การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความหมาย เสียงอ่าน รูปอักษร และการใช้ของอักษร “在”

ผู้แต่ง

  • ศุภชัย ศรีอักษร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • สิริภัทร เมืองแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • กมลวรรณ พารันนิตย์ สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • สิทธิชัย แซ่ซ้ง สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์, ความหมาย, เสียงอ่าน, รูปอักษร, การใช้

บทคัดย่อ

อักษร 在 เป็นอักษรที่มีทั้งความหมายทางคำศัพท์และความหมายทางไวยากรณ์ที่หลากหลาย เป็นอักษรจีนที่ปรากฏความถี่ในการใช้บ่อยและเป็นอักษรจีนที่ปรากฏในรูปประโยคพื้นฐานสำหรับผู้เรียนระดับต้น บทความวิชาการฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะแสดงถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างองค์ประกอบพื้นฐานของภาษาจีนปัจจุบันทั้ง 4 ด้านให้ชัดเจนผ่านการศึกษาความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างความหมาย เสียงอ่าน รูปอักษรและการใช้ของอักษร 在 ในเบื้องต้น และเพื่อใช้เป็นแนวทางให้ผู้เรียนภาษาจีนใช้ในการศึกษาและพัฒนาทักษะภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพในบทความฉบับนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ 1) ความหมายของอักษร 在 2) ความสัมพันธ์ระหว่างความหมายและเสียงอ่านของอักษร 在 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความหมายและรูปอักษรของอักษร 在 4) การใช้อักษร 在 และ 5) บทสรุป จะทำการชี้ให้เห็นถึงภาพรวมของความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างความหมาย เสียงอ่าน รูปอักษร และการใช้ของอักษร 在 ในภาพรวม พบว่าความหมายของอักษร 在 เป็นอักษรประเภทอักษรรูปเสียง (形声字) โดยมีความหมายเดิมว่า มีชีวิตอยู่ หรือดำรงอยู่ ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับรูปอักษรที่ประกอบด้วยอักษร 才 หมายถึงต้นไม้ใบหญ้าเริ่มงอก และอักษร 土 หมายถึงพื้นดินที่ต้นไม้ใบหญ้านั้นงอกขึ้น ชี้ให้เห็นถึงความหมายของการดำรงชีวิตอยู่ และความหมายนี้จึงเป็นองค์ประกอบความหมายหลักของอักษร 在 ในด้านเสียงอ่านอักษร 在 และอักษร 才 มีเสียงอ่านโบราณที่เหมือนหรือคล้ายกัน และความหมายก็มีความเชือมโยงกันจัดเป็นอักษรที่มีแหล่งที่มาความหมายเดียวกัน (同源字) และในด้านการใช้ 在 มีการใช้ในความหมายที่ทำหน้าที่เป็นคำกริยา คำบุพบท โดยที่ด้านหลังมีกรรมที่เป็นคำนามหรือกลุ่มคำนามรองรับ และคำวิเศษณ์ โดยที่ด้านหลังมีกรรมที่เป็นคำกริยาหรือกลุ่มคำกริยารองรับ ผลการศึกษาเบื้องต้นนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางให้ผู้เรียนภาษาจีนใช้ในการศึกษาและพัฒนาทักษะภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพ และนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิจัยการศึกษาการใช้อักษร 在 ในผู้เรียนระดับต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความลุ่มลึกในองค์ความรู้ต่อไป

References

คัง หยู้ฮวา, ไหล ซื่อผิง. (2560). สนทนาภาษาจีน 301 ประโยค เล่ม 1. กรุงเทพฯ: เอบิซ อินเตอร์ กรุ๊ป.

เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2559). พจนานุกรมจีน-ไทย ฉบับใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 33). กรุงเทพฯ: บริษัท รวมสาส์น (1997).

Chinesetest. (n.d.). Xin HSK (yi ji) Kaoshi Dagang. Retrieved 31 October 2021, from http://www.chinesetest.cn/userfiles/file/dagang/HSK1.pdf

Kumpai, A. (2021). Changes of word meaning in Chinese. Journal of the Faculty of Arts, Silpakorn University, 27(1), 7-26.

北京大学中文系现代汉语教研室. (2010). 《现代汉语》. 北京: 商务印书馆.

高守纲. (1994). 《古代汉语词义通论》. 北京: 语文出版社.《古代汉语词典》

郭锡良. (1986). 《汉语古音手册》. 北京: 北京大学出版社.

黄伯荣, 廖序东. (2007).《现代汉语•上册(第4版)》. 北京: 高等教育出版社.

黄德宽. (2007).《古文字谱系疏证(全4册)》. 北京: 商务印书馆.

金良年. (2012).《论语译注》. 上海: 上海古籍出版社.

李圃, 郑明. (2010).《古文字释要》. 上海: 上海教育出版社.

上海古籍出版社. (1997).《十三经注疏•论语》. 上海: 上海古籍出版社.

苏新春. (1992).《汉语词义学》. 广东: 广东教育出版社.

王力. (2013).《汉语词汇史》. 北京: 中华书局.

许慎, 段玉裁. (2007).《说文解字注》. 杭州: 浙江古籍出版社.

杨寄洲. (2016).《汉语教程(第一册上)(第3版)》.北京: 北京语言大学出版社.

张静贤, 梁彦民, 赵雷. (2004).《汉字教程》. 北京: 北京语言大学出版社.

张双棣, 张联荣, 宋绍年, 耿振生. (2002).《古代汉语知识教程》. 北京: 北京大学出版社.

赵克勤. (1994).《古代汉语词汇学》. 北京: 商务印书馆.

编写组. (2007). 《古代汉语词典缩印本)》. 北京: 商务印书馆.

中国社会科学院语言研究所词典编辑室. (2012). 《现代汉语词典(第6版)》. 北京: 商务印书馆.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25