https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dpssj/issue/feed วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ 2023-12-28T22:08:01+07:00 Dr.Jumnian Junhasobhag [email protected] Open Journal Systems <p><strong>วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์<br />บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง </strong><br /><strong>(</strong><strong>Doctor of Philosophy in Social Sciences Journal</strong><strong>)<br /></strong><strong>ISSN 2774-129X (Print) </strong><strong>ISSN 2774-1443 (Online)</strong></p> <p><strong>เปิดรับบทความรับลงตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ<br />ประเภทบทความ : บทความวิชาการ บทความวิจัย<br /><br /> </strong>ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – เมษายน <br /> ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม<br /> ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน – ธันวาคม</p> <p>วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นวารสารที่รับตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ โดยออกวารสารปีละ 3 ฉบับ โดยเปิดรับบทความ ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน – ธันวาคม ผลงานทางวิชาการที่รับพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารมี 2 ประเภท ได้แก่ บทความวิจัย และ บทความวิชาการ รับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p>บทความที่ส่งเข้ามาจะได้รับประเมินคุณภาพทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ประเมิน (reviewers) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน โดยปกปิดชื่อผู้แต่งและชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความ (Double blinded)<br /><strong><a class="keychainify-checked" href="https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dpssj/about/submissions"><em>คลิก เพื่อส่งบทความ</em></a></strong></p> https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dpssj/article/view/2007 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สัตว์และประเภทของสัตว์ โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมถวิล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2023-08-24T13:54:58+07:00 ญาณภัทร์ รักสาย [email protected] วีรวัฒน์ จันทรัตนะ [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง สัตว์และประเภทของสัตว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมถวิล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) ประเมินทักษะการจำแนกประเภท หลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง สัตว์และประเภทของสัตว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมถวิล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 3) ประเมินพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมถวิล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมถวิล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 4 ห้องเรียน รวม 169 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวนนักเรียน 43 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม</p> <p>ผลวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง สัตว์และประเภทของสัตว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมถวิล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5.21 (S.D. =1.42) หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.33 (S.D. =0.64) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการประเมินทักษะการจำแนกประเภท หลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง สัตว์และประเภทของสัตว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมถวิล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า มีคะแนนคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน (X) เท่ากับ 9.33 (S.D. = 2.91) จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน 3) ผลการประเมินพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมถวิล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (X) = 4.79 (S.D. = 0.43) เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (X) = 4.91 (S.D. = 0.29) ด้านเนื้อหา (X) = 4.84, (S.D. = 0.46) ด้านสื่อการเรียนรู้ (X) = 4.68 (S.D. = 0.49) และด้านการวัดและประเมินผล (X) = 4.67 (S.D. = 0.54) ตามลำดับ</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dpssj/article/view/2467 แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยส่งเสริมทักษะการใช้งานสมาร์ทโฟน ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลบางพลับ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 2023-10-22T11:17:46+07:00 ชฎาธาร พุดหล้า [email protected] วทัญญู วิชาเกรียงไกร [email protected] ฐิติพร ขีระจิตร [email protected] <p>งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยส่งเสริมทักษะการใช้งานสมาร์ทโฟน ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน เทศบาลตำบลบางพลับ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค ในพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยส่งเสริมทักษะการใช้งานสมาร์ทโฟน ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลตำบลบางพลับ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยศึกษาจากเอกสาร และการตั้งประเด็นคำถามเพื่อศึกษา โดยมีแบบสัมภาษณ์เชิงลึก มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้นำชุมชน หน่วยงานราชการท้องถิ่น และตัวแทนผู้สูงอายุ ในพื้นที่ดังกล่าวจำนวน 10 คน ผลการวิจัย พบว่า แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ มีแนวทางในการส่งเสริมผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น กลุ่ม บวร (บ้าน วัด โรงเรียน) และหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ เทศบาลตำบลบางพลับ โดยเสนอให้จัดตัวแทนในทุกช่องทางให้ความรู้ความเข้าใจพร้อมเสริมทักษะการใช้งานสมาร์ทโฟน อย่างถูกต้องถูกวิธี ขับเคลื่อนโดยเครือข่ายผู้นำชุมชน หน่วยงานราชการ วัด หรือโรงเรียนผู้สูงอายุ และครอบครัว หรือ บ้าน ในการกระจายความรู้ และจัดกิจกรรมการเรียนรู้การใช้งานสมาร์ทโฟน อยู่สม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถค้นหาข้อมูลทางการแพทย์ ข้อมูลด้านการโภชนาการ การใช้แผนที่นำทาง การใช้งานติดต่อสื่อสารกับคนรู้จักที่อยู่ห่างไกล และการใช้งานสำหรับสั่งซื้อสินค้าที่จำเป็น รวมทั้งสามารถสร้างผลผลิตในชุมชน</p> <p> </p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dpssj/article/view/2515 ปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุของผู้ปฏิบัติงานขนส่ง : อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีก ในเขตภาคกลาง 2023-12-23T20:38:18+07:00 อรรถกร ไชยทรัพย์มังกร [email protected] รัญจวน ประวัติเมือง [email protected] <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุของผู้ปฏิบัติงานขนส่ง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีก ในเขตภาคกลาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและจำแนกตามคุณลักษณะงานของผู้ปฏิบัติงานขนส่ง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีก ในเขตภาคกลาง รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์คุณลักษณะงานของผู้ปฏิบัติงานขนส่ง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีกในเขตภาคกลางกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงานขนส่ง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีกในเขตภาคกลาง ผู้วิจัยดำเนินการโดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 222 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ คือสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบไคสแควร์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าในด้านปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุของผู้ปฏิบัติงานขนส่ง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีก ในเขตภาคกลาง พบว่า ด้านคู่มือ ระเบียบ กฎเกณฑ์ในการทำงานมีระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านบุคคลที่ปฏิบัติงาน และด้านยานพานะที่ใช้ในการปฏิบัติงาน มีระดับความคิดเห็นมากตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุของผู้ปฏิบัติงานขนส่ง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีก ในเขตภาคกลาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าด้านเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ประวัติการเกิดอุบัติเหตุ ชั่วโมงการพักผ่อน ประสบการณ์ในการขับรถยนต์ และภูมิลำเนาที่แตกต่างกันไม่ได้ทำให้ปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุของผู้ปฏิบัติงานขนส่ง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีกในเขตภาคกลางแตกต่างแต่อย่างใด ยกเว้นด้านประสบการณ์ทำงานและประเภทเกียร์ของรถยนต์ที่มีความแตกต่างทำให้ปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 และเมื่อเปรียบเทียบปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุของผู้ปฏิบัติงานขนส่ง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีก ในเขตภาคกลาง จำแนกตามคุณลักษณะงาน พบว่าด้านความหลากหลายของทักษะ ความสำคัญของงาน และความมีอิสระในการทำงานที่แตกต่างกันไม่ได้ทำให้ปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุของผู้ปฏิบัติงานขนส่ง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีกในเขตภาคกลางแตกต่างแต่อย่างใด ยกเว้นด้านความมีเอกลักษณ์ของงาน และผลสะท้อนจากงานที่แตกต่าง ทำให้ปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 ส่วนการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณลักษณะงาน พบว่าคุณลักษณะงานด้านความมีเอกลักษณ์มีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคลด้านต่าง ๆ มากสุด นอกจากนั้นพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้านการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับลักษณะงานด้านใดเลย</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dpssj/article/view/2540 ปัจจัยคุณภาพการให้บริการและการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและความภักดีของผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะผ่านแอปพลิเคชัน ViaBus ในกรุงเทพมหานคร 2023-11-14T17:56:08+07:00 พัณณ์ชิตา อิทธิกรไพศาลกุล [email protected] สุทธาทิพย์ กำธรพิพัฒนกุล [email protected] <p>การศึกษางานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการและการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อความพึงพอใจและความภักดีของผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะผ่านแอปพลิเคชัน ViaBus ในกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความภักดีของผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะผ่านแอปพลิเคชัน ViaBus ในกรุงเทพมหานคร โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณประเภทวิจัยเชิงสำรวจ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะผ่านแอปพลิเคชัน ViaBus ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับงานวิจัยนี้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงหรือสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยคุณภาพการให้บริการ ด้านการให้ความมั่นใจต่อลูกค้า ด้านความเข้าใจและรับรู้ความต้องการ ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ และปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ ด้านการรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้ความง่ายส่งผลเชิงบวกต่อความพึงพอใจและความภักดีของผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะผ่านแอปพลิเคชัน ViaBus ในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านความพึงพอใจของผู้ใช้บริการส่งผลเชิงบวกต่อความภักดีของผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะผ่านแอปพลิเคชัน ViaBus ในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dpssj/article/view/2174 การพัฒนารูปแบบเสริมพลังกระบวนการคิด (SNCBE) โดยใช้สื่อประสมชุดโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก รายวิชาชีววิทยา (ว32243) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2023-08-06T14:51:16+07:00 ทภภาภร เวียงคำ [email protected] <p>วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบเสริมพลังกระบวนการคิด (SNCBE) โดยใช้สื่อประสม ชุด โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบเสริมพลังกระบวนการคิด (SNCBE) และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบเสริมพลังกระบวนการคิด (SNCBE) ขั้นตอนการวิจัยมี 4 ระยะ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบ 3) การนำไปทดลองใช้ และ 4) การประเมินผล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนหนองหัวคูปวงประชานุเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ปีการศึกษา 2565 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง เป็นการทดลองในปีการศึกษา 2565 ใช้เวลาในการทดลอง 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) สื่อประสมชุด โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก2) แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบเสริมพลังกระบวนการคิด (SNCBE) 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การคำนวณหาประสิทธิภาพ (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>) ค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย (x−x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (Dependent Samples t-test) </p> <p>ผลการศึกษาสรุปได้ว่า </p> <p>1) รูปแบบการเรียนรูปแบบเสริมพลังกระบวนการคิด (SNCBE) โดยใช้สื่อประสม มีชื่อว่า SNCBE (Spark ideas; New knowledge; Cognitive adjustment; (Build knowledge; Evaluate learning outcomes) มีองค์ประกอบดังนี้ 1. หลักการ 2. วัตถุประสงค์ 3. กระบวนการสอน และ 4. การประเมินผล โดยกระบวนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 จุดประกายความคิด (Spark Ideas) ขั้นที่ 2 แสวงหาความรู้ใหม่ (New Knowledge) ขั้นที่ 3 ปรับความรู้ความเข้าใจ</p> <p>(Cognitive Adjustment) ขั้นที่ 4 สร้างองค์ความรู้ (Build Knowledge) และ ขั้นที่ 5 ประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (Evaluate Learning Outcomes) และผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรูปแบบเสริมพลังกระบวนการคิด (SNCBE) โดยใช้สื่อประสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 มีค่าเท่ากับ 83.00/83.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 </p> <p>2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังทดลองรูปแบบการเรียนรูปแบบเสริมพลังกระบวนการคิด (SNCBE) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p> <p>3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนรูปแบบเสริมพลังกระบวนการคิด (SNCBE) โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 </p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dpssj/article/view/2205 ประวัติชีวิต: เครื่องมือพัฒนาบุคลิกภาพวัยรุ่นไทย 2023-09-07T11:29:41+07:00 รัจน์ชีวาต์ แซ่ตั๋น [email protected] พนิตา ภักดี [email protected] <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับประวัติชีวิต และแนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพของวัยรุ่นไทย และ 2) วิเคราะห์การใช้ประวัติชีวิตในฐานะเครื่องมือพัฒนาบุคลิกภาพวัยรุ่นไทย โดยใช้กรอบการวิเคราะห์วัฒนธรรมและบุคลิกภาพศึกษากับวัยรุ่นไทย จำนวน 50 คน ซึ่งส่วนใหญ่กำลังศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ภายใต้การสำรวจตนเองเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ และเขียนเล่าเรื่องราวของตนด้วยคำถาม 12 ข้อ ได้แก่ เหตุการณ์ก่อนกำเนิด วัยก่อนเข้าโรงเรียน ครอบครัวและความสัมพันธ์ เพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง วัยเข้าเรียน วัยทำงาน วัยครองเรือน วัยเกษียณอายุการทำงาน สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต มุมมองที่มีต่อสังคมไทย มุมมองที่มีต่อสังคมโลก และความเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิด ซึ่งประวัติชีวิต คือ เครื่องมือวิจัยทางมานุษยวิทยาที่ยืนยันได้ว่า 1) ผู้ที่ทำการศึกษาบุคลิกภาพ หรือนักพัฒนาบุคลิกภาพเกิดความเข้าใจความแตกต่างทางปัจเจกของบุคคลภายใต้การขัดเกลาทางสังคมของระบบครอบครัว และมุมมองที่มีต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน รวมถึงความเข้าใจที่มีต่อบุคลิกภาพภายในที่วัยรุ่นแสดงออกผ่านการเขียนเล่าเรื่องราวของตน และ 2) สามารถสะท้อนเงื่อนไขวัฒนธรรมบุคลิกภาพของวัยรุ่นไทยกลุ่มดังกล่าว รู้สึกภาคภูมิใจ และเห็นคุณค่าของชีวิต องค์ความรู้ที่ได้ คือ บุคลิกภาพที่ปรากฏในปัจจุบัน เป็นผลของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เหตุการณ์ในอดีตเป็นข้อมูลเกี่ยวกับอิทธิพล และความต้องการของบุคคลที่ทำให้เขาแสดงออกมา ซึ่งเน้นในเรื่องความต่อเนื่องระหว่างอดีตจนถึงปัจจุบัน และยังสะท้อนมุมมองในอนาคตได้</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dpssj/article/view/2424 แนวทางการการป้องกันและเยียวยาผู้เสียหายจากการถูกซ้อมทรมาน 2023-11-06T20:45:54+07:00 ชนม์เจริญ ทับทิมโต [email protected] ฐิติพร ขีระจิตร [email protected] <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาและผลกระทบจากการซ้อมทรมานในประเทศไทย ศึกษามาตรการป้องกันการซ้อมทรมานที่เหมาะสมในประเทศไทย และศึกษาและวิเคราะห์แนวทางในการเยียวยาผู้เสียหายจากการถูกซ้อมทรมานและทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมทั้งทางร่างกายและจิตใจให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็น ไปได้ ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า การซ้อมทรมานเกิดขึ้นจากสภาวะยกเว้นซึ่งเป็นที่เกิดขึ้นมาโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 รวมถึงค่านิยมและวัฒนธรรมอย่างไม่เป็นทางการอย่างหนึ่งของประเทศไทย โดยการจะป้องกันได้นั้นต้องจัดการกับผลของการใช้อำนาจตามกฎหมายดังกล่าว เพื่อทำให้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและกระทำให้บุคคลสูญหาย<br />พ.ศ. 2565 สามารถใช้บังคับได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และในส่วนของการเยียวยาผู้เสียหายต้องทำให้ผู้เสียหายกลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเน้นไปที่การเยียวยาจิตใจเป็นหลัก</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์