วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารครุศาสตร์เล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยนครพนม และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> edunpujournal@gmail.com (อาจารย์ ดร.สุทธิลักษณ์ สวรรยาวิสุทธิ์) edunpujournal@gmail.com (นางสาวกฤติกา ยศอินทร์) Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนสำเร็จรูปแอปพลิเคชัน Padlet https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3341 <div> <p> การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนสําเร็จรูปแอปพลิเคชัน Padlet และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการเรียนรู้วรรณคดี โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนสําเร็จรูปแอปพลิเคชัน Padlet การวิจัยใช้แผนการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวโดยวัดผลก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี จำนวน 30 คน โดยเลือกมาแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนสําเร็จรูปแอปพลิเคชัน Padlet แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนก่อนและหลังเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนวรรณคดีเรื่อง มัทนะพาธา โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนสําเร็จรูปแอปพลิเคชัน Padlet วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 โดยใช้วิธีการสอน แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนสําเร็จรูปแอปพลิเคชัน Padlet หลังเรียน ( = 14.33, S.D. = 1.27) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 4.53, S.D. = 1.25) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วรรณคดีเรื่อง มัทนะพาธา โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนสําเร็จรูปแอปพลิเคชัน Padlet โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 2.77)</p> </div> Irfan Muhama Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3341 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 Design and Develop a Learning Innovation Based on Design Thinking to Promote Creative Thinking Of Freshmen Majoring in Film and Television https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3062 <p> The purposes of this study were (1) to design and carry out the learning innovation based on design thinking to promote the creative thinking of freshmen majoring in film and television, (2) to study the creative thinking ability of freshmen majoring in film and television before and after using design-based learning innovation, and (3) to investigate learners' satisfaction with design-based learning innovation. The sample included: (1) 6 experts in 3 aspects; and (2) 15 freshmen from a film and television university in China were randomly selected for practical teaching. Research tools included: (1) theoretical framework record sheet and design framework record sheet; (2) expert questionnaire from three aspects: content, media and design; (3) before and after assessment of students' creative thinking ability (fluency thinking, thinking flexibility, creative thinking, and detailed thinking); and (4) students' satisfaction with learning innovation questionnaire based on design thinking. This study adopted the research method of Richy and Kline (2007), which included three stages: design, development and evaluation.</p> <p> The results showed that: (1) the innovative learning environment based on design thinking was consistent with the theoretical framework record table and the design framework record table; (2) both the pre-test and post-test of the four dimensions of creative thinking showed differences (p&lt;0.01), that was, students' creative thinking ability improved significantly after teaching; (3) integrating the three aspects, the mean score ( ) was 4.10 and the standard deviation (S.D.) was 0.59, indicating that students were satisfied with the learning innovation based on design thinking.</p> Asst.Prof.Dr.Parama Kwangmuang Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3062 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการนิเทศภายในโรงเรียนยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3282 <p>การนิเทศภายในมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะนำพาสถานศึกษาบรรลุเป้าหมายในยุคดิจทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อันจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารงานของสถานศึกษาการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุ</p> <p>ประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การนิเทศภายในโรงเรียนยุคดิจิทัล&nbsp; (2) ประเมินควาต้องการ</p> <p>จำเป็นการนิเทศภายในโรงเรียนยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานบริหารวิชาการ และครู จำนวน 173 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา</p> <p>มีจำนวน 2 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการนิเทศภายในโรงเรียนยุคดิจิทัล มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .52-.90 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .99 (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในโรงเรียนยุคดิจิทัล&nbsp; มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้vระหว่าง .60-.89 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็น โดยใช้สูตร Modified Priority Needs Index (PNI<sub>Modified</sub>)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการนิเทศภายในโรงเรียนยุคดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในโรงเรียนยุคดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความต้องการจำเป็นการนิเทศภายในโรงเรียนยุคดิจิทัล&nbsp; โดยรวมและรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านการนิเทศแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการนิเทศแบบครูพี่เลี้ยง ด้านการนิเทศออนไลน์ ด้านการนิเทศแบบชี้แนะ และด้านการนิเทศแบบคลินิก ตามลำดับ</p> Chedsada Poncha Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3282 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษานครพนม https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3283 <p> สภาพการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปของโลกในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะในส่วนที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างคุ้มค่าที่แท้จริง การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลในโรงเรียน (2) เปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 34 คน และครู 189 คน จำนวน 232 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มีจำนวน 1 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลในโรงเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.65-0.88 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test แบบ Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม โดยรวมและรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน (2) ผลการเปรียบเทียบภาวะคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม จำแนกตามสถานภาพและขนาดสถานศึกษา พบว่า ไม่แตกต่างกัน</p> Tanyong Baenlee Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3283 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ ของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครพนม https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3284 <p> การพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษก่อให้เกิดความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองนักเรียนอย่างจริงจัง ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างผู้ปกครองนักเรียน และสถานศึกษา การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ (2) ประเมินความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการ มีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 162 คน ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 162 คน ปีการศึกษา 2566 ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครพนม กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบตารางของ Krejcie and Morgan โดยการใช้การสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหารายข้อระหว่าง .80-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .54-.86 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครพนม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหารายข้อระหว่าง .80-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .64-.91 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษเรียงลำดับค่าสูงที่สุดไปหาต่ำที่สุด ได้แก่ ด้านการร่วมส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษา ด้านการร่วมจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ด้านการร่วมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กพิเศษ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และด้านการร่วมวัด ประเมินและร่วมสรุปผล ตามลำดับ</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษเรียงลำดับค่าสูงที่สุดไปหาต่ำที่สุดได้แก่คือด้านการร่วมส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษา ด้านการร่วมจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ด้านการร่วมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กพิเศษด้านการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และด้านการร่วมวัด ประเมินและร่วมสรุปผล ตามลำดับ</p> Kornkanok Saensuk Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3284 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การดำเนินการระหว่างเซต โดยใช้ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับสื่อประสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3304 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การดำเนินการระหว่างเซต โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับสื่อประสม กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การดำเนินการระหว่างเซต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับสื่อประสม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบที t-test one sample ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การดำเนินการระหว่างเซต โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับสื่อประสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> PIYAPOL PLUBWANGKLUM Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3304 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาความสามารถการอ่านสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐาน ร่วมกับการใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชัน https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3040 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านสะกดคำไม่ตรงตามมาตราก่อนและหลัง<br />การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐาน ร่วมกับการใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านสะกดคำไม่ตรงตามมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับสื่อการ์ตูนแอนิเมชันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านลาด อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 10 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม มีหน่วยในการสุ่ม คือ โรงเรียน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชัน 2) การ์ตูนแอนิเมชัน โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการอ่านสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชัน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถการอ่านสะกดคำไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐาน ร่วมกับการใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2) ความสามารถการอ่านสะกดคำไม่ตรงตามมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจ ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ร่วมกับการใช้สื่อการ์ตูนแอนิเมชัน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72, S.D. = 0.42)</p> Netchanok Buasa Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3040 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700