วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ghuru <p>วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา<br />มีกำหนดออกเป็นประจำทุกปี ๆ ละ ๒ ฉบับ ได้แก่<br />ฉบับเดือนมกราคม-มิถุนายน และฉบับเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม</p> <p>คณะทำงานวารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมหาวิทยาลัยเป็นผู้มีชื่อเสียงในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวารสาร จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบ สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย</p> th-TH pa_prapat@ru.ac.th (Assoc. Prof. Dr. Prapat Pawinun) wanvi2@hotmail.com (Wanvisa Phonkayun) Thu, 02 May 2024 08:42:09 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาเพื่อเสริมสร้าง ความสามารถการอ่านจับใจความของนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ghuru/article/view/3360 <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อ (1) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพแผนกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความของนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ และ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความของนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีไชยพันธ์พงษ์ จำนวน 30 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษา จำนวน 5 แผน และ (2) แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียว</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการประเมินคุณภาพแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านจับใจความ พบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกแผนการเรียนรู้อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด และ (2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความของนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05</p> กรกนก ทิพพหา, วสันต์ สรรพสุข Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ghuru/article/view/3360 Thu, 02 May 2024 00:00:00 +0700 ความคิดทางการเมืองของ Yoshikazu Yasuhiko ในหนังสือการ์ตูน “โมบิลสูทกันดั้ม ดิ ออริจิน” https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ghuru/article/view/3361 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>งานวิจัยเรื่องความคิดทางการเมืองของ Yoshilazi Yashiko ในหนังสือการ์ตูนต้องการศึกษา&nbsp; &nbsp;(1) ความคิดทางการเมืองของ ผ่านตัวละครต่าง ๆ ในการ์ตูน โมบิลสูทกันดั้ม ดิออริจิน (2) ผู้เขียนอธิบายแนวคิดเหล่านี้อย่างไรในหนังสือการ์ตูนโมบิลสูทกันดั้ม ดิออริจิน และ (3) ผู้เขียนการ์ตูนสนับสนุนหรือต่อต้านแนวคิดทางการเมืองแบบใด โดยวิธีวิจัยคือ การศึกษาจากเอกสาร (Documentary research) และการวิเคราะห์เอกสารผ่านการรวบรวมแนวคิดที่เกี่ยวข้องในหนังสือการ์ตูน โมบิลสูทกันดั้ม ดิออริจิน เล่ม 1 – 23</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ตัวละครจาก "โมบิลสูทกันดั้ม คิออริจิน" มีแนวความคิดที่มีความหลากหลาย เช่น แนวคิดอย่างสุดโต่งในด้านฟาสซิสต์ ด้านเสรีนิยม เนื่องจากสถานะและความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน แท้จริงแล้ว Yoshilazi Yashiko ไม่ได้มีการระบุแนวคิดทางการเมืองอย่างเป็นนามธรรม แต่เลือกใช้การสื่อถึงหรือการใช้นัยยะทางการแสดงออกเพื่อให้เห็นถึงรูปแบบที่มีความชัดเจนของแต่ละอุดมการณ์ทางการเมือง&nbsp; ในทางกลับกัน ผู้เขียนให้ผู้อ่านตีความถึงความถูกต้อง เหมาะสม หรือการมองสถานการณ์ที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ทางการเมืองของตัวผู้อ่านเอง โดยงานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะคือ การศึกษาการ์ตูนซึ่งเป็นสื่อ สามารถเข้าถึงบุคคลได้อย่างหลากหลายเพศ หลากหลายกลุ่มและช่วงวัย ทำให้การสื่อสารแนวคิดอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นไปได้ง่ายและร่วมสมัย นอกจากนี้ การ์ตูนสามารถยกระดับการสื่อสารแนวคิดอุดมการณ์ทางการเมือง ได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการสื่อสารด้วยตัวละครลดกำแพงความยากในการสื่อสาร ความซับซ้อนแนวคิดทางการเมืองและแนวคิดทางปรัชญา และถึงความหลากหลายของการเกิดขึ้นของอุดมการณ์ทางการเมืองที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารในช่วงปี 1979 – 2023สะท้อนให้เห็นถึงความน่ากลัวในระบอบฟาสซิสต์และพยายามสื่อสารให้แก่ผู้อ่านเข้าใจผ่านการ์ตูน "โมบิลสูทกันดั้ม คิออริจิน" รวมถึงการสะท้อนความสำคัญของระบอบเสรีนิยมในโลกสังคมยุคปัจจุบัน</p> กานต์ มีสัตย์ธรรม, ลดาวัลย์ ไข่คำ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ghuru/article/view/3361 Thu, 02 May 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความสัมพันธ์ของทรัพยากรน้ำกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยว ในสิบปีข้างหน้าของพื้นที่ 5 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ghuru/article/view/3362 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; รายงานการวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการตรวจสอบสถานการณ์น้ำและผลกระทบของน้ำต่อการท่องเที่ยว สำรวจปริมาณแหล่งน้ำธรรมชาติ แม่น้ำและลำคลอง รวมทั้งปริมาณน้ำฝนของพื้นที่ ศึกษาความเพียงพอในการอุปโภคและบริโภคจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวและผลกระทบของน้ำที่จะเกิดขึ้นทั้งน้ำท่วมและภัยแล้งในสิบปีข้างหน้า โดยใช้การวิจัยแบบผสม ได้แก่ การวิจัยเชิงสำรวจและการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์โดยใช้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 100 คนจากภาครัฐและภาคผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ จากนั้นดำเนินการจัดทำสนทนากลุ่มจำนวนทั้งสิ้น 580 คน เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการจัดทำแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับน้ำในอีกสิบปีข้างหน้า ผลการวิจัยพบว่า ในช่วงพ.ศ. 2558 – 2561 และช่วงการระบาดของเชื้อ COVID-19 พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2563 ปริมาณน้ำมีเพียงพอไม่ส่งผลกระทบแก่การท่องเที่ยวในพื้นที่ มีเพียงการเกิดน้ำท่วมใน 2 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานีและอำนาจเจริญ ในอนาคต แม้ว่า ประชาชนในพื้นที่และจำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มมากขึ้นแต่ไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำในพื้นที่แต่อย่างใด ภาครัฐควรมีการวางแผนรองรับการเกิดภัยแล้งหรืออุทกภัยในอนาคตเพื่อที่จะวางแผนและควบคุมให้ได้ นอกจากนั้น ควรมีการส่งเสริมฟื้นฟูการท่องเที่ยววิถีน้ำให้กลับคืนมาเพื่อส่งเสริมให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่</p> นพปฎล ธาระวานิช, นงเยาว์ ชาญณรงค์, ลักษณวัต ปาละรัตน์, ก้องสกล กวินรวีกุล Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ghuru/article/view/3362 Thu, 02 May 2024 00:00:00 +0700 วิเคราะห์แนวทางในการแต่งพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ghuru/article/view/3363 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความวิชาการนี้ มุ่งศึกษาแนวทางการแต่งพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ผลการศึกษาพบว่า แนวทางในการแต่งพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร มีทั้งสิ้น 3 ประการ ได้แก่ (1) พระนิพนธ์ส่วนใหญ่จะทรงแจ้งให้ผู้อ่านทราบว่าพระองค์เป็นผู้แต่ง (2) พระนิพนธ์ทุกเรื่องทรงแต่งตามแบบวรรณคดีสมัยก่อน &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;และ (3) ทรงประยุกต์คำประพันธ์ต้นแบบให้เป็นลักษณะเฉพาะของพระองค์ ทั้งนี้การแต่งพระนิพนธ์ตามวรรณคดีรุ่นเก่าของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ไม่ได้ถือว่าเป็นการเลียนแบบหรือคัดลอกผลงาน แต่เป็นการแต่งตามขนบนิยมที่กวีรุ่นหลังมักนำผลงานของกวีรุ่นก่อนมากล่าวไว้ในงานด้วยความเคารพ</p> ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ghuru/article/view/3363 Thu, 02 May 2024 00:00:00 +0700