วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ
th-TH
วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
2697-5890
<p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารครุศาสตร์เล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยนครพนม และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p>
-
สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม จังหวัดนครพนม
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3285
<p>การพัฒนาการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม จังหวัดนครพนม เป็นข้อมูลในการวางแผนแก้ไขปัญหาที่เกิดการจัดการเรียนรวมในโรงเรียน อันจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเรียนรวม การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม (2) ประเมินความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 309 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 103 คน ครูผู้รับผิดชอบเด็กพิเศษ จำนวน 103 คนและครูที่ไม่ได้รับผิดชอบเด็กพิเศษ จำนวน 103 คน ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเรียนรวมในจังหวัดนครพนม กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยเทียบตารางของ Krejcie and Morgan โดยการใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหารายข้อระหว่าง .60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .54-.86 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหารายข้อระหว่าง .60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .64-.91 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตร Modified Priority Needs Index (PNI <sub>Modified</sub>)</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม เรียงลำดับค่าสูงที่สุดไปหาต่ำที่สุด ได้แก่ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านเครื่องมือ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านนักเรียน ตามลำดับ</p>
ศริญญา หุนติราช
จารุวรรณ เขียวน้ำชุม
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-29
2024-12-29
5 3
1
10
-
การพัฒนาและฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ดนตรี และการแสดง บ้านด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3878
<p>ดนตรี การแสดง เป็นสิ่งที่มนุษย์ชาติสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นองค์ประกอบหนึ่งของศิลปวัฒนธรรม ในแต่ละพื้นมีศิลปวัฒนธรรมดนตรีและการแสดงที่มีความจำเพาะที่จะแสดงออกถึงความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม และวิถีชีวิต ของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่สร้างขึ้นเอง หรือรับสืบทอดผ่านการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม รวมถึงการนำมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบของชุมชนตนเอง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศิลปวัฒนธรรม ดนตรี และการแสดง บ้านด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร และ 2) เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ดนตรี และการแสดง บ้านด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร โดยมีกลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มผู้รู้ 5 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ 10 คน และจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป 30 คน มีขอบเขตในการทำวิจัยเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้าง แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ศิลปวัฒนธรรมดนตรีและการแสดงบ้านด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ประกอบด้วยพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ประเพณีงานบุญกฐิณ บุญผ้าป่า บุญผะเหวด ประเพณีไหลเรือไฟ พิธีกรรมทางศาสนา เช่น การแห่พระอุปคุต และการฟ้อนกลองตุ้มเป็นวัฒนธรรมที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวผู้ไทกะต๊ะ ด้วยอัตลักษณ์ทางด้านการแต่งกาย และการบรรเลงดนตรีอันเป็นเอกลักษณ์จำเพาะ ทั้งนี้ การแสดงการฟ้อนกลองตุ้มมีบทบาทสำคัญต่อการแสดงในพิธีกรรม และประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทกะต๊ะ บ้านด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร และ 2) การพัฒนาและฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ดนตรี และการแสดง บ้านด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร โดยมีการรวมร่วมข้อมูลในด้านศิลปวัฒนธรรม พิธีกรรมต่าง ๆ งานบุญ งานประเพณี วิถีชีวิต มีการพัฒนาสร้างบทเพลงแห่กลองตุ้ม รวมถึงการแสดงการออกแบบท่ารำ ของชาวบ้านด่านม่วงคำ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร</p>
ธีรวุฒิ มูลเมืองแสน
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-29
2024-12-29
5 3
11
23
-
การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะการอ่านของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/4121
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านแพงพิทยาคม อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม จำนวน 34 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม ด้วยวิธีการจับสลาก โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่าน แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test แบบ Dependent Samples</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านของนักเรียน<br />ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าเฉลี่ย ( = 13.52, S.D. = 1.13), ( = 10.32, S.D. = 1.68) ตามลำดับ และ 2) การเปรียบเทียบความสามารถทางการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านพบว่า การอ่านจับใจความสำคัญ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.9, S.D. = 0.23) และการอ่านจับใจความสำคัญจากนิทาน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.9, S.D. = 0.23) รองลงมาคือ การอ่านจับใจความสำคัญจากตำนาน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.8, S.D. = 0.48) รองลงมาคือ การอ่านจับใจความสำคัญจากเรื่องสั้น มีค่าเฉลี่ย ( = 4.7, S.D. = 0.48) รองลงมาคือ การอ่านจับใจความสำคัญจากบทความ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.6, S.D. = 0.51) การอ่านจับใจความสำคัญจากข่าว มีค่าเฉลี่ย ( = 4.6, S.D. = 0.51) รองลงมาคือ การอ่านจับใจความสำคัญจากสารคดี มีค่าเฉลี่ย ( = 4.5, S.D. = 0.69) และการอ่านจับใจความสำคัญจากบทร้อยกรอง มีค่าเฉลี่ย ( =4.4, S.D. = 0.69) ตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าร้อยละ 80 และความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนโดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p>
ฐนพรรณ ธูปหอม
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-29
2024-12-29
5 3
24
35
-
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษา: การบูรณาการกรอบสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ PISA 2025
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/4231
<p> การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในศตวรรษที่ 21 ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อระบบนิเวศและการดำรงชีวิตของมนุษย์ ส่งผลให้จำเป็นต้องมีแนวทางการศึกษาที่สร้างความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน การจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมแบบดั้งเดิมมักขาดการเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ในชีวิตจริง ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางทฤษฎีกับความท้าทายในทางปฏิบัติได้ การวิจัยนี้มุ่งเติมเต็มช่องว่างดังกล่าวโดยพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ปรากฏการณ์เป็นฐาน (PhenoBL) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในบริบท “ป่าบุ่งป่าทาม” ซึ่งเป็นระบบนิเวศชุ่มน้ำที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ PhenoBL เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษา และ 2) ศึกษาสมรรถนะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษา โดยประเมินผ่านกรอบสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ PISA 2025 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 80 คน โดยเลือกแบบการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ PhenoBL เรื่อง ป่าบุ่มป่าทาม จำนวน 4 แผน รวม 4 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบสมรรถนะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม จำนวน 20 ข้อ โดยกำหนดนักศึกษาผ่านเกณฑ์ที่ร้อยละ 70 3) แบบประเมินผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ และ 4) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ PhenoBL ช่วยให้นักเรียนเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ ส่งเสริมการคิดเชิงระบบ การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และการสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และ 2) นักเรียนร้อยละ 87.25 มีคะแนนสมรรถนะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมผ่านเกณฑ์ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 16.76 คะแนน (SD = 2.87) คิดเป็นร้อยละ 83.80 ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงประสิทธิผลของการบูรณาการ PhenoBL ในการจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมเสนอแนะเชิงนโยบายให้พัฒนาแผนการเรียนรู้ PhenoBL ในระดับชาติ รวมถึงสนับสนุนการอบรมครูให้มีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับบริบทท้องถิ่นและความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน</p>
สรายุธ รัศมี
ณัฐพล มีแก้ว
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-29
2024-12-29
5 3
36
53
-
ความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนรู้: ตัวแปรสำคัญที่คนเป็นครูไม่ควรมองข้าม
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3779
<p> บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอองค์ความรู้และความสำคัญของความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนรู้ต่อครูผู้สอนเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจมโนทัศน์ของความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนรู้และเห็นแนวทางหรือบทบาทของครูที่ต้องจัดการเรียนรู้<br />ในสถานการณ์ที่ผู้เรียนในห้องเรียนมีความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนรู้ต่างกัน ตลอดจนเห็นแนวโน้มการทำวิจัยทางการศึกษา<br />ที่เกี่ยวข้องกับความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนรู้ในปัจจุบัน พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการวิจัยโดยศึกษาในฐานะตัวแปรเกินประเภทตัวแปรแทรกซ้อน ผ่านการประยุกต์ใช้วิธีการควบคุมตัวแปรด้วยการนำตัวแปรดังกล่าวมาเป็นตัวแปรอิสระที่สนใจศึกษาร่วมด้วย อันจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพทั้งในมิติความรู้ ทักษะ และมีเจตคติเชิงบวกต่อการเรียน นำสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21</p>
สมชาย ทุนมาก
ทรงภพ ขุนมธุรส
กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-29
2024-12-29
5 3
54
68
-
การใช้โปรแกรม GeoGebra ออกแบบลายผ้าทอมือจากลายตะไลล้านและลายมาลัยไม้ไผ่
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/4073
<p>บทความนี้เป็นการใช้โปรแกรม GeoGebra ออกแบบลายผ้าทอมือจากลายตะไลล้านและลายมาลัยไม้ไผ่ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์คือ ใช้โปรแกรม GeoGebra สร้างลายผ้าทอมือจากสมการทางคณิตศาสตร์ เพื่อบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ และวิชาคณิตศาสตร์ และเพื่ออนุรักษ์ศิลปกรรมไทย เนื่องจากลายผ้าทอมือถือเป็นจิตรกรรมอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของชาติไทย และผู้เขียนได้ศึกษาการใช้โปรแกรม GeoGebra และข้อมูลเกี่ยวกับลายผ้าทอมือ ได้แก่ ลายตะไลล้านและลายมาลัยไม้ไผ่ โดยนำกราฟของสมการทางคณิตศาสตร์จากการใช้โปรแกรม GeoGebra มาสร้างลายตะไลล้านและลายมาลัยไม้ไผ่ และอธิบายส่วนประกอบของลายตะไลล้านและลายมาลัยไม้ไผ่ เปรียบเทียบกับสมการทางคณิตศาสตร์ จากการศึกษาดังกล่าวทำให้ผู้เขียนทราบว่าโปรแกรม GeoGebra สามารถสร้างลายผ้าทอมือที่มีความสวยงามได้จากกราฟของสมการทางคณิตศาสตร์ในโปรแกรม GeoGebra และยังสามารถนำลายผ้าทอมือที่สร้างจากสมการทางคณิตศาสตร์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้เป็นต้นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์หรือสินค้า ซึ่งสามารถอภิปรายผลการศึกษาครั้งนี้ได้ว่า ในการใช้โปรแกรม GeoGebra สร้างกราฟของสมการคณิตศาสตร์ของลายผ้าทอมือยังมีลายที่สามารถสร้างได้อีกมากมาย ซึ่งรายละเอียดของลายผ้าทอมือมากเท่าไหร่การสร้างกราฟของสมการทางคณิตศาสตร์ในโปรแกรม GeoGebra ก็ยิ่งซับซ้อนและใช้เวลานานขึ้น</p>
Kanchana Wichasan
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-29
2024-12-29
5 3
69
84
-
การนำกฎโคไซน์มาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำประตูที่จุดโทษในกีฬาฟุตซอล
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/4083
<p>การศึกษานี้นำเสนอการประยุกต์ใช้หลักการทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการยิงประตูในกีฬาฟุตซอล โดยมุ่งเน้นการใช้ทฤษฎีพีทาโกรัสในการคำนวณระยะทางและการใช้กฎโคไซน์ในการหามุมที่เหมาะสมสำหรับการยิงประตูนอกจากนี้ ยังศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างมุมการยิง และแรงที่กระทำต่อลูกฟุตซอลบทความนี้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีทางคณิตศาสตร์และการประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงของการแข่งขันกีฬาฟุตซอลผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเทคนิคการเล่นและการฝึกซ้อมของนักกีฬาฟุตซอลรวมถึงการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการยิงประตูในการแข่งขันระดับสูง</p>
Norawit Chaisri
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-29
2024-12-29
5 3
85
95