https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/issue/feed วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2024-03-14T10:57:30+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาปี คงอินทร์ [email protected] Open Journal Systems <p>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (Journal of Humanities and Social Sciences Bansomdejchaopraya Rajabhat University) ได้เริ่มจัดทำวารสารฉบับออนไลน์เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2558 โดยเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน) ได้แก่ ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม) วารสารผ่านการรับรองคุณภาพจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) โดยได้รับการรับรองคุณภาพจัดให้เป็นวารสารกลุ่มที่ 2 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567</p> <p>ISSN 2822-1516 (Print) ISSN 2985-0169 (Online)</p> https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/3038 วัยเก๋าเล่าเรื่อง@ฝั่งธนฯ 2024-03-14T10:57:30+07:00 สมบัติ สมศรีพลอย [email protected] <p>หนังสือ วิวิธวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ “วัยเก๋าเล่าเรื่อง@ฝั่งธนฯ” งานเขียนของ วราห์ โรจนวิภาต จัดพิมพ์โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา หนังสือเล่มนี้ทรงคุณค่าในฐานะปฐมมุขปาฐะที่แปรรูปมาเป็นงานเขียนของคุณลุงวราห์ (วัยเก๋า) ผู้เป็นรัตตัญญูทรงจำวันคืนและเรื่องราวประวัติศาสตร์พื้นที่และบุคคลย่านฝั่งธนบุรีอันเป็นรกรากฐานถิ่นบ้านเกิดของท่าน โดยได้คัดสรรบทความที่เคยตีพิมพ์ในหนังสือ ทีทัศน์วัฒนธรรม ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กับวารสารเมืองโบราณ ทั้งนี้ได้ปรับปรุงข้อมูลและเพิ่มเติมพร้อมภาพถ่ายสีและขาวดำของสถานที่และบุคคลประกอบเนื้อหาตลอดเล่ม ตลอดจนแผนที่คลองบางหลวง เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพอดีตอันรุ่งเรืองของฝั่งธนบุรี</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/1328 การจัดทำคำอธิบายเอกสารจดหมายเหตุกลุ่มเอกสารส่วนบุคคลของเจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลพ สุทัศน์) พิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ สำนักงานศาลยุติธรรม 2023-11-22T09:49:16+07:00 รสสุคนธ์ คิดประดับ [email protected] กฤติกา จิวาลักษณ์ [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำคำอธิบายเอกสารจดหมายเหตุกลุ่มเอกสารส่วนบุคคลของเจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลพ สุทัศน์) พิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ สำนักงานศาลยุติธรรม การวิจัยเป็นการวิจัยเอกสาร ประชากร คือ เอกสารส่วนบุคคลของเจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลพ สุทัศน์) จำนวน 97 เรื่อง ประกอบด้วย การบริหารจัดการราชการภายในศาล เรื่องเบ็ดเตล็ดทั่วไป การประพฤติตนของผู้พิพากษา การย้ายผู้พิพากษา เรื่องคดีความ การพิจารณาเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง เรื่องร้องเรียนและบัตรสนเท่ห์ การฟ้องร้อง ผลการสอบไล่ของนักเรียนกฎหมาย ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ การศาลไทยที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการในตำแหน่งเสนาบดี เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลเอกสารระดับคอลเล็กชัน และระดับเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีพิจารณาทีละหัวข้อตามรายการของเอกสารส่วนบุคคลฯ และบันทึกรายละเอียดลงในแบบบันทึกข้อมูล โดยประยุกต์มาตรฐานสากลทั่วไปในการจัดทำคำอธิบายจดหมายเหตุ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 ผลการวิจัย พบว่า การจัดทำคำอธิบายเอกสารส่วนบุคคลของเจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลพ สุทัศน์) ในระดับคอลเล็กชัน ประกอบด้วย 7 ส่วน 26 หน่วยข้อมูล ได้แก่ 1) สัญลักษณ์หรือรหัสอ้างอิง 2) ชื่อกลุ่มเอกสาร 3) วัน เดือน ปี ของเอกสาร 4) ระดับคำอธิบายเอกสาร 5) ขนาดและปริมาณของเอกสาร 6) ชื่อผู้ผลิต/รวบรวมเอกสาร 7) ประวัติหน่วยงาน/ประวัติเจ้าของเอกสาร 8) ประวัติของเอกสาร 9) แหล่งที่ได้รับมอบ/รับโอนเอกสาร 10) ขอบเขตและเนื้อหาของเอกสาร 11) การประเมินคุณค่าการทำลายและการกำหนดอายุการเก็บเอกสาร 12) การเพิ่มขึ้นของเอกสาร 13) ระบบการจัดเรียงเอกสาร 14) เงื่อนไขการเข้าถึงเอกสาร 15) เงื่อนไขการทำสำเนาเอกสาร 16) ภาษา/ตัวอักษร 17) ลักษณะทางกายภาพและความต้องการทางด้านเทคนิค 18) สถานที่เก็บเอกสารต้นฉบับ 19) สถานที่เก็บเอกสารฉบับสำเนา 20) เอกสารที่เกี่ยวข้อง 21) ข้อความเกี่ยวกับการพิมพ์ 22) เครื่องมือช่วยค้น 23) หมายเหตุ 24) บันทึกของนักจดหมายเหตุ 25) กฎ ระเบียบ หรือแนวทางปฏิบัติ 26) วันเดือนปีที่จัดทำ และระดับเรื่อง ประกอบด้วย 5 ส่วน 15 หน่วยข้อมูล ได้แก่ 1) สัญลักษณ์หรือรหัสอ้างอิง 2) ชื่อกลุ่มเอกสาร 3) วัน เดือน ปี ของเอกสาร 4) ระดับคำอธิบายเอกสาร 5) ขนาดและปริมาณของเอกสาร 6) ขอบเขตและเนื้อหาของเอกสาร 7) การประเมินคุณค่า การทำลายและการกำหนดอายุการเก็บเอกสาร 8) เงื่อนไขการเข้าถึงเอกสาร 9) เงื่อนไขการทำสำเนาเอกสาร 10) ภาษา/ตัวอักษร 11) ลักษณะทางกายภาพและความต้องการทางด้านเทคนิค 12) หมายเหตุ 13) บันทึกของนักจดหมายเหตุ 14) กฎ ระเบียบ หรือแนวทางปฏิบัติ 15) วันเดือนปีที่จัดทำ ที่ใช้ในการจัดทำคำอธิบายเอกสารจดหมายเหตุส่วนบุคคลชุดนี้ โดยมีรายละเอียดครอบคลุมขอบเขตและเนื้อหาของเอกสารสามารถทำให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงเอกสารได้สะดวกซึ่งเป็นประโยชน์ในการอ้างอิงและเป็นมาตรฐานในการจัดทำคำอธิบายเอกสารจดหมายเหตุชุดอื่น ๆ ต่อไป</p> 2024-02-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/1837 การบอกเล่าเรื่องราวผ่านงานเครื่องประดับเงินชนเผ่าไป๋ร่วมสมัย: โดยใช้หมู่บ้านซินหัว มณฑลอวิ๋นหนานเป็นกรณีศึกษา 2023-05-01T14:39:45+07:00 CHUANLE FU [email protected] พงศ์เดช ไชยคุตร [email protected] ภรดี พันธุภากร [email protected] <p>ในฐานะหมู่บ้านช่างฝีมือชนเผ่าไป๋ที่มีชื่อเสียงขจรขจายกว้างไกลของมณฑลอวิ๋นหนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เนื่องด้วยปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและปัจจัยเชิงมานุษยวิทยาภายในท้องที่ หมู่บ้านซินหัวจึงเป็นสถานที่ซึ่งไม่เพียงมีประวัติศาสตร์ด้านการสร้างสรรค์งานเครื่องเงินและเครื่องประดับเงินสไตล์ชนเผ่าไป๋มาอย่างยาวนาน ในขณะเดียวกันเพราะเทคโนโลยีจากการผลิตงานหัตถศิลป์เหล่านี้จึงทำให้หมู่บ้านซินหัวประสบความสำเร็จทั้งในด้านการตลาดและการบูรณาการปัจจัยอัตลักษณ์ประจำชาติพันธุ์ในระดับสูงตั้งแต่ในช่วงแรกเริ่มทำให้หมู่บ้านแห่งนี้วิธีและวิถีทางพัฒนาที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เกือบทุกประเทศล้วนมีงานเครื่องประดับสไตล์ดั้งเดิมเป็นของตนเอง ในขณะที่เส้นเวลาทางประวัติศาสตร์ดำเนินไป เครื่องประดับเหล่านี้ก็ได้รับการพัฒนาจนก่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านและทดแทนซ้ำแล้วซ้ำเล่าหรือไหลผ่านไปอย่างรวดเร็วตามกระแสกาลเวลาที่ทอดยาวราวแม่น้ำใหญ่ ทว่าเครื่องประดับดั้งเดิมในแต่ละช่วงสมัยล้วนสะท้อนให้เห็นถึงช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์สภาพแวดล้อม และปรากฏการณ์เชิงมานุษยวิทยาที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงที่ชาติพันธุ์นั้น ๆ ได้ประสบและข้ามผ่าน ทว่าในปัจจุบันงานหัตถศิลป์เครื่องประดับดั้งเดิมของชนเผ่าไป๋กลับไม่ได้พัฒนาไปตามกาลยุคสมัยที่มุ่งพัฒนาไปข้างหน้า ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวทำให้พลังชีวิตในศิลปะเก่าแก่แขนงนี้เสื่อมถอยลงอย่างมาก บทความวิจัยนี้จึงต้องการนำงานเครื่องประดับมาใช้ประโยชน์ในฐานะสื่อกลางถ่ายทอดเรื่องราว โดยใช้กิจกรรมทางวัฒนธรรมของหมู่บ้านซินหัวเป็นเรื่องราวภูมิหลัง แล้วดำเนินการจัดระเบียบ คัดสรรเรื่องราวและสัญลักษณ์ดั้งเดิมของชนเผ่าไป๋ในหมู่บ้านแห่งนี้ โดยผ่านการวิจัยแบบสหวิทยาการเกี่ยวกับแนวคิดและข้อดีของศาสตร์แห่งการเล่าเรื่องมุ่งศึกษาค้นคว้าความเป็นไปได้ในการสร้างผลงานเครื่องประดับเงินรูปแบบใหม่ในเชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีการออกแบบร่วมสมัยและแรงบันดาลใจจากชนเผ่าไป๋หมู่บ้านซินหัว โดยทดลองออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานด้วยการอ้างอิงข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้ เพื่อก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ในการพัฒนางานเครื่องประดับของท้องที่แห่งนี้ ตลอดจนนำเสนอข้อเสนอแนะการวิจัยเพื่อพัฒนาหัวข้อวิจัยต่อไปในภายหลัง</p> 2024-01-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/2164 การบูรณาการแนวคิดจากทุนวัฒนธรรมสู่ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนเขตธนบุรี 2023-11-17T15:27:16+07:00 จุฬาลักษณ์ จารุจุฑารัตน์ [email protected] เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง [email protected] มิยอง ซอ [email protected] <p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลกายภาพ ทุนทางวัฒนธรรม วิถีวัฒนธรรมชุมชมและอัตลักษณ์ชุมชนในเขตธนบุรี 2) เพื่อสังเคราะห์และสร้างภาพแทนของอัตลักษณ์ที่เป็นตัวแทนของชุมชนในเขตธนบุรีและเชื่อมโยงของแนวคิดเชิงออกแบบและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สร้างโมเดลกระบวนการวิจัยสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการประชุมกลุ่มย่อยและการสังเกตพฤติกรรมของประชากรในงานวิจัย คือ ชุมชนในเขตธนบุรีซึ่งแบ่งออกได้ทั้งหมด 7 แขวง จำนวน 42 ชุมชน และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรในแขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี จำนวน 9 ชุมชน จำนวน 30 คน ผลการวิจัย พบว่า ได้ข้อมูลอัตลักษณ์ทุนวัฒนธรรมที่ผ่านการสังเคราะห์สำหรับการพัฒนาเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์และโมเดลกระบวนการวิจัย การออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับการพัฒนารูปแบบลวดลายอัตลักษณ์ของชุมชนแขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรีด้วยแนวคิดเชิงออกแบบและการวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม และประเมินลวดลายต้นแบบโดยตัวแทนชุมชนคัดเลือกจำนวน 4 ลวดลาย คือ ลวดลายหัวสิงโต ลวดลายชฎา ลวดลายพระ และลวดลายสามเหลี่ยม และประยุกต์ลวดลายลงบนผลิตภัณฑ์เสื้อ แก้วเยติ ผ้าพันคอ และตะกร้าสาน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และชุมชนร่วมเรียนรู้กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์บนฐานทุนทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างสรรค์ผลงานผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการเป็นชุมชนต้นแบบและเผยแพร่องค์ความรู้ไปยังชุมชนอื่น ๆ ต่อไป</p> 2024-02-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/2382 การประเมินโครงการพัฒนาแอปพลิเคชัน “หิรัญฟู้ด” เพื่อส่งเสริมช่องทางการขายสินค้าออนไลน์และทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการร้านอาหารในบริเวณชุมชนรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2023-10-04T18:26:41+07:00 อุดร หลักทอง [email protected] <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาแอปพลิเคชันหิรัญฟู้ดเพื่อส่งเสริมช่องทางการขายสินค้าออนไลน์และทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการร้านอาหาร ในบริเวณชุมชนรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีกลุ่มตัวอย่างมาจากการเลือกร้านค้าแบบจับคู่ (Matching) โดยใช้เกณฑ์การคัดเลือก: ที่ตั้ง (Location) ประเภทร้านค้า (Type) จากร้านค้าที่ขายอาหารบริเวณรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 60 ร้าน ได้แก่ ผู้ประกอบการ 30 คน จากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการเป็นกลุ่มทดลอง (Treatment) ผู้ประกอบการ 30 คน จากร้านค้าที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ (Comparisons) ลูกค้า จำนวน 100 คน จากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ และลูกค้าจำนวน 100 คน จากร้านค้าที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้ 1. ค่าความถี่ร้อยละ (Percentage) ใช้วิเคราะห์ และอธิบายตัวแปรทางด้านประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประเภทร้าน ประเภทสินค้า กรรมสิทธิ์ร้านค้าประสบการณ์การใช้แอปพลิเคชันขายอาหารออนไลน์ และพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันขายอาหาร/สินค้าออนไลน์ รวมทั้งตัวแปรทางด้านพฤติกรรม 2. ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้วิเคราะห์ และอธิบาย ตัวแปรเกี่ยวกับทัศนคติของผู้ประกอบการและลูกค้าที่มีต่อโครงการพัฒนาแอปพลิเคชันหิรัญฟู้ดเพื่อส่งเสริมช่องทางการขายสินค้าออนไลน์และทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการร้านอาหาร ในบริเวณชุมชนรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาแล้วนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ดังนี้ คะแนนเฉลี่ย 4.21 - 5.00 แปลความว่าระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 3.41 – 4.20 แปลความว่า ระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 2.61 – 3.40 แปลความว่า ระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.81 – 2.60 แปลความว่า ระดับน้อย คะแนนเฉลี่ย 1.00 - 1.80 แปลความว่า ระดับน้อยที่สุด ผลการวิจัย พบว่า ทัศนคติของผู้ประกอบการ ระยะที่ 1 ก่อนทดลองใช้แอปพลิเคชันหิรัญฟู้ดภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบกับระดับทัศนคติของผู้ประกอบการ ในระยะที่ 2 หลังจากที่ได้ทดลองใช้แอปพลิเคชันหิรัญฟู้ด พบว่า มีทัศนคติ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ (กลุ่มทดลอง) มีระดับทัศนคติดีขึ้น ทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Skills) สำหรับผู้ประกอบการในระยะที่ 2 หลังทดลองใช้แอปพลิเคชันหิรัญฟู้ด (กลุ่มทดลอง) พบว่า ระดับทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางมีทักษะมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับระดับทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของกลุ่มเปรียบเทียบ (กลุ่มผู้ประกอบการที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ) พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่ค่าคะแนนเฉลี่ย (x̄) น้อยกว่ากลุ่มผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ระดับความพึงพอใจของผู้ประกอบการในการขายสินค้าออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชันหิรัญฟู้ด หลังทดลองใช้แอปพลิเคชันหิรัญฟู้ด (กลุ่มทดลอง) พบว่า ระดับระดับความพึงพอใจของผู้ประกอบการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบกับระดับระดับความพึงพอใจของกลุ่มเปรียบเทียบ (กลุ่มผู้ประกอบการที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ) พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก แต่ค่าคะแนนเฉลี่ย (x̄) น้อยกว่ากลุ่มผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ระดับทัศนคติของลูกค้าผู้เข้าร่วมโครงการ (กลุ่มทดลอง) ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบกับระดับทัศนคติ ของลูกค้าที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ (กลุ่มเปรียบเทียบ) พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางจะเห็นได้ว่ากลุ่มลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการ (กลุ่มทดลอง) มีระดับทัศนคติดีขึ้นและระดับความพึงพอใจของลูกค้าผู้เข้าร่วมโครงการ (กลุ่มทดลอง) ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเปรียบเทียบกับระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ (กลุ่มเปรียบเทียบ) พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางจะเห็นได้ว่ากลุ่มลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการ (กลุ่มทดลอง) มีระดับความพึงพอใจดีขึ้นหลังจากทดลองใช้แอปพลิเคชันหิรัญฟู้ด</p> 2024-03-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/1869 การละเล่นของเด็ก: วิวัฒนาการของการละเล่นและภาพสะท้อนความผูกพันระหว่างแม่กับลูกในผลงานศิลปะเซรามิก 2023-08-28T16:40:44+07:00 Yanfei Tang [email protected] ปิติวรรธน์ สมไทย [email protected] ภานุ สรวยสุวรรณ [email protected] <p>งานวิจัยเรื่องการละเล่นของเด็ก: วิวัฒนาการของการละเล่นและภาพสะท้อนความผูกพันระหว่างแม่กับลูกในผลงานศิลปะเซรามิก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการละเล่นของเด็กสมัยโบราณและในปัจจุบันเปรียบเทียบและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการละเล่นทั้งสองยุคสมัยและนำไปสู่การสร้างสรรค์ชุดผลงานเซรามิกที่สามารถนำเสนอให้เห็นถึงความสนุกสนานในการละเล่นและวิธีการละเล่นของเด็กที่สะท้อนความรักความผูกพันระหว่างแม่กับลูก โดยมีการศึกษาข้อมูลทางเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลอิทธิพลของปัจจัยทางสังคม การเมือง วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่มีต่อการละเล่นของเด็กสมัยโบราณและปัจจุบัน อีกทั้งการลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อสำรวจสภาพแวดล้อมและลักษณะพฤติกรรมการละเล่นของลูกตนเองเพื่อนำจุดเด่นของการละเล่นเด็กในสมัยโบราณที่ต้องได้รับการสืบทอดมาสร้างสรรค์และแสดงออกทางแนวคิดผ่านรูปแบบของศิลปะเซรามิกโดยสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะเซรามิกที่แสดงถึงความผูกพันระหว่างแม่กับลูกจำนวน 4 ชุด ได้แก่ ชุด“ซ่อนแอบ” ชุด “เฒ่าหมาป่า เฒ่าหมาป่า กี่โมงแล้ว” ชุด “ออกไปเล่น” และ ชุด “ขอพร”</p> 2024-02-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/1522 การเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่านละครสร้างสรรค์ 2023-11-22T09:48:17+07:00 พรรณพัชร์ วิชาสวัสดิ์ [email protected] <p>การวิจัย เรื่อง การเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเขตบางเขนผ่านละครสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการนำประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้แนวคิด “บวร” และเพื่อสร้างละครสร้างสรรค์จากการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เขตบางเขน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ และวิจัยสร้างสรรค์ ตามลักษณะของข้อมูลเชิงคุณภาพที่เก็บรวบรวมได้จากเครื่องมือวิจัย คือ ข้อมูลจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และข้อมูลจากการสังเกตกิจกรรมและชุมชนเชตพื้นที่บางเขน กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการนำประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้แนวคิด “บวร” ผู้วิจัยนำประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมาเล่าเรื่องผ่านละครสร้างสรรค์ โดยมีเรื่องราว คือ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเขตบางเขน ได้แก่ เหตุการณ์กบฏบวรเดชและวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือวัดประชาธิปไตย ผู้วิจัยสังเคราะห์และสรุปเป็นแนวทางในการนำประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อประยุกต์ ในการพัฒนาท้องถิ่นใช้หลักการ “บวร” และนำเสนอข้อมูลการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเขตบางเขนผ่านละครสร้างสรรค์ และได้เสนอแนวทางในการนำประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อประยุกต์ในการพัฒนาท้องถิ่นเป็นการส่งเสริมความสามัคคีในชุมชน สร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชน การเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเขตบางเขนผ่านละครสร้างสรรค์ สามารถนำมาจัดแสดงละคร หรือจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชนและการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเขตบางเขนผ่านละครสร้างสรรค์ ส่งเสริมการศึกษาของคนในท้องถิ่นบางเขน สามารถนำละครสร้างสรรค์ไปบรรจุให้หลักสูตรท้องถิ่นหรือใช้เป็นละครเพื่อการศึกษาและพัฒนาเยาวชนได้ การสร้างสรรค์ ละครสร้างสรรค์จากการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเขตบางเขน มีขั้นตอนของการสร้างสรรค์ละคร 3 ขั้นตอน ประกอบด้วยการสร้างข้อสรุปจากการศึกษาและเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร วิเคราะห์แก่นเรื่อง และสรุปผลการวิจัยและนำเสนอละครสร้างสรรค์ มีองค์ประกอบของการแสดง คือ โครงเรื่องตัวละคร ความคิดหรือแก่นของเรื่อง ภาษาหรือบทสนทนา เสียง ภาพ</p> 2024-03-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/1707 การวิจัยแนวคิดสัมพันธบทกับภาพประกอบตัวละครในพงศาวดารสามก๊ก เพื่อสร้างผลงานศิลปะจัดวางเครื่องเคลือบร่วมสมัย: กรณีศึกษา “คำสาบานในสวนท้อ” 2023-05-01T12:05:14+07:00 Li Xuanyan [email protected] พงศ์เดช ไชยคุตร [email protected] ภรดี พันธุภากร [email protected] <p>“พงศาวดารสามก๊ก” ได้ขยายออกไปเป็นผลงานด้านทัศนศิลป์มากมาย ตัวอักษรให้เรื่องราวกับภาพประกอบ ภาพประกอบเป็นภาพลักษณ์ของตัวอักษร ทำให้ตัวอักษรและภาพเกิดความสัมพันธ์แบบสัมพันธบท (Intertextuality) ใช้ทฤษฎีสัมพันธบทเพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ข้อความของเรื่องราวตัวละคร ภาพประกอบวรรณกรรมและผลงานทัศนศิลป์ของคำสาบานในสวนท้อ เพื่อรับเรื่องราว องค์ประกอบทางทัศนศิลป์ ความหมายแฝงทางจิตวิญญาณและเทคนิคการประมวลผลทางศิลปะที่พบเห็นบ่อย สร้างผลงานศิลปะจัดวางโดยมีเรื่องราวตัวละครใน “คำสาบานในสวนท้อ” มาเป็นองค์ประกอบในการออกแบบ ใช้เครื่องเคลือบเป็นวัสดุหลัก และมีแนวคิดคุณธรรมหกประการ</p> 2024-02-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/2328 การวิเคราะห์การนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับบรูไนดารุสซาลามของหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน 2023-10-04T17:23:27+07:00 ภัทรเวช ฟุ้งเฟื่อง [email protected] <p>การศึกษาเรื่อง “การวิเคราะห์การนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับบรูไนดารุสซาลามของหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบรูไนดารุสซาลามที่นำเสนอในหนังสือพิมพ์ไทยรายวันในด้านปริมาณ ประเภทของเนื้อหา และทิศทางของเนื้อหาใน 6 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย (1) ด้านสังคมและวัฒนธรรม (2) ด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (4) ด้านพระประมุข พระราชวงศ์ ผู้นำทางการเมือง (5) ด้านการกีฬา และ (6) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การแพทย์และการสาธารณสุข โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา จากหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน 4 ชื่อฉบับ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ หนังสือพิมพ์มติชน และหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจฉบับวันที่ 1 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการนำเสนอเนื้อหาด้านสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด รองลงมาเป็นประเด็นด้านเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสัดส่วนที่เท่ากัน ส่วนด้านทิศทางของเนื้อหาพบว่ามีการนำเสนอในทิศทางเป็นกลาง (Neutral) ในประเด็นที่เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของบรูไนดารุสซาลาม</p> 2024-03-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/2532 การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความสำคัญภาษาไทยสำหรับนักศึกษาชาวจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง 2023-11-21T11:01:29+07:00 LI DEXIN [email protected] ปฎิพันธ์ อุทนานุกุล [email protected] สุกัญญา ขลิบเงิน [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญสำหรับนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองโดยใช้แบบฝึกทักษะ ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญสำหรับนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 81.47/82.27 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความสำคัญโดยการใช้เทคนิค 5W1H รวมกับแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ก่อนใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.59 คิดเป็นร้อยละ 58.63 และหลังใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญมีค่าเฉลี่ยเท่ากับกับ 24.68 คิดเป็นร้อยละ 82.27 และทดสอบ t-test เท่ากับ10.96 มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ซึ่งนักศึกษาจีนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน</p> 2024-02-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/1473 ความตระหนักทางจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมต่อการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเทศบาลเมืองพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 2024-01-29T15:02:27+07:00 สุเนตร ทวีถาวรสวัสดิ์ [email protected] อนุชัย ถนอมสินรัตน์ [email protected] ณัฐกฤตา ยะโอษฐ์ [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตระหนักทางจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมของประชาชนและเปรียบเทียบความตระหนักทางจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอย เทศบาลเมืองพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 340 ชุดและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่า (t-test) และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) จากการวิจัยพบว่ากลุ่มของประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 41 - 50 ปี มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ มีรายได้ต่อเดือน 10,000 – 15,000 บาท มีระยะเวลาอาศัยอยู่ในชุมชนมากกว่า 20 ปี มีระดับความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชน และระดับของความตระหนักทางจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับปานกลางเมื่อวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ พบว่า ด้านการลดและคัดแยกขยะอยู่ในระดับมากด้านนำกลับมาใช้ใหม่และด้านการใช้ซ้ำอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการกำจัดอยู่ในระดับน้อย และตัวแปรที่มีผลต่อความตระหนักทางจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอย ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาอาศัยอยู่ในชุมชนที่นัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ดังนั้นควรจะส่งเสริมและให้ความรู้เพื่อให้เกิดความตระหนักในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเทศบาลเมืองพระประแดงตั้งแต่การกำจัดขยะมูลฝอย ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหลือใช้ภายในครัวเรือนเพื่อลดผลกระทบจากวิกฤติของปัญหาขยะมูลฝอยและจัดให้มีโครงการชุมชนน่าอยู่ในเทศบาลเมืองพระประแดง</p> 2024-03-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/983 ความตั้งใจที่จะประกอบการเพื่อสังคม: กรณีนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2023-05-10T15:17:16+07:00 จิระพงค์ เรืองกุน [email protected] ปกรณ์ โอภาสวิทยารักษ์ [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบความตั้งใจที่จะประกอบการเพื่อสังคม ของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2) ทำนายโอกาสที่นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีจะเปิดวิสาหกิจเพื่อสังคม ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์ ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบความตั้งใจที่จะประกอบการเพื่อสังคมของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีมี 4 ประการ ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคมเพื่อแก้ปัญหาสังคม ความเข้าอกเข้าใจ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหาสังคม และความเชื่อมั่นตนเองในการแก้ปัญหาสังคม ตัวแปรที่สามารถทำนายโอกาสที่นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีจะเปิดวิสาหกิจเพื่อสังคม ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคมเพื่อแก้ปัญหาสังคมและความเข้าอกเข้าใจผู้ด้อยโอกาสทางสังคม มีความถูกต้องของการทำนายร้อยละ 68.5 ผลการวิจัยที่ได้นี้สามารถนำไปปรับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมของนักศึกษาในอนาคต</p> 2024-02-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/2457 เทศกาลตรุษจีน: กลวิธีการใช้ภาษาในแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ออนไลน์ของสถาบันขงจื่อในประเทศไทย 2023-11-21T16:36:15+07:00 หลี่ เจี้ยน [email protected] สมบัติ สมศรีพลอย [email protected] <p>บทความเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการใช้ภาษาการประชาสัมพันธ์เทศกาลตรุษจีนในแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ออนไลน์ของสถาบันขงจื่อในประเทศไทย โดยรวบรวมข้อมูลแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์เทศกาลตรุษจีนของสถาบันขงจื่อในประเทศไทยจากเพจเฟซบุ๊ก จำนวน 16 แผ่นป้าย 6 สถาบัน และเป็นข้อมูลในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2566 ผลการวิจัย พบว่า กลวิธีการใช้ภาษาในแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์เทศกาลตรุษจีนออนไลน์ของสถาบันขงจื่อในประเทศไทย มี 2 กลวิธี กลวิธีแรก การใช้อวัจนภาษาที่เป็นสัญญะหลากหลาย เช่น สีแดงกับสีทอง โคมไฟ พัดกลม ดอกโบตั๋น นักษัตร และตราสถาบัน กลวิธีที่สอง การใช้วัจนภาษา มี 4 ประเด็น คือ 1) การบอกเนื้อหาและข้อมูลพื้นฐานของการประชาสัมพันธ์ 2) การใช้คำขวัญและคำอวยพร 3) การใช้ภาษาจีนกับภาษาไทยผสมผสานกัน และทั้ง 2 กลวิธีดังกล่าวมีวัตถุประสงค์สำคัญแฝงอยู่ในตัวบท คือ เพื่อสื่อถึงความเป็นจีนและวัฒนธรรมจีนที่ดีงาม รวมทั้งสื่อให้เห็นถึงความเป็นมิตรระหว่างไทย-จีน</p> 2024-02-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/2462 มังกร: รูปลักษณ์และความเชื่อในสินค้าของเพจขายสินค้า Shopee และ Lazada 2023-11-21T13:57:37+07:00 หลี่ ดานน่า [email protected] สมบัติ สมศรีพลอย [email protected] <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปลักษณ์และความเชื่อของมังกรที่ปรากฏในเพจขายสินค้า Shopee และ Lazada เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลสินค้าที่มีรูปลักษณ์และความเชื่อของมังกรจากเพจ Shopee และ Lazada จำนวน 25 รายการ ผลการศึกษา พบว่า 1) รูปลักษณ์มังกรในสินค้าเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกันกับรูปลักษณ์มังกรตามตำนานของประเทศจีน ที่เล่าต่อ ๆ กันมานั้น ส่วนใหญ่เป็นมังกรที่รูปตัวสีทองมีเกล็ด มีเขา มีหนวด มีหาง มี 4 ขา มี 5 เล็บหรือ 4 เล็บ ถือลูกแก้วด้วยขาหน้า และ 2) สินค้าที่มีรูปมังกรและข้อความแสดงความเชื่อ ประกอบด้วย 9 ความเชื่อ 1. สิริมงคล 2. โชคลาภ มั่งคั่งร่ำรวย 3. เสริมบารมี อำนาจ 4. เจริญรุ่งเรือง 5. ส่งเสริมธุรกิจการค้า 6. เสริมฮวงจุ้ย 7. แก้ปีชง เสริมดวง 8. ความสำเร็จ และ 9. สุขภาพดี นอกจากนี้ การผลิตสินค้ารูปมังกรมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเกี่ยวกับมังกรของจีนกับการสร้างสรรค์ศิลป์รูปมังกรในสินค้า ความเชื่อของข้อความประกอบโฆษณาสินค้าดังกล่าวถือว่าเป็นสิ่งมงคล เพราะเชื่อว่าใครที่ได้ซื้อสินค้าแล้วจะเกิดความเป็นสิริมงคล ทำให้ชีวิตมีความสุข ความเจริญรุ่งเรือง ดังนั้น สินค้าดังกล่าวเป็นการผสมผสานการสร้างสรรค์ศิลป์และความเชื่อได้อย่างมีศิลปะเป็นการประกอบสร้างเพื่อให้กลุ่มผู้บริโภคที่มีความเชื่อศรัทธาในการตัดสินใจซื้อสินค้าได้เป็นอย่างดี</p> 2024-02-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/1568 “สุขสันต์วันตาย” ความไม่สุภาพในข้อความแสดงความคิดเห็นในสถานการณ์วันคล้ายวันเกิดทางเฟซบุ๊ก 2023-11-22T09:47:14+07:00 นภัทร อังกูรสินธนา [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนวนความไม่สุภาพในข้อความแสดงความคิดเห็นในสถานการณ์วันคล้ายวันเกิดทางเฟซบุ๊ก โดยเก็บข้อมูลจากข้อความคิดเห็นหรือคอมเมนต์สาธารณะในข่าววันคล้ายวันเกิดของบุคคลผู้มีชื่อเสียงที่เผยแพร่ทางเฟซบุ๊กของสำนักข่าวออนไลน์ช่องวัน ระหว่างวันที่ 11 สิงหาคม - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 1,220 ข้อความ ผลการวิจัย พบชนวนความไม่สุภาพ 2 ประเภท คือชนวนความไม่สุภาพตามขนบและชนวนความไม่สุภาพที่ไม่เป็นไปตามขนบหรือชนวนความไม่สุภาพความหมายชี้บ่งเป็นนัย โดยชนวนความไม่สุภาพตามขนบนั้นปรากฏการใช้ชนวนความไม่สุภาพ 6 ประเภท ได้แก่ การสบประมาท การวิพากษ์วิจารณ์หรือการตำหนิอย่างตรงประเด็น การใช้รูปประโยคคำถามที่ทำให้กระดากอายหรือเกิดความหมายมูลบท การกล่าวถ้อยคำที่ทำให้ลดตนลงมา การกล่าวถ้อยคำขับไล่ และการกล่าวถ้อยคำแสดงความรู้สึกเชิงลบ ส่วนชนวนความไม่สุภาพที่ไม่เป็นไปตามขนบหรือชนวนความไม่สุภาพความหมายชี้บ่งเป็นนัยนั้นปรากฏการใช้ชนวนความไม่สุภาพ 3 ประเภท ได้แก่ การใช้ความสุภาพตามขนบเป็นชนวนความไม่สุภาพ การใช้ความเป็นนัยสนทนาเป็นชนวนความไม่สุภาพและการใช้บริบทเป็นชนวนความไม่สุภาพ นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่าผู้แสดงความคิดเห็นเลือกใช้ชนวนความไม่สุภาพที่ไม่เป็นไปตามขนบหรือชนวนความไม่สุภาพความหมายชี้บ่งเป็นนัยมากกว่าชนวนความไม่สุภาพตามขนบ</p> 2024-03-05T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/1596 การสร้างสัญญะในวัฒนธรรมบริโภคไก่ของสังคมไทยจากแคมเปญโฆษณาธูปกลิ่นไก่ทอดสูตรผู้พันของเคเอฟซี 2023-11-22T09:46:19+07:00 พิทยา พละพลีวัลย์ [email protected] <p>การบริโภคได้กลายเป็นแก่นแกนหลักของผู้คนร่วมสมัย แม้แต่การบริโภคไก่ซึ่งดูจะเป็นกิจกรรมอันเรียบง่าย ปราศจากความซับซ้อน แต่ในความเป็นจริงการบริโภคไก่ในกรณีแบรนด์ไก่ทอดชื่อดังระดับโลกอย่างเช่นเคเอฟซี ที่ผู้คนส่วนใหญ่คุ้นเคยและรู้จักกันดีกลับเต็มไปด้วยการประกอบสร้างชุดความหมายที่ผู้ผลิตสร้างขึ้นและเลือกมานำเสนอ บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไก่และการวิเคราะห์ตัวบทซึ่งเป็นวิดีโอคลิปและโปสเตอร์แคมเปญธูปกลิ่นไก่ทอดสูตรผู้พัน เผยแพร่บนเฟซบุ๊คเคเอฟซีช่วงเทศกาลตรุษจีนปี พ.ศ. 2566 สำหรับบทความนี้ต้องการนำเสนอการสร้างสัญญะให้กับไก่เคเอฟซีโดยใช้แนวคิดตรรกวิทยาการบริโภคเชิงสัญญะของ Jean Baudrillard มาเป็นเลนส์ในการมองปรากฏการณ์ โดยบทความนำเสนอความเป็นมาของเคเอฟซีในสังคมไทย กระบวนการสร้างความหมายของเคเอฟซีในหลายทศวรรษที่ผ่านมาผ่านการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ เช่นสื่อโฆษณาตัวร้านเคเอฟซี และองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในร้าน รวมทั้งการนำเสนอปรากฏการณ์สังคมปัจจุบันผ่านการวิเคราะห์แคมเปญ ธูปกลิ่นไก่ทอดสูตรผู้พันของเคเอฟซี ในช่วงเทศกาลตรุษจีนปี พ.ศ. 2566 ผลจากการวิเคราะห์ พบว่า ผู้ผลิตให้ความสำคัญกับการใช้ตรรกวิทยาการบริโภคเชิงสัญญะและตรรกวิทยาการบริโภคเชิงสัญลักษณ์ในการร่วมประกอบสร้างความหมายให้กับธูปกลิ่นไก่ทอดสูตรผู้พันและไก่ทอดเคเอฟซีโดยชุดความหมายหลักที่ผู้ผลิตเลือกมานำเสนอ ได้แก่ ความยึดมั่นในประเพณีจีน ความเป็นมงคล ความศักดิ์สิทธิ์ ความเป็นชนชั้นกลาง ความทันสมัยและความกตัญญู สัญญะจึงเป็นกลไกสำคัญ ในการสร้างความหมายชุดใหม่ให้กับสินค้า ทำให้การบริโภคและเศรษฐกิจภายใต้ระบอบทุนนิยมยังคงดำเนินต่อไปโดยไม่หยุดชะงัก</p> 2024-03-11T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา