https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/issue/feed วารสารธรรมเพื่อชีวิต : Journal of Dhamma for Life 2024-04-22T22:35:48+07:00 Open Journal Systems <p><strong>วัตถุประสงค์ของวารสาร (Aims of the Journal) </strong></p> <p> วารสารธรรมเพื่อชีวิตเป็นวารสารวิชาการมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อเผยแผ่สาระธรรมของมูลนิธิพุทธศาสนศึกษา 2. เพื่อพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพทางด้านวิชาการและเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) 3. เพื่อเป็นวารสารที่ได้มาตรฐานสำหรับตีพิมพ์ผลงานของสมาชิกมูลนิธิและบุคคลทั่วไป<strong> </strong></p> <p><strong>ขอบเขตเนื้อหาการตีพิมพ์</strong> <strong>(Scope of the Journal)</strong></p> <p> ขอบเขตเนื้อหาที่วารสารเปิดรับ ได้แก่ 1) ด้านพระพุทธศาสนา 2) ด้านปรัชญา ภาษา ศิลปวัฒนธรรม 3) ด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ 4) ด้านเศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ 5) ด้านศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ รวมถึงสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> <p><strong>รูปแบบการการตีพิมพ์</strong><strong> (Process of Publication)</strong></p> <p> กองบรรณาธิการให้ความสำคัญต่อกระบวนการจัดทำวารสาร ตั้งแต่การคัดเลือกบทความ การประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีอย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการ โดยเป็นการประเมินในรูปแบบการปกปิดชื่อผู้ประเมินและผู้เขียน (Double-blind Peer Review) และบทความต้นฉบับต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากกองบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น</p> <p> ทั้งนี้ ผู้เขียนบทความต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนี้อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องตามหลักเกณฑ์ที่วารสารกำหนด ในกรณีกองบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองบทความมีความเห็นว่า ควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิเป็นหลัก และขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ในกรณีที่บทความไม่ตรงกับวัตถุประสงค์และรูปแบบของวารสารนี้ หรือไม่ผ่านการพิจารณาของกองบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ หากบทความใดได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิให้ตีพิมพ์ ผู้เขียนจึงจะได้รับหนังสือรับรองการตีพิมพ์จากวารสาร</p> <p> ข้อความ ตาราง ภาพ กราฟ หรือการแสดงความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารธรรมเพื่อชีวิต ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ ไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารธรรมเพื่อชีวิตแต่อย่างใด <strong> </strong></p> <p><strong><em>ข้อพิจารณาทางจริยธรรม</em><br />• ผู้เขียนจะต้องดำเนินการวิจัยด้วยมาตรฐานสูงสุดในด้านความซื่อสัตย์ และความโปร่งใส โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านจริยธรรมและข้อกำหนดทางกฎหมาย<br />• ผู้เขียนที่เกี่ยวข้องกับอาสาสมัครต้องแน่ใจว่าได้รับความยินยอมโดยแจ้งให้ทราบ โดยมีรายละเอียดลักษณะของการศึกษา ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และผลประโยชน์ ซึ่งรวมถึงการรักษาความลับและการไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าร่วม<br />• หากการวิจัยเกี่ยวข้องกับสัตว์ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม โดยจัดให้มีหลักฐานของการดูแลที่เหมาะสม การปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรม และการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง<br />• ผู้เขียนต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมหรือคณะกรรมการพิจารณาของสถาบันที่เหมาะสม</strong></p> <p><strong>ประเภทของบทความ (</strong><strong>Types of Articles)</strong></p> <p> 1) บทความวิจัย (Original Research Article)</p> <p> 2) บทความวิชาการ (Academic Article)</p> <p> 3) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์ (</strong><strong>Languages)</strong></p> <p> ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>การกำหนดตีพิมพ์ (</strong><strong>Publication Frequency) </strong></p> <p> กำหนดเผยแพร่ปีละ 4 ฉบับ (ราย 3 เดือน)</p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม</p> <p> ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน</p> <p> ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน</p> <p> ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม</p> <p><strong>การชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></p> <p> ให้ผู้แต่งลงทะเบียนและส่งบทความ (Submission) เข้ามาในระบบของวารสารออนไลน์ให้เรียบร้อย และให้ชำระค่าธรรมเนียม บทความละ 3,000 บาท โดยดำเนินการดังนี้</p> <p> 1) โอนเข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) รหัสสาขา 0055 สาขาถนนตากสิน</p> <p> 2) ชื่อบัญชี มูลนิธิพุทธศาสนศึกษา วัดบุรณศิริมาตยาราม เลขที่บัญชี 055-247452-7</p> <p> 3) เมื่อชำระแล้ว ให้ส่งหลักฐานการโอนเงิน (สลิปการโอนเงิน) แนบมาในช่องกระทู้สนทนาในระบบวารสารออนไลน์ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินการต่อไป</p> https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/article/view/2914 การศึกษาการเข้าถึงสื่อประชาสัมพันธ์ของคนแต่ละช่วงอายุ 2024-02-16T17:50:05+07:00 กรกมล จึงสำราญ [email protected] สิริกานต์ แก้วคงทอง [email protected] เฉลิมพร ปัญจาสุธารส [email protected] ชลิพา ดุลยากร [email protected] <p>การศึกษาการเข้าถึงสื่อประชาสัมพันธ์ของคนแต่ละช่วงอายุเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) จากกลุ่มตัวอย่างในแต่ละช่วงอายุ ได้แก่ กลุ่ม Generation B (Gen B) กลุ่ม Gen X กลุ่ม Gen Y และกลุ่ม Gen Z รวมทั้งสิ้น 758 คน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพด้านการศึกษา จำนวน 631 คน และกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพอื่น จำนวน 127 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการเข้าถึงสื่อประชาสัมพันธ์ของคนในแต่ละช่วงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานด้วยการแจกแจงความถี่ (Frequency) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) โดยมีผลการวิจัยตามประเด็นการศึกษา ดังนี้ 1) สื่อสังคมออนไลน์ที่กลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพด้านการศึกษาทุกช่วงอายุนิยมเลือกใช้ในปัจจุบัน คือ Facebook ยกเว้นกลุ่ม Gen Z ที่นิยมใช้ใช้ Instagram ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพอื่นนิยมเลือกใช้ LINE 2) อุปกรณ์สำหรับการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ทั้งกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพด้านการศึกษาและกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพอื่นทุกช่วงอายุนิยมใช้โทรศัพท์สำหรับการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ 3) จุดประสงค์ของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพด้านการศึกษาทุกช่วงอายุ คือ อัปเดตข้อมูลและรับข่าวสาร ยกเว้นกลุ่ม Gen Z ที่มีจุดประสงค์เพื่อความบันเทิง ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพอื่นทุกช่วงอายุมีจุดประสงค์เพื่อความบันเทิง ยกเว้นกลุ่ม Gen B ที่ใช้เพื่อค้นหาข้อมูล 4) สื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้สำหรับการค้นหาข้อมูลทั้งกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพด้านการศึกษาและ กลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพอื่นทุกช่วงอายุนิยมใช้ Website สำหรับการค้นหาข้อมูล ยกเว้นกลุ่ม Gen B ที่มีอาชีพอื่นใช้ YouTube สำหรับการค้นหาข้อมูล และ 5) การใช้สังคมออนไลน์เพื่อรับความรู้ใหม่ ๆ / เพิ่มทักษะให้กับตนเอง โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพด้านการศึกษาทุกช่วงอายุนิยมใช้ Facebook ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพอื่นทุกช่วงอายุนิยมใช้ YouTube ยกเว้นกลุ่ม Gen X ที่นิยมใช้ Website และ Facebook</p> 2024-04-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Dhamma for Life