https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ghuru/issue/feed วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2025-03-19T22:44:23+07:00 รศ.ดร.ประภาส พาวินันท์ (Assoc. Prof. Dr. Prapat Pawinun) pa_prapat@ru.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา<br />มีกำหนดออกเป็นประจำทุกปี ๆ ละ ๒ ฉบับ ได้แก่<br />ฉบับเดือนมกราคม-มิถุนายน และฉบับเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม</p> <p>คณะทำงานวารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมหาวิทยาลัยเป็นผู้มีชื่อเสียงในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวารสาร จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบ สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย</p> https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ghuru/article/view/4840 การฝึกการเรียนรู้ทางกลไกร่วมกับกระบวนการข้อมูลโดยใช้การจินตภาพที่ส่งผลต่อการปฏิบัติ เชิงกลยุทธ์ของนักกีฬาวอลเลย์บอลโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง 2025-03-19T22:14:25+07:00 ณัฐพงษ์ ทำทาน thanida.b@rumail.ru.ac.th ธนิดา ภาสะวณิช thanida.b@rumail.ru.ac.th <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการฝึกการเรียนรู้ทางกลไกร่วมกับกระบวนการข้อมูลโดยใช้การจินตภาพที่ส่งผลต่อการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ของนักกีฬาวอลเลย์บอลโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง &nbsp;กลุ่มทดลองจำนวน 48 คน เพศชาย จำนวน 24 คน และเพศหญิง จำนวน 24 คน กลุ่มตัวอย่างมาจากการคำนวณด้วยโปรแกรม G*Power ที่ความคลาดเคลื่อน 10% ได้เท่ากับ 26 คน ผู้วิจัยจึงใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น กลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน เป็นเพศชาย จำนวน 15 คน และเพศหญิง จำนวน 15 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Sampling) เครื่องมือที่ใช้ (1) แบบประเมินความสามารถในการจินตภาพ (2) โปรแกรมการจินตภาพกลยุทธ์การเล่น 3 รูปแบบ (3) แบบประเมินความแม่นยำในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ และ (4) แบบประเมินความเร็วการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ช่วงก่อนและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 ด้วยสถิติ Independent t-test เมื่อพบความแปรปรวนไม่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม &nbsp;&nbsp;ผลการศึกษา พบว่า ความสามารถในการจินตภาพ ก่อนการฝึก ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกันทางสถิติ เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ย พบว่า หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดลองมีความสามารถในการจินตภาพสูงกว่ากลุ่มควบคุม และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการฝึกการจินตภาพที่มีต่อความเร็วและความแม่นยำในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง พบว่า ความเร็วและความแม่นยำในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ก่อนการฝึก ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ย พบว่า หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดลองมีความเร็วและความแม่นยำในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์มากกว่ากลุ่มควบคุม และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2025-03-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ghuru/article/view/4841 การศึกษาความแตกต่างของระดับความวิตกกังวลของนักกีฬาวอลเลย์บอล ก่อนการแข่งขัน ระหว่างทีมเข้ารอบสี่ทีมสุดท้ายกับทีมที่ตกรอบคัดเลือก ในการแข่งขันกีฬาเครือข่าย แกลงบูรพา 2566 2025-03-19T22:27:54+07:00 ธนพล เกตุวิเศษ maxmax3998@gmail.com <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลของนักกีฬาวอลเลย์บอลก่อนการแข่งขัน ระหว่างทีมเข้ารอบสี่ทีมสุดท้ายกับทีมที่ตกรอบคัดเลือก ในการแข่งขันกีฬาเครือข่าย แกลงบูรพา 2566 โดยเก็บข้อมูลจากทีมเข้ารอบสี่ทีมสุดท้าย จำนวน 1 ทีม และทีมที่ตกรอบคัดเลือก จำนวน 1 ทีม จาก 13 ทีม ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบความวิตกกังวลตามสถานการณ์ (ฉบับปรับปรุง) แปลเป็นภาษาไทย โดย ดร.พิชิต เมืองนาโพธิ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการพิสูจน์ความแตกต่างโดยใช้การทดสอบค่า t - test for Independent</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) การศึกษาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านพบว่าระดับความวิตกกังวลทางกายของทีมที่ตกรอบคัดเลือกสูงกว่าทีมเข้ารอบสี่ทีมสุดท้าย ระดับความวิตกกังวลทางจิตของทีมที่ตกรอบคัดเลือกสูงกว่าทีมเข้ารอบสี่ทีมสุดท้าย และระดับความเชื่อมั่นในตนเองของทีมที่ตกรอบคัดเลือกต่ำกว่าทีมเข้ารอบสี่ทีมสุดท้าย และ (2) การเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลทางกาย ความวิตกกังวลทางจิต และความเชื่อมั่นก่อนการแข่งขัน ระหว่างทีมเข้ารอบสี่ทีมสุดท้าย กับทีมที่ตกรอบคัดเลือก พบว่า มีระดับความวิตกกังวลทางกาย ความวิตกกังวลทางจิต และความเชื่อมั่นในตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2025-03-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ghuru/article/view/4842 ผลของการฝึกโปรแกรมความคล่องแคล่วว่องไวที่มีผลต่อนักกีฬาฟุตบอล โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี 2025-03-19T22:34:59+07:00 ศรัณยู ศรีม่วงพันธุ์ saranyou2811@gmail.com ชนะวงศ์ หงษ์สุวรรณ chanawong.h@rumail.ru.ac.t <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกโปรแกรมความคล่องแคล่วว่องไวที่มีผลต่อนักกีฬาฟุตบอลโรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักกีฬาฟุตบอลโรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี จำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 10 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเรียงลำดับจับคู่ Matching ในการทำการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวก่อนฝึก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมความคล่องแคล่วว่องไว และแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวของอิลลินอยส์ (Illinois Agility Test) (Getchell, 1979) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความแตกต่างโดยการทดสอบค่า ที (Independent T-test)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า (1) การเปรียบเทียบความแตกต่างของความคล่องแคล่วว่องไว ก่อนการฝึกระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกัน และ (2) การเปรียบเทียบความแตกต่างความคล่องแคล่วว่องไว หลังการฝึก ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .</p> 2025-03-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ghuru/article/view/4843 คุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ของนิสิตพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยเอกชน ปีการศึกษา 2566 2025-03-19T22:44:23+07:00 อมรเทพ หลาบคำ amornthep1312@Gmail.com สุนทร แม้นสงวน soontorn.m@rumail.ru.ac.th <p>การวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่เป็นจริงและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตพลศึกษา มหาวิทยาลัยเอกชน ปีการศึกษา 2566 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตพลศึกษา ชั้นปีที่ 4 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 70 คน เป็นนิสิตมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต 37 คน และนิสิตมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 33 คน ด้วยวิธีการแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม 5 ระดับ ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงพินิจ จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน (IOC = .60-1.00) และความเที่ยง r = .98 การเก็บข้อมูลได้แบบสอบถามกลับมา จำนวน 70 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 ข้อมูลได้รับการวิเคราะห์เพื่อหาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">คุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ ด้านวิชาการ ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( mean = 3.83, mean= 3.82)</li> <li class="show">คุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ ด้านคุณธรรม ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (mean = 4.01, mean = 3.98)</li> <li class="show">คุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ ด้านมนุษย์สัมพันธ์ ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (mean = 4.14, mean = 4.13)</li> </ol> <p>4. คุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( mean = 4.03, mean = 4.03)</p> 2025-03-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง