วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ <div><strong>วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง</strong> จัดทำโดย สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความที่มีคุณภาพสูงในด้านนิติศาสตร์ทุกสาขาวิชา โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย และนักวิชาการทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง</div> th-TH natdanai.nac@mfu.ac.th (Ajarn Natdanai Nachan) jatuporn.chu@mfu.ac.th (Miss Jatuporn Chummano (Manager)) Wed, 15 Jan 2025 12:52:32 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ข้อวิจารณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในเรื่องเสรีภาพในการพูดและเสรีภาพในการแสดงออกต่อร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/4078 <p>อาชญากรรมไซเบอร์เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติและภูมิภาค อาชญากรรมไซเบอร์มีหลากหลายประเภทและภัยทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามการพัฒนาของเทคโนโลยี ซึ่งประเทศต่าง ๆ เคยได้ร่วมกันแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะสหภาพยุโรปได้มีการตกลงทำอนุสัญญาว่าด้วยอาชญากรรมไซเบอร์ อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมไซเบอร์ยังเป็นปัญหาที่ทุกประเทศต่างเผชิญอยู่ในปัจจุบัน องค์การสหประชาชาติจึงมีแนวคิดในการทำกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อเจรจาอนุสัญญาเพื่อต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อวัตถุประสงค์ในการกระทำความผิดทางอาญา อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนในร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ยังเป็นข้อที่ประชาคมโลกกังวล โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการพูดหรือการแสดงออก โดยมีประเด็นปัญหาต่อร่างอนุสัญญากล่าวคือ ปัญหาเรื่องคำจำกัดความ ขอบเขต การยกเว้นการกระทำผิดของเด็ก การค้นและยึดข้อมูลที่เก็บไว้ และเงื่อนไขและการคุ้มกันสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศและความช่วยเหลือทางกฎหมาย ซึ่งสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและองค์กรไม่แสวงหากำไรอื่น ๆ แนะนำให้มีการอ้างอิงอย่างชัดเจนถึงสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง การมีข้อกำหนดการปกป้องหลักสิทธิมนุษยชน มีขอบเขตที่ชัดเจนและเป็นไปอย่างแคบของความผิดทางอาญาภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยอาชญากรรมทางไซเบอร์ มีการยกเว้นการกระทำผิดของเด็ก และบทบัญญัติที่ชัดเจนเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้มาตรการในทางที่มิชอบ</p> โชคชัย เนตรงามสว่าง, สุรวิช อคินธนโชติ Copyright (c) 2025 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/4078 Wed, 15 Jan 2025 00:00:00 +0700 ปัญหาในการบังคับจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภายใต้ข้อบทเรื่องบริการส่วนบุคคลที่เป็นอิสระ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/3738 <p><span style="font-weight: 400;">การจัดเก็บภาษีจากบริการส่วนบุคคลที่เป็นอิสระเป็นประเด็นที่มีความยุ่งยากในการพิจารณาจัดเก็บภาษีตามกฎหมายภายในประเทศไทยและยิ่งเผชิญความซับซ้อนยิ่งขึ้นเมื่อต้องพิจารณาประกอบกับอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ ระหว่างประเทศ บทความนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีถิ่นที่อยู่ต่างประเทศและเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้ประมวลรัษฎากรไทยและการบังคับใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนฯ ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึง</span><span style="font-weight: 400;">ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความไม่ชัดเจน และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายภาษีในปัจจุบัน รวมทั้งเสนอแนะถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาเหล่านี้</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">ปัญหาในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามบทบัญญัติในประมวลรัษฎากรของประเทศไทย เริ่มต้นจากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องจำแนกประเภทของเงินได้ตามมาตรา 40 ซึ่งเงินได้ที่บุคคลได้รับนั้นถือเป็นเงินได้ประเภทใดจะไปมีความสัมพันธ์กับเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับกรณีการให้บริการของบุคคลธรรมดานี้หากได้มีการดำเนินการโดยบุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 ซึ่งผู้เสียภาษีจะเผชิญกับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจากบทบัญญัติกฎหมายที่ไม่ชัดเจน ในส่วนของอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ บทความนี้จะมุ่งเน้นไปที่ข้อบทที่ 14 เรื่องการให้บริการส่วนบุคคลที่เป็นอิสระตามโครงร่างอนุสัญญาภาษีซ้อนของ UN ซึ่งจะวิเคราะห์ถึงการบังคับใช้และสภาพของปัญหาที่เกิดขึ้น ประกอบกับการเปรียบเทียบการบังคับใช้กับโครงร่างต้นแบบอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ ของ OECD ซึ่งไม่มีข้อบทที่ 14 และจะมีผลย้อนกลับไปให้บังคับใช้ข้อบทที่ 5 เรื่องสถานประกอบการถาวรแทน การศึกษาถึงข้อบทเรื่องการให้บริการส่วนบุคคลที่เป็นอิสระภายใต้อนุสัญญาภาษีซ้อนฯ นี้กล่าวถึงความหมายของคำว่า “ฐานประกอบการประจำ” ที่ยังไม่มีแนวทางการตีความที่ชัดเจนในประเทศไทย รวมทั้งเงื่อนไขและหลักเกณฑ์อื่นที่ปรากฏตามอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ เช่น ประเด็นเรื่องการนับระยะเวลา ประเด็นการตีความบังคับกรณีเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ </span></p> <p><span style="font-weight: 400;">การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับการบังคับจัดเก็บภาษีเงินได้จากการให้บริการส่วนบุคคลที่เป็นอิสระภายใต้กฎหมายรัษฎากรของประเทศไทย และอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ</span><span style="font-weight: 400;">​</span><span style="font-weight: 400;"> นั้นอาจต้องทำการปรับปรุงกฎหมายและเพิ่มเติมแนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นธรรมต่อผู้เสียภาษีซึ่งจะมีผลทำให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายภาษีที่มีประสิทธิภาพและลดข้อพิพาทระหว่างประเทศอีกด้วย</span></p> สรรค์ ตันติจัตตานนท์ Copyright (c) 2025 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/3738 Wed, 15 Jan 2025 00:00:00 +0700 การบัญญัติความรับผิดทางอาญาเพื่อป้องกันความเสียหาย: ศึกษากรณีความเหมาะสมของการบัญญัติความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับบัญชีม้า https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/3920 <p>บทความนี้ได้ทำการวิเคราะห์ “ความเหมาะสมของการบัญญัติความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับบัญชีม้า” ภายใต้แนวคิดและหลักการของ “การบัญญัติความรับผิดทางอาญาเพื่อป้องกันความเสียหาย” โดยเป็นการวิเคราะห์ความเหมาะสมทั้งในเชิงเนื้อหา (content) และในเชิงรูปแบบ (format) กล่าวคือ ในเชิงเนื้อหาได้ทำการวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมในการที่รัฐตราบทบัญญัติเกี่ยวกับบัญชีม้าขึ้นมา และในเชิงรูปแบบได้ทำการวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมในการที่รัฐเลือกที่จะตราบทบัญญัติเกี่ยวกับบัญชีม้าไว้ในพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ผลการวิเคราะห์พบว่า การที่รัฐตราบทบัญญัติเกี่ยวกับบัญชีม้าขึ้นมาเป็นการเฉพาะมีความเหมาะสมแล้ว เนื่องจาก (1) บัญชีม้ามีความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดภยันตรายขึ้นในอนาคต (2) บัญชีม้ามีลักษณะที่น่าตำหนิ (3) บัญชีม้าจะนำไปสู่ภยันตรายต่อส่วนรวม และ (4) การบัญญัติความรับผิดทางอาญาสำหรับบัญชีม้าคือมาตรการสุดท้าย และการที่รัฐตราบทบัญญัติเกี่ยวกับบัญชีม้าไว้ในพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 มีความเหมาะสมแล้ว เนื่องจากสถานการณ์และความรวดเร็วของเทคโนโลยีในช่วงเวลานั้น (พ.ศ. 2566) เป็นกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ที่จะต้องตราบทบัญญัติเกี่ยวกับบัญชีม้าขึ้นมาเป็นการเฉพาะในรูปแบบ “พระราชกำหนด” เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยของสาธารณะ และความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ</p> นิรัฐกานต์ บุญรอด, วิวรรธน์ ดำรงค์กุลนันท์ Copyright (c) 2025 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/3920 Wed, 15 Jan 2025 00:00:00 +0700 ปัญหาการใช้มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมและแก้ไข ฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือตอนบน https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/3911 <p><span style="font-weight: 400;">ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ทั้งในด้านสุขภาพ อนามัย และการดำเนินชีวิต ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามอย่างหนึ่งที่กระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน โดยในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน ของทุกปี จะเกิดฝุ่น PM 2.5 ในปริมาณที่สูง อันเนื่องมาจากปัญหาไฟป่า การเผาในพื้นที่เกษตร และฝุ่นควันข้ามแดน เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ของภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงและมีที่ราบคล้ายแอ่งกระทะ จึงทำให้ฝุ่นละอองไม่แพร่กระจายและสามารถแขวนลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศได้นานโดยไม่ตกลงสู่พื้นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาหมอกควันข้ามแดนที่มีต้นเหตุมาจากการกระทำนอกราชอาณาจักร ส่วนหนึ่งมาจากภาคเอกชนของไทยที่มีส่วนสนับสนุนการทำเกษตรทั้งในภาคเหนือตอนบนและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายใดที่จะบังคับการกระทำที่ก่อให้เกิดมลพิษเข้ามาในราชอาณาจักรไทยได้ จากปัญหาที่เกิดขึ้น ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมลงนามในความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษหมอกควันข้ามแดน (ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution) เพื่อให้ประเทศภาคีวิเคราะห์ต้นเหตุ และระดับความรุนแรงของไฟป่าและหมอกควันเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน แต่ด้วยข้อกำหนดและแนวทางการดำเนินงานเป็นพียงการรวมตัวเพื่อบันทึกความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกเท่านั้น ซึ่งไม่มีนัยยะผูกพันทางกฎหมายที่ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด จึงทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาฝุ่นควันข้ามแดนได้อย่างเป็นรูปธรรม</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">จากผลกระทบที่ประชาชนได้รับ ถือเป็นการถูกละเมิดสิทธิในชีวิต และสิทธิในสุขภาพ อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในฐานะสิทธิมนุษยชน ทั้งในกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายในของนานาอารยประเทศ และในปัจจุบันองค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ได้ยกระดับความคุ้มครองสิทธิของประชาชนในด้านสิ่งแวดล้อม โดยประกาศให้การเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน เป็นสิทธิมนุษยชนสากลเทียบเท่าสิทธิขั้นพื้นฐานด้านอื่น แต่อย่างไรก็ตาม ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังไม่ปรากฏความคุ้มครองสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล จึงทำให้ปัญหาการถูกคุกคามสิทธิจากสิ่งแวดล้อมไม่ได้รับการคุ้มครองเท่าที่ควร สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการป้องกันและการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือตอนบน คือ กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีหลายฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับมีการบัญญัติและใช้บังคับมานานจึงทำให้เกิดความล้าหลัง ทั้งในมาตรฐานการกำหนดคุณภาพอากาศที่เปลี่ยนไป และแหล่งกำเนิดมลพิษยังขาดมาตรฐานการควบคุมมลพิษทางอากาศ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบจะกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศที่แตกต่างกัน ทำให้ขาดการบูรณาการในการทำงานและการแก้ปัญหาไม่สามารถดำเนินได้อย่างเป็นระบบและทันท่วงที </span></p> <p><span style="font-weight: 400;">จากข้อเรียกร้องขององค์การสหประชาชาติที่ให้รัฐสมาชิกเร่งความพยายามในการแก้ปัญหา จึงเป็นผลให้ประเทศสมาชิก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้นำหลักการคุ้มครองสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าวไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของตนเอง เพื่อคุ้มครองพลเมืองของรัฐให้พ้นจากการถูกคุกคามจากภัยธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติกฎหมายอากาศสะอาด (Clean Air Act) เพื่อใช้บังคับในการแก้วิกฤตมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจนประสบความสำเร็จ สำหรับมาตรการทางกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสนั้น ได้มีการบัญญัติกฎหมายสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นการเฉพาะ และภายหลังได้นำกฎหมายดังกล่าวไปบัญญัติแนบท้ายรัฐธรรมนูญให้มีสถานะเป็นสิทธิขึ้นพื้นฐานอีกประการหนึ่งด้วย สำหรับประเทศไทยหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา จึงได้ผลักดันร่างพระราชบัญญัติอากาศสะอาดขึ้นมารวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ โดยเฉพาะร่างพระราชบัญญัติกำกับดูแลการจัดการอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพแบบบูรณาการ พ.ศ. .... ที่ได้ถูกเสนอโดยภาคประชาชนจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 22,000 รายชื่อ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า มีหลักการที่คล้ายคลึงกับกฎหมายอากาศสะอาด (Clean Air Act) ของสหรัฐอเมริกา ที่ได้ใช้บังคับใช้ในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือตอนบนอย่างเป็นรูปธรรม และให้ประชาชนชาวไทยได้รับความคุ้มครองสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม จึงสมควรตรากฎหมายสำหรับแก้ปัญหามลพิษทางอากาศขึ้นมาเป็นการเฉพาะ โดยกำหนดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศโดยตรง มีคณะทำงานซึ่งขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเร่งด่วน มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปยังภูมิภาค และกำหนดพื้นที่เฉพาะที่มีปัญหามลพิษทางอากาศเป็นประจำทุกปีและมีค่าฝุ่นละอองที่เกินมาตรฐานกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อเฝ้าระวังและกำหนดแผนการดำเนินงานที่แตกต่างไปจากพื้นที่ทั่วไป นอกจากนี้ เพื่อให้สิทธิด้านสิ่งแวดล้อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรฐานสากล จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย โดยเพิ่มเติมบทบัญญัติ ให้บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะดำรงชีวิตด้วยอากาศที่สะอาด โดยไม่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพ และต้องไม่เสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากมลพิษในอากาศ โดยปราศจากการกระทำละเมิดไม่ว่าจากบุคคลหรือจากหน่วยงานของรัฐ</span></p> ศศิธร แจ่มจันทร์ Copyright (c) 2025 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/3911 Wed, 15 Jan 2025 00:00:00 +0700 สัญญาระหว่างสมรส : ข้อจำกัดเกี่ยวกับช่วงเวลาภายใต้ระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามสัญญาของประเทศไทย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/4047 <p>โดยทั่วไป ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสย่อมเป็นไปตามกฎหมายครอบครัว หรือที่เรียกว่า “ระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามกฎหมาย” แต่คู่สมรสแต่ละคู่ย่อมมีข้อเท็จจริงที่แตกต่างกันไปจนเป็นเหตุให้ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามกฎหมายอาจไม่เหมาะสมกับคู่สมรสบางคู่ จึงต้องเปิดโอกาสให้คู่สมรสมีเสรีภาพในการทำสัญญาร่วมกันเพื่อกำหนดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างกันได้ด้วย หรือที่เรียกว่า “ระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามสัญญา” ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสมีกฎหมายเป็นบ่อเกิดลำดับแรกและสัญญาเป็นบ่อเกิดลำดับรอง ในระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามสัญญาของต่างประเทศ ทั้งสัญญาก่อนสมรส และสัญญาระหว่างสมรสต่างมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม แม้ระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามสัญญาของประเทศไทยประกอบไปด้วยสัญญาก่อนสมรสและสัญญาระหว่างสมรสเช่นเดียวกัน แต่กลับมีเพียงสัญญาก่อนสมรสเท่านั้นที่มีเนื้อหาในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามกฎหมาย เนื่องจากสัญญาระหว่างสมรสมีเนื้อหาในการกำหนดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเฉพาะเรื่องซึ่งเกิดเป็นข้อจำกัดเกี่ยวกับช่วงเวลาในการใช้เสรีภาพในการทำสัญญาของคู่สมรสเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องปรับปรุงบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสัญญาระหว่างสมรสเพื่อขยายขอบเขตช่วงเวลาของระบบทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามสัญญาของประเทศไทย</p> วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์ Copyright (c) 2025 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/4047 Wed, 15 Jan 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาซอฟท์สกิลเพื่อจัดการความเครียดของนักกฎหมาย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/4103 <p>บทความวิจัยเรื่อง การพัฒนาซอฟท์สกิลเพื่อจัดการความเครียดของนักกฎหมาย มีวัตถุประสงค์ในการเสนอแนวทางในการใช้ทักษะ Soft Skills การจัดการความเครียดของนักกฎหมาย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านการศึกษาเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) คณะผู้วิจัยพบว่า การจัดการความเครียดของผู้ประกอบวิชาชีพนักกฎหมายเป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากนักกฎหมายต้องเผชิญกับความกดดันและความเครียดที่สูงจากลักษณะงานที่ซับซ้อนและมีความรับผิดชอบสูง รวมถึงต้องรับมือกับผู้ที่กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับคดีความและข้อพิพาทต่าง ๆ การพัฒนา Soft Skill แก่นักกฎหมาย โดยเฉพาะตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนกฎหมายเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาความสามารถในการจัดการกับความเครียดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน นอกจากนี้ ยังมุ่งศึกษาแนวทางที่มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษากฎหมายชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้ในการพัฒนาทักษะในการบริหารจัดการความเครียดของนักเรียนกฎหมาย ตัวอย่างเช่น หลักสูตร "Mindfulness for Law Students" จาก University of California Berkeley และหลักสูตร "Law Student Wellness Program" จาก Georgetown University Law Center รวมถึงรายวิชาเกี่ยวกับ Mindfulness Program ที่ University of Toronto ที่มีหลักสูตรการลดความเครียดด้วยการฝึกการรู้สึกตัว (Mindfulness-Based Stress Reduction (MBSR) Courses) และการบูรณาการการฝึกสติตามหลักปฏิบัติของพระพุทธศาสนาในการจัดการความเครียดของนักกฎหมาย จากการวิจัยพบว่าโรงเรียนสอนกฎหมายในประเทศไทยนั้นสามารถนำแนวทางการบริหารจัดการความเครียดจากต่างประเทศมาประยุกต์ใช้เพราะจะทำให้นักเรียนกฎหมายมีแนวทางและมีโอกาสได้พัฒนาทักษะที่สำคัญในการบริหารจัดการความเครียดสำหรับใช้การประกอบวิชาชีพกฎหมายในอนาคต รวมถึงเป็นเหมือนภูมิคุ้มกันให้สามารถใช้ชีวิตการทำงาน การเรียน และชีวิตส่วนตัวได้อย่างมีความสุขอีกด้วย</p> ประภาภรณ์ โรจน์ศิริรัตน์, พิชชา ใจสมคม Copyright (c) 2025 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/4103 Wed, 15 Jan 2025 00:00:00 +0700 ฮิญาบกับการดำรงไว้ซึ่งความเป็นกลางของผู้พิพากษา https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/4153 <p>หลักความเป็นกลางถือเป็นหนึ่งในหลักการสากลที่สำคัญสำหรับผู้พิพากษาในการปฏิบัติหน้าที่ <br />ผู้พิพากษาจำเป็นต้องรักษาหรือดำรงไว้ซึ่งความเป็นกลางและต้องแสดงให้เห็นถึงความเป็นกลางดังกล่าวเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้สาธารณชนทั้งในระดับตัวบุคคลและสถาบัน หลักการนี้ยังเป็นหลักประกันที่สำคัญในการมอบ<br />ความยุติธรรมให้แก่ประชาชนโดยทำให้มั่นใจว่าการพิจารณาพิพากษาคดีจะดำเนินการโดยผู้พิพากษาที่มีความ<br />เป็นกลางและปราศจากอคติ</p> <p>บทความนี้นำเสนอกรณีศึกษาในต่างประเทศซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้พิพากษาหญิง<br />ที่แสดงออกถึงเสรีภาพในการนับถือศาสนาของเธอในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการปะทะกันระหว่าง<br />หลักเสรีภาพในการนับถือศาสนากับหลักความเป็นกลางของผู้พิพากษาในฐานะตัวแทนของรัฐ แม้เรื่องนี้จะเป็นประเด็นอ่อนไหวและยากในการหาสมดุลแต่บทความฉบับนี้มุ่งตั้งคำถามและชวนผู้อ่านค้นหาคำตอบ<br />ผ่านการศึกษาคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐเยอรมนีในประเด็นดังกล่าว ท้ายที่สุดแล้วคำตอบที่ได้<br />อาจไม่จำเป็นต้องมีแค่หนึ่งเดียวเพราะแม้แต่ในโลกตะวันตกประเทศหนึ่งให้การคุ้มครองการใช้เสรีภาพดังกล่าว<br />แต่ในอีกประเทศหนึ่งให้น้ำหนักกับหลักความเป็นกลางซึ่งเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงไปถึงความเป็นกลางของรัฐ <br />แม้ในประเทศไทยยังไม่เคยเผชิญกับประเด็นดังกล่าวในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาก็ตาม แต่ก็เป็นหน้าที่<br />ของนักกฎหมายทุกคนที่อาจตั้งประเด็นให้เกิดการฉุกคิดเพื่อนำไปสู่การพัฒนาในทางวิชาการต่อไปในอนาคต</p> ภรณี เกราะแก้ว Copyright (c) 2025 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/4153 Wed, 15 Jan 2025 00:00:00 +0700 ความรับผิดทางอาญาในขั้นสมคบ ตระเตรียม พยายาม และบรรลุผล https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/3761 <p><span style="font-weight: 400;">โดยปกติแล้วความรับผิดทางอาญามีจุดเริ่มต้นที่ขั้น “พยายาม” และไปสิ้นสุดที่ขั้น “บรรลุผล” อย่างไรก็ดี มีบางกรณีที่ความรับผิดทางอาญามีจุดเริ่มต้นที่ขั้น “ตระเตรียม” และ “สมคบ” บทความนี้ได้นำเสนอเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเชิงนิติศาสตร์เกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาในขั้นสมคบ ตระเตรียม พยายาม และบรรลุผล เช่น ผลทางกฎหมายของการกระทำแต่ละขั้น เมื่อใดที่การกระทำได้ผ่านพ้นขั้นหนึ่งเข้าสู่อีกขั้นหนึ่งแล้ว และเมื่อการกระทำได้ผ่านพ้นขั้นหนึ่งเข้าสู่อีกขั้นหนึ่งแล้วผู้กระทำต้องรับผิดในขั้นใด</span></p> วิวรรธน์ ดำรงค์กุลนันท์ Copyright (c) 2025 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/3761 Wed, 15 Jan 2025 00:00:00 +0700