วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/VCMBS <p>วารสารฯ ครอบคลุมสาขาวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการโซ่อุปทานและกลยุทธ์ธุรกิจ ได้แก่ สาขาการตลาด การเงิน การบัญชี การจัดการธุรกิจ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ การจัดการโลจิสติกส์ การจัดการอุตสาหกรรม การจัดการการท่องเที่ยวและโรงแรม การโฆษณา การสื่อสารตรา การประชาสัมพันธ์ ธุรกิจดิจิทัล โดยมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ในเชิงการจัดการโซ่อุปทานและกลยุทธ์ธุรกิจ ตลอดจนงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจชุมชนและฐานราก</p> สมาคมส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิทยาลัยทองสุข และ โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต เพื่อความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยรามคำแหง th-TH วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ วิธีเอาตัวรอดในวงล้อมคนงี่เง่า https://so08.tci-thaijo.org/index.php/VCMBS/article/view/4037 <p>หนังสือเล่มนี้กล่าวได้ว่าเหมาะสมกับทุกคน ยิ่งหากเป็นคนที่ต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นและต้องรับมือกับความแตกต่างทางความคิด แตกต่างจากปฏิสัมพันธ์ที่หลากหลายรูปแบบ มุมมองจากหนังสือเล่มนี้จะทำให้คุณเข้าใจตัวเองและมีความคิดที่ต่างจากที่เคยคิดเมื่อเจอคนที่เป็นมนุษย์คนละสีกับคุณ เพราะคุณได้ทำความเข้าใจธรรมชาติและวิธีการรับมือกับมนุษย์แต่ละสี คุณจะเข้าใจวิธีการเอาตัวรอดในสังคมที่คุณต้องพบเจอกับผู้คนที่มีนิสัยและความคิดที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว</p> บูรยา จันทะคุณ Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 3 3 41 43 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง: กรณีศึกษานักศึกษาสาขาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเซน https://so08.tci-thaijo.org/index.php/VCMBS/article/view/3402 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลองของนักศึกษาสาขาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเซน และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบของนักศึกษาสาขาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเซน ระหว่างก่อนและหลังจากการจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาสาขาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเซน ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยเกริก จังหวัดกรุงเทพฯ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้อง มีนักศึกษาจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ ประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียน เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย Paired t-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรียนเรื่องการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลองของนักศึกษาสาขาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเซน โดยรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 34.62) และมีนักศึกษาร้อยละ 80 อยู่ในระดับดีเยี่ยมและอยู่ในระดับดีร้อยละ 20 ซึ่งเป็นไป และผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบของนักศึกษาสาขา การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเซน หลังจากการจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลองอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p> ณรงค์ศักดิ์ ล้ำเลิศ วันวิสา วงษาหล้า Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 3 3 1 13 การตลาดออนไลน์เพื่อเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างยั่งยืน โดยนำเสนอด้วยทุนทางวัฒนธรรมของวิสาหกิจชุมชนหุบกะพง จังหวัดเพชรบุรี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/VCMBS/article/view/3904 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางการในปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์สำหรับวิสาหกิจชุมชน และเพื่อเป็นแนวทางในการปรับกลยุทธ์ทางด้านการตลาดออนไลน์ในสื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์สำหรับวิสาหกิจชุมชนได้อย่างเหมาะสม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากสมาชิกวิสาหกิจชุมชนหุบกะพง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 20 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวทางในการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์ สำหรับวิสาหกิจชุมชน คือ การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์แต่ละแพลตฟอร์ม เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ยูทูบ ติกตอก และไลน์ จะช่วยให้วิสาหกิจชุมชนสามารถสร้างการมีส่วนร่วมและความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ซื้อ รวมถึงการปรับปรุงการสื่อสารและการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งขึ้น และ (2) แนวทางในการปรับกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ประกอบไปด้วย การสร้างกลยุทธ์สำคัญสองประการ คือ การสร้างภาพลักษณ์ตราผลิตภัณฑ์ และการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์ ซึ่งสามารถตอบโจทย์ในแง่ของการวางกลยุทธ์ทางการตลาดให้เหมาะสมกับวิสาหกิจชุมชนในยุคดิจิทัลได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ควรใช้สื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์หลายช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภค อีกทั้งควรพัฒนาเนื้อหาที่ใช้สื่อประสม เช่น วิดีโอและกราฟิก เพื่อดึงดูดความสนใจ นอกจากนี้ ควรสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภคเพื่อกระตุ้นการบอกต่อในสื่อออนไลน์ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการสื่อสารจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ</p> นฤศร มังกรศิลา นุจรี บุรีรัตน์ เกษม เขษมพุฒเรืองศรี Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 3 3 14 27 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อสมรรถนะนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ในประเทศไทย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/VCMBS/article/view/3811 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะของนักบริหารที่มีผลต่อสมรรถนะนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ในประเทศไทย (2) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมที่มีผลต่อสมรรถนะนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ในประเทศไทย และ (3) การมีส่วนร่วมที่มีผลต่อสมรรถนะนักบริหารทรัพยากรมนุษย์อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ในประเทศไทย โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานผู้เกี่ยวข้องในฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์จาก 17 โรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะนักบริหารที่ดี ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และการมีส่วนร่วม มีผลเชิงบวกต่อสมรรถนะนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 78 ดังนั้น ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ควรใช้ผลการวิจัยในการพัฒนามาตรฐานคุณสมบัติของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยเน้นที่คุณลักษณะนักบริหารที่ดี ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และการมีส่วนร่วม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร นอกจากนี้ ควรมีการส่งเสริมการพัฒนาทักษะเชิงจริยธรรมของผู้นำและเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและสร้างความยั่งยืนในองค์กร</p> ณัฐฉราลักษณ์รายา คณานุรักษ์ ณัฐพงษ์ แต้มแก้ว สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-09-30 2024-09-30 3 3 28 40