านการจัดการทางธุรกิจและองค์กร มีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีพื้นที่ภาคเหนือ ด้านการบริหารจัดการเวลา ด้านการบริหารจัดการทรัพยากร และด้านคุณภาพของผลงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความฉลาดทางอารมณ์ของนักบัญชี ด้านการตระหนักรู้ตนเอง การจัดการกับอารมณ์ตนเอง การจูงใจตนเอง การรู้จักสังเกตความรู้สึกของผู้อื่น และการดำเนินการด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น มีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีในพื้นที่ภาคเหนือ ด้านการบริหารจัดการเวลา ด้านการบริหารจัดการทรัพยากร และด้านคุณภาพของผลงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ปัณณวัชร์ ไชยอุทัยวงศ์, ดารณี เอื้อชนะจิต Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3559 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดนครพนม https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3057 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดนครพนม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดนครพนม 3) เพื่อวิเคราะห์บริบทการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดนครพนม 4) เพื่อศึกษาแนวทางข้อเสนอแนะการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดนครพนม เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ คณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดนครพนม จำนวน 141 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 12 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย (focus group) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมติฐานใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (pearson’s correlation coefficient) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง (multiple linear regression) แบบสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่มย่อย (focus group) ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับประสิทธิภาพการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดนครพนม โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดนครพนม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เรียงลำดับจากตัวแปรที่มีผลต่อการผันแปรในตัวแปรตามในรูปของคะแนนมาตรฐานมากที่สุดไปหาน้อย ดังนี้ ด้านแนวคิดประสิทธิภาพการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด (X3 Beta = .320) ด้านการบริการสาธารณะแนวใหม่ (X4 Beta = .216) 3) บริบทการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด และการประชุมประชาคมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน 4) แนวทางข้อเสนอแนะ ได้แก่ แผนพัฒนาจังหวัดเปรียบเสมือนแผนแม่บทที่ทุกหน่วยงานในจังหวัดใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาต่าง ๆ การสำรวจและรับฟังปัญหาของประชาชนตั้งแต่เริ่มต้น นำสู่การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ แผนพัฒนาจังหวัดสามารถชี้เป้าให้ราชการส่วนกลางนำไปจัดสรรงบประมาณ มีการพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน (joint KPI) จังหวัดต้องมีผู้นำดี มีทีมงานที่ดี และมีเครือข่ายในการจัดทำแผน ในทุกระดับ ประกอบกับต้องมีองค์ความรู้ในการจัดทำแผนและการประเมินผล เน้นการทำงานแบบบูรณาการใน เชิงพื้นที่เพื่อให้ห่วงโซ่คุณค่า (value chain) มีความสมบูรณ์ ราชการส่วนกลางมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบ (Chief Executive Officer: CEO) คณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและเจ้าหน้าที่แผน มีแรงจูงใจในด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และประชาชนมีแรงจูงใจในการเข้ามามีส่วนร่วมจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตั้งแต่เริ่มต้นโดยสร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิด</p> ประโมทย์ ติยะบุตร, สำราญ วิเศษ, จารุกัญญา อุดานนท์, กชกร เดชะคำภู Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3057 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนไม่ตรงวิชาเอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2984 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน ไม่ตรงวิชาเอก 2) เปรียบเทียบสภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนไม่ตรงวิชาเอก จำแนกตามสภาพการสอน ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) ศึกษาข้อเสนอแนะในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนไม่ตรงวิชาเอก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 3 จำนวน 336 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการให้ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมานค่า 5 ระดับ จำนวน 52 ข้อ ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .99 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 4 ข้อ สถิติที่ใช้ใน<br />การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนไม่ตรงวิชาเอก โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) การเปรียบเทียบสภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนไม่ตรงวิชาเอก จำแนกตามสภาพการสอน ประสบการณ์การทำงานและขนาดโรงเรียน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ข้อเสนอแนะมีดังนี้ 3.1) ด้านหลักสูตรและเนื้อหาวิชา ควรประชุม ติดตาม และตรวจสอบการใช้หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง 3.2) ด้านการจัดการเรียนรู้ ควรสร้างขวัญกำลังใจ ส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาตนเอง 3.3) ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ ควรสนับสนุนงบประมาณจัดห้องเรียนและบรรยากาศแวดล้อม 3.4) ด้านการวัดและประเมินผล ควรมีคู่มือเพื่อเป็นแนวทางให้ครูได้ศึกษาทำความเข้าใจ และนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการทำงาน</p> ปวีรัตน์ ถาริวร, ชวนคิด มะเสนะ, เศวตาภรณ์ ตั้งวันเจริญ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2984 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความก้าวหน้าและการประยุกต์การเรียนรู้แบบผสมผสาน https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3061 <p>การเรียนรู้แบบผสมผสานมีบทบาทสำคัญในการศึกษาสมัยใหม่โดยนำเสนอความยืดหยุ่น การเข้าถึงได้ และประสบการณ์การเรียนรู้ส่วนบุคคลที่ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้เรียน ด้วยการรวมการสอน แบบดั้งเดิมเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัล การเรียนรู้แบบผสมผสานช่วยเพิ่มผลลัพธ์การเรียนรู้ ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และเตรียมนักเรียนให้มีทักษะที่จำเป็นเพื่อความสำเร็จในโลกดิจิทัลปัจจุบัน ดังนั้น บทความนี้ใช้การวิจัยเอกสารมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอภาพรวมที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความก้าวหน้าและการประยุกต์การเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยนำเสนอวิวัฒนาการจากการทดลองใหม่ ๆ สู่แนวทางการศึกษาที่แพร่หลาย ความยืดหยุ่น การปรับตัว และความสามารถในการเรียนรู้แบบผสมผสานของการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้เรียนทำให้การเรียนรู้แบบผสมผสานกลายเป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาร่วมสมัย ด้วยการบูรณาการรูปแบบออนไลน์และแบบเห็นหน้ากัน การเรียนรู้แบบผสมผสานนำเสนอประสบการณ์การเรียนรู้แบบพลวัตรและมีส่วนร่วม โดยได้รับการสนับสนุนจากกรอบทางทฤษฎี นวัตกรรมทางเทคโนโลยี และกลยุทธ์การสอน เมื่อเรามองไปสู่อนาคต การวิจัยอย่างต่อเนื่อง นวัตกรรม และการทำงานร่วมกันจะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมศักยภาพของ การเรียนรู้แบบผสมผสานอย่างเต็มที่ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้เรียนในยุคดิจิทัล</p> สงกรานต์ จันทะปัสสา, นิตยปภา จันทะปัสสา, สัญญา เคณาภูมิ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3061 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเช่าห้องพักอาศัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดอุดรธานี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3223 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps และการตัดสินใจเช่าห้องพักอาศัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเช่าห้องพักอาศัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในจังหวัดอุดรธานี และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเช่าห้องพักอาศัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในจังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดอุดรธานีจำนวน 400 คน โดยการสุ่มแบบบังเอิญ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้วิธีการวิเคราะห์แบบการหาค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ทดสอบโดยใช้สถิติ Regression Analysis วิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ศึกษาอยู่ชั้นปี 1 คณะวิทยาการจัดการ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 10,000 บาท 2) กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้ง ด้านกระบวนการบริการ ด้านราคา ด้านลักษณะห้องพัก ด้านการส่งเสริมการตลาด ส่งผลต่อการตัดสินใจเช่าห้องพักอาศัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามลำดับ 3) การตัดสินใจเช่าห้องพักอาศัยอยู่ในระดับมาก กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการค้นหาข้อมูล การประเมินทางเลือก พฤติกรรมภายหลังการซื้อ การรับรู้ความต้องการ และการตัดสินใจซื้อ ตามลำดับ 4) แนวทางการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเช่าห้องพักอาศัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในจังหวัดอุดรธานี คือ ปัจจัยด้านการตลาดเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ธุรกิจพัฒนามากขึ้น ช่วยบรรลุเป้าหมาย ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ และช่วยเพิ่มจุดแข็งเพื่อเป็นเครื่องมือในการแข่งขันกันในตลาด</p> ปพิชญา ทิตะระ, สืบชาติ อันทะไชย Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3223 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3457 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การวางแผนการปฏิบัติงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2) ประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 73 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูป Krejcie &amp; Morgan และใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นต่อการวางแผนการปฏิบัติงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) การวางแผนการปฏิบัติงานโดยภาพรวมกับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> เพ็ญศรี ชื่นชม Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3457 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 ของสำนักงานที่ดินจังหวัดนครพนม https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3130 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 ของสำนักงานที่ดินจังหวัดนครพนม 2) ศึกษาปัจจัยนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานที่ดินจังหวัดนครพนม และสำนักงานที่ดินจังหวัดนครพนมสาขา/ส่วนแยก จำนวน 110 คน โดยการหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการคำนวณจากสูตรของยามาเน่ เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 ของสำนักงานที่ดินจังหวัดนครพนม โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยด้านนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้านเทคโนโลยี ด้านความคิดสร้างสรรค์ และด้านนวัตกรรมส่งผลต่อคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ สู่ระบบราชการ 4.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ สู่ระบบราชการ 4.0 ของสำนักงานที่ดินจังหวัดนครพนม 3.1) ด้านการนำองค์การ ควรมีการสื่อสารถ่ายทอดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และตัวชี้วัดไปสู่ทุกระดับขององค์การอย่างทั่วถึง 3.2) ด้านการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ควรมีการกำหนดยุทธศาสตร์แผนงาน ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต 3.3) ด้านการให้ความสำคัญ กับรับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ควรมีการประเมินความพึงพอใจในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการทำงาน 3.4) ด้านการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ควรมีการบริหารจัดการข้อมูล สารสนเทศ ให้มีประสิทธิภาพและใช้งานได้ 3.5) ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ควรส่งเสริมให้บุคลากรเห็นถึงความสำคัญของการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 จนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์การ 3.6) ด้านการมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ ควรกำหนดให้มีระบบการติดตามและและทบทวนผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลดังกล่าวมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาองค์การให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน</p> ชัยนันท์ กั้นชัยภูมิ, จารุกัญญา อุดานนท์, สำราญ วิเศษ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3130 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 พฤติกรรมและความต้องการในการรับบริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดเลย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3505 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดเลย 2) ศึกษาความต้องการในการรับบริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดเลย เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยมีประชากรในการศึกษา คือ นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ที่เดินทางมาในจังหวัดเลย ไม่สามารถระบุจำนวน จึงกำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยใช้สูตรคำนวณของ Cochran (1953) วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า วัตถุประสงค์หลักในการท่องเที่ยว คือ เยี่ยมญาติ เพื่อน มีแหล่งท่องเที่ยวที่ชื่นชอบ คือ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เช่น วัด โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ อุทยานประวัติศาสตร์ เป็นต้น เดินทางระหว่างวันหยุด เป็นแบบครอบครัว ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสนใจรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คือ ความปลอดภัยของสถานที่ท่องเที่ยว วิธีที่นิยมหาข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คือ หาข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ส่วนใหญ่เห็นว่ารูปแบบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เหมาะกับจังหวัดเลย คือ การบริการอาบน้ำแร่ (Spa) บริการอาบน้ำแร่ในบ่อน้ำแร่ น้ำพุ สปาปลา การแช่น้ำนม ผลการวิจัย พบว่า โดยภาพรวมนักท่องเที่ยวมีความสนใจในรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับมาก นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสนใจในกิจกรรม ชมการสาธิต เรียนรูและฝึกปฏิบัติวิธีการนวดไทยแผนโบราณ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพรับบริการนวดไทยแผนโบราณตามโปรแกรมนวดในศูนย์บริการต่าง ๆ พร้อมทั้งสนใจในบริการการสูดดมกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยที่กระจายออกไปทั่วบริเวณ ชอบใหมีกลิ่นหอมและสามารถบําบัดอาการต่าง ๆ ได้</p> วรากรณ์ ใจน้อย, เหมวดี กายใหญ่, ญาณินท์ ทองมาก, นรชัย สอนใส, รภัสสา ชาติกุล, เกศนี จึงวัฒนตระกูล Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3505 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 การรับรู้ ทัศนคติ และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชัน Z https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3134 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการรับรู้ถึงตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสอง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทัศนคติที่มีต่อตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสอง และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยการสร้างความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสอง ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของผู้บริโภค Generation Z เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) ประชากร คือ ผู้บริโภค ที่เคยซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสอง กลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคํานวณของ Cochran (1977) มาใช้ในการวิเคราะห์หาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยมีการกำหนดระดับ ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และสามารถยอมรับความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 คำนวณได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 385 คน ดังนั้นจึงใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 405 คน และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ความถี่ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัย พบว่า ผู้ที่ติดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสอง ให้ความสำคัญกับการสร้างความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ทัศนคติที่มีต่อตราสินค้า และการรับรู้ถึงตราสินค้า ซึ่งผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า 1) การรับรู้ถึงตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนม มือสองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของผู้บริโภคมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อธิบายค่าความผันแปรของการรับรู้ถึงตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ได้ร้อยละ 64.60 2) ทัศนคติที่มีต่อตราสินค้ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของผู้บริโภค มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อธิบายค่าความผันแปรของทัศนคติที่มีต่อตราสินค้ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ ร้อยละ 53.80 3) การสร้างความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของผู้บริโภค มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อธิบายค่าความผันแปรของการสร้างความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ได้ร้อยละ 52.30</p> สนธยา สีทาภักดิ์, หัสฎา เหลืองศักดาพิชญ์, นรินทร ศิลปะมงคล, นฤวัต หิมะเจริญ, นิภา นิรุตติกุล Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3134 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 การบริหารโรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี: กรณีศึกษาโรงเรียนที่โดดเด่น https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3019 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา 2) ศึกษากระบวนการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี การออกแบบวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการวิจัยในลักษณะศึกษาเดี่ยว กรณีศึกษาโรงเรียนกุมภวาปี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ด้วยวิธีการสังเคราะห์และใช้การบรรยายและสรุปผลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบบรรยายและพรรณนา จากนั้นอภิปราย สรุปผล เพื่อหาข้อสอดคล้องกับทฤษฎีและนำเสนอผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) โรงเรียน กุมภวาปีมีองค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา 6 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาครู ด้านการเรียนการสอน ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านระบบประกันคุณภาพ ด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อ ต่อการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) สภาพการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนกุมภวาปี มีการดำเนินการ ดังนี้ ด้านการพัฒนาครู ครูทุกคนอบรมไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง ต่อปี รายงาน กำกับ ติดตามผ่านระบบออนไลน์และนำผลไปปรับปรุง พัฒนาครูด้านการเรียนการสอน ใช้เทคโนโลยีและเน้นการสอนเชิงรุก ติดตาม ประเมินผลโดยการนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตร ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน ครูนำผลไปปรับปรุงและพัฒนาการสอน ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมและนำผลไปปรับปรุงพัฒนา ด้านระบบประกันคุณภาพ แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ประเมินผลและนำผลไปปรับปรุงพัฒนากิจกรรม ด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ แต่งตั้งคณะกรรมการ จัดให้มีสื่อเทคโนโลยีครบทุกห้องเรียน กำกับ ติดตาม ประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างสม่ำเสมอ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ครูนำหลักสูตร ไปใช้ประเมินโดยผู้มีส่วนได้เสียและปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ 3) สภาพปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะของการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนกุมภวาปี พบว่า ด้านการพัฒนาครู สถานที่ในการจัดอบรมไม่เพียงพอ จึงแบ่งครูเป็นกลุ่มย่อย ๆ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ารับการพัฒนา ด้านการเรียนการสอน มีการจัดกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ทำให้กระทบต่อเวลาเรียน จึงบูรณาการกิจกรรมที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเข้าด้วยกันและให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมแทน ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ไม่พบปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ด้านระบบประกันคุณภาพ กิจกรรมไม่สอดคล้องกับกลยุทธ์ของโรงเรียน จึงประชุมเพื่อหาแนวทางปรับปรุงและแก้ไขกิจกรรมนั้น ๆ ด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ห้องเรียนและ โรงอาหารมีไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน ระบบไฟฟ้ามีสภาพเก่า จึงมีการให้นักเรียนเดินเรียนและกำหนดการซ่อมแซมระบบไฟฟ้าไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา นักเรียนเลือกเรียนบางรายวิชาเป็นจำนวนมาก ทำให้วัสดุ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมไม่เพียงพอ จึงปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับกิจกรรมเพื่อนำงบประมาณมาจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอ</p> ณัฐพล จันทรเสนา, พิมพ์พร จารุจิตร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3019 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครพนม https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3302 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารการศึกษาและครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครพนม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 311 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารการศึกษา จำนวน 42 คน และครู จำนวน 269 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมิน ค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง .60 - 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .45 - .83 และค่าความเชื่อมั่น .98 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง .80 - 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .46 - .83 และค่าความเชื่อมั่น .98 สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนา เด็กเล็กสัมพันธ์กันในทางบวกในระดับสูงมาก (r<sub>xy</sub> .819) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ตัวแปรปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ สภาพแวดล้อม (X6) การบริหารแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาค ส่วน (X<sub>5</sub>) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร (X<sub>2</sub>) และโครงสร้างองค์กร (X<sub>3</sub>) สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (Y) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ร้อยละ 7.80 มีความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์เท่ากับ ±.266 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ 4.1) สมการณ์พยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ Y’ = 1.078 +.264X<sub>5</sub> +.267X<sub>6</sub> + .130X<sub>2</sub> +.094X<sub>3</sub> 4.2) สมการณ์พยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z’ = .353Z<sub>5</sub> + .366Z<sub>6</sub> + .175Z<sub>2</sub> + .126Z<sub>3</sub></p> เกียรติศักดิ์ จูมจะนะ, วันเพ็ญ นันทะศรี, อภิสิทธิ์ สมศรีสุข Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3302 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3311 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนศรีบุณยานนท์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 38 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบบเชิงวิศวกรรม 2) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหา โดยแบบทดสอบมีลักษณะ เป็นข้ออัตนัย ประกอบด้วย 1 สถานการณ์ที่สอดคล้องกับเรื่องพลังงานความร้อนที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน และ ข้อคำถามเกี่ยวกับหลักการแก้ปัญหาทั้ง 6 ด้าน ดังนี้ 1) ระบุปัญหา 2) รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา 3) ออกแบบและพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ 4) ดำเนินการแก้ปัญหา 5) ทดสอบประเมินและหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขวิธีการ/ชิ้นงาน และ 6) นำเสนอวิธีการ และผลของการแก้ปัญหา จำนวน 6 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูล มีขั้นตอนดังนี้ 1) ผู้วิจัยชี้แจงจุดประสงค์ รายละเอียด และเงื่อนไขต่าง ๆ ในการทำวิจัยในครั้งนี้ให้นักเรียนทราบ 2) ทำการทดสอบทักษะแก้ปัญหากับประชากรเพื่อหากลุ่มตัวอย่างในการวิจัย 3) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง พลังงานความร้อน กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 แผน 18 คาบเรียน รวม 15 ชั่วโมง 4) เมื่อเสร็จสิ้นการจัดการเรียนรู้แล้ว ทำการทดสอบทักษะแก้ปัญหาหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ 5) ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการทำแบบทดสอบทักษะแก้ปัญหาทั้งก่อนและหลังรับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติต่อไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบค่าที จากการจัดกิจกรรมการเรียนเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 6 ขั้น ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นตามหลักการแก้ปัญหาทั้ง 6 ด้าน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีคะแนนทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนทักษะการแก้ปัญหาเฉลี่ยก่อนเรียนอยู่ที่ 9.32 และหลังเรียนอยู่ที่ 23.37 จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน</p> ธัชชา ศุกระจันทร์, ปวริศร ภูมิสูง, ธนกร พึ่มชัย Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3311 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและการวางแผนภาษีกับผลตอบแทนหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนกลุ่ม SET 100 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3568 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับผลตอบแทนหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนกลุ่ม SET 100 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนภาษีกับผลตอบแทนหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนกลุ่ม SET 100 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลทางการเงิน ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET100 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ถึงปี พ.ศ. 2566 จำนวน 57 บริษัท ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 171 ตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อสินทรัพย์รวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นและอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม แต่ระดับคะแนนการกำกับดูแลกิจการและอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริง มีความสัมพันธ์เชิงลบต่ออัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นและอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ในส่วนของสัดส่วนการถือครองหุ้นรายใหญ่มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นและอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม แต่สัดส่วนจำนวนกรรมการอิสระมีความสัมพันธ์เชิงลบต่ออัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตราผลตอบแทน ต่อสินทรัพย์รวมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ยกเว้นอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อกระแสเงินสดจากการดำเนินงานไม่มีความสัมพันธ์ต่อผลตอบแทนหลักทรัพย์ในทุกด้าน และการกำกับดูแลกิจการทุกด้านและการวางแผนภาษีทุกด้านไม่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราเงินปันผลตอบแทน ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ</p> ธัญวัลย์ จริยาสุทธิศิริ, ถิรวุฒิ ยังสุข, มัตธิมา กรงเต้น Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3568 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3164 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอ ธาตุพนม จังหวัดนครพนม จำนวน 300 คน โดยการหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการคำนวณจากสูตรของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลด้านค่าจ้างและผลตอบแทน และด้านความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ ส่งผลสูงที่สุด รองลงมา คือ และด้านระยะเวลาการเป็นสมาชิกฯ ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ = .382 ซึ่งปัจจัยทั้ง 4 ด้านมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ด้านความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านนโยบาย ในการบริหารมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านค่าจ้างและผลตอบแทน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านระยะเวลาการเป็นสมาชิกฯ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ด้านการบริหารจัดการ ควรพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีความทันสมัยเพื่อช่วยในการดำเนินนโยบายที่จัดเจนและรวดเร็วมากขึ้น และควรมีการจัดอบรมต่าง ๆ เพื่อให้คณะกรรมการมีความรู้ในการดำเนินงาน เช่น การจัดทำบัญชี การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการทำงาน รายละเอียดเกี่ยวกับกองทุนด้านการมีส่วนร่วม ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิในกระบวนการบริหารจัดการ ทั้งด้านการให้กู้ยืมและการรับข้อมูลข่าวสาร ข้อเสนอแนะ การร่วมตัดสินใจ ทั้งในขั้นตอนการริเริ่มกิจกรรม การจัดทำแผนงาน รวมทั้งการปฏิบัติ ติดตามและประเมินผล และด้านภาวะผู้นำ คณะกรรมการบริหารกองทุน ควรมีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส มีความเป็นธรรม มีความเสียสละ มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ที่ได้รับมอบหมายในกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง</p> พูลทรัพย์ ศรีธรรมมา, สำราญ วิเศษ, จารุกัญญา อุดานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3164 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3509 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผล ต่อประสิทธิผลของโรงเรียน 4) ศึกษาตัวพยากรณ์ที่ใช้ในการพยากรณ์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2566 จำนวน 2,720 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 338 คน โดยใช้ตารางเทียบหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์ สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ และสถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ เชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในทิศทางบวก มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง (r=.905) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 4) ตัวแปรพยากรณ์ที่ใช้ในการพยากรณ์ภาวะผู้นำ เชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน โดยใช้การวิเคราะห์สถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่าด้านการควบคุมกลยุทธ์ (X<sub>5</sub>) ด้านการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ (X<sub>2</sub>) ด้านการสร้างวัฒนธรรมองค์กร (X<sub>3</sub>) และด้านการประเมินผลกลยุทธ์ (X<sub>6</sub>) สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลของโรงเรียน (Y)</p> กัญญณัช เพชรรัตน์, พระครูวินัยธรวุฒิชัย ชยวุฑฺโฒ, สันติ อุนจะนำ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3509 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 ทักษะของนักบัญชีในยุคดิจิทัลและกระบวนการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อศักยภาพ ในการปฏิบัติงานและคุณภาพการรายงานทางการเงินของผู้ทำบัญชี ของสำนักงานบัญชีในเขตภาคเหนือตอนบน https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3619 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะของนักบัญชีในยุคดิจิทัลและกระบวนการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อศักยภาพและคุณภาพการรายงานทางการเงินของสำนักงานบัญชีในเขตภาคเหนือตอนบน โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในเขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 359 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ทักษะของนักบัญชีในยุคดิจิทัลส่งผลเชิงบวกต่อศักยภาพในการปฏิบัติงาน โดยตัวแปรอิสระทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ทักษะทางด้านธุรกิจ ทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ทักษะทางด้านความรู้ความชำนาญทางด้านวิชาชีพ ทักษะทาง ด้านอารมณ์การสื่อสาร ทักษะทางด้านความคิดสร้างสรรค์ ทักษะทางด้านการทำงานร่วมกันเป็นทีม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกระบวนการปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชีส่งผลเชิงบวกต่อศักยภาพในการปฏิบัติงาน โดยตัวแปรอิสระทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การจัดทำบัญชีให้ถูกต้องและเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด การตรวจทานความถูกต้องในการปฏิบัติงานทางบัญชี การชี้แจงการปฏิบัติงานทางบัญชีแก่บุคลากร อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> สุพรรษา สุวรรณศรี, พรทิวา แสงเขียว Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3619 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 บทบาทพระสังฆาธิการฝ่ายมหานิกายในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ จังหวัดนครพนม https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3573 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทพระสังฆาธิการฝ่ายมหานิกายในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ จังหวัดนครพนม 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทพระสังฆาธิการฝ่ายมหานิกายในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ จังหวัดนครพนม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาทพระสังฆาธิการฝ่ายมหานิกายในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ จังหวัดนครพนม เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ เจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล รองเจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส และรักษาการแทนเจ้าอาวาส จำนวน 282 รูป และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ จำนวน 8 รูป โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย (focus group) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับบทบาทพระสังฆาธิการฝ่ายมหานิกายในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ จังหวัดนครพนม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน คือ ด้านการบริหารกิจการคณะสงฆ์ รองลงมา คือ ด้านประสิทธิภาพการบริหาร ด้านการบริหารจัดการ ด้านการมีจิตสาธารณะ และด้านบทบาทในการบริหาร ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบบทบาทพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ จังหวัดนครพนม พบว่า พระสังฆาธิการที่มีพรรษา วุฒิการศึกษาสามัญ วุฒิการศึกษาทางธรรม ตำแหน่ง และประสบการณ์ทำงานในหน้าที่พระสังฆาธิการ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการพัฒนาบทบาทพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ จังหวัดนครพนม คือ การที่คณะสงฆ์จะต้องทำหรือที่จะต้องถือเป็นธุระหน้าที่เกี่ยวกับการคณะสงฆ์และการพระศาสนา จึงมีการร่วมกันขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา และให้มีการนำแนวทางไปปฏิบัติ ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ ด้านการปกครอง ด้านการศาสนศึกษา ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้านการสาธารณูปการ และด้านการสาธารณสงเคราะห์ การศึกษาสงเคราะห์ นำไปสู่การช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสม</p> พระมหาวรุฒ ติกฺขวีโร (วรพิมรัฐ), สำราญ วิเศษ, จารุกัญญา อุดานนท์, กชกร เดชะคำภู Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3573 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3508 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน 4) เพื่อศึกษาตัวแปรพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูผู้สอน จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .948 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 4) ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ (X<sub>3</sub>) ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ (X<sub>1</sub>) และด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี (X<sub>4</sub>) สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน (Y) ได้ร้อยละ 44.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</p> ภัคจิรา ศรีขาว, พระครูวินัยธรวุฒิชัย ชยวุฑฺโฒ, ทิพมาศ เศวตวรโชติ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3508 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 ศึกษาแนวทางส่งเสริมความภักดีของตราสินค้าสมาร์ตโฟนในแขวงนครหลวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2980 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณค่าตราสินค้า ทัศนคติต่อตราสินค้า และความภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภคในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าตราสินค้า ทัศนคติต่อตราสินค้า และความภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภคในแขวงนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมความภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภคสินค้าสมาร์ตโฟนในแขวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำวิจัยแบบ การวิจัยแบบผสมผสาน (mixed method research) กลุ่มตัวอย่างคือผู้ใช้สามาร์ตโฟนในแขวงนครหลวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว วิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครับนี้ ตัวแปรต้นคือ คุณค่าตราสินค้า ประกอบด้วย 1) การตระหนักรู้ตราสินค้า 2) ภาพลักษณ์ตราสินค้า ทัศนคติต่อตราสินค้า ประกอบด้วย 1) ความเชื่อมั่น 2) การเข้าไปอยู่กลางใจผู้บริโภค 3) ความง่ายในการเข้าถึง ตัวแปรตาม คือ ความภัคดีต่อตราสินค้า ประกอบด้วย 1) การยืนหยัด 2) การไตร่ตรองเป็นพิเศษ 3) การเป็นผู้สนับสนุน 4) ความหนักแน่นในสิ่ง ที่ชอบ 5) การบอกต่อ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 365 ราย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ค่าสหสัมพันธ์แบบ เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) จำนวน 6 ราย ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดสมาร์ตโฟน 2 คน 2) ผู้ใช้สมาร์ตโฟน 2 คน 3) ผู้ขายสมาร์ตโฟน 2 คน ใช้วิธีวิเคราะห์แบบการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ซึ่งได้จากการศึกษาเอกสาร (documentary) การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม (participant observation) ผลวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างของความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าตราสินค้ากับความภักดีในตราสินค้าสมาร์ตโฟนของผู้บริโภคในแขวงนครหลวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ในระดับสูงมาก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ .81 เมื่อพิจารณาความภักดีต่อตราสินค้าในแต่ละด้าน พบว่า การเป็นผู้สนับสนุน และความหนักแน่น มีความภักดีต่อตราสินค้าสูงมาก (r = .82) รองลงมา การยืนหยัด มีความภักดีต่อตราสินค้าสูงมาก (r = .81) การบอกต่อ มีความภักดีต่อตราสินค้าค่อนข้างสูง (r = .79) และ การยืนหยัดมีความภักดีต่อตราสินค้าค่อนข้างสูง (r = 0.68) 2.ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อตราสินค้ากับความภักดีในตราสินค้าสมาร์ตโฟนของผู้บริโภคในแขวงนครหลวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ .80 เมื่อพิจารณาความภักดีต่อตราสินค้าในแต่ละด้าน พบว่า การยืนหยัด การเป็นผู้สนับสนุน และความหนักแน่น มีความภักดีต่อตราสินค้าสูงมาก (r = .81) รองลงมา การบอกต่อ มีความภักดีต่อตราสินค้าค่อนข้างสูง (r = .76) และ การยืนหยัดมีความภักดีต่อตราสินค้าค่อนข้างสูง (r = .71)</p> วิเชียร หลวงศรีสมบัติ, สืบชาติ อันทะไชย Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2980 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย ของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร: ปีบัญชี 2566 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3681 <p>ความพึงพอใจของลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญของความสำเร็จของหน่วยงาน ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน สำหรับภาครัฐของประเทศไทย สิ่งนี้ได้ถูกกำหนดให้เป็นกรอบในการประเมินผลการดำเนินงานประจำปีขององค์กร ดังนั้น บทความจึงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสียของหน่วยงานของรัฐคือ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้รับบริการ ได้แก่ เกษตรกรที่เข้ามารับบริการด้านการจัดการหนี้สิน และเกษตรกรที่เข้ามารับบริการด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของสำนักงานฯ, ผู้ร่วมค้า, ธนาคาร และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ในรอบปีบัญชี 2566 จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,430 ราย ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้รับบริการทั้ง 2 กลุ่ม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และ มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงบประมาณ ข้อมูลข่าวสาร และสถานที่ในการให้บริการ ส่วนผู้มีส่วนได้เสียเกือบทั้งหมดมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานฯ ที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เพราะ มีความพึงพอใจที่ไม่มากนักในด้านความมั่นคงและความก้าวหน้า จึงมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นหลัก และ 2) สำนักงานฯ สามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสียเกือบทุกกลุ่ม ยกเว้นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานฯ เช่นเดียวกับทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา ดังนั้น ผู้บริหารของสำนักงานฯ จึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับความต้องการของพนักงาน ให้ได้รับการตอบสนองจนกระทั่งเกิดเป็นความพึงพอใจในระดับเดียวกันกับกลุ่มอื่น ๆ ที่เหลือด้วย</p> กิตติศักดิ์ วงษ์มเหศักดิ์, ศมานันทน์ รัตนศิริวิไล Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3681 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ ไอโฟน กับ ซัมซุง ผ่านเว็บไซต์ช้อปปี้ไทยแลนด์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3492 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือไอโฟน (iPhone) กับ ซัมซุง (Samsung) ผ่านเว็บไซต์ช้อปปี้ไทยแลนด์ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือไอโฟน (iPhone) กับ ซัมซุง (Samsung) ผ่านเว็บไซต์ ช้อปปี้ไทยแลนด์ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้จำนวน 400 รีวิว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด (10P’s) ที่มีผลต่อการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ iPhone ได้แก่ ด้านการจัดจำหน่าย คิดเป็นร้อย 30.22 รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 18.45 และด้านราคา คิดเป็นร้อยละ 12.23 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด (10P’s) ที่มีผลต่อ การเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ Samsung ได้แก่ ด้านการจัดจำหน่าย คิดเป็นร้อย 20.46 รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 19.88 และด้านการส่งเสริมตลาด คิดเป็นร้อยละ 15.25 การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการระดับตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือไอโฟน (iPhone) กับ ซัมซุง (Samsung) ผ่านเว็บไซต์ช้อปปี้ไทยแลนด์ ไม่แตกต่างกัน โดยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกใช้โทรศัพท์มือถือจาก ด้านการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา</p> นิรมล เนื่องสิทธะ, สุวิมล บุญทา, จินตนา จันทนนท์, ธิติมา รจนา, ศักดาเดช กุลากุล Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3492 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 สมรรถนะทางการบัญชีและคุณลักษณะนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีของนักบัญชีในสำนักงานรับทำบัญชี ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3663 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสมรรถนะทางการบัญชีและคุณลักษณะนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีของนักบัญชีในสำนักงานรับทำบัญชีในเขตภาคตะวันออก เฉียงเหนือ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากนักบัญชีในสำนักงานรับทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 325 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติโดยใช้ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสมรรถนะทางการบัญชี และคุณลักษณะนักบัญชียุคดิจิทัลของนักบัญชีในสำนักงานรับทำบัญชีในเขตภาคตะวันนออกเฉียงเหนือ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีของนักบัญชีในสำนักงาน รับทำบัญชีในเขตภาคตะวันนออกเฉียงเหนือภาพรวม อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า สมรรถนะทางการบัญชีและคุณลักษณะนักบัญชียุคดิจิทัลมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีของนักบัญชีในสำนักงานรับทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> บัวพันธ์ สอนสุภาพ, พรทิวา แสงเขียว , ถิรวุฒิ ยังสุข Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3663 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยสนับสนุนที่มีผลต่อการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3502 <p>การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยสนับสนุนการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม 3) เพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุนที่มีผลต่อการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม 4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 216 คน คำนวณโดยใช้สูตรของท่าโร่ ยามาเน่ จากประชากรจำนวน 466 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ด้านรายได้ ด้านนันทนาการ ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว ผู้ดูแลและการคุ้มครอง ด้านการสร้างบริการทางสังคมและเครือข่ายเกื้อหนุน อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่พักอาศัย อยู่ในระดับน้อย 2) ระดับปัจจัยสนับสนุนการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยสนับสนุนด้านวิสัยทัศน์และด้านงบประมาณ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนปัจจัยด้านบุคลากร ด้านเทศบัญญัติ/ข้อบัญญัติ และการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยสนับสนุนที่มีผลต่อการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ประกอบด้วยปัจจัยด้านวิสัยทัศน์ ด้านงบประมาณ ด้านการมีส่วนร่วม มีผลต่อการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ส่วนปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านเทศบัญญัติ/ข้อบัญญัติ ไม่มีผลต่อการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม 4) ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรคในการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม พบว่า บุคลากรด้านสาธารณสุขไม่เพียงพอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดงบประมาณและอุปกรณ์ มีความต้องการให้บริการด้านสาธารณสุขถึงที่พักอาศัย ผู้สูงอายุไม่สามารถประกอบอาชีพได้ อาชีพของผู้สูงอายุมีน้อย กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องยังไม่ชัดเจน ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรเพิ่มบุคลากรด้านสาธารณสุข รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์ ควรแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน รัฐบาลควรหาตลาดรองรับสินค้าของผู้สูงอายุ</p> ธนพัชร์ วณิชพงษ์ศิริ, สำราญ วิเศษ, กชกร เดชะคำภู Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3502 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสู่ความยั่งยืนของชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านนากระเซ็ง ตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3781 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิผลต่อการดำเนินงานของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสู่ความยั่งยืนของชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านนากระเซ็ง ตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ภายใต้โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตามกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้วยวิธี SWOT Analysis 2) การกำหนดกลยุทธ์โดยใช้เทคนิค TOWS Matrix 3) การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และ 4) การควบคุมและการประเมินผล ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามขั้นตอนการดําเนินงาน กฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย การจัดการเชิงกลยุทธ์ของกลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านนากระเซ็งในตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ได้นำการจัดการเชิงกลยุทธ์ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับองค์การ ระดับธุรกิจ และระดับปฏิบัติการ ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยมีการสำรวจความต้องการและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือลายอัตลักษณ์ประจำท้องถิ่น ในการยกระดับรายได้ให้สูงขึ้น ส่วนการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ โดยใช้วงจรการจัดการเชิงคุณภาพ (PDCA) เพื่อปรับปรุงโครงการตามความเหมาะสม และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับตัวและรับมือกับความท้าทายทั้งภายในและภายนอก นอกจากนี้ พบว่าผู้รับผิดชอบโครงการและผู้นำกลุ่มได้มีแนวคิดการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่เหมาะสมร่วมกัน ในการมุ่งเป้าเพื่อความสำเร็จของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานและยั่งยืน โดยการได้รับทุนสนับสนุนจากภาครัฐในระยะยาวไม่น้อยกว่า 3 ปี</p> สกุลไทย ป้อมมะรัง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3781 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 11 ความสามารถหลักสำหรับการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3585 <p>ความสามารถหลักของผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้การดำเนินงานในองค์กรประสบความสำเร็จ บทความฉบับนี้จึงนำเสนอความสามารถหลักที่มีความจำเป็นสำหรับผู้นำ ซึ่งได้ศึกษาจากตำรา หนังสือ และบทความที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก แล้วสรุปเป็น 11 ความสามารถหลักสำหรับการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนี้ 1) ความสามารถในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2) ความสามารถในการวางแผนในการดำเนินงานทั้งระบบ 3) ความสามารถในการตัดสินใจอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ 4) ความสามารถในการนำผู้ตามไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง 5) ความสามารถในการควบคุมทิศทางการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย 6) ความสามารถในการจูงใจให้ผู้ตามปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ 7) ความสามารถในการพัฒนาตนเองและผู้ตามอย่างเหมาะสมกับบริบท 8) ความสามารถในการบริหารทีมงานให้สอดคล้องกับแผนขององค์กร 9) ความสามารถ ในการสื่อสารอย่างเหมาะสม 10) ความสามารถในการจัดการความขัดแย้งในทุกระดับ และ 11) มีความสามารถในด้านจริยธรรมที่เป็นแบบอย่างอันดีให้กับผู้ตาม</p> โชติชวัล ฟูกิจกาญจน์, เพ็ญพรรณ ชูติวิศุทธ์, พิกุลทอง หงส์หิน, ทองนัชชา วรรณพฤกษ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3585 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 จักรวาลความโสดกับการท่องเที่ยวและการบริการที่พึงประสงค์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3903 <p>สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมในปัจจุบันทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย มีแนวโน้มของคนโสดมากยิ่งขึ้น จากการเปิดเผยข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพบว่า จำนวนประชากรไทยมีสถานะที่คนจะครองตัวเป็นโสดมากขึ้น ประกอบด้วยปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ค่านิยมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เลือกที่จะอยู่เป็นโสดมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีแนวโน้มว่าประชากรกลุ่มนี้จะกลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลัก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความน่าสนใจ มีศักยภาพสูงในการจับจ่ายใช้สอยการซื้อสินค้าและการบริการสูง และมีแนวโน้มในการลงทุนกับตนเองในด้านการซื้อความสุขให้กับตนเอง ประกอบกับมีภาระค่าใช้จ่าย ๆ ในชีวิตประจำวันน้อยกว่ากลุ่มคนที่มีครอบครัวแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนโสดหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนให้กับตนเองมากขึ้นในด้านการซื้อความสุขและประสบการณ์แปลกใหม่ผ่านกิจกรรมทางการท่องเที่ยวและการบริการด้านต่าง ๆ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพฤติกรรมและค่านิยมของคนโสด 2. ศึกษาแนวโน้มด้านการท่องเที่ยวและการบริการสำหรับคนโสด 3. แนวทางการท่องเที่ยวและการบริการที่พึงประสงค์สำหรับคนโสด ซึ่งผู้ประกอบการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญในการพัฒนาปรับเปลี่ยนสินค้าทางการท่องเที่ยว และการบริการให้สอดคล้องกับค่านิยมและพฤติกรรมของคนโสด</p> จัตตาร์พร กลางสวัสดิ์, ชมพูนุท สมแสน, วิชญานกานต์ ขอนยาง, ปฏิมาภรณ์ กังวานศรีเพชร, ภวภาวัน ล้อมหามงคล Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3903 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700