วารสารศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunmcj
<p>Print ISSN : ISSN 2774-1273</p> <p><strong>กำหนดออก</strong><span style="font-weight: 400;"> : 2 ฉบับต่อปี <br /></span><span style="font-weight: 400;"> ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน <br /> ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</span></p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : <br /></strong><span style="font-weight: 400;"> วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์, เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และวิทยาศาสตร์การอาหารและเทคโนโลยี โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน</span></p>
วารสารศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
th-TH
วารสารศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
2774-1273
-
การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunmcj/article/view/3388
<p> การวิจัยนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน ประชากร คือ ครูในโรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 90 คน กำหนดขนาดโดยใช้ตาราง Krejcie and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง 73 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา อยู่ระหว่าง 0.67–1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.96 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติงานมากที่สุด คือ ด้านหลักสูตรและการนำไปใช้ รองลงมา คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติงานน้อยที่สุด คือ ด้านสื่อการเรียนการสอน</li> <li>ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามระดับการศึกษาของครูที่ต่างกัน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน</li> <li>ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของครูที่ต่างกัน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน</li> </ol>
สุเมธ รื่นระเริงศักดิ์
กฤษฎา วัฒนศักดิ์
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
2024-06-30
2024-06-30
3 1
16
16
-
การพัฒนาคุณลักษณะครูปฐมวัยมืออาชีพในศตวรรษที่ 21ตามหลักสมรรถนะครู ผ่านการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ (Project- Approach Learning) โรงเรียนวังวารีวนราษฎร์วัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 3
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunmcj/article/view/3348
<p> ผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้แก่เยาวชนของชาติ การเป็นครูที่ดีนอกจากจะมีคุณสมบัติด้านความรู้แล้วคุณธรรมก็เป็นสิ่งที่ครูควรมีควบคู่กันไป เนื่องจากวิชาชีพครูได้รับการยกย่องและจัดเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่มีความจำเป็นต่อสังคมทั้งยังเป็นอาชีพที่ช่วยสร้างสรรค์จรรโลงสังคมให้ไปในทิศทางที่เหมาะสม บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ (Project-Approach Learning) ที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะครูปฐมวัยมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ตามหลักสมรรถนะครูถ้าผู้สอนสามารถนำ วิธีการดังกล่าวไปประยุกต์ในการปฏิบัติงานสอนก็จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน</p> <p> การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานได้อาศัยพื้นฐานแนวคิดที่ว่ามนุษย์จะสร้างความรู้ใหม่ขึ้นจากการกระทำและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การสอนในลักษณะดังกล่าวยังตั้งอยู่บนข้อสนับสนุนที่ว่าความรู้ใหม่ได้มาจากสิ่งที่สัมพันธ์กับความรู้ที่มีมาก่อน การสร้างความคิดริเริ่มใหม่และประสบการณ์เดิมที่ไม่เป็นทางการและยังสอดคล้องกับแนวคิดที่ว่าการเรียนรู้แบบโครงการจะมีพลังมากยิ่งขึ้นถ้าได้รับการส่งเสริมจากสมาชิกในกลุ่มมากกว่าให้นักเรียนคนใดคนหนึ่งคิดคนเดียว การเรียนรู้แบบโครงการเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงความรู้ และสร้างความรู้ด้วยตนเองผ่านขั้นตอนของการเรียน (ลัดดา ภู่เกียรติ, 2552) ผู้เรียนจะร่วมมือกันทำงานเป็นทีม และทำกับปัญหาที่มีอยู่ในชีวิตจริง ซึ่งจะมีการทบทวนการเรียนรู้ที่สามารถประเมินถึงทักษะของผู้เรียนและกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มทักษะที่จำให้นักศึกษาครูสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และช่วยในการพัฒนาครูรุ่นใหม่ให้มีคุณลักษณะครูปฐมวัยมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ตามหลักสมรรถนะครูได้เป็นอย่างดี</p>
ศิริมงคล ทนทอง
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
2024-06-30
2024-06-30
3 1
77
77
-
การพัฒนาผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunmcj/article/view/3349
<p> บทความนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยยอมรับความแตกต่างและการเปลี่ยนแปลง ซึ่งบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ต้องใช้หลักการบริหารที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ รวมถึงคุณธรรมในการบริหารโดยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี น่าเคารพ ยกย่อง นับถือ ไว้วางใจ ทำให้ผู้ตามเกิดความเลื่อมใสศรัทธา และประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของบุคลากรทางการศึกษาในการทำงานอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการทำงานอย่างสร้างสรรค์โดยผู้บริหารให้คำปรึกษาแนะนำ เปิดโอกาส และส่งเสริมให้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ สำหรับพัฒนางานผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา</p>
นลธวัช ยุทธวงศ์
วรรณพร พุทธภูมิพิทักษ์
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
2024-06-30
2024-06-30
3 1
104
104
-
ครูปฐมวัยคิดอย่างสร้างสรรค์ : ตามรอยศาสตร์พระราชา
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunmcj/article/view/3350
<p>ความคิดสร้างสรรค์ เป็นทักษะที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในศตวรรษที่ 21 ที่ควรส่งเสริมให้เกิดกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถการคิดริเริ่มทำสิ่งใหม่ คิดคล่องแคล่วในสถานการณ์ต่าง คิดยืดหยุ่นทดแทนสิ่งที่ขาดหาย และคิดละเอียดลออในการทำงาน โดยการตามรอยศาสตร์พระราชาด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการคิด ทำ แสดงความคิดเห็น เพื่อค้นหาและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ตามศาสตร์พระราชาจนสามารถพัฒนาไปสู่คุณลักษณะที่พึงประสงค์</p>
กุลนาถ ปังศรี
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
2024-06-30
2024-06-30
3 1
113
113
-
การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunmcj/article/view/3347
<p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา และ 2) เปรียบเทียบระดับการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ อายุ และขนาดโรงเรียน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา จำนวน 169 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางเครซี่ มอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ <strong>ค่</strong>าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบอิสระ และทดสอบค่าแปรปรวนทางเดียว</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก</li> <li>ผลการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามเพศ และขนาดของสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามอายุไม่แตกต่างกัน</li> </ol>
ปรียาพร ธารีแดน
ระติกรณ์ นิยมะจันทร์
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
2024-06-30
2024-06-30
3 1
65
65
-
การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนครบุรีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunmcj/article/view/3472
<p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนครบุรีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 2) เปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนครบุรีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 ตามความคิดเห็นของครู จําแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนครบุรีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานของการวิจัยโดยใช้สถิติ t-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนครบุรีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก</li> <li>เปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนครบุรีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านมีความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามประสบการณ์ทำงาน โดยภาพรวมมีความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกัน</li> </ol>
โบรินทร์ เทียนเทศ
วิรัลพัชร วงศ์วัฒน์เกษม
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
2024-06-30
2024-06-30
3 1
27
27
-
การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการบริหารงานของโรงเรียนบ้านโคกใบบัว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 3
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunmcj/article/view/3587
<p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการบริหารงานของโรงเรียนบ้านโคกใบบัวสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการบริหารงานของโรงเรียนบ้านโคกใบบัว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน จำแนกตาม ระดับการศึกษา และอาชีพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกใบบัว จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.67 -1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานของการวิจัยโดยใช้สถิติ t-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการบริหารงานโรงเรียนบ้านโคกใบบัว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก</li> <li>เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการบริหารงานของโรงเรียนบ้านโคกใบบัว จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านมีความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามอาชีพ โดยภาพรวม มีความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกัน</li> </ol> <p> </p>
บรรดิษฐ์ เทียนเทศ
วิรัลพัชร วงศ์วัฒน์เกษม
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
2024-06-30
2024-06-30
3 1
38
38
-
รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของ จังหวัดนครราชสีมา รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 อ31205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunmcj/article/view/3354
<p> การรายงานครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพจากการพัฒนาแบบฝึกทักษะ การอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 831205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลจากการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 831205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน เพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 831205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยแบบฝึก ทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 831205 ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการรายงานในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จํานวนนักเรียน 47 คน ที่กําลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2561 โรงเรียนบุญวัฒนา อําเภอเมือง จังหวัด นครราชสีมา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 เครื่องมือที่ใช้ในการรายงาน ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของ จังหวัดนครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 831205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จํานวน 8 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จํานวน 17 แผน 3) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จํานวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.43 - 0.77 ค่าอํานาจจําแนกอยู่ระหว่าง 0.22 - 0.66 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 4)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มี ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาในท้องถิ่น ด้านวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษ เสริมทักษะ 2 อ31205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จํานวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และการทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test (Dependent Samples) ผลปรากฏ ดังนี้</p> <ol> <li>แบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของจังหวัด นครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 831205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.50/80.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80</li> <li>แบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของจังหวัด นครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 831205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.62 หรือคิดเป็นร้อยละ 62.00 นั่นคือ นักเรียนที่ เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของจังหวัด นครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 831205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.00</li> <li>นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้ เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 831205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบหลัง เรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> <li>นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้ เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 831205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด</li> </ol> <p><strong> </strong></p>
อุทัยวรรณ นาชิน
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
2024-06-30
2024-06-30
3 1
90
90
-
แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunmcj/article/view/3355
<p> การวิจัยนี้นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน ประชากร คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 110 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง 86 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา อยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.95 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน</li> <li>ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน</li> </ol>
รุ่งอรุณ สุขศรีวงษ์
กฤษฎา วัฒนศักดิ์
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
2024-06-30
2024-06-30
3 1
1
1
-
การศึกษาแนวทางพัฒนาสมรรถนะครูมืออาชีพ ตามแนวคิดหลักการโค้ช ของโรงเรียนเครือข่ายที่ 11 สำนักงานเขตยานนาวา สังกัดกรุงเทพมหานคร
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunmcj/article/view/3346
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดลำดับความต้องการจำเป็นการพัฒนาสมรรถนะครูมืออาชีพ ตามแนวคิดหลักการโค้ช โรงเรียนเครือข่ายที่ 11 สำนักงานเขตยานนาวา สังกัดกรุงเทพมหานคร และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการพัฒนาครูมืออาชีพ ตามแนวคิดหลักการโค้ช กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชครู และครูอัตราจ้าง ของโรงเรียนในเครือข่ายที่ 11 สำนักงานเขตยานนาวา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 90 คน ได้มาจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามได้ค่าความเชื่อมั่นในส่วนของสภาพที่เป็นอยู่จริงเท่ากับ 0.97 และมีค่าความเชื่อมั่นในส่วนสภาพที่ควรจะเป็นเท่ากับ 0.96 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นด้วยสูตร (PNI <sub>modified</sub>)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การจัดลำดับความต้องการจำเป็นเรียงลำดับ ได้แก่ ลำดับที่ 1 ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ ลำดับที่ 2 ด้านการแก้ไขปรับปรุง ผิดพลาดให้กับผู้เรียน และด้านการตั้งคำถามกระตุ้นการคิด ลำดับที่ 3 ด้านการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียน ด้านการสร้างความท้าทายให้กับผู้เรียน และด้านการถอดบทเรียน ตามลำดับ</li> <li> แนวทางการพัฒนาความต้องการจำเป็นสำคัญที่สุดได้แก่ ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้โค้ช การโค้ชต้องเริ่มต้นโดยผู้บริหารสถานศึกษา ที่ทำหน้าที่เป็นผู้โค้ชให้กับครูอีกชั้นหนึ่ง ผู้โค้ชต้องเห็นถึงความสามารถของผู้เรียน เข้าใจผู้เรียนแต่ละระดับชั้น แต่ละคน มีความสามารถและประสบการณ์การเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจทำให้มีวิธีคิดที่ต่างมุมกันขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้มา ผู้โค้ชต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น โดยคำนึงถึงช่วงอายุและพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของผู้เรียน การโค้ชในระดับประถมจะใช้วิธีการแบบเน้นการชี้แนะ แนะนำ บอกให้รู้ ผู้โค้ชในยุคปัจจุบันต้องจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเน้นลงมือปฏิบัติได้มากขึ้น ออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับธรรมชาติรายวิชา และที่สำคัญสมรรถนะบางประการของผู้ต้องมีการปรับเพื่อให้เข้ากับผู้เรียนและรูปแบบ การจัดการเรียนการสอนด้วย</li> </ol>
ตะติยา นาอุดม
ระติกรณ์ นิยมะจันทร์
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
2024-06-30
2024-06-30
3 1
49
49