วารสารธรรมเพื่อชีวิต : Journal of Dhamma for Life
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife
<p><strong>วัตถุประสงค์ของวารสาร (Aims of the Journal) </strong></p> <p> วารสารธรรมเพื่อชีวิตเป็นวารสารวิชาการมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อเผยแผ่สาระธรรมของมูลนิธิพุทธศาสนศึกษา 2. เพื่อพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพทางด้านวิชาการและเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) 3. เพื่อเป็นวารสารที่ได้มาตรฐานสำหรับตีพิมพ์ผลงานของสมาชิกมูลนิธิและบุคคลทั่วไป 4) เพื่อบริการทางวิชาการ</p> <p><strong>ขอบเขตเนื้อหาการตีพิมพ์</strong> <strong>(Scope of the Journal)</strong></p> <p> ขอบเขตเนื้อหาที่วารสารเปิดรับ ได้แก่ 1) ด้านพระพุทธศาสนา 2) ด้านปรัชญา ภาษา ศิลปวัฒนธรรม 3) ด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ 4) ด้านเศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ 5) ด้านศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ รวมถึงสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> <p><strong>รูปแบบการการตีพิมพ์</strong><strong> (Process of Publication)</strong></p> <p> กองบรรณาธิการให้ความสำคัญต่อกระบวนการจัดทำวารสาร ตั้งแต่การคัดเลือกบทความ การประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีอย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการ โดยเป็นการประเมินในรูปแบบการปกปิดชื่อผู้ประเมินและผู้เขียน (Double-blind Peer Review) และบทความต้นฉบับต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากกองบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น</p> <p> ทั้งนี้ ผู้เขียนบทความต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนี้อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องตามหลักเกณฑ์ที่วารสารกำหนด ในกรณีกองบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองบทความมีความเห็นว่า ควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิเป็นหลัก และขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์ในกรณีที่บทความไม่ตรงกับวัตถุประสงค์และรูปแบบของวารสารนี้ หรือไม่ผ่านการพิจารณาของกองบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ หากบทความใดได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิให้ตีพิมพ์ ผู้เขียนจึงจะได้รับหนังสือรับรองการตีพิมพ์จากวารสาร</p> <p> ข้อความ ตาราง ภาพ กราฟ หรือการแสดงความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารธรรมเพื่อชีวิต ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ ไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารธรรมเพื่อชีวิตแต่อย่างใด <strong> </strong></p> <p><strong><em>ข้อพิจารณาทางจริยธรรม</em><br />• ผู้เขียนจะต้องดำเนินการวิจัยด้วยมาตรฐานสูงสุดในด้านความซื่อสัตย์ และความโปร่งใส โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านจริยธรรมและข้อกำหนดทางกฎหมาย<br />• ผู้เขียนที่เกี่ยวข้องกับอาสาสมัครต้องแน่ใจว่าได้รับความยินยอมโดยแจ้งให้ทราบ โดยมีรายละเอียดลักษณะของการศึกษา ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และผลประโยชน์ ซึ่งรวมถึงการรักษาความลับและการไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าร่วม<br />• หากการวิจัยเกี่ยวข้องกับสัตว์ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม โดยจัดให้มีหลักฐานของการดูแลที่เหมาะสม การปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรม และการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง<br />• ผู้เขียนต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมหรือคณะกรรมการพิจารณาของสถาบันที่เหมาะสม</strong></p> <p><strong>ประเภทของบทความ (</strong><strong>Types of Articles)</strong></p> <p> 1) บทความวิจัย (Original Research Article)</p> <p> 2) บทความวิชาการ (Academic Article)</p> <p> 3) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์ (</strong><strong>Languages)</strong></p> <p> ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>การกำหนดตีพิมพ์ (</strong><strong>Publication Frequency) </strong></p> <p> กำหนดเผยแพร่ปีละ 4 ฉบับ (ราย 3 เดือน)</p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม</p> <p> ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน</p> <p> ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน</p> <p> ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม</p> <p><strong>การชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></p> <p> ให้ผู้แต่งลงทะเบียนและส่งบทความ (Submission) เข้ามาในระบบของวารสารออนไลน์ให้เรียบร้อย และให้ชำระค่าธรรมเนียม บทความละ 3,000 บาท โดยดำเนินการดังนี้</p> <p> 1) โอนเข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) รหัสสาขา 0055 สาขาถนนตากสิน</p> <p> 2) ชื่อบัญชี มูลนิธิพุทธศาสนศึกษา วัดบุรณศิริมาตยาราม เลขที่บัญชี 055-247452-7</p> <p> 3) เมื่อชำระแล้ว ให้ส่งหลักฐานการโอนเงิน (สลิปการโอนเงิน) แนบมาในช่องกระทู้สนทนาในระบบวารสารออนไลน์ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินการต่อไป</p>
มูลนิธิพุทธศาสนศึกษา วัดบุรณศิริมาตยาราม : Buddhist Studies Foundation Wat Buranasiri Matayaram
th-TH
วารสารธรรมเพื่อชีวิต : Journal of Dhamma for Life
2822-048X
-
เปรียบเทียบเบญจศีลกับกฎหมายที่มีโทษทางอาญา
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/article/view/3338
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) นำเสนอความสำคัญของศีลทั้ง 5 ข้อ และที่มาของศีลทั้ง 5 ข้อตามหลักพระพุทธศาสนา (2) นำเสนอคุณค่าของการรักษาศีล 5 (3) นำเสนอหลักกฎหมายที่มีโทษทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับการกระทำต่างๆ ซึ่งละเมิดศีลทั้ง 5 ข้อนี้ ผลการศึกษาพบว่า การรักษาศีล 5 ย่อมเป็นที่ตั้ง เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย และเป็นฐานความประพฤติที่ดีของมนุษย์ ศีลเป็นเครื่องประดับที่สำคัญ และสามารถประดับได้ทุกคน ประดับได้ตลอดกาล ซึ่งคนผู้มีศีลแม้จะรูปร่างไม่งดงาม แต่เมื่ออุดมไปด้วยศีลแล้ว ย่อมงามได้ มีเสน่ห์ได้ เป็นคนที่น่าเข้าใกล้ น่าคบหา น่าไว้ใจ เปรียบเทียบได้ว่า ศีลเป็นสะพานที่มีกำลังมาก เป็นกลิ่นหอมชั้นเยี่ยม เป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลผู้อุดมด้วยศีลย่อมหอมฟุ้งไปทั่งทุกสารทิศ ในทางตรงกันข้าม หากบุคคลใดประพฤติล่วงละเมิดศีล 5 ข้อนี้เป็นนิจ นอกจากจะกลายเป็นคนไม่น่าเข้าใกล้ ไม่น่าคบหา ไม่น่าไว้ใจ เพราะมักจะสะสมพฤติกรรมไม่ดีทั้งหลาย จนเป็นอุปนิสัยติดตัว กลายเป็นคนใจคอโหดร้าย ชอบลักทรัพย์ เบียดเบียนผู้อื่น เป็นผู้มักมากในกามขาดศีลธรรมอันดี มีวจีกรรมที่น่ารังเกียจ คอยพูดทำร้ายจิตใจผู้อื่น เป็นผู้ประมาท ขาดสติ ขาดความยับยั้งว่าอะไรควรไม่ควร เปรียบเสมือนซาตานในคราบมนุษย์ อีกทั้งการประพฤติละเมิดศีล 5 นั้น หากเป็นกรณีร้ายแรง ผู้ประพฤติละเมิดศีล 5 นั้นก็อาจจะมีความผิดกฎหมายอันมีโทษทางอาญา อาจต้องโทษถึงขั้นประหารชีวิต จำคุก ปรับ ริบทรัพย์สิน หรือถูกควบคุมพฤติกรรมจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่า การรักษาศีล 5 นั้นย่อมมีแต่คุณอนันต์ ปราศจากโทษ ทำให้เป็นหลักตัดสินว่าผู้ใดรักษาศีล 5 อย่างแน่วแน่ ย่อมเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม ดังนั้น การรักษาศีล 5 ย่อมเป็นเกราะคุ้มภัยเสมือนมิให้ซาตาน หรือความชั่วใดๆ เข้ามาสิงสถิตในจิตใจ และเบี่ยงเบนพฤติกรรมของบุคคลนั้นให้ออกนอกลู่นอกทางกฎเกณฑ์ของสังคม</p>
ภาราดร โรจนเดชานนท์
Copyright (c) 2024 วารสารธรรมเพื่อชีวิต : Journal of Dhamma for Life
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/index
2024-12-21
2024-12-21
30 4
196
221
-
การวัดประสิทธิภาพขององค์กรโดย Balance Scorecard
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/article/view/3865
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอการวัดผลการดำเนินงานขององค์กรโดยการประยุกต์ใช้วิธีการวัดผลดุลยภาพ (Balanced Scorecard: BSC) เป็นเครื่องมือวัดผลการดำเนินงานขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร มีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ด้านลูกค้า ด้านการเงิน ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และพัฒนา รวมถึงกระบวนการจัดทำการวัดผลดุลยภาพและการนำไปประยุกต์ใช้จะทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน ทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพและสามารถดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กร</p>
ดร.วัลย์ลดา ทองเย็นบุริศร์
Copyright (c) 2024 Journal of Dhamma for Life
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/index
2024-11-12
2024-11-12
30 4
24
35
-
คุณภาพชีวิตและเส้นทางอาชีพหมอนวดแผนไทยของคนไทยใน สาธารณรัฐประชาชนจีน
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/article/view/3454
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์</p> <p>1) เพื่อศึกษาความคาดหวังของคนไทยที่มีอาชีพหมอนวดแผนไทย ที่ไปทำงานในประเทศจีน</p> <p>2) เพื่อศึกษาเส้นทางอาชีพ ปัญหาและอุปสรรคของคนไทยที่ไปประกอบอาชีพหมอนวดแผนไทยในประเทศจีน</p> <p>3) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของคนไทยที่ประกอบอาชีพหมอนวดแผนไทยในประเทศจีน</p> <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ในสถานกงสุลใหญ่ จำนวน 3 คน ร้านนวดแผนไทยในประเทศจีน จำนวน 2 ร้าน เป็นเจ้าของร้านที่เป็นคนจีน 1 คน และคนไทย 1 คน และสัมภาษณ์คนไทยที่ประกอบอาชีพหมอนวดแผนไทยในประเทศจีนรวมทั้งหมด 5 คน ใช้วิธีการจดบันทึก และบันทึกเสียงเพื่อนำมาใช้ถอดความสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า การทำงานเป็นหมอนวดแผนไทยในประเทศไทยมีรายได้ที่ค่อนข้างต่ำ จึงตัดสินใจเลือกไปทำงานที่ประเทศจีนเพื่อโอกาสในการสร้างรายได้ที่มั่นคงกว่าและมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำวีซ่าทำงานที่ต่ำกว่าประเทศอื่น หมอนวดแผนไทยมีความคาดหวังต่อการทำงานในเรื่องของการที่จะได้รับสวัสดิการการดูแลพนักงานจากสถานที่ทำงานและการได้รับเงินเดือนที่ตรงเวลา และเป็นไปตามข้อตกลง และความมั่นคงในสายอาชีพจากการมีรายได้ที่มั่นคง อย่างไรก็ตาม หมอนวดแผนไทยมักจะปัญหาและอุปสรรคในเรื่องของภาษา การถูกนายจ้าง เอาเปรียบในเงื่อนไขสัญญา หรือถูกยึดหนังสือเดินทางไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ย้ายร้าน รวมถึงการเข้ามาทำงานอย่างผิดกฎหมายในแง่ของคุณภาพชีวิต หมอนวดไทยส่วนใหญ่รู้สึกพึงพอใจกับคุณภาพชีวิตด้านวัตถุ ทั้งในด้านรายได้ ด้านสวัสดิการ และด้านระบบขนส่งสาธารณะที่ดีกว่าประเทศไทย อย่างไรก็ดีหมอนวดแผนไทยที่ทำงานในประเทศจีนจำนวนมากยอมรับว่าตนเองมีความกังวลในความมั่นคงในอาชีพการทำงาน และนิสัยและวัฒนธรรมบางอย่างของลูกค้าบางราย และบางคนมีสภาพจิตใจที่ค่อนข้างแย่จากการถูกลูกค้าหรือนายจ้างดูถูก ขณะที่บางคนไม่พบประสบการณ์ที่เลวร้ายเหล่านี้</p>
พีรนัทธ์ กำจัดไพรีพล
Copyright (c) 2024 วารสารธรรมเพื่อชีวิต : Journal of Dhamma for Life
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/index
2024-12-14
2024-12-14
30 4
64
85
-
แนวทางพัฒนาการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/article/view/3570
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ</p> <p>1) ศึกษาสภาพและปัญหาการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา และ</p> <p>2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวิธีดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ</p> <p>ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและปัญหาการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา จำนวน 296 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามด้านสภาพการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 และด้านปัญหาการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ขั้นตอนที่ 2 นำเสนอแนวทางพัฒนาการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) สภาพการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ รองลงมา คือ ด้านการบริหารงานงบประมาณ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการบริหารงานทั่วไป และปัญหาการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารงานงบประมาณ รองลงมา คือ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการบริหารงานทั่วไป</p> <p>2) แนวทางพัฒนาการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา ประกอบด้วยรายการปฏิบัติ 32 รายการ จำแนกเป็น 4 ด้าน ได้แก่</p> <p>(1) ด้านการบริหารงานวิชาการ มีรายการปฏิบัติ 7 รายการ เช่น สถานศึกษาควรจัดอบรมครูเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการวัดและประเมินผล</p> <p>(2) ด้านการบริหารงานงบประมาณ มีรายการปฏิบัติ 10 รายการ เช่น ผู้บริหารสถานศึกษาแต่งตั้งครูที่มีความรู้ ความสามารถด้านแพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นผู้รับผิดชอบการรับโอนค่าบำรุงการศึกษาจากผู้ปกครองอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร</p> <p>(3) ด้านการบริหารงานบุคคล มีรายการปฏิบัติ 7 รายการ เช่น สถานศึกษาควรเลือกใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลประชาสัมพันธ์การสรรหาและจัดจ้างบุคคลเพื่อปฏิบัติงานในสถานศึกษา ซึ่งสามารถโต้ตอบกับผู้ติดต่อกันได้โดยตรง รวมทั้งการยื่นเอกสารสมัครแบบออนไลน์ด้วย และ</p> <p>(4) ด้านการบริหารงานทั่วไป มีรายการปฏิบัติ 8 รายการ เช่น สถานศึกษาควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในงานส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อครูจะได้มีความรู้ ความเข้าใจในการกรอกข้อมูลที่ถูกต้อง</p>
ดานุพล ไชยสุข
ชัยยศ เดชสุระ
Copyright (c) 2024 วารสารธรรมเพื่อชีวิต : Journal of Dhamma for Life
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/index
2024-12-14
2024-12-14
30 4
86
101
-
การคอรัปชั่นทางธุรกิจการเมืองเชิงนโยบายของภาครัฐ
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/article/view/3584
<p>การคอรัปชั่นทางธุรกิจการเมืองเชิงนโยบายของภาครัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการคอรัปชั่นทางธุรกิจการเมืองในเชิงนโยบายและอธิบายพัฒนาการในด้านการเกิด การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ การเปลี่ยนแปลงและบทบาททางการเมืองของกลุ่มธุรกิจการเมืองในประเทศไทย รวมถึงข้อเสนอแนะแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากกลุ่มธุรกิจการเมือง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเป็นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research) เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการในด้านการเกิด การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ การเปลี่ยนแปลงและบทบาททางการเมืองของกลุ่มธุรกิจการเมืองประเทศไทย รวมไปถึงการศึกษารูปแบบการคอรัปชั่นทางธุรกิจการเมืองเชิงนโยบายและนำข้อค้นพบที่ได้มานำเสนอเชิงพรรณนา (Descriptive Research) และนำมาวิเคราะห์แบบเนื้อหา (Content Analysis) จากนั้นนำข้อมูลมาสังเคราะห์เป็นคำตอบเชิงเหตุผลทางตรรกะ เพื่อสร้างข้อสรุปจากข้อมูลที่เป็นรูปธรรม จากผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาการพลวัติการเมืองไทยนั้น กลุ่มทุนธุรกิจยังคงวนเวียนเกาะเกี่ยวกับศูนย์กลางอำนาจและสามารถที่จะกำหนดนโยบายหรือเข้าไปมีอำนาจในการกำหนดนโยบายถึงแม้รัฐบาลจะเปลี่ยนไปตามวาระ แต่มีการย้ายข้างสลับขั้วของคนกลุ่มเดิมและกลุ่มทุนเองก็ยังคงแน่นแฟ้นในระบอุปถัมภ์นับวันยิ่งมีผลประโยชน์ทับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา คือ ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือเพื่อไม่ให้เครือข่ายธุรกิจนักการเมืองเข้ามาจัดการบริหารและควบคุมการพัฒนาประเทศ ส่วนด้านบทบาทภาครัฐโดยรัฐเองบาลต้องตระหนักถึงขอบเขตการใช้อำนาจของตนภายใต้หลักนิติรัฐและนิติธรรม ด้านบทบาทภาคสังคม ภาคประชาชน และการสร้างจิตสำนึก ต้องมีส่วนร่วมในการร่วมกำหนดนโยบาย เผยแพร่ข้อมูลความรู้ด้านเครือข่ายของนักธุรกิจกับนักการเมือง เพื่อให้ประชาชนทั่วไปรับรู้ และเข้าใจและเท่าทันความสัมพันธ์อันซับซ้อนของกลุ่มนักการเมืองและนักธุรกิจ และนักวิชาการ ต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายร่วมกันเผยแพร่ข้อมูล ความรู้ด้านเครือข่ายของนักธุรกิจกับนักการเมืองตรงตามข้อเท็จจริงเพื่อให้ประชาชนทั่วไปรับรู้ เข้าใจและเท่าทันความเคลื่อนไหวในความสัมพันธ์อันซับซ้อนของกลุ่มนักการเมืองและกลุ่มนักธุรกิจ รวมทั้งให้ประชาชนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการทำหน้าที่ตรวจสอบการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
สมสุข ศรีสถิตย์วัฒนา
Copyright (c) 2024 วารสารธรรมเพื่อชีวิต : Journal of Dhamma for Life
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/index
2024-12-15
2024-12-15
30 4
125
140
-
The Influence of Computer Music on Guangxi Zhuang Folk Songs
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/article/view/3614
<p>With the popularization and development of computer music technology, its impact on traditional ethnic music has become increasingly significant. Guangxi Zhuang folk songs, as the treasure of national music in southern China, are facing the challenges and opportunities of this modern technological transformation. This article aims to explore how computer music technology affects the traditional characteristics, performance style and inheritance of Zhuang folk songs by analyzing the application of computer music technology in the melody and scale of Guangxi Zhuang folk songs, changes in voice processing, enrichment of the range, and cultural inheritance. methods, and the significance of this influence on the future development of folk songs.</p>
Xinghong Pan
Asst.Prof.Dr.Chutima Maneewattana
Prof.Dr.Xiulei Ren
Copyright (c) 2024 วารสารธรรมเพื่อชีวิต : Journal of Dhamma for Life
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/index
2024-12-15
2024-12-15
30 4
141
154
-
การตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/article/view/3639
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนังงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 1 2) การทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 1 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 1 จำนวน 74 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 2 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน และ ครู จำนวน 1 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 148 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวคิดของโบวี่ และการทำงานเป็นทีมของครูตามแนวความคิดของยุคล์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ การกำหนดปัญหา การตัดสินใจ การปฏิบัติตามการตัดสินใจ การประเมินผลลัพธ์และให้ข้อมูลป้อนกลับ การประเมินทางเลือกและการค้นหาทางเลือก ตามลำดับ 2) การทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยเรียงลำดับจากค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ ประสิทธิภาพและศักยภาพขององค์กร ความร่วมมือและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทรัพยากรและการสนับสนุนทางการเมือง องค์กรภายในและการประสานงานความมุ่งมั่นต่อวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ของงาน รูปแบบความคิดที่ถูกต้องร่วมกัน ความหลากหลายของสมาชิก ทักษะของสมาชิกและความชัดเจนของบทบาท และการประสานงานภายนอกตามลำดับ 3) การตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 1 มีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
นพวรรณ คำเพ็ญ
รศ.ดร.นุชนรา รัตนศีระประภา
Copyright (c) 2024 วารสารธรรมเพื่อชีวิต : Journal of Dhamma for Life
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/index
2024-12-16
2024-12-16
30 4
155
179
-
ผลของการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถ ด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/article/view/3652
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 25 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบแบบไม่เป็นอิสระจากกัน (t-test dependent) ค่าความเชื่อมั่น (KR-20) ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 82.20/81.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 และ 3) ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมาก</p>
นภิสา เป็นสุข
ผศ.ดร.สุนีตา โฆษิตชัยวัฒน์
Copyright (c) 2024 วารสารธรรมเพื่อชีวิต : Journal of Dhamma for Life
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/index
2024-12-16
2024-12-16
30 4
180
195
-
Integrating KWL-Plus Technique with Cooperative Learning to Develop English Major Pre-Service Teachers’ Learning Management Competencies to Promote Thinking Skills through Children’s Literature
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/article/view/4112
<p>This research aimed to (1) investigate the competencies in learning management that promote thinking skills through children's literature among English major student teachers after learning via the KWL-Plus technique combined with cooperative learning, and (2) examine the satisfaction of these student teachers with the learning management approach that integrates the KWL-Plus technique and cooperative learning. The study's sample consisted of 30 third-year English major student teachers enrolled in the EEC3321 course titled "Learning Management for Thinking Skill Development through Children's Literature" in the Faculty of Education at Suan Sunandha Rajabhat University, during the academic year 2023. The participants were selected through cluster random sampling, with the entire class serving as the sampling unit. This experimental research utilized two primary instruments: (1) an assessment tool to evaluate the competencies in learning management that promote thinking skills using children's literature, and (2) a questionnaire to assess the student teachers' satisfaction with the learning management approach. Data were analyzed using basic statistics, including mean, standard deviation, and independent sample t-tests.</p> <p> The results of the study revealed that (1) the English major student teachers demonstrated a high level of competency in learning management that promotes thinking skills through children's literature after participating in the KWL-Plus technique combined with cooperative learning, and (2) the student teachers reported a high level of satisfaction with the learning management approach that integrated the KWL-Plus technique with cooperative learning.</p>
Wipada Prasansaph
Copyright (c) 2024 Journal of Dhamma for Life
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/index
2024-11-12
2024-11-12
30 4
1
23
-
กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ในประเทศไทยของนักศึกษาชาวจีนมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/article/view/4193
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทยของนักศึกษาชาวจีมหาวิทยาลัย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า (1) ลักษณะประชากรศาสตร์ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 62.25 มีอายุ 30-35 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 51.50 มีระดับการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60.25 มีสถานภาพสมรส/อยู่ร่วมกันมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 62.75 และเคยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 86.50 (2) ความคิดเห็นพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ทางช่องทาง Facebook มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 20.25 มีความสนใจเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวประเภทวิดีโอสั้น (Short Videos) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 28.75 ความถี่ของการค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวของผู้ตอบแบบสอบถาม ทุกวัน มีความถี่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52.75 (3) การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดโดยรวม พบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 3.53, S.D.= 1.10) และ (4) การวิเคราะห์ข้อมูลกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทยของนักศึกษาชาวจีนมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เนื้อหาออนไลน์ที่มีผลต่อการดึงดูดความสนใจมากที่สุด คือ วิดีโอการตลาด คิดเป็นร้อยละ 30.25 เนื้อหาออนไลน์ของประเทศไทยที่คุณเคยเห็นนั้นเพียงพอและน่าสนใจในการกระตุ้นให้คุณเดินทางท่องเที่ยว เพียงพอและน่าสนใจมาก มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 94.50</p>
รศ.ดร.สุกัญญา บูรณเดชาชัย
พงษ์วุฒิ ดวงศรี
Copyright (c) 2024 วารสารธรรมเพื่อชีวิต : Journal of Dhamma for Life
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dhammalife/index
2024-12-21
2024-12-21
30 4
222
244