https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/issue/feed
วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
2024-07-10T00:00:00+07:00
Ajarn Natdanai Nachan
natdanai.nac@mfu.ac.th
Open Journal Systems
<div><strong>วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง</strong> จัดทำโดย สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความที่มีคุณภาพสูงในด้านนิติศาสตร์ทุกสาขาวิชา โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย และนักวิชาการทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง</div>
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/3571
เล่าเรื่องคดีแพ่ง : สภาพบังคับทางกฎหมายของข้อสัญญาว่าจะไม่นอกใจ
2024-06-04T09:01:04+07:00
ภรณี เกราะแก้ว
k.poraneestar@gmail.com
<p>บทความฉบับนี้ผู้เขียนได้รับแรงบันดาลใจจากการสัมผัสคดีแพ่งเรื่องหนึ่งคือคดีแพ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือ คดีมโนสาเร่แต่เมื่อจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีกลับทำให้ประเด็นมีความยุ่งยากไม่ใช่คดีเล็กน้อยขึ้นมาทันใด อีกทั้งทำให้ผู้เขียนได้กลับมาทบทวนหลักกฎหมายพื้นฐานเรื่องนิติกรรมสัญญาซึ่งเห็นว่าน่าสนใจและเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษากฎหมายและนักกฎหมายทุกคนที่จะช่วยกันวิเคราะห์และร่วมกันหาคำตอบผ่านบทความฉบับนี้ไปด้วยกัน</p>
2024-07-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/2751
ปัญหาความเป็นอิสระทางงบประมาณของศาลรัฐธรรมนูญ ของประเทศไทย ศึกษากรณี: การยื่นคำขอและการได้รับจัดสรรงบประมาณ
2024-02-01T13:20:28+07:00
ณัฐพงศ์ พรหมมาตร
n.phrommat@gmail.com
ภูริวัฒน์ จิรานันตรัตน์
puriwatjrntr@gmail.com
<p>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 141 วรรคสองได้บัญญัติให้รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระของศาลเพื่อเป็นหลักประกันหลักความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารในการบริหารงบประมาณ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีอิสระและประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาพบว่า กระบวนการหรือขั้นตอนในการยื่นคำของบประมาณของศาลรัฐธรรมนูญในฐานะองค์กรศาลนั้นกลับมีวิธีการเช่นเดียวกับหน่วยงานของรัฐทั่ว ๆ ไป โดยจะต้องปฏิบัติตามแนวทางของสำนักงบประมาณ และยังพบว่าศาลรัฐธรรมนูญถูกพิจารณาปรับลดงบประมาณในขั้นตอนการพิจารณาของส่วนต่าง ๆ ทั้งที่มีหลักประกันความเป็นอิสระทางงบประมาณของศาลบัญญัติรับรองในรัฐธรรมนูญ การศึกษาในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการกำหนดนิยามคำว่า “ความเป็นอิสระทางงบประมาณ” ไว้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบของศาลรัฐธรรมนูญให้มีความสอดคล้องกับหลักประกันความเป็นอิสระทางงบประมาณตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง อีกทั้ง การเสนอคำของบประมาณของศาลรัฐธรรมนูญต้องไม่อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดสรรของฝ่ายบริหาร เพราะอาจจะกระทบต่อความอิสระในการปฏิบัติงานของศาลได้ และมีกำหนดดัชนีวัดความสำเร็จหรือตัวชี้วัด (KPI) เป็นการเฉพาะตามภารกิจของศาลรัฐธรรมนูญ</p>
2024-07-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/2905
มุมมองทางกฎหมายเกี่ยวกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สิ้นสภาพบุคคล
2024-02-22T09:43:49+07:00
ชนินทร์ อินทรปัญญา
chanin.int@mfu.ac.th
วัชระ กลิ่นสุวรรณ
watchara_klin@hotmail.com
เกรียงไกร เจริญธนาวัตน์
tham38@hotmail.com
<p>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้มีบทบัญญัติที่รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้โดยเป็นการรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้แก่ผู้มีสภาพบุคคล ส่งผลให้ขอบเขตในการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไม่ครอบคลุมไปถึงผู้สิ้นสภาพบุคคล ทั้งยังปรากฏให้เห็นถึงการกระทำที่เข้าข่ายอันเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สิ้นสภาพบุคคลในสังคมไทยอยู่หลายกรณี ปัญหาดังกล่าวเกิดจากบทบัญญัติที่มีผลให้การบังคับใช้และการตีความกฎหมาย รวมถึงการปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สิ้นสภาพบุคคลในประเทศไทยยังอาจไม่มีความเหมาะสม จากการศึกษาพบว่า แนวคิดของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในบริบทสากลมีขอบเขตในการคุ้มครองที่ครอบคลุมบุคคลที่มีสภาพบุคคลตามกฎหมาย ทารกในครรภ์มารดา และผู้สิ้นสภาพบุคคลที่ยังคงรูปกายสมบูรณ์ หรือมีส่วนของร่างกาย หรือมีเถ้ากระดูกด้วย และมีการบัญญัติรับรองไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในบทบัญญัติของกฎหมายไทยและสอดคล้องตามแนวคิดสากล อันจะส่งผลให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้รับการคุ้มครองอย่างเหมาะสม จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 4 ให้เป็นบทบัญญัติที่ครอบคลุมไปถึงผู้สิ้นสภาพบุคคล และสร้างความชัดเจนในการให้คำนิยามและขอบเขตของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สิ้นสภาพบุคคลให้แก่องค์กรของรัฐที่มีบทบาทหน้าที่ในการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์</p>
2024-07-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/3238
สิทธิและปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์กับเจ้าของลิขสิทธิ์ : ศึกษากรณีรถไฟฟ้าโปแลนด์
2024-06-20T13:00:32+07:00
ธนัชพร กังสังข์
kanomjib_27@hotmail.com
พอเพียง มณีสวัสดิ์
kanomjib_27@hotmail.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงสิทธิและอำนาจของเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์กับผู้ทรงลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในบางส่วนของทรัพย์สินเพื่อที่จะใช้สอยทรัพย์สินนั้น โดยอาศัยกรณีที่พิพาทระหว่างการรถไฟฟ้าของประเทศโปแลนด์ และบริษัทผู้ผลิตและขายรถไฟฟ้าให้แก่การรถไฟฟ้าของโปแลนด์ รวมทั้งบริษัทผู้รับทำการซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าให้แก่การรถไฟฟ้าของโปแลนด์ด้วย นอกจากนี้ บทความนี้จะวิเคราะห์ถึงความจำเป็นทางวิศวกรรมและสิทธิตามกฎหมาย โดยอาศัยหลักกฎหมายที่ยอมรับกันเป็นสากลและเทียบเคียงประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยเท่าที่จำเป็น</p> <p>ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า แม้ว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเป็นงานสร้างสรรค์อันมีลิขสิทธิ์โดยจัดอยู่ในประเภทวรรณกรรมที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองโดยกฎหมาย อย่างไรก็ตาม การใช้สิทธิเช่นนั้นก็ต้องอยู่ภายใต้หลักความสุจริตที่เป็นหลักการสากลด้วย การใช้สิทธิที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นย่อมเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งการกำหนดเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการแข่งขันทางการค้าอย่างไม่เป็นธรรมที่ทำให้เกิดการผูกขาด ย่อมเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนั้น ในส่วนของเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่มีสิทธิในการใช้สอยลิขสิทธิ์ ไม่ว่าโดยข้อตกลงชัดแจ้งหรือโดยปริยาย ซึ่งเมื่อปรากฏว่างานอันมีลิขสิทธิ์ที่ตกติดมากับตัวทรัพย์เพื่อการใช้สอยทรัพย์นั้นเป็นการขัดขวางการใช้สอยทรัพย์ตามปกติอย่างร้ายแรงผิดปกติวิสัย เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ย่อมมีความชอบธรรมที่จะใช้สิทธิในการป้องกันตนเองเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อคุ้มครองสิทธิของตน ซึ่งหากไม่ดำเนินการเช่นนั้น สิทธิของตนเองจะถูกกระทบอย่างรุนแรงหรือถึงขั้นสาบสูญได้ อย่างไรก็ตาม เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องได้กระทำเพียงเท่าที่จำเป็นอย่างจำกัดเคร่งครัดเท่านั้น จึงมีความชอบธรรมที่จะกระทำได้ และไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น</p>
2024-07-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/3369
ปัญหาการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
2024-05-20T13:28:20+07:00
วรพชร จันทร์ขันตี
worapach.cha@mfu.ac.th
<p>การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพเป็นรายเดือนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมเป็นสิทธิของผู้สูงอายุที่ได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 แต่การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประสบปัญหาการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพซ้ำซ้อนกับเงินสวัสดิการอื่นที่ผู้สูงอายุได้รับอันเป็นการขัดต่อระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2552 และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น<br />พ.ศ. 2552 ซึ่งต่อมาคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่าระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติและระเบียบกระทรวงมหาด<br />ไทยที่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้สูงอายุที่จะมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพว่าต้องไม่เป็นผู้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใด จากหน่วยงานของรัฐเป็นเงื่อนไขที่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546<br />และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ<br />จึงจำเป็นต้องยกเลิกระเบียบดังกล่าวและกำหนดหลักเกณฑ์ผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546<br />ปัจจุบันการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพว่าต้องเป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติกำหนด แต่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติยังไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว<br />กระทรวงมหาดไทยจึงต้องนำหลักเกณฑ์คุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 ที่ได้ยกเลิกไปแล้วเนื่องจากมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายกลับมาใช้ไปพลางก่อน<br />จึงมีปัญหาต่อมาว่าระเบียบกระทรวงมหาดไทยซึ่งยกเลิกไปแล้วนั้นจะสามารถนำมาใช้บังคับได้หรือไม่<br />ซึ่งหากพิจารณาโดยอาศัยหลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายและกฎรวมทั้งหลักความชอบด้วยกฎหมายของสิทธิผู้สูงอายุแล้ว<br />ระเบียบดังกล่าวย่อมไม่อาจนำมาใช้บังคับไปพลางก่อนได้ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติซึ่งมีหน้าที่และอำนาจในการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพว่าต้องเป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพจึงต้องเร่งออกระเบียบเพื่อใช้บังคับต่อไปโดยเร็ว</p>
2024-07-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/3591
โฟโต้การ์ด และประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางทารค้า
2024-06-12T08:14:48+07:00
สุวลักษณ์ ขันธ์ปรึกษา
suwalak.kha@mfu.ac.th
<p>บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแง่มุมทางกฎหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า โดยประเด็นปัญหาทางกฎหมายเกิดจากการแถมโฟโต้การ์ดมากับการขายอัลบั้มเพลงของศิลปินเคป๊อป ผู้เขียนได้นำเสนอข้อเท็จจริงจากการแถมโฟโต้การ์ดที่เหล่าบรรดาแฟนคลับได้มีการทุ่มเงินจำนวนมากซื้อโฟโต้การ์ดที่สุ่มแถมมาฟรีกับอัลบั้มเพลงเพื่อเจาะจงให้ได้โฟโต้การ์ดที่ตนอยากได้ หรือการทุ่มซื้ออัลบั้มจำนวนมากเพื่อเก็บเฉพาะโฟโต้การ์ดแล้วทิ้งอัลบั้มเพลง พฤติกรรมดังกล่าวได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารย์ว่ากลยุทธ์ส่งเสริมการขายอัลบั้มของบริษัทเพลงในกรณีนี้อาจมีลักษณะเป็นการแสวงหาประโยชน์จากแฟนคลับโดยไม่สมควรและอาจเป็นการบังคับซื้ออัลบั้มเพื่อให้ได้มาซึ่งโฟโต้การ์ด โดยอาจเข้าข่ายเป็นพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมซึ่งเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้า นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้อธิบายหลักการทางกฎหมายว่าด้วยพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมโดยอ้างอิงกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย</p>
2024-07-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/2594
ข้อยกเว้นเกี่ยวกับการกระทำที่ไม่อยู่ภายในอำนาจพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไทย
2023-12-13T12:31:44+07:00
ฤทธิภัฏ กัลยาณภัทรศิษฏ์
ridthipat.kal@mfu.ac.th
อรัชมน พิเชฐวรกุล
arachamon.pic@mfu.ac.th
พรพล เทศทอง
pornpon.the@mfu.ac.th
รชณัฐ มะโนแสน
rachanatt.man@mfu.ac.th
<p>ข้อยกเว้นเรื่องการกระทำที่ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญในระบบการร้องทุกข์ทางรัฐธรรมนูญตามมาตรา 213 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และข้อยกเว้นเรื่องการกระทำที่ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ข้อยกเว้นการกระทำโดยตรง และข้อยกเว้นที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำ ซึ่งจากการศึกษาระบบร้องการทุกข์ทางรัฐธรรมนูญของต่างประเทศ ก็พบว่ามีข้อยกเว้นเรื่องการกระทำที่ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญในระบบการร้องทุกข์ทางรัฐธรรมนูญที่คล้ายกันกับข้อยกเว้นของไทย แต่จะมีความแตกต่างกัน 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ ประการแรก ถ้อยคำที่ใช้กำหนดข้อยกเว้นที่เป็นการกระทำโดยตรงในกฎหมายจะเป็นถ้อยคำที่มีความชัดเจนและเฉพาะเจาะจงว่าเป็นการกระทำใด ประการที่สอง ข้อยกเว้นที่เกี่ยวกับการกระทำในเรื่องการหมดสิ้นหนทางเยียวยาตามกฎหมายจะไม่ใช่ข้อยกเว้นแบบเด็ดขาด แต่จะมีการดุลยภาพให้ศาลสามารถรับคดีบางประเภทที่มีความจำเป็นในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนไว้พิจารณาได้แม้ว่าจะคำร้องนั้นจะยังไม่หมดสิ้นหนทางเยียวยาตามกฎหมายก็ตาม และประการที่สาม ข้อยกเว้นการกระทำโดยตรงของไทยในบางเรื่องไม่พบในข้อยกเว้นของต่างประเทศ</p> <p>จากการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับข้อยกเว้นของต่างประเทศแล้วพบว่าการกำหนดข้อยกเว้นเรื่องการกระทำในระบบการร้องทุกข์ทางรัฐธรรมนูญของไทยมีปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาที่เกิดบทบัญญัติของกฎหมาย ปัญหาการกำหนดข้อยกเว้นที่ใช้ถ้อยคำที่ไม่เฉพาะเจาะจง และปัญหาการตีความกฎหมายของศาล อันได้แก่ ปัญหาการตีความมาตรา 47 (2) และ 47 (3) และมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลทำให้เกิดความไม่แน่นอนและความไม่เป็นเอกภาพในการใช้การตีความกฎหมายและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการจะเปิดช่องให้ประชาชนอาศัยช่องทางดังกล่าวร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ทำการคุ้มครองสิทธิของตนเองได้มากขึ้น และทำให้ศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและผู้ปกป้องรัฐธรรมนูญตามที่รัฐธรรมนูญมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p>บทความนี้มีข้อเสนอแนะสามประการ ได้แก่ เสนอแนวทางในการตีความมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 และแนวทางในการใช้มาตรา 47 ดังกล่าวในการพิจารณารับคำร้อง และแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 46 ถึงมาตรา 48 ตามกฎหมายฉบับเดียวกันเพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นเอกภาพในระบบการพิจารณาคำร้องทุกข์ทางรัฐธรรมนูญ และเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่เป็นผู้คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว้ตามเจตนารมณ์และอย่างเต็มประสิทธิภาพ</p>
2024-07-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/2660
มาตรการทางกฎหมายในการจัดการและควบคุมการใช้น้ำบาดาล ตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520
2024-02-08T08:00:43+07:00
จินต์ศุจี วีรวงศ์ตระกูล
jinsujee29@gmail.com
<p>บทความนี้นำเสนอปัญหามาตรการทางกฎหมายซึ่งใช้ในการจัดการและควบคุมการใช้น้ำบาดาลของประเทศไทยที่ตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 โดยการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายน้ำบาดาลของประเทศไทยกับกฎหมายน้ำบาดาลของต่างประเทศ ทฤษฎีและแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม การควบคุมและตรวจสอบการขอใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาลและใช้น้ำบาดาลรวมถึงกลไกลการติดตามและตรวจสอบ การเจาะน้ำบาดาล ใช้น้ำบาดาลและระบายน้ำลงสู่แหล่งน้ำบาดาล ซึ่งกฎหมายน้ำบาดาลของประเทศไทยมีการบังคับใช้มาเป็นเวลายาวนาน จึงไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ทำให้เกิดปัญหาทางกฎหมายหลายประการ ได้แก่ ปัญหาความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติแห่งกฎหมายในการออกใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาล ใช้น้ำบาดาล และระบายน้ำลงสู่แหล่งน้ำบาดาล ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในการติดตามตรวจสอบการเจาะน้ำบาดาล ใช้น้ำบาดาล และระบายน้ำลงสู่แหล่งน้ำบาดาล รวมถึงข้อจำกัดของมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการน้ำบาดาล ได้แก่กฎหมายว่าด้วยละเมิดในคดีสิ่งแวดล้อม, ความซ้ำซ้อนของหน่วยงานซึ่งบังคับใช้กฎหมาย, ข้อจำกัดด้านการขาดประสิทธิภาพของผู้บังคับใช้กฎหมาย, ข้อจำกัดในการฟ้องร้องกรณีความเสียหายเกิดต่อทรัพย์สินส่วนรวม, ข้อจำกัดการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง โดยผู้เขียนได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้ ประการแรก การแก้ไขเพิ่มเติมการออกใบอนุญาตประกอบกิจการน้ำบาดาล การแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียหรือตัวแทนประชาชนหรือชุมชน ประการที่สอง การแก้ไขเพิ่มเติมส่วนร่วมของประชาชนหรือชุมชนในการร่วมติดตามและตรวจสอบการใช้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐภายหลังออกใบอนุญาตประกอบกิจการน้ำบาดาล แก้ไขอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้มีอำนาจในการกำหนดค่าใช้และค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล ประการที่สาม แก้ไขอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้มีอำนาจในการกำหนดค่าใช้และค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล ประการที่สี่ แก้ไขอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการนำค่าใช้และค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่เก็บเพื่อนำค่าใช้และค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลเข้ากองทุนพัฒนาน้ำบาดาล ประการสุดท้าย แก้ไขอัตราค่าปรับสำหรับความผิดจากการใช้น้ำบาดาลอย่างไม่ถูกต้อง</p>
2024-07-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/2671
แนวทางการใช้อำนาจรัฐของพนักงานตรวจแรงงานเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ การจ้างแรงงานเด็ก และการบังคับใช้แรงงาน
2024-01-29T14:18:12+07:00
วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์
wimpat.r@chula.ac.th
ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์
suphasit.t@chula.ac.th
ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ
piti.e@chula.ac.th
<p>การค้ามนุษย์ การจ้างแรงงานเด็ก และการบังคับใช้แรงงานเป็นปัญหาเกี่ยวกับการแรงงานที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กฎหมายแรงงานจึงต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับประเด็นทั้งสามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การแก้ไขปัญหาดังกล่าวยังต้องอาศัยมาตรการตามกฎหมายอื่น ๆ ประกอบกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่และหน่วยงานต้นสังกัดที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวยังไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร และมีความจำเป็นต้องจัดทำแนวทางการใช้อำนาจรัฐของพนักงานตรวจแรงงานเพื่อให้เกิดการประสานการปฏิบัติหน้าที่กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานอื่นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ การจ้างแรงงานเด็ก และการบังคับใช้แรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ในการจัดทำแนวทางการใช้อำนาจรัฐของพนักงานตรวจแรงงาน จำเป็นต้องพิจารณากรอบแนวคิดเกี่ยวกับการจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพ มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจแรงงานและพนักงานตรวจแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ จากการศึกษา จะพบว่าแนวดังกล่าวพึงประกอบไปด้วยสองส่วนสำคัญอันได้แก่ ลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติหน้าที่ และการอ้างอิงพร้อมกับเอกสารประกอบ เพื่อให้เข้าใจถึงภาพรวมในการปฏิบัติหน้าที่ในเบื้องต้นแล้วจึงลงรายละเอียดในลำดับถัดมา นอกจากนี้ ยังพึงมีกลไกเสริมโดยการใช้สัญลักษณ์ประกอบคำแนะนำในการใช้แนวทางดังกล่าวด้วย</p>
2024-07-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/3167
มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันผลกระทบจากการขับขี่ภายใต้อิทธิพลของยาออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทเพื่อความปลอดภัยสาธารณะในประเทศไทย
2024-04-12T09:58:28+07:00
อานนท์ จำลองกุล
arnon.jum@mfu.ac.th
<p>การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรของประเทศไทยอยู่ในระดับสูง ส่วนหนึ่งมาจากการขับขี่ภายใต้อิทธิพลของยาออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ คือ เพื่อศึกษาหลักการสากลในการควบคุมการขับขี่ เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายของไทยและต่างประเทศ และเพื่อเสนอต้นแบบมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบว่าหน่วยงานด้านนโยบายความปลอดภัยทางถนนของไทยมีหลายหน่วยงาน มีการกำหนดระดับสูงสุดของแอลกอฮอล์และเพิ่มโทษสำหรับผู้เสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน การตรวจร่างกายผู้ขับขี่เป็นไปตามหลักสากล มีการกำหนดบทลงโทษ ได้แก่ โทษปรับ จำคุก พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต และการตัดคะแนนความประพฤติ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ได้แก่ ควรยกระดับหน่วยงานเพื่อกำกับดูแลปัญหาเฉพาะด้าน ควรเพิ่มนิยาม “ของเมาอย่างอื่น” ในมาตรา 43 (2) แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ควรกำหนดให้การขับขี่ภายใต้อิทธิพลของยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ทั้งหมดตามประมวลกฎหมายยาเสพติดถือว่ามีความผิดมาตรา 43 ทวิ ร่วมกับการกำหนดโทษและระดับสูงสุดของยาชนิดอื่น ควรกำหนดระยะเวลาควบคุมตัวผู้ขับขี่ให้ชัดเจน ควรกำหนดระยะเวลาห้ามการเสพยาหลังสิ้นสุดการขับขี่ ควรกำหนดค่าปรับโดยใช้รายได้ ระดับยา และการกระทำผิดซ้ำเป็นฐาน ควรเพิ่มโทษริบทรัพย์สิน ควรตรวจคัดกรองการเสพยาจากน้ำลาย และผู้กระทำผิดควรถูกเบี่ยงเบนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางเลือก</p>
2024-07-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/2865
ปัญหาและความต้องการของชุมชนในการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
2024-05-14T08:04:38+07:00
ทศพร มูลรัตน์
Thotsaphorn.mun@crru.ac.th
นิฐิณี ทองแท้
Nithinee.tho@crru.ac.th
วิภา พันธนะบูรณ์
wipa.pha@crru.ac.th
<p>การปฏิรูปที่ดินเกษตรกรรมเป็นกระบวนการทางกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการครอบครองที่ดิน การกระจายที่ดิน และการใช้ประโยชน์จากที่ดิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการรักษาความยุติธรรมทางสังคม การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการสนับสนุนวิถีการเกษตรกรรมในประเทศไทย ซึ่งบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาและความต้องการของชุมชนในการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยกลุ่มประชากรศึกษาสมัครใจเข้ารับการวิจัยนี้ประกอบด้วยผู้มีสิทธิในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหมู่บ้านสันทรายกองงาม ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรและ (3) หาแนวทางในการพัฒนากฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้วิธีวิจัยจากการค้นคว้าทางเอกสารและจากการลงสำรวจพื้นที่วิจัยทำให้ทราบถึงบริบทของพื้นที่ ปัญหาและความต้องการของชุมชน และประชุมระดมความคิดเห็น ของเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินปฏิรูปเพื่อการเกษตรกรรม และนำข้อมูลจากการลงพื้นที่มาศึกษาอย่างเป็นระบบเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาและหาแนวทางการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและบริบทของพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไป</p> <p>ทั้งนี้ จากการศึกษาวิจัยพบและสรุปได้ว่าบริบทของพื้นที่ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยพื้นที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจมากขึ้นและชุมชมมีความต้องการเปลี่ยนแปลงจำกัดทางกฎหมายในการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร เช่น ผ่อนคลายข้อจำกัดให้ผู้ถือที่ดิน ส.ป.ก. สามารถซื้อ ขาย จำนองได้เช่นเดียวกับโฉนดที่ดิน หรือประกอบกิจการให้เช่าอาคารพาณิชย์ เป็นต้น คณะผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะแนวทางดังต่อไปนี้ (1) ควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา 39 ของพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 เพื่อให้ผู้ได้รับสิทธิที่ดินปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมสามารถโอนสิทธิในที่ดินไปยังเกษตรกรอื่นได้ (2) ควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เรื่อง รายการกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ครอบคลุมกิจการอื่นคือการให้เช่าอาคารพาณิชย์ การให้เช่าพื้นที่จอดรถบรรทุกสินค้าข้ามแดน เป็นต้น (3) รัฐบาลควรเปลี่ยนเอกสารสิทธิที่ดินจากเอกสารสิทธิปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นโฉนดที่ดิน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาวิถีชีวิตของชุมชนตามแผนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ระยะที่ 2 ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ที่ 2/2558</p>
2024-07-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง