https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/issue/feed
วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
2025-03-03T11:36:22+07:00
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐ อมรภิญโญ
msudru.journal@udru.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี</strong></p> <p><strong>E-ISSN:</strong> 3056-9125 (Online)</p> <h3><strong><u>กำหนดการเผยแพร่ 6 ฉบับต่อปี</u></strong></h3> <ul> <li>ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์ (กำหนดออกเดือนกุมภาพันธ์)</li> <li>ฉบับที่ 2 มีนาคม – เมษายน (กำหนดออกเดือนเมษายน)</li> <li>ฉบับที่ 3 พฤษภาคม – มิถุนายน (กำหนดออกเดือนมิถุนายน)</li> <li>ฉบับที่ 4 กรกฎาคม – สิงหาคม (กำหนดออกเดือนสิงหาคม)</li> <li>ฉบับที่ 5 กันยายน – ตุลาคม (กำหนดออกเดือนตุลาคม)</li> <li>ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน – ธันวาคม (กำหนดออกเดือนธันวาคม)</li> </ul> <p><strong><span class="TextRun SCXW48558303 BCX8" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="none"><span class="NormalTextRun SCXW48558303 BCX8" data-ccp-parastyle="Normal (Web)">นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : </span></span></strong><span class="TextRun SCXW48558303 BCX8" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="none"><span class="NormalTextRun SCXW48558303 BCX8" data-ccp-parastyle="Normal (Web)">วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการในกลุ่มสาขาต่าง ๆ ดังนี้</span></span></p> <ul> <li>บริหารธุรกิจ</li> <li>การจัดการทั่วไป</li> <li>นิเทศศาสตร์</li> <li>การบัญชี</li> <li>เศรษฐศาสตร์</li> <li>การจัดการการโรงแรมและการท่องเที่ยว</li> <li>สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</li> </ul> <p><span class="TextRun SCXW48558303 BCX8" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="none"><span class="NormalTextRun SCXW48558303 BCX8" data-ccp-parastyle="Normal (Web)">ซึ่งเป็นผลงานจากบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีและผู้เขียนจากหน่วยงานภายนอก เพื่อเป็นการเผยแพร่และส่งเสริมการนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ รวมทั้งเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และบุคคลทั่วไป โดยบทความที่ได้รับการตีพิมพ์นั้น ล้วนผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะศาสตร์</span></span></p>
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/2761
พัฒนาการและพลวัตของวิสาหกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสังคมในประเทศไทย
2024-07-11T11:35:15+07:00
อัษฎากรณ์ ฉัตรานันท์
lekanayok1@gmail.com
ประกอบศิริ ภักดีพินิจ
prakobsirip@hotmail.com
วารัชต์ มัธยมบุรุษ
warachm@gmail.com
สุริยา ส้มจันทร์
somchanup@gmail.com
<p>การศึกษาพัฒนาการและพลวัตของการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสังคมในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Documentary research) จำนวน 40 ฉบับ และสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียจากภาครัฐ เอกชน และการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT) ต้นแบบที่ได้รับรองเป็นกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย รวมจำนวน 10 คน โดยมีคุณสมบัติสำคัญ คือ เป็นผู้บริหารระดับนโยบายของการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT) และวิสาหกิจเพื่อสังคม (SE) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์เอกสารหรือการวิเคราะห์เนื้อหา (Documentary or Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการและพลวัตของวิสาหกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสังคมในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2512-2534) เป็นช่วงก่อตัวของแนวคิดกิจการเพื่อสังคม โดยเฉพาะโครงการในพระราชดำริ ซึ่งมีสถาบันพระมหากษัตริย์และกลุ่มชนชั้นนำในการขับเคลื่อน อันมีแรงผลักสำคัญมาจากปัญหาความยากจนและปัญหายาเสพติด ระยะที่ 2 (พ.ศ.2535-2544) เป็นช่วงที่มีการนำการท่องเที่ยวไปเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน ซึ่งขับเคลื่อนโดยองค์กรไม่แสวงหากำไรในรูปแบบมูลนิธิต่าง ๆ แรงผลักที่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงนี้คือวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลก จนต่อมาได้เกิดรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมหลังช่วงวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง โดยมีองค์กรภาครัฐและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นผู้ขับเคลื่อนหลัก ระยะที่ 3 (พ.ศ.2544-2554) เป็นช่วงวางรากฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT) และส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม (SE) ทั่วประเทศ โดยมีภาควิชาการเข้ามาร่วมสร้างองค์ความรู้ CBT อย่างโดดเด่น แรงผลักสำคัญมาจากแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม ระยะที่ 4 (พ.ศ.2556-ปัจจุบัน) เป็นช่วงยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน โดยมีสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) ร่วมกับ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (อพท.) กรมการท่องเที่ยว และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมออกแบบโจทย์การพัฒนากับ CBT ในระดับพื้นที่จริง จนเกิดวิสาหกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสังคม (CBT-SE) แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งความสำเร็จนี้เกิดจากการที่รัฐบาลกำหนดนโยบายอย่างชัดเจน พร้อมทั้งขับเคลื่อนการตราพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมจนสำเร็จ และตั้งหน่วยงานสนับสนุนภาครัฐ ที่เน้นความร่วมมือจากภาคเอกชนและประชาสังคม ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/2426
แนวทางการกำหนดกลยุทธ์ของผู้ประกอบการแปรรูปอาหารจากเนื้อสุกรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น
2024-07-11T11:01:36+07:00
สิริรัตน์ ทองดี
Siriratt@kkumail.com
อารีย์ นัยพินิจ
arekul@kku.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารแปรรูปจากเนื้อสุกรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น 2.) เพื่อศึกษาแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ของผู้ประกอบการแปรรูปอาหารจากเนื้อสุกรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงผสม ( Mixed Method Research ) โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการแปรรูปอาหารจากเนื้อสุกรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ T-Test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสุกรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นได้แก่ ปัจจัยด้านคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านราคา และปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ตามลำดับ แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ของผู้ประกอบการแปรรูปอาหารจากเนื้อสุกรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นควรเลือกใช้กลยุทธ์ ประกอบด้วย 1) เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายในตลาดออนไลน์เพิ่มมากยิ่งขึ้น 2) เปิดช่องทางการแสดงความคิดเห็น 3) ใช้เทคโนโลยีการผลิตสร้างเครือยข่ายจำหน่ายสินค้า 4) เพิ่มการชำระเงินให้มีหลากหลายมากขึ้น 5) เลือกซื้อวัตถุดิบที่ใกล้แหล่งผลิต 6) พัฒนาสายการผลิตให้ได้ผลผลิตที่รวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด 4Ps ได้แก่ ปรับปรุงให้ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย กำหนดราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า การส่งเสริมการตลาดโดยการลดราคาสินค้าในโอกาสต่าง ๆ เพิ่มช่องทางจำหน่ายตามร้านค้าสมัยใหม่ ร้านค้าสะดวกซื้อ หรือร้านจำหน่ายของฝากและออนไลน์ จากการทดสอบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศกับพฤติกรรมของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากเนื้อสุกร พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศที่แตกต่างกันส่งผลต่อปริมาณการซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากเนื้อสุกรของผู้บริโภคแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3990
การพัฒนาระบบบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ วิสาหกิจชุมชนสวนทิพย์ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
2025-02-27T10:13:53+07:00
ชวลิต ยศสุนทร
aj.chawalit@gmail.com
ชรินทร์ญา หวังวัชรกุล
charinya.wan@lru.ac.th
สุนันทา รัตนสุนทร
sununta42130@gmail.com
เสาวภา เนธิบุตร
saowaphasaomild2801@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ วิสาหกิจชุมชนสวนทิพย์ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย 2) ประเมินคุณภาพระบบบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ วิสาหกิจชุมชนสวนทิพย์ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ วิสาหกิจชุมชนสวนทิพย์ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย มีกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ในการประเมินคุณภาพ และลูกค้าและบุคคลทั่วไปจำนวน 400 คน ในการประเมินความพึงพอใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินคุณภาพ 2) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ระบบสามารถช่วยบริหารจัดการข้อมูลสินค้า ข้อมูลประชาสัมพันธ์ กิจกรรมข่าวสาร สร้างโอกาสให้ถึงนักท่องเที่ยวหรือลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ที่สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้ เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ช่วยให้กระบวนการขายเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 2) คุณภาพของระบบอยู่ในระดับดีมาก ระบบทำงานได้อย่างถูกต้อง มีฟังก์ชันตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน มีประสิทธิภาพสูง สะดวกและใช้งานง่าย พร้อมทั้งมีมาตรฐานความปลอดภัยสูง 3) ผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อระบบในระดับมากที่สุด ระบบทำงานมีประสิทธิภาพ ประมวลผลข้อมูลถูกต้องและเชื่อถือได้ การออกแบบหน้าจอมีสีสันสวยงาม แสดงรายละเอียดคำสั่งซื้อและสินค้าครบถ้วน ระบบมีความปลอดภัยด้วยการพิสูจน์ตัวตนและช่องทางการชำระเงินที่ปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ใช้ โดยสรุประบบที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ และส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนได้อย่างมีประสิทธิผล</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/4680
การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามนโยบายคุณภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2
2025-03-03T11:36:22+07:00
อดาวัลย์ สโมทาน
Adawan.s@mail.com
นัฎจรี เจริญสุข
Natjaree.j@mail.com
นันทพงศ์ หมิแหละหมัน
Nanthapong.m@mail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ประเมินความเหมาะสมของแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 112 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ใช้การสุ่มอย่างง่าย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 7 คนเครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความสอดคล้อง 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์ต่อการเปลี่ยนแปลง ด้านการทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านการจัดการอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านการตัดสินใจในการแก้ปัญหา ด้านการให้กำลังใจเชิงบวก และด้านการจัดหาทรัพยากรที่เพียงพอ 2) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาตามนโยบายคุณภาพ พบว่า ควรมีการนำเอาแนวทางไปใช้กำหนดเป็นองค์ประกอบของร่างรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการ และสนับสนุนการสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา อันประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย รูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา องค์ประกอบ และตัวชี้วัดของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามนโยบายคุณภาพ และ 3) ความเหมาะสมของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามนโยบายคุณภาพ พบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3332
ผลกระทบของทักษะการใช้โปรแกรมบัญชีสมัยใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพ
2024-07-12T10:04:11+07:00
ธนัญญา วิมูลอาจ
64010981010@msu.ac.th
สลักจิต นิลผาย
Salakjit.n@acc.msu.ac.th
อัครวิชช์ รอบคอบ
phaiboon.r@acc.msu.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของทักษะการใช้โปรแกรมบัญชีสมัยใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพ <strong> </strong>จำนวน 86 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ทักษะการใช้โปรแกรมบัญชีสมัยใหม่ ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคลาวด์ในการเก็บข้อมูล มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ดังนั้น ผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพ ควรให้ความสำคัญกับทักษะการใช้โปรแกรมบัญชีสมัยใหม่ ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ในการเก็บข้อมูล ด้านการประมวลผลรายการค้าสมัยใหม่ และด้านการมุ่งเน้นรายงานทางการเงินเชิงบูรณาการ โดยองค์กรนำผลการวิจัยนี้เป็นข้อมูลในการนำไปใช้ประโยชน์เป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรมบัญชีสมัยใหม่ ในการปรับตัวให้ทันต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน ในด้านความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน ด้านความถูกต้องในการปฏิบัติงาน ด้านความเชื่อถือได้ของงบการเงิน และด้านความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/2686
อิทธิพลของทักษะในการทำงานต่อผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2024-07-11T11:24:56+07:00
ลลิตา พิมทา
lalitapimta@hotmail.com
<p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอิทธิพลของทักษะในการทำงานต่อผลการปฏิบัติงานของกลุ่มตัวอย่างผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (N = 285) มีเพียง 240 คนที่ตอบแบบสอบถามและทำการประเมินระดับทักษะในการทำงานและผลการปฏิบัติงานในแต่ละประเด็นคำถามในแบบสอบถามที่สร้างขึ้น ข้อมูลถูกนำมาวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุเชิงเส้นตรง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทักษะในการทำงานโดยรวม ด้านเทคนิค และด้านความคิดเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และมีผลการปฏิบัติงานโดยรวม ด้านการปฏิบัติงาน ด้านคุณภาพผลงาน และด้านปริมาณผลงานอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ยังพบว่า ทักษะในการทำงานด้านมนุษยสัมพันธ์และด้านความคิดมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3935
การสร้างสมการพยากรณ์ความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
2024-09-24T10:45:41+07:00
กฤษฎา ณ หนองคาย
nkrisda5@yahoo.com
ปราการ พิพัฒน์สูงเนิน
prakarn.ppsn@udru.ac.th
สมศักดิ์ กิจธนวัฒน์
somsak.ki@udru.ac.th
นรเพชร ฟองอ่อน
norapech.fo@udru.ac.th
<p>การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นลูกค้าที่ใช้บริการในเขตพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี เลย หนองบัวลำภู หนองคาย และบึงกาฬ จำนวน 399 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลจากการศึกษา พบว่า คุณภาพการบริการ ได้แก่ การเอาใจใส่ลูกค้า ความเป็นรูปธรรมของบริการ การตอบสนองต่อลูกค้า และการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า เป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ได้แก่ Y = 0.509 + 0.291 (การเอาใจใส่ลูกค้า) + 0.231 (ความเป็นรูปธรรมของบริการ) + 0.207 (การตอบสนองต่อลูกค้า) + 0.153 (การให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า) และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้แก่ Z = 0.296 (การเอาใจใส่ลูกค้า) + 0.212 (ความเป็นรูปธรรมของบริการ) + 0.209 (การตอบสนองต่อลูกค้า) + 0.148 (การให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า)</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/2600
ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งใจใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ในสำนักงานสรรพากรพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
2024-02-23T10:09:30+07:00
สุภารัตน์ แก้วสุทอ
63040501131@udru.ac.th
อภิญญา บุติพันคา
63040501107@udru.ac.th
มนัสนันท์ วรรณโชติ
63040501122@udru.ac.th
รุ่งนภา บาทอง
63040501128@udru.ac.th
สุริสา จัตุชัย
surisa.ja@udru.ac.th
รชต สวนสวัสดิ์
rachata.su@udru.ac.th
ชนัญฎา สินชื่น
chananda.si@udru.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยด้านคุณภาพของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการตั้งใจใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อการตั้งใจใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลต่อการตั้งใจใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เข้ารับบริการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในเขตสำนักงานสรรพากรพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน จากการคำนวณตามสูตรของทาโร่ ยามาเน่ และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.902 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย 1) สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีความคิดเห็นต่อปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> =4.03 , S.D.=0.50) ปัจจัยด้านคุณภาพของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> =3.98 , S.D.=0.51) และการตั้งใจใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> =4.09 , S.D.=0.52) 2) ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย ด้านความคาดหวังในประสิทธิภาพ ด้านความคาดหวังในการใช้งาน ด้านอิทธิพลทางสังคม และด้านสภาพสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน ที่ส่งผลต่อการตั้งใจใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ปัจจัยด้านคุณภาพของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย ด้านคุณภาพของระบบ ด้านคุณภาพของข้อมูลสารสนเทศ และด้านคุณภาพของการบริการ ที่ส่งผลต่อการตั้งใจใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี