วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal <p><strong>วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี</strong></p> <p><strong>E-ISSN:</strong> 3056-9125 (Online)</p> <h3><strong><u>กำหนดการเผยแพร่ 6 ฉบับต่อปี</u></strong></h3> <ul> <li>ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์ (กำหนดออกเดือนกุมภาพันธ์)</li> <li>ฉบับที่ 2 มีนาคม – เมษายน (กำหนดออกเดือนเมษายน)</li> <li>ฉบับที่ 3 พฤษภาคม – มิถุนายน (กำหนดออกเดือนมิถุนายน)</li> <li>ฉบับที่ 4 กรกฎาคม – สิงหาคม (กำหนดออกเดือนสิงหาคม)</li> <li>ฉบับที่ 5 กันยายน – ตุลาคม (กำหนดออกเดือนตุลาคม)</li> <li>ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน – ธันวาคม (กำหนดออกเดือนธันวาคม)</li> </ul> <p><strong><span class="TextRun SCXW48558303 BCX8" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="none"><span class="NormalTextRun SCXW48558303 BCX8" data-ccp-parastyle="Normal (Web)">นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : </span></span></strong><span class="TextRun SCXW48558303 BCX8" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="none"><span class="NormalTextRun SCXW48558303 BCX8" data-ccp-parastyle="Normal (Web)">วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการในกลุ่มสาขาต่าง ๆ ดังนี้</span></span></p> <ul> <li>บริหารธุรกิจ</li> <li>การจัดการทั่วไป</li> <li>นิเทศศาสตร์</li> <li>การบัญชี</li> <li>เศรษฐศาสตร์</li> <li>การจัดการการโรงแรมและการท่องเที่ยว</li> <li>สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</li> </ul> <p><span class="TextRun SCXW48558303 BCX8" lang="TH-TH" xml:lang="TH-TH" data-contrast="none"><span class="NormalTextRun SCXW48558303 BCX8" data-ccp-parastyle="Normal (Web)">ซึ่งเป็นผลงานจากบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีและผู้เขียนจากหน่วยงานภายนอก เพื่อเป็นการเผยแพร่และส่งเสริมการนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ รวมทั้งเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และบุคคลทั่วไป โดยบทความที่ได้รับการตีพิมพ์นั้น ล้วนผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะศาสตร์</span></span></p> คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (Faculty of Management Science, Udon Thani Rajabhat University) th-TH วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 3056-9125 <p><strong>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี</strong></p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้<br />ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน</p> การเบี่ยงบังในการสื่อสารภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ: คำแสดงทัศนภาวะ โครงสร้างที่ขึ้นต้นด้วยอบุรุษสรรพนาม และประโยคเงื่อนไข https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/4019 <p>การศึกษานี้ศึกษาการเบี่ยงบัง หรือการควบคุมระดับของความหมายหรือความตรงของข้อความที่สื่อสาร ในการสื่อสารภาษาอังกฤษทางธุรกิจ โดยมุ่งที่เครื่องมือทางภาษาสามชนิด คือ คำแสดงทัศนภาวะ โครงสร้างที่ขึ้นต้นด้วยอบุรุษสรรพนาม และประโยคเงื่อนไข โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และชี้ให้เห็นว่าเครื่องมือทั้งสามนี้ สื่อความหมายในการสื่อสารทางธุรกิจอย่างไรในฐานะรูปเบี่ยงบัง การอภิปรายใช้วิธีการวิเคราะห์เปรียบเทียบและการแสดงตัวอย่าง การศึกษาทำการวิเคราะห์ประโยคภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาพูดและเขียนจากห้าแหล่งข้อมูล คือ ประโยคที่แต่งขึ้นโดยมีบริบททางธุรกิจเพื่อให้มีความเหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์เพื่อการศึกษาภาษา ตำรา หนังสือ งานวิจัย และสื่อการสอนออนไลน์ ซึ่งเป็นประโยคในสถานการณ์ทางธุรกิจ การศึกษานี้ยังอภิปรายเครื่องมือเพื่อการเบี่ยงบังทั้งสาม ในทางวากยสัมพันธ์และวจนปฏิบัติศาสตร์ (สัญชานและปริพัทธ) ผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่างภาษาอังกฤษที่ใช้ในการสื่อสารในบริบททางธุรกิจที่นำมาอภิปราย มาจากสถานการณ์ ประกอบด้วย การโต้ตอบทางจดหมาย อีเมลโต้ตอบเพื่อรับสมัครงาน ประกาศ การนำเสนอ การบอกแนวโน้มทางธุรกิจ และการดำเนินงานในสำนักงาน การเบี่ยงบังทั้งสามประเภทมีประสทธิผลในสองลักษณะ ประการแรก การช่วยให้เกิดความสุภาพ โดยลดความตรงไปตรงมาในขณะที่ผู้พูดอยู่ในสภาวะที่ต้องทำการเจรจา ยื่นข้อเสนอ ทำข้อตกลง และแจ้งข้อกำหนดทางธุรกิจ ประการที่สอง เครื่องมือเหล่านี้ช่วยลดผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ทางธุรกิจ คือ ความเข้าใจผิด ความเสี่ยง และการไม่เป็นไปตามข้อตกลงในอนาคต โดยการลดทอนความหนักแน่นของการตั้งสมมติฐานและการขจัดความไม่มั่นใจ ผลการศึกษาสนับสนุนการนำรูปเบี่ยงบังทั้งสามที่นำเสนอ มาปรับใช้กับการฝึกการสื่อสารภาษาอังกฤษทางธุรกิจ โดยจะสามารถทำให้ผู้ศึกษามีเครื่องมือเพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในบริบทการทำงาน</p> วรางคณา ชินภาส ขวัญฤดี เคนหาราช แพรวพิลาส ราโชมาศ Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-31 2024-10-31 6 5 88 100 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น การสร้างอัตลักษณ์และมูลค่าเพิ่มด้วยวัฒนธรรมชุมชน แหล่งท่องเที่ยวทะเลบัวแดง https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3661 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหนองหาน-ทะเลบัวแดง และเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นด้วยวัฒนธรรมชุมชน ให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม มีพื้นที่ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ หมู่บ้านเหล่าหมากบ้า หมู่ที่ 7 ตำบลแชแล อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาด้านประวัติความเป็นมา ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว รวมถึงการค้นหาอัตลักษณ์ ใช้วิธีการสำรวจ (Survey) การสังเกตการณ์ (Observation) การสัมภาษณ์ทั่วไป และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพื้นที่ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ประชาชน และนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหนองหาน-ทะเลบัวแดง มี 4 อย่าง ประกอบด้วย ดอกบัวแดง นกพื้นถิ่น ใบบัว และปลาน้ำจืด ซึ่งพบเห็นได้บ่อยในแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ มีความโดดเด่นและสร้างการจดจำให้กับคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกพื้นเมืองได้ 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ พวงกุญแจดอกบัวแดง พวงกุญแจนกเป็ดน้ำ ผ้ารองจานรูปใบบัว และกระเป๋าปลาน้ำจืด โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมานั้น สามารถสื่อให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ได้รับการดูแลและอนุรักษ์จากผู้คนภายในชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทำให้สามารถสร้างรายได้เสริมให้กับผู้คนภายในชุมชนจากการจัดจำหน่ายสินค้าทั้งในช่วงฤดูกาลและนอกฤดูกาลได้ และยังสามารถนำมาประยุกต์ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบอื่นๆ ได้ โดยการใช้ผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่มีอยู่เดิมอย่าง ผ้าฝ้ายทอมือ ที่ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น สามารถยกระดับมูลค่าและสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้</p> นฤพรรณ ตั้งวานิชย์เจริญ ปารนารี บ่ายฤกษ์ดี ณพล ธนาวัชรากุล Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-31 2024-10-31 6 5 1 10 ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการกำกับดูแลกิจการ ค่าตอบแทนคณะกรรมการ กับผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (MAI) https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3316 <p>การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการกำกับดูแลกิจการ ค่าตอบแทนคณะกรรมการกับผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (MAI) โดยรวบรวมข้อมูลงบการเงินแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2564 รวมทั้งสิ้นจำนวน 66 บริษัท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การวิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) คะแนนการกำกับดูแลกิจการไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมและอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 2) คะแนนการกำกับดูแลกิจการมีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตรากำไรสุทธิ และมูลค่าทางตลาด 3) ค่าตอบแทนคณะกรรมการมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตรากำไรสุทธิ และมูลค่าทางตลาด ทั้งนี้ผู้บริหารสามารถนำผลการศึกษาวิจัยไปใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างการจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการให้เหมาะสม โปร่งใสตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อแสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการบริษัทได้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย</p> ชุดาพร สอนภักดี ธาวินี สุขมี พิมพ์ชนก อิทธิพัทธ์วรกุล สรัญญา เอี่ยมอำนวย ชมพูนุช อินทร์ขาว อารียา ผิวเผือด Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-31 2024-10-31 6 5 11 23 รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ยุคดิจิทัล สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/2561 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) ประเมินรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน กลุ่มภาคเหนือ จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามถึงความเหมาะสมและแบบประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยการวิเคราะห์เนื้อหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 18 ท่าน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า </p> <ol> <li>ผู้บริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกเป็นรายส่วน พบว่า ทุกส่วนมีความเป็นไปได้ของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด โดยส่วนที่ 1 องค์ประกอบรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ยุคดิจิทัล มีความเป็นไปได้ของรูปแบบที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาเป็นส่วนที่ 3 กระบวนการพัฒนาสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ยุคดิจิทัล ตามกระบวนการ (POLC) และความเป็นไปได้ของรูปแบบที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ส่วนที่ 2 แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ยุคดิจิทัล เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความเป็นไปได้ของรูปแบบข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ องค์ประกอบการพัฒนาสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ยุคดิจิทัล โดยองค์ประกอบด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านบุคคลแห่งการรอบรู้ รองลงมาเป็นด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม รองลงมาเป็นด้านแบบแผนความคิด รองลงมาเป็นด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม และองค์ประกอบด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ตามลำดับ กระบวนการในการพัฒนาสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ด้วยกระบวนการ POLC มีปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้ 1. การเรียนรู้จากคำวิจารณ์ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำความคิดในการพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ มีความพยายามในการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 2. การหาแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนอื่นทั้งภาครัฐและเอกชนที่พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ได้สำเร็จ 3. การถ่ายทอดความรู้ทั่วทั้งองค์กรได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการสนับสนุนการแสวงหาความรู้ และกระจายองค์ความรู้ต่าง ๆ ระหว่างบุคลากร ทีมงานภายในสถานศึกษา และเครือข่ายสถานศึกษาอาชีวศึกษา ตามลำดับ</li> <li>ในส่วนของความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกเป็นรายส่วน พบว่า ทุกส่วนมีความเป็นประโยชน์ของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด โดยส่วนที่ 1 องค์ประกอบองค์การแห่งการเรียนรู้ยุคดิจิทัล มีความเป็นประโยชน์ของรูปแบบที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาเป็นส่วนที่ 2 แนวทางรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ยุคดิจิทัล และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ส่วนที่ 3 กระบวนการพัฒนาสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ยุคดิจิทัล ตามหลักกระบวนการ (POLC) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความเป็นประโยชน์ของรูปแบบข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ วิธีการพัฒนาสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ยุคดิจิทัล ด้วยกระบวนการ POLC มีปัจจัยที่สำคัญ 3 กระการ ดังนี้ 1. การเรียนรู้จากคำวิจารณ์ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำความคิดในการพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ มีความพยายามในการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 2. การหาแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนอื่นทั้งภาครัฐและเอกชนที่พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ได้สำเร็จ 3. การถ่ายทอดความรู้ทั่วทั้งองค์กรได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการสนับสนุนการแสวงหาความรู้ และกระจายองค์ความรู้ต่าง ๆ ระหว่างบุคลากร ทีมงานภายในสถานศึกษา และเครือข่ายสถานศึกษาอาชีวศึกษาตามลำดับ</li> </ol> เยาวเรศ เมธาวงศ์ โสภา อำนวยรัตน์ สันติ บูรณะชาติ น้ำฝน กันมา Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-31 2024-10-31 6 5 24 35 การพัฒนากระบวนการสร้างนวัตกรรุ่นใหม่แบบคล่องตัว ผ่านการสร้างนวัตกรรมธุรกิจเพื่อการประกวดแข่งขัน https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/2912 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อคิดเห็นของผู้เรียนทั้งก่อนและหลังการใช้กระบวนการสร้างนวัตกรรุ่นใหม่แบบคล่องตัวผ่านการสร้างนวัตกรรมธุรกิจเพื่อการประกวดแข่งขัน 2) พัฒนากระบวนการสร้างนวัตกรรุ่นใหม่แบบคล่องตัวผ่านการสร้างนวัตกรรมธุรกิจเพื่อการประกวดแข่งขัน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 10 คนชุดเดิมทั้งก่อนและหลัง ดำเนินการวิเคราะห์จัดทำเป็นข้อสรุปในประเด็นสำคัญเพื่อนำไปบูรณาการกับแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้มาซึ่งกระบวนการสร้างนวัตกรรุ่นใหม่แบบคล่องตัวผ่านการสร้างนวัตกรรมธุรกิจเพื่อการประกวดแข่งขัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการที่พัฒนาขึ้นทำให้ผู้เรียนมีข้อคิดเห็นที่ดีขึ้นจากเดิมในแง่แรงจูงใจ ความคาดหวังและความต้องการ ปัญหาเดิมได้รับการแก้ไข สภาพแวดล้อมการเรียน และทัศนคติซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับผลลัพธ์เชิงบวกสำหรับการประกวดแข่งขันอีกด้วย นอกจากนี้ผลการวิจัยยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มทักษะความเป็นนวัตกรให้แก่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิผล</p> ณิชยา ศรีสุชาต สุภาพร สังข์ศรีอินทร์ รินธิดา เด่นพิทัตน์ เพชรลดา พูลสวัสดิ์ ณัฐพล นาคสู่สุข Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-31 2024-10-31 6 5 36 51 ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อหอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3588 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวหอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด 2. เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวหอโหวดชมเมืองจังหวัดร้อยเอ็ดกับข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ 3. เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวหอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดกับข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ การสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแตกต่าง ระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระกัน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแตกต่างมากกว่างสองกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวหอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. นักท่องเที่ยวที่มีเพศ อายุ อาชีพและรายได้ที่ต่างกันมีความคาดหวังที่มีต่อการท่องเที่ยว หอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนนักท่องเที่ยวที่มีระดับการศึกษาที่ต่างกันมีความคาดหวังที่มีต่อการท่องเที่ยว หอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดไม่แตกต่างกัน 3. นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวหอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ที่ต่างกันมีการรับรู้ต่อการท่องเที่ยว หอโหวดชมเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</span></p> สิทธิศักดิ์ เตียงงา ศราวุธ ผิวแดง กนกวรรณกรณ์ หลวงวังโพธิ์ Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-31 2024-10-31 6 5 52 63 โมเดลเชิงสาเหตุอิทธิพลของโซเชียลมีเดียที่ส่งผลต่อความตั้งใจเดินท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี: กรณีศึกษา แหล่งท่องเที่ยวคำชะโนด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/3992 <p>การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพข้อคิดเห็น การมีส่วนร่วมของผู้ชม และการรับรู้ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว ที่มีต่อความตั้งใจเดินท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวที่เคยมีประสบการณ์ดู เห็น ฟัง หรืออ่านสื่อเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวคำชะโนดผ่านโซเชียลมีเดีย จำนวน 280 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยความตั้งใจเดินทางท่องเที่ยว ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากการรับรู้ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกจากคุณภาพข้อคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของผู้ชม ตามลำดับ โดยตัวแปรทำนายร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจเดินทางท่องเที่ยวได้ร้อยละ 74</p> สุวัฒนา ดีวงษ์ อรจิตรา มีจันที สุพรรษา ปัญญาทอง Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-31 2024-10-31 6 5 64 74 ปัจจัยกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเจเนอเรชันซี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/4075 <p>นักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชันซี เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในการเดินทางท่องเที่ยวในอนาคตอันใกล้ การตัดสินใจส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลหลักมาจากข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อสร้างสมการพยากรณ์แรงจูงใจในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเจเนอเรชันซี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยว เจเนอเรชันซีจำนวน 442 คน ที่มีอายุระหว่าง 18 – 29 ปี และเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลจากการศึกษา พบว่า ตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 3 ตัวแปร ได้แก่ การขายโดยพนักงานขาย การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมการขาย มีผลกระทบเชิงบวกแรงจูงใจในการท่องเที่ยวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยตัวแปรทำนายในสมการร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของแรงจูงใจในการท่องเที่ยวได้ร้อยละ 21.6 สมการพยากรณ์แรงจูงใจในการท่องเที่ยวคือ</p> <p> สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ</p> <p> Y = 2.738 + 0.175 (การขายโดยพนักงานขาย) + 0.112 (การโฆษณาและประชาสัมพันธ์) + 0.088 (การส่งเสริมการขาย)</p> <p> สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน</p> <p> Z = 0.239 (การขายโดยพนักงานขาย) + 0.156 (การโฆษณาและประชาสัมพันธ์) + 0.134 (การส่งเสริมการขาย)</p> ปิยะภรณ์ ไพทยาภรณ์ สาวิณีย์ พลเยี่ยม Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-31 2024-10-31 6 5 75 87