วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ <div><strong>วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง</strong> จัดทำโดย สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความที่มีคุณภาพสูงในด้านนิติศาสตร์ทุกสาขาวิชา โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย และนักวิชาการทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง</div> สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง th-TH วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 2774-0765 กฎหมายอวกาศแห่งชาติญี่ปุ่น: สาระสำคัญของพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมกิจกรรมทางธุรกิจสำหรับการสำรวจและการพัฒนาทรัพยากรอวกาศ ค.ศ. 2021 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/2276 <p>ปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจอวกาศ (Space Economy) ดังเห็นได้จากการจัดทำร่างแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2580) และร่างพระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. ..... ขึ้น และกิจกรรมที่ประเทศไทยอาจนำมาใช้ในการส่งเสริมเศรษฐกิจอวกาศของประเทศได้ คือ “การทำเหมืองแร่ในอวกาศ” แต่อย่างไรก็ดี ร่างแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2580) ก็ยังไม่ได้กล่าวถึง รายชื่อโปรแกรม โครงการ และกิจกรรม ที่จะนำมาใช้เป็นกลไกในการส่งเสริมการทำเหมืองแร่ในอวกาศไว้อย่างชัดเจน ประกอบกับร่างพระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. ..... ได้กำหนดถึงการทำเหมืองแร่ในอวกาศไว้ เพียงแค่ในคำนิยาม “กิจกรรมอวกาศ” เท่านั้น ในขณะญี่ปุ่นได้ใช้แนวทางที่โดดเด่นในการดำเนินการเกี่ยวกับการทำเหมืองในอวกาศที่ได้สรุปขั้นตอนและรายละเอียดต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจนภายในกฎหมายอวกาศแห่งชาติในระดับพระราชบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ซึ่งสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของประเทศญี่ปุ่นในการสร้างกรอบการทำงานที่ครอบคลุมสำหรับการควบคุมและพัฒนากิจกรรมการทำเหมืองแร่ในอวกาศ ด้วยเหตุนี้ บทความฉบับนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายอวกาศแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและกำกับดูแลการทำเหมืองแร่ในอวกาศไว้โดยเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมกิจกรรมทางธุรกิจสำหรับการสำรวจและการพัฒนาทรัพยากรอวกาศ ค.ศ. 2021 (พระราชบัญญัติทรัพยากรอวกาศ ค.ศ. 2021) ทั้งนี้ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับใช้แก่ประเทศไทย หากประเทศไทยประสงค์ที่จะให้มีการทำเหมืองแร่ในอวกาศในอนาคต</p> นภวัฒน์ สืบนุสรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-22 2024-01-22 357 379 10.14456/mfulj.2024.10 แง่มุมทางกฎหมายบางประการจากวงการเคป็อบ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/2357 <p>บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแง่มุมทางกฎหมายบางประการจากสัญญาการเป็นศิลปินเคป็อบ ผู้เขียนแบ่งการนำเสนอประเด็นทางกฎหมายที่เกิดขึ้นออกเป็น 4 ประเด็น ได้แก่ หนึ่ง ประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งประเด็นปัญหาหลักที่เป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวางในกลุ่มผู้ที่ติดตามวงการบันเทิงของสาธารณรัฐเกาหลีคือกรณี “สัญญาทาส” ที่มีข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมระหว่างศิลปินและบริษัทต้นสังกัดของศิลปิน โดยเฉพาะประเด็นปัญหาเรื่องระยะเวลาของสัญญา สอง ประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล สาม ประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ที่มีปัญหาสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้าในการใช้เพลงและชื่อวงเมื่อศิลปินไม่ต่อสัญญา และสี่ ประเด็นทางกฎหมายอื่นๆ อาทิ ประเด็นการคว่ำบาตร หรือประเด็นค่าตอบแทนที่ไม่โปร่งใสและไม่เป็นธรรม เหตุผลที่ศิลปินยอมตกลงตามเงื่อนไขของต้นสังกัดจนทำให้เกิดประเด็นปัญหาทางกฎหมายต่างๆ เนื่องมาจาก ณ ขณะที่ทำสัญญาฉบับแรก ศิลปินอยู่ในสถานะที่มีอำนาจต่อรองน้อยกว่า มิฉะนั้น ก็อาจไม่ได้เซ็นสัญญาเปิดตัวเป็นศิลปิน ทั้งที่ได้ทุ่มเทเวลาเสียสละการใช้ชีวิตในช่วงวัยเรียนไปกับการเป็นเด็กฝึกหัดหลายปี เมื่อเวลาผ่านไป ศิลปินค่อยๆ กล้าส่งเสียงบอกเล่าถึงความไม่เป็นธรรมที่ตนต้องเผชิญ ข้อเท็จจริงที่เคยถูกปิดบังซุกไว้ใต้พรมจึงถูกเปิดเผยสู่สาธารณชน เป็นที่มาให้มีการเรียกร้องเพื่อคุ้มครองสิทธิของศิลปินเคป็อบให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม จนหลายประเด็นที่เคยเป็นปัญหาได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นแล้ว</p> สุวลักษณ์ ขันธ์ปรึกษา Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-22 2024-01-22 380 400 10.14456/mfulj.2024.11 ข้อพิพาทเขตแดนทางบกระหว่างไทยและกัมพูชา: ศึกษากรณีสถานะทางกฎหมายของเส้นตามแผนที่ภาคผนวก 1 ในคดีปราสาทพระวิหาร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/317 <p>เขตแดนระหว่างประเทศเป็นข้อบ่งชี้สำคัญอย่างหนึ่งต่อการมีดินแดนที่แน่นอนของรัฐเพื่อกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนนั้นๆ การกำหนดเขตแดนและกลไกการสร้างสร้างเส้นเขตแดนจึงเป็นเรื่องสำคัญระหว่างรัฐที่มีอาณาเขตประชิดติดกัน ซึ่งโดยทั่วไปการกำหนดเขตแดนมักจะปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแบบสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศรูปแบบอื่น และมีคณะกรรมการผสม (Joint Commission) ร่วมกันกำหนดเขตแดนหรือจัดทำแผนที่แสดงเส้นเขตแดน แผนที่จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมาก แผนที่บางฉบับได้รับการยอมรับในฐานะส่วนหนึ่งของสนธิสัญญา และบ่อยครั้งแผนที่จะถูกนำเสนอต่อศาลเมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตแดน ซึ่งศาลจะให้น้ำหนักคุณค่าของหลักฐานแผนที่หรือไม่เพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับที่มาหรือความน่าเชื่อถือของแผนที่นั้นๆ กรณีเขตแดนทางบกระหว่างไทยและกัมพูชาก็ไม่ได้แตกต่างไปจากหลักการกำหนดเขตแดนโดยทั่วไป เขตแดนของสองฝ่ายถูกสถาปนาขึ้นโดยสนธิสัญญาเขตแดนหลายฉบับระหว่างสยามกับฝรั่งเศส อันเนื่องมาจากปัญหาและข้อพิพาททางเขตแดนที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆจนกระทั่งปัจจุบัน สนธิสัญญาฉบับสำคัญๆ ที่ถูกใช้เป็นกลไกในการสำรวจและปักปันเขตแดน คือ สนธิสัญญา ค.ศ. 1904 และ สนธิสัญญา ค.ศ. 1907 หนึ่งในปัญหาเขตแดนทางบกที่สำคัญ คือ อะไรคือเส้นเขตแดนในบริเวณเขาดงรัก เนื่องจากไทยถือเอาเส้นสันปันน้ำตามความที่ปรากฏใน ข้อ 1 ของสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 แต่กัมพูชาถือเอาเส้นตามแผนที่ภาคผนวก 1 ที่เสนอต่อศาลในคำฟ้องเริ่มต้นคดีปราสาทพระวิหาร โดยถือว่าทั้งสองฝ่ายได้ยอมรับเส้นนี้เป็นเขตแดนแล้ว มุมมองเกี่ยวกับเส้นเขตแดนที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงนำไปสู่ข้อพิพาทเขตแดน และการปะทะตามแนวชายแดนเป็นระยะๆ จนนำไปสู่การเสนอคดีต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศอีกวาระหนึ่งในคดีคำขอตีความ แต่ศาลจำกัดข้อพิพาทของทั้งสองฝ่ายเฉพาะเรื่องอำนาจอธิปไตยเหนือบริเวณปราสาทพระวิหาร แม้ศาลจะได้หยิบยกเรื่องเส้นบนแผนที่ขึ้นพิจารณาในฐานะที่เป็นหลักฐานส่วนเหตุผล แต่ก็ไม่ได้ชี้ขาดถึงสถานะทางกฎหมายของเส้น ทำให้เส้นบนแผนที่ภาคผนวก 1 ยังคงคลุมเครือและเป็นไปตามการตีความของแต่ละฝ่าย</p> <p>ผู้วิจัยสรุปได้ว่า เส้นบนแผนที่ภาคผนวก 1 เป็นการกระทำฝ่ายเดียวของฝรั่งเศสและหลังนั้นได้รับการยอมรับนับถือโดยกัมพูชาที่สืบสิทธิมาจากฝรั่งเศส แผนที่ฉบับนี้ไม่เคยได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการและชัดแจ้งโดยรัฐบาลไทยว่าเป็นเส้นเขตแดนระหว่างสองฝ่าย ศาลไม่อาจอนุมานจากการประพฤติปฏิบัติที่คลุมเครือมีข้อโต้แย้งเพื่อแสดงว่าไทยได้ยอมรับแผนที่ และอาศัยการตีความให้แผนที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาได้โดยไม่ได้มีการแสดงออกซึ่งความยินยอมของทั้งสองฝ่าย เพื่อเป็นคุณต่อเส้นบนแผนที่ มากกว่าข้อบทที่กำหนดไว้โดยชัดแจ้ง แผนที่และเส้นบนแผนที่จึงไม่อาจจะมีคุณค่าในฐานะหลักฐานแผนที่ และไม่อาจมีผลผูกพันทางกฎหมาย</p> เพชรณพัฒน์ ศรีวุทธิยประภา Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-22 2024-01-22 121 168 10.14456/mfulj.2024.4 การพัฒนามาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ และการเสริมสร้างระบบนิเวศทางการวิจัย และนวัตกรรมของสถานศึกษา https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/2298 <p>การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการส่งเสริม กำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย และนวัตกรรม (2) เพื่อศึกษาแนวทางของกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ องค์การทรัพย์สินทางปัญญา (WIPO) และองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม กำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย และนวัตกรรม (3) เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริม กำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย และนวัตกรรมของประเทศที่เลือกศึกษา ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น (4) เพื่อวิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริม กำกับดูแล และการใช้ประโยชน์วิจัย และการสร้างระบบนิเวศทางนวัตกรรมสำหรับประเทศไทย วิธีการศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการอภิปรายกลุ่มย่อย มาจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม รวม 15 คน ได้แก่ กลุ่มตัวแทนของผู้ให้ทุนวิจัย กลุ่มตัวแทนของผู้รับทุน และผู้วิจัย กลุ่มตัวแทนธุรกิจภาคเอกชน ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการส่งเสริม กำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ได้แก่แนวคิดภารกิจอุดมศึกษากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แนวคิดว่าด้วยการแบ่งปันผลประโยชน์ ทฤษฎีเศรษฐกิจ ทฤษฎีสิทธิตามธรรมชาติ แนวคิดนวัตกรรมแบบเปิด แนวคิดเศรษฐกิจบนฐานความรู้ แนวคิดระบบนิเวศนวัตกรรมซึ่งแต่ละแนวคิดต่างมีความสอดคล้องและเอื้อให้เกิดระบบนิเวศในการส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ นอกจากนี้จากการศึกษาแนวทางของ WIPO พบว่ามีแนวทางให้มหาวิทยาลัยปรับตัวและสนับสนุนเศรษฐกิจผ่านผลงานวิจัย นวัตกรรม และส่งเสริมให้มีการสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในสถานศึกษา ในส่วนของUNESCO พบว่า มีการกำหนดพันธกิจขององค์การในการเติมเต็มพันธกิจด้านการศึกษาให้แต่ละประเทศ เพื่อให้ผลงานวิจัยมีการบูรณาการกับการเรียนรู้และตอบสนองต่อประโยชน์ของชุมชนและสังคม การศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและไทยพบว่าเป้าหมายของแต่ละประเทศมีความสอดคล้องกันในหลักการ แต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียดเช่น มาตรการทางกฎหมายและข้อจำกัดในการส่งเสริม กำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย และนวัตกรรม การพัฒนาหน่วยงานและนโยบายในการส่งเสริม กำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย และนวัตกรรม จากการวิเคราะห์ข้างต้นนำไปสู่ข้อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริม กำกับดูแล และการใช้ประโยชน์วิจัย และการสร้างระบบนิเวศทางนวัตกรรมสำหรับประเทศไทยในประเด็นต่างๆ เช่น การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 แนวทางการพัฒนากฎหมายลำดับรองภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 แนวทางการพัฒนาหน่วยงานและนโยบายในการส่งเสริม กำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย และนวัตกรรม<br><br></p> วลัยวรรณ มธุรสปรีชากุล เกวลิน ต่อปัญญาชาญ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-22 2024-01-22 169 217 10.14456/mfulj.2024.5 ปัญหาทางกฎหมายของการเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์กรเอกชน https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/2286 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสียในการฟ้องคดีปกครองสิ่งแวดล้อมขององค์กรเอกชน โดยพบว่าการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในนามขององค์กรเอกชนในปัจจุบัน ผู้วิจัยเห็นความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ของศาลปกครองในการตีความผู้มีส่วนได้เสียที่จะเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการใช้สิทธิฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์กรเอกชนบางประการยังไม่มีบทบัญญัติกฎหมายรับรองและคุ้มครองสิทธิในการฟ้องคดีไว้ ทั้งนี้ ได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีตามหลักกฎหมายสิ่งแวดล้อมและกฎหมายต่างประเทศ รูปแบบของกฎหมายสิ่งแวดล้อมในเรื่องผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์กรเอกชน เพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในประเทศไทย</p> <p> โดยผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดเรื่องการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์กรเอกชนในระบบกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทำให้เห็นว่ากฎหมายของประเทศไทยยังไม่มีการสร้างมาตรการทางกฎหมายเพื่อปิดช่องว่างจากการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลขององค์กรเอกชนผู้มีส่วนได้เสียในกรณีการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในนามขององค์กรเอกชนซึ่งได้มีการจดทะเบียนให้ถูกต้องตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมมาตรการการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์กรเอกชนในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 หรือกฎหมายสารบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกณฑ์การวินิจฉัยความเป็นผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรเอกชนมีความชัดเจนและคุ้มครองสิทธิขององค์กรเอกชนในการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมมากขึ้น</p> ฉัตริกา สุดคีรี Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-22 2024-01-22 218 258 10.14456/mfulj.2024.6 กลไกการตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่อุทธรณ์ ฎีกาของพนักงานอัยการ: ศึกษาเฉพาะกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 และมาตรา 145/1 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/2326 <p style="font-weight: 400;">รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 68 กำหนดให้รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร...” และมาตรา 258 (ง) (1) และ (2) กำหนดให้การดำเนินการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมให้เกิดผลโดยให้กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจนเพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้าและปรับปรุงระบบการสอบสวนคดีอาญาให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการอย่างเหมาะสม แต่ปัจจุบันยังมีกระบวนการยุติธรรมในขั้นตอนการตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่อุทธรณ์ ฎีกาของพนักงานอัยการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 และ มาตรา 145/1 มิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวทั้งในเรื่องการกำหนดองค์กรผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบ และความล่าช้าในการตรวจสอบ ทำให้กระบวนการตรวจสอบไม่เป็นไปตามหลักการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจและยังกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพของจำเลยในคดีโดยเฉพาะคดีที่ศาลพิพากษายกฟ้องแต่มีคำสั่งขังจำเลยไว้ในระหว่างอุทธรณ์ ฎีกา รอกระบวนการตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่อุทธรณ์ ฎีกาของพนักงานอัยการที่ล่าช้า ส่งผลให้จำเลยถูกคุมขังนานเกินความจำเป็น บทความนี้จึงได้ศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการใช้ดุลพินิจ การตรวจสอบดุลพินิจ และการอุทธรณ์ ฎีกาคดีอาญาของพนักงานอัยการ ประกอบกับกลไกการตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่อุทธรณ์ ฎีกาของพนักงานอัยการตามกฎหมายต่างประเทศ เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมของกลไกในการตรวจสอบดุลพินิจของพนักงานอัยการในการออกคำสั่งไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกาของระบบกฎหมายไทย</p> ธนิต สมร เสนีย์สุทรกุล Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-22 2024-01-22 259 313 10.14456/mfulj.2024.7 ปัญหาเกี่ยวกับที่ดินของวัดตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/2099 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับที่ดินของวัด ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 โดยศึกษาที่วัดและที่ซึ่งขึ้นต่อวัด การได้มาซึ่งที่ดินของวัด ผลทางกฎหมายของการเป็นที่ของวัดซึ่งได้รับการคุ้มครองให้การโอนจะกระทำได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ ห้ามยกอายุความขึ้นต่อสู้ กับวัดหรือสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติและที่ดินของวัดไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ตลอดจนปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินของวัด อันได้แก่ ปัญหาสถานะที่ดินของวัดว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ปัญหาการอุทิศที่ดินให้วัดจะมีผลสมบูรณ์นับแต่แสดงเจตนาเช่นเดียวกับการอุทิศให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ และปัญหาว่าวัดจะแย่งการครอบครองหรือแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินของเอกชนได้หรือไม่ ปัญหาเหล่านี้ควรแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้ชัดเจน กล่าวคือที่ดินของวัดมีลักษณะเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินซึ่งสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับการพระศาสนา จึงควรให้ถือว่าที่ดินของวัดเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทหนึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 เพื่อมิให้มีปัญหาการตีความอีกต่อไป กรณีการอุทิศที่ดินให้วัดควรบัญญัติให้มีผลสมบูรณ์นับแต่แสดงเจตนาเช่นเดียวกับการอุทิศให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โดยไม่จำต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนก่อนแต่อย่างใด และกรณีการแย่งการครอบครองหรือแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินของเอกชน เป็นการกระทำที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของวัด จึงควรบัญญัติห้ามมิให้ที่ดินของวัดได้มาโดยแย่งการครอบครองหรือแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินของเอกชน</p> วิกรณ์ รักษ์ปวงชน ภัฏฐิญา สิริบวรพิพัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-22 2024-01-22 16 42 10.14456/mfulj.2024.1 เจตนารมณ์และผลสัมฤทธิ์ขององค์การมหาชนในประเทศไทย: พัฒนาการ และความเปลี่ยนแปลง https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/2140 <p>องค์การมหาชนเป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดทำบริการสาธารณะ เป็นที่รับรู้และเข้าใจว่าเป็นหน่วยงานที่มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ แตกต่างจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า องค์การมหาชนมีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนมาตั้งแต่ก่อนจัดระบบองค์การมหาชน มีความคาดหวังในการวัดผลสัมฤทธิ์ขององค์กรให้แตกต่างจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ แม้ว่าจะมีพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลง แต่เจตนารมณ์และความคาดหวังต่อผลสัมฤทธิ์ยังคงไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไป ความต้องการของประชาชนให้องค์การมหาชนสามารถจัดทำบริการสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งเป็นความคาดหวังที่แจ่มชัดขึ้น โดยมีหลักการสำคัญทางกฎหมายมหาชนที่อาจสะท้อนความเป็นองค์การมหาชนได้ คือ หลักบริการสาธารณะ หลักความเป็นอิสระ หลักความเป็นนิติบุคคล หลักความมีประสิทธิภาพ หลักความคล่องตัว และหลักความรับผิดชอบ ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นหลักการเบื้องหลังของการจัดตั้งหน่วยงานลักษณะนี้ ดังนั้น หากมีการสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจต่อความเป็นองค์การมหาชน รวมถึงมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายโดยกำหนดให้มีมาตรการหรือมาตรฐานกลางให้องค์การมหาชนต้องปฏิบัติจนสามารถวัดผลสัมฤทธิ์ได้ครบถ้วนตามหลักการสำคัญดังกล่าว จะส่งผลให้องค์การมหาชนสามารถจัดทำภารกิจในการบริการสาธารณะเพื่อประเทศชาติและประชาชนได้อย่างแท้จริง</p> วัชระ กลิ่นสุวรรณ สมพงษ์ แซ่ตัน เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-22 2024-01-22 43 76 10.14456/mfulj.2024.2 ข้อสังเกตบางประการต่อการส่งและนำกลับคืนวัตถุอวกาศภายใต้กฎหมายอวกาศแห่งชาติฉบับปัจจุบันของประเทศออสเตรเลีย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/2305 <p>ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจด้านอวกาศที่มีการเริ่มต้นดำเนินกิจการอวกาศมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่ตอนกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในปัจจุบันอุตสาหกรรมอวกาศในประเทศออสเตรเลียมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในด้านเงินทุน และการจัดตั้งองค์การอวกาศออสเตรเลียขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลกิจการอวกาศภายในประเทศ โดยในปี ค.ศ. 2015 รัฐบาลออสเตรเลียได้ทำการทบทวนภาพรวมของอุตสาหกรรมอวกาศภายในประเทศ รวมถึงพระราชบัญญัติกิจการอวกาศ ค.ศ. 1998 ซึ่งเป็นกฎหมายกำกับดูแลการดำเนินกิจการอวกาศแห่งชาติที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ทั้งนี้ด้วยเหตุผลทางด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศภายในประเทศที่มีความก้าวหน้าล้ำสมัยจากเมื่อครั้งที่กฎหมายฉบับนี้เริ่มมีการประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1998 เป็นอย่างมาก ซึ่งการทบทวนครั้งนี้ นำไปสู่การประกาศใช้กฎหมายกำกับดูแลการดำเนินกิจการอวกาศฉบับใหม่ ได้แก่ พระราชบัญญัติอวกาศว่าด้วยการส่งและนำกลับคืน ค.ศ. 2018 นอกจากนี้ออสเตรเลียยังได้ประกาศใช้กฎหมายลำดับรองอีกจำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ กฎเกณฑ์อวกาศทั่วไปว่าด้วยการส่งและนำกลับคืน ค.ศ. 2019, กฎเกณฑ์อวกาศว่าด้วยการส่งและนำกลับคืนโดยใช้จรวดกำลังส่งสูง ค.ศ. 2019 และกฎเกณฑ์อวกาศว่าด้วยการประกันภัยด้านการส่งและนำกลับคืน ค.ศ. 2019 บทความฉบับนี้จะได้อธิบายถึงสาระสำคัญพระราชบัญญัติอวกาศว่าด้วยการส่งและนำกลับคืน ค.ศ. 2018 และกฎหมายลำดับรองในส่วนที่เกี่ยวข้องในภาพรวม โดยการวิเคราะห์ถึงมุมมองทางกฎหมายในมิติของความสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศซึ่งออสเตรเลียเข้าเป็นภาคีตามสนธิสัญญาด้านอวกาศของสหประชาชาติ</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong>: การดำเนินกิจการอวกาศ, การกำกับดูแล, กฎหมายอวกาศแห่งชาติ, ออสเตรเลีย</p> สุวิจักขณ์ จันดาพันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-22 2024-01-22 77 120 10.14456/mfulj.2024.3 มุมมอง หลักคิด และแนวทางเกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/2208 <p>วัตถุประสงค์ของบทความนี้ต้องการศึกษา 2 ปัจจัยที่มีผลต่อการขอตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ ได้แก่ ปัจจัยภายใน เช่น ทัศนคติ แรงจูงใจ และการพัฒนาตนเองของอาจารย์ และปัจจัยภายนอก เช่น นโยบาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ กระบวนการ ของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ ผู้เขียนพบว่า ปัจจัยภายในเป็นอุปสรรคในการขอตำแหน่งทางวิชาการมากกว่าปัจจัยภายนอก เพราะขาดกลไกที่ส่งเสริมปัจจัยภายใน ส่วนปัจจัยภายนอกเป็นปัจจัยที่สถิต จึงเป็นอุปสรรคน้อยกว่า ดังนั้น เพื่อบรรลุเป้าหมายในด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านงานวิจัยทางวิชาการและการสร้างนวัตกรรม มหาวิทยาลัยจะต้องใช้กลไกที่เป็นการส่งเสริมทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกไปกระตุ้นให้อาจารย์ขอตำแหน่งทางวิชาการ</p> เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-22 2024-01-22 314 332 10.14456/mfulj.2024.8 การแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยากรณีการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล: ข้อสังเกตเปรียบเทียบกฎหมายประเทศออสเตรเลีย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/2655 <p>บทความนี้เกิดขึ้นจากการที่ผู้เขียนได้ศึกษาหลักกฎหมายครอบครัวประเทศออสเตรเลียที่มีหลักการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่น่าสนใจ คือ ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีอาจใช้ดุลพินิจแบ่งทรัพย์สินแก่สามีภริยาในสัดส่วนที่ไม่เท่ากันก็ได้หากข้อเท็จจริงปรากฏจากปัจจัยต่าง ๆ ทำให้เห็นว่าการแบ่งเท่ากันอาจไม่เป็นธรรมกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ปัจจัยหนึ่งคือหลักการทำมาหาได้ซึ่งนำเอางานดูแลที่ไม่มีค่าตอบแทน (unpaid care work) เช่น งานบ้าน งานเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น มาเป็นฐานในคำนวณว่าสามีหรือภริยามีส่วนในการทำให้ทั้งสองฝ่ายได้มาซึ่งทรัพย์สินระหว่างสมรสมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้กฎหมายยังให้ผู้พิพากษาคำนึงถึงพฤติการณ์ในอนาคตหลังการหย่าโดยเฉพาะสวัสดิภาพของบุตรมาคำนึงประกอบด้วย ต่างจากหลักการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามหลักกฎหมายปัจจุบันของประเทศไทยกรณีการหย่าโดยคำพิพากษาของศาลที่กฎหมายกำหนดเพียงแต่ให้ผู้พิพากษาพิพากษาให้แบ่งสินสมรสแก่สามีภริยาในสัดส่วนที่เท่ากัน นำมาสู่การตั้งคำถามว่าเหตุใดกฎหมายของทั้งสองประเทศมีหลักการแบ่งทรัพย์สินแตกต่างกัน และหลักการแบ่งสินสมรสให้สามีภริยาได้ส่วนเท่ากันโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยหรือพฤติการณ์อื่นด้วยนั้นเป็นการแบ่งที่เป็นธรรมหรือไม่ อย่างไร</p> ภรณี เกราะแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-22 2024-01-22 333 356 10.14456/mfulj.2024.9