https://so08.tci-thaijo.org/index.php/VCMBS/issue/feed วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ 2025-03-30T22:22:12+07:00 ดร. กฤษดา เชียรวัฒนสุข vcmbsjournal@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสารฯ ครอบคลุมสาขาวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการโซ่อุปทานและกลยุทธ์ธุรกิจ ได้แก่ สาขาการตลาด การเงิน การบัญชี การจัดการธุรกิจ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ การจัดการโลจิสติกส์ การจัดการอุตสาหกรรม การจัดการการท่องเที่ยวและโรงแรม การโฆษณา การสื่อสารตรา การประชาสัมพันธ์ ธุรกิจดิจิทัล โดยมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ในเชิงการจัดการโซ่อุปทานและกลยุทธ์ธุรกิจ ตลอดจนงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจชุมชนและฐานราก</p> https://so08.tci-thaijo.org/index.php/VCMBS/article/view/4757 การปรับตัวของพนักงานในยุคการปฏิวัติดิจิทัลสีเขียว: โอกาส ความท้าทาย และกลยุทธ์ 2025-03-11T10:57:39+07:00 พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล pashatai.c@rsu.ac.th มรกต จันทร์กระพ้อ morakot.phd@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอโอกาส ความท้าทาย และกลยุทธ์ในการเสริมสร้างการปรับตัวของพนักงานในยุคของการปฏิวัติดิจิทัลสีเขียว การปฏิวัติดิจิทัลสีเขียวเป็นการบูรณาการระหว่างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อองค์การทั้งในด้านการดำเนินงานและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะพนักงานที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงจำเป็นต้องพัฒนาทักษะดิจิทัลและทักษะสีเขียว เพื่อให้มีความพร้อมในการปรับตัวเข้ากับยุคการปฏิวัติดิจิทัลสีเขียว ซึ่งโอกาสของการปฏิวัติครั้งนี้ ได้แก่ การสร้างงานใหม่ การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และการสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน ในขณะที่ความท้าทายที่สำคัญ คือ การปรับตัวของพนักงานต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การขาดทักษะที่จำเป็น และความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการขับเคลื่อนเพื่อการเปลี่ยนผ่านนี้ให้เกิดประสิทธิภาพได้นั้น องค์การควรดำเนินกลยุทธ์ที่หลากหลาย เช่น การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะ การส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ การสนับสนุนความเป็นอยู่และความยืดหยุ่นในการทำงาน รวมถึงการพัฒนาภาวะผู้นำ การจัดการความรู้ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับพันธมิตรภายนอก กลยุทธ์เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการปรับตัวของพนักงานทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์การ เพื่อมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านอย่างยั่งยืนในระยะยาว</p> 2025-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/VCMBS/article/view/4920 21st Century Skills: ทักษะแห่งอนาคตใหม่ 2025-03-30T22:22:12+07:00 บูรยา จันทะคุณ krisada.dba@gmail.com <p>&nbsp;ในฐานะผู้ที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วและเป็นบุคลากรทางการศึกษาคนหนึ่งจึงอยากแนะนำหนังสือเล่มนี้ให้ทุกคนได้อ่าน หนังสือ “21st Century Skills: ทักษะแห่งอนาคตใหม่” เล่มนี้จะทำให้ผู้ที่ได้อ่านเกิดมุมมองแนวคิดในแง่ของการศึกษาแบบใหม่ที่เป็นแนวทางสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนและบุคคลในทุกช่วงวัยสำหรับการเผชิญกับโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและท้าทาย เนื้อหาของหนังสือเน้นไปที่การพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตและการทำงานในยุคที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมกำลังก้าวกระโดดไปข้างหน้า</p> 2025-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/VCMBS/article/view/2894 DEVELOPING A COMPETITIVE ALTERNATIVE ENERGY STRATEGY: A CASE STUDY OF TAIZHOU SANXIN CO, LTD. 2024-04-04T14:27:15+07:00 Ntapat Worapongpat dr.thiwat@gmail.com <p>This study utilizes a mixed-methods approach, using questionnaires and group interviews as data collection tools. The sample group was selected using the cluster sampling method, with a total sample size of 400 participants and a margin of error of 0.05. The data collected from the questionnaires were analyzed using descriptive statistics, including percentages, means, and standard deviations.</p> <p>The results of the analysis indicate the need for strategic planning and the selection of appropriate tools, equipment, and technologies. 1) The stability of the production system contributes to economic expansion, increasing productivity and improving operational efficiency. 2) The overall level of organizational management is at the highest level. Factors such as strategies, systems, and organizational capabilities significantly influence the success of the renewable energy business. And 3) Proactive strategies enable the continuous and rapid development of advanced technologies, increase productivity, reduce production costs, and support labor efficiency while improving the knowledge and skills of employees.</p> 2025-03-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/VCMBS/article/view/4668 EFFECTS OF MOTIVATIONAL FACTORS, HYGIENE FACTORS AND TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP ON THE PERFORMANCE OF GENERATION Y EMPLOYEES IN A HIGH-TECH COMPANY: A CASE STUDY OF XIAOMI GROUP 2025-03-05T17:01:16+07:00 Hengsong Yan hengsong.thongsookcollege@gmail.com Suwisa Plaikaew suwisa.ople@gmail.com <p>The aim of this study is to investigate the influence of motivational factors, hygiene factors and transformational leadership on the performance of Generation Y employees at the Xiaomi Group. The population consisted of Xiaomi Group employees with a total sample size of 360 participants. A questionnaire was used as the primary instrument for data collection. Hypothesis testing was conducted using Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM), with the statistical significance level set at .05.</p> <p>The results showed that motivational factors, hygiene factors and transformational leadership have a statistically significant impact on the performance of Generation Y employees at Xiaomi Group, with a significance level of .001. The structural model showed a predictive power of 54.9%. Based on these results, it is recommended that Xiaomi Group improve promotion opportunities, autonomy, and recognition programs to increase employee motivation. In addition, improvements in organizational policies, compensation and managerial support are essential for maintaining job satisfaction. Strengthening strategic communication, encouraging innovation and fostering mentorship through effective leadership will further optimize employee performance and support the long-term success of the company.</p> 2025-03-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/VCMBS/article/view/4669 FACTORS OF MARKETING MIX AND SERVICE QUALITY ON THE DECISION TO BUY LIFE INSURANCE FROM MINGYA INSURANCE BROKERS CO, LTD. 2025-03-05T16:52:26+07:00 Maomao Gao maomao.thongsookcollege@gmail.com Warrasak Thongsiri wt_engineering@yahoo.com <p>The purpose of this study is to investigate the marketing mix factors that influence the decision to purchase life insurance from Mingya Insurance Brokers Co., Ltd., and the service quality factors that influence the same decision. The study population included consumers who had purchased life insurance from Mingya Insurance Brokers Co., Ltd., with a total sample size of 385 participants. A questionnaire was used as the primary research instrument for data collection. Descriptive statistics such as frequency, percentage, mean and standard deviation were used to analyze the data. In addition, inferential statistics were applied to test the research hypotheses using Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM) to assess the relationships between independent and dependent variables.</p> <p>The results showed that both marketing mix and service quality had a statistically significant influence on the decision to purchase life insurance from Mingya Insurance Brokers Co., Ltd., with a predictive power of 35.2 percent. Based on these results, it is recommended that Mingya Insurance Brokers Co., Ltd. improve product flexibility, promotional strategies and service accessibility while enhancing data security, responsiveness and reliability to increase consumer confidence and promote the decision to purchase life insurance.</p> 2025-03-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/VCMBS/article/view/4742 อิทธิพลของแรงจูงใจในงาน ความสมดุลระหว่างชีวิตและงาน และความพึงพอใจในงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานที่มีอาชีพเสริม 2025-03-13T11:30:16+07:00 ขวัญชนิตร ยุติธรรมนนท์ kwanchanid.y@ku.th อรวี ศรีบุญลือ orawee.sr@ku.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจในงาน ความสมดุลระหวางชีวิตและงาน และความพึงพอใจในงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานที่มีอาชีพเสริม ซึ่งทำงานในบริษัทเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ช่วยส่งเสริมความผูกพันต่อองค์การของพนักงานที่มีอาชีพเสริม การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานบริษัทเอกชนที่มีอาชีพเสริมและทำงานภายในองค์การที่ดำเนินกิจการในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 385 คน สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ในรูปแบบของโมเดลสมการโครงสร้างแบบกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (PLS-SEM)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า แรงจูงใจในงาน มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานที่มีอาชีพเสริม นอกจากนี้ แรงจูงใจในงาน มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสมดุลระหว่างชีวิตและงานและความพึงพอใจในงาน ในขณะที่ความพึงพอใจในงาน และความสมดุลระหว่างชีวิตและงาน มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานที่มีอาชีพเสริม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 สำหรับบทบาทของความสมดุลระหว่างชีวิตและงานในฐานะตัวแปรส่งผ่านระหว่างแรงจูงใจในงานกับความผูกพันต่อองค์การ พบว่า แรงจูงใจในงานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานที่มีอาชีพเสริม ผ่านความสมดุลระหว่างชีวิตและงาน ในขณะที่แรงจูงใจในงานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานที่มีอาชีพเสริม ผ่านความพึงพอใจในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลการวิจัยนี้เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของแรงจูงใจในงานในการเสริมสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพนักงานที่มีอาชีพเสริม</p> 2025-03-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/VCMBS/article/view/4740 ผลกระทบของการสนับสนุนจากองค์กรที่มีต่อความเป็นอิสระในการทำงาน และผลการปฏิบัติงานของพนักงานในสถานที่ทำงานแบบผสมผสาน 2025-03-13T11:49:35+07:00 สุชาดา อุดมวัฒน์วงศ์ suchada.ud@ku.th อรวี ศรีบุญลือ orawee.sr@ku.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการสนับสนุนจากองค์กรที่มีต่อความเป็นอิสระในการทำงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงานในสถานที่ทำงานแบบผสมผสาน การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานในองค์กรรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการนำรูปแบบสถานที่ทำงานแบบผสมผสานมาใช้ จำนวน 275 คน สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ในรูปแบบของโมเดลสมการโครงสร้างแบบกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (PLS-SEM) </p> <p>ผลการวิจัย พบว่า การสนับสนุนจากองค์กรมีผลเชิงบวกต่อความเป็นอิสระในการทำงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงานในสถานที่ทำงานแบบผสมผสานอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ความเป็นอิสระในการทำงานมีผลเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในสถานที่ทำงานแบบผสมผสานอย่างมีนัยสำคัญ และทำหน้าที่เป็นตัวแปรส่งผ่านบางส่วนในผลกระทบของการสนับสนุนจากองค์กรที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในสถานที่ทำงานแบบผสมผสานอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R<sup>2</sup>) เท่ากับ 0.248 ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสนับสนุนจากองค์กร โดยเฉพาะด้านทรัพยากร เทคโนโลยี และนโยบายที่เอื้อต่อการทำงาน รวมไปถึงการส่งเสริมความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานแก่พนักงาน ซึ่งส่งผลเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานแบบผสมผสาน ดังนั้น องค์กรควรให้ความสำคัญกับการสนับสนุนจากองค์กร และความเป็นอิสระในการทำงาน ในการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการของพนักงาน ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป</p> 2025-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ