วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ghuru
<p>วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา<br />มีกำหนดออกเป็นประจำทุกปี ๆ ละ ๒ ฉบับ ได้แก่<br />ฉบับเดือนมกราคม-มิถุนายน และฉบับเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม</p> <p>คณะทำงานวารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมหาวิทยาลัยเป็นผู้มีชื่อเสียงในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวารสาร จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบ สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย</p>
Office of Graduate School, Faculty of Humanities, Ramkhamhaeng University
th-TH
วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
2286-7457
-
“Forbidden Love” in the Literature of the Early Ayutthaya Period and Medieval Germany as Exemplified by Lilit Phra Lo and Gottfried von Strassburg's Tristan
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ghuru/article/view/4536
<p><strong>Abstract</strong></p> <p>In diesem Forschungsbericht werden verschiedene Aspekte der verbotenen Liebe, die zentrales Motiv in <em>Lilit Phra Lo </em>und Gottfried von Straßburgs <em>Tristan </em>ist, vergleichend zusammengefasst, wobei die Ergebnisse trotz der unterschiedlichen Kulturen überwiegend Gemeinsamkeiten zeigen: Die Liebesbeziehung zwischen den Protagonisten und Protagonistinnen in beiden Werken gilt als sexuelles Fehlverhalten. Ihre Liebe wird allerdings von übernatürlichen Kräften verursacht, denen sie nicht widerstehen können. Dadurch werden ihre unsittlichen Handlungen begründet. Diese Handlungen wirken jedoch trotzdem falsch und führen schließlich, zusammen mit der Mitwirkung der Antagonistin bzw. Antagonisten, zu einem tragischen Ende.</p> <p>Aus dieser Untersuchung kann man feststellen, dass Liebe ein universelles Gefühl ist. Darüber hinaus ist die Wahrnehmung des Fehlhandelns in zwei unterschiedlichen Kulturen ähnlich. Daraus lässt sich der Schluss ziehen, dass der Kulturvergleich nicht nur auf Unterschiede fokussieren, sondern auch Gemeinsamkeiten in den Blick nehmen sollte.</p>
Pinkaew Kittikowit
Michaela Zimmerman
Anchalee Topeongpong
Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
2025-02-06
2025-02-06
13 1
1
14
-
การวิเคราะห์เปรียบเทียบกลสัทศาสตร์เสียงวรรณยุกต์ในคำลงท้ายของเพศทางเลือก
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ghuru/article/view/4537
<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบสัทลักษณะของเสียงวรรณยุกต์ในคำลงท้ายของเพศทางเลือก ด้วยวิธีทางกลสัทศาสตร์ โดยเก็บคำข้อมูลจากผู้บอกภาษาที่เป็นเพศทางเลือก จำนวน 10 คน โดยผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ MTF (Male to female) และ FTM (Female to male) กลุ่มละ 5 คน คำลงท้ายจำนวน 5 คำ ได้แก่ คำว่า/làʔ/ (หละ) /rɔ̀k/ (หรอก) /dìʔ/ (ดิ) /náʔ/ (นะ) และ /wáʔ/ (วะ) บันทึกเสียงและวิเคราะห์ข้อมูลเสียงด้วยโปรแกรมพราต (Praat) ผลการศึกษาพบว่า 1) สัทลักษณะของเสียงวรรณยุกต์ในคำลงท้ายทั้ง 5 คำของเพศทางเลือก 2 กลุ่ม มีสัทลักษณะต่างกัน 3 คำลงท้าย คือ คำลงท้าย /làʔ/ /rɔ̀k/ และ /dìʔ/ สัทลักษณะที่ตรงกันพบ 2 คำ คือ คำลงท้าย /náʔ/ และ /wáʔ/ ซึ่งค่าความถี่มูลฐาน คำลงท้ายทุกคำของทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ค่าพิสัยความถี่มูลฐานของ เสียงวรรณยุกต์ในคำลงท้ายของเพศทางเลือกทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าคำลงท้าย /rɔ̀k/ มีค่าพิสัยกว้างที่สุดของทั้ง 2 กลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบทุกคำลงท้ายแล้วไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ค่าระยะเวลาของเสียงวรรณยุกต์ในคำลงท้ายของเพศทางเลือกทั้ง 2 กลุ่ม พบว่ากลุ่ม FTM มีค่าระยะเวลามากกว่ากลุ่ม MTF ทุกคำลงท้าย และเมื่อเปรียบทั้ง 2 กลุ่มมีความต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กำหนดระดับนัยสำคัญที่ p<0.05 แสดงให้เห็นว่าปัจจัยด้านเพศมีผลต่อค่าระยะเวลาของเสียงวรรณยุกต์แต่ไม่มีผลต่อค่าความถี่มูลฐานและ ค่าพิสัยความถี่มูลฐาน</p>
น้ำทิพย์ ชัยวงศ์
อรรถสิทธิ์ บุญสวัสดิ์
Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
2025-02-06
2025-02-06
13 1
15
33
-
การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยการยอมรับการใช้ระบบคลังข้อมูลดิจิทัล: กรณีศึกษาการใช้ระบบ SRU Intellectual Repository
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ghuru/article/view/4538
<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้งานบริการสารสนเทศของผู้ใช้ระบบคลังข้อมูลเอกสารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และ (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบคลังข้อมูลเอกสารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี<strong> </strong>เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ อาจารย์ นักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 865 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความถดถอยพหุคูณ </p> <p>ผลการวิจัย (1) พฤติกรรมการใช้งานบริการสารสนเทศของผู้ใช้ระบบคลังข้อมูลเอกสารงานวิจัย <br>(1.1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 592 คน คิดเป็นร้อยละ 68.4 สถานะผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่มีสถานะเป็นนักศึกษา จำนวน 420 คน คิดเป็นร้อยละ 48.6 และสังกัดหน่วยงานของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ คือ หน่วยงานสนับสนุนวิชาการ จำนวน 200 คน คิดเป็นร้อยละ 23.1 (1.2) พฤติกรรมการใช้ระบบคลังข้อมูลเอกสารงานวิจัย ส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาในการใช้ระบบคลังข้อมูลเอกสารงานวิจัย 1-2 ชั่วโมง/ครั้ง จำนวน 295 คน คิดเป็นร้อยละ 34.1 ส่วนความถี่ในการเข้าใช้ระบบคลังข้อมูลเอกสารงานวิจัย มากที่สุด คือ ต่ำกว่า 5 ครั้ง จำนวน 542 คน คิดเป็นร้อยละ 62.7 และวัตถุประสงค์การเข้าใช้ระบบคลังข้อมูลเอกสารงานวิจัย มากที่สุด คือ เพื่อค้นคว้าข้อมูลเอกสารงานวิจัย จำนวน 438 คน คิดเป็นร้อยละ 50.6 และ (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้ระบบคลังข้อมูลเอกสารงานวิจัย (2.1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบคลังข้อมูลเอกสารงานวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยคุณภาพของข้อมูลมากที่สุด (= 4.28) รองลงมาเป็นปัจจัยคุณภาพของระบบ ( = 4.07) ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งาน (= 3.97) ปัจจัยพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้งาน ( = 3.80) <br>และการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ( = 3.76) (2.2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบคลังข้อมูลเอกสารงานวิจัย คือ ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งาน การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน และคุณภาพของระบบ <br>มีอิทธิพลโดยตรงต่อพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้งานระบบ ส่วนคุณภาพของข้อมูลไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้งานระบบ คุณภาพของข้อมูล คุณภาพของระบบ และการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งาน <br>มีอิทธิพลโดยตรงต่อการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานระบบ คุณภาพของระบบ มีอิทธิพลโดยตรงต่อการรับรู้ความง่ายในการใช้งานระบบ</p>
ปิยะรัตน์ ภิรมแก้ว
Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
2025-02-06
2025-02-06
13 1
34
54
-
การศึกษาเปรียบเทียบความวิตกกังวลตามสถานการณ์ของนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติไทย ระหว่างช่วงก่อน ขณะ และหลังการแข่งขัน เอเชี่ยนเอจกรุ๊ป 2023 ณ เมืองคลาร์ก ประเทศฟิลิปปินส์
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ghuru/article/view/4539
<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาเปรียบเทียบความวิตกกังวลตามสถานการณ์ของนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติไทย ระหว่างช่วงก่อน ขณะ และหลังการแข่งขันเอเชี่ยนเอจกรุ๊ป 2023 ณ เมือง คลาร์ก ประเทศฟิลิปปินส์ ประชากรเป็นนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติไทย จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบความวิตกกังวลตามสถานการณ์ (ฉบับปรับปรุง) แปลเป็นภาษาไทย โดย ดร.พิชิต เมืองนาโพธิ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วย Paired t-test</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ความวิตกกังวลตามสถานณ์ก่อนการแข่งขันในด้านความวิตกกังวลทางจิต อยู่ในระดับต่ำ (14.66) ความวิตกกังวลทางกาย อยู่ในระดับต่ำ (13.45) และความเชื่อมั่น อยู่ในระดับปานกลาง (26.42) ความวิตกกังวลตามสถานณ์ขณะแข่งขันในด้านความวิตกกังวลทางจิต อยู่ในระดับสูง (32.16) ความวิตกกังวลทางกาย อยู่ในระดับต่ำ (16.07) และความเชื่อมั่น อยู่ในระดับ ปานกลาง (26.34) และความวิตกกังวลตามสถานณ์หลังการแข่งขันในด้านความวิตกกังวลทางจิต อยู่ในระดับ ปานกลาง (23.04) ความวิตกกังวลทางกาย อยู่ในระดับต่ำ (11.02) และความเชื่อมั่น อยู่ในระดับต่ำ (19.48) นอกจากนี้พบความแตกต่างกันระหว่าง ความวิตกกังวลทางจิตขณะแข่งขัน กับ ความวิตกกังวลทางจิตหลังแข่งขัน รวมทั้งความวิตกกังวลทางกายขณะแข่งขัน กับ ความวิตกกังวลทางกายหลังแข่งขัน และความเชื่อมั่นในตนเองก่อนแข่งขัน กับ ความเชื่อมั่นในตนเองขณะแข่งขัน และความเชื่อมั่นในตนเองหลังแข่งขัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
ดาราวรรณ สำอางค์เอม
ธนิดา ภาสะวณิช
Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
2025-02-06
2025-02-06
13 1
55
68