วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru
<p>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (Journal of Humanities and Social Sciences Bansomdejchaopraya Rajabhat University) ได้เริ่มจัดทำวารสารฉบับออนไลน์เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2558 โดยเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน) ได้แก่ ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม) วารสารผ่านการรับรองเป็นวารสารกลุ่มที่ 2 ของฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ในการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 5 (รับรองคุณภาพวารสารเป็นเวลา 5 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2568-2572)</p> <p>ISSN 2822-1516 (Print) ISSN 2985-0169 (Online)</p>
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
th-TH
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
1906-1102
-
การใช้แบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลเชียงของ
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/2740
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลเชียงของตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลเชียงของ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนอนุบาลเชียงของ จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบฝึกทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลเชียงของ เท่ากับ 82.25/83.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่กำหนดไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลเชียงของ พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า มีความพึงพอใจมากที่สุดด้านการจัดกิจกรรมด้านการประเมินผลด้านการออกแบบสื่อการเรียนรู้ และมีความพึงพอใจมากด้านเนื้อหาตามลำดับ</p>
นฤเดช สุริยะวงค์
สุกัญญา ขลิบเงิน
สุทัศน์ คล้ายสุวรรณ์
Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
19 1
1
24
-
การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้วยการนวดแผนไทยและยกระดับมาตรฐานการบริการของชุมชนเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/3405
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงปัจจัยกระทบที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหลังเกิด COVID-19 และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพการนวดแผนไทย ของชุมชนวัดพุทธบูชา เขตทุ่งครุ เพิ่มทักษะการนวดแผนไทยของบุคลากรในชุมชนวัดพุทธบูชาให้ได้มาตรฐานการบริการนวดเพื่อสุขภาพ ของ SHA Plus ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ความเสี่ยง ปัจจัยกระทบที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหลังเกิด COVID-19 มีการกำหนดเกณฑ์การประเมินมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหลังเกิด COVID-19 ผู้ประกอบการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในชุมชนวัดพุทธบูชาได้มีการวางแผนและรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงผู้ประกอบร้านนวดการนำความเสี่ยงที่เคยมีประสบการณ์จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 รวมไปถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้น มาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง ผู้ประกอบการร้านนวดในชุมชนวัดพุทธบูชา ได้เห็นถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการกลับมาของ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ที่มีการแพร่ระบาดกลายพันธุ์ มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นแพร่ระบาดมากขึ้นทางผู้ประกอบการณ์เล็งเห็นคาดการณ์ไปถึงความเสียหายที่ตามมาเนื่องจากมีประสบการณ์จากการแพร่ระบาดของโรคอยู่สม่ำเสมอ โดยจัดหาทางเลือกสำหรับการดำเนินงานที่ปลอดภัยการจัดลำดับความเสี่ยง ซึ่งทางผู้ประกอบการณ์ได้จัดลำดับขึ้นหลังจากทราบถึงระดับความรุนแรงของการแพร่ระบาด COVID-19 พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนวดแผนไทยของชุมชนวัดพุทธบูชา เขตทุ่งครุ โดยได้มีร้านนวดแผนไทยของชุมชนวัดพุทธบูชาทั้งหมด 3 ร้านร่วมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ได้แก่ ร้านคชานวดเพื่อสุขภาพ ร้านพุทธบูชานวดเพื่อสุขภาพร้านนวดพุทธบูชา ยังสามารถเพิ่มทักษะการนวดแผนไทยของบุคลากรในชุมชนวัดพุทธบูชา เขตทุ่งครุ ให้ได้มาตรฐานการบริการการนวดเพื่อสุขภาพของ SHA Plus โดยกิจกรรมการฝึกอบรมเพิ่มทักษะการนวดแผนไทยของบุคลากรในชุมชนวัดพุทธบูชา เขตทุ่งครุ ได้มาตรฐานการบริการการนวดเพื่อสุขภาพของ SHA Plus มีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ประกอบการกิจการนวดแผนไทยในเขตทุ่งครุ ผู้สูงอายุ และแม่บ้านว่างงาน โดยทำให้แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของชุมชนวัดพุทธบูชา เขตทุ่งครุ มีศักยภาพความพร้อมด้านการนวดแผนไทย 3 แหล่ง และฝึกอบรมบุคลากรชุมชน และการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (One Day Trip) สรุปผลการวิเคราะห์และจัดทำแผ่นที่เส้นทางท่องเที่ยวในรูปแบบเทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented Reality: AR) สามารถนำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้อย่างครอบคลุมพื้นที่</p>
รณกฤต เพชรเกลี้ยง
สายฝน ทรงเสี่ยงไชย
ณิชาภา แก้วประดับ
เตชสิทธิ์ รัศมีวงศ์พร
อาวุธ หงส์ศิริ
Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-09
2025-01-09
19 1
25
52
-
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/3812
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) ศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 383 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับและแบบตรวจสอบรายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T – distribution ค่า F – distribution และการวิเคราะห์ ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในภาพรวมมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยด้านอาชีพของประชาชนที่แตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนปัจจัยด้านเพศ อายุ รายได้ การศึกษา สถานภาพสมรส ที่ต่างกัน มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ 3) ปัจจัยด้านอำนาจ โอกาส และสิ่งจูงใจ มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p>
ปิยะนุช ตันเจริญ
Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-10
2025-01-10
19 1
53
82
-
การมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/4133
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา 2) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะจากผู้บริหาร อาจารย์ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกในการส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาและส่งเสริมหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาแบบมีส่วนร่วม ประชากรที่ศึกษาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาความเป็นพลเมือง จำนวน 565 คน 2)ผู้บริหารฝ่ายวิชาการและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับกับการพัฒนาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา รวม 15 คน และ 3) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหน่วยงานภายนอก 4 แห่ง จำนวน 44 คน การสุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยเลือกนักศึกษา 300 คน จาก 6 หมู่เรียน และระยะที่ 2 ใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงเลือกผู้บริหารและอาจารย์ 6 คน รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 7 คน สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) อยู่ในช่วง 0.60-0.80 โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านในการตรวจพิจารณาข้อคำถาม แล้วนำผลการตรวจสอบมาคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการวัดประเมิน ผลการศึกษา พบว่า 1) สถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาพบว่า โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.75, S.D. = 1.07) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การรับผลประโยชน์อยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.77, S.D. = 1.06) รองลงมาคือ การวางแผนอยู่ในระดับมาก (x̅ =3.75, S.D. = 1.07) รองลงมาคือการประเมินผลอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.74, S.D. = 1.05) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การตัดสินใจอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.72, S.D. = 1.07) และนักเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และกิจกรรมส่งเสริมหลักสูตร แต่ต้องปรับปรุงความโปร่งใสในการตัดสินใจและเพิ่มโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น 2) ปัญหาและข้อเสนอแนะจากผู้บริหาร อาจารย์และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกในการส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา พบว่า มีปัญหา 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผน พบว่า ยังขาดการเผยแพร่ข้อมูลที่สำคัญของมหาวิทยาลัย เช่น นโยบายและงบประมาณยังไม่ชัดเจน ควรมีวางแผนการใช้ช่องทางประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย ด้านการตัดสินใจดำเนินการพบว่า กิจกรรมในหลักสูตรต้านการทุจริต นักศึกษาไม่เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์อย่างเพียงพอ ส่งผลให้เกิดความตระหนักรู้ถึงผลเสียของการทุจริตน้อย มหาวิทยาลัยควรจัดกิจกรรมส่งเสริมสิทธิประชาชนในการเฝ้าระวังการทุจริตที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันมากขึ้น และด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์และการประเมินผล พบว่า ยังขาดการพัฒนาเนื้อหาที่ช่วยสร้างความรู้เกี่ยวกับการปกป้องตนเองและการรับรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเอง รวมถึงการขาดกลไกในการฝึกทักษะป้องกันตนเอง ส่งผลให้ผู้เรียนไม่มีความพร้อมในการต่อต้านการทุจริต มหาวิทยาลัยจึงควรมีมาตรการ ที่ชัดเจนและสร้างวัฒนธรรมในการไม่ยอมรับการทุจริต โดยส่งเสริมให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหานี้เพื่อลดโอกาสในการเกิดปัญหาเดิมซ้ำ ๆ และไม่มองเรื่องการทุจริตเป็นเรื่องปกติไว้ในรายวิชาที่พัฒนาขึ้นจากหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา 3) แนวทางพัฒนาและส่งเสริมหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาแบบมีส่วนร่วม พบว่า มี 3 ประเด็น คือ การมีส่วนร่วมในด้านการบริหารจัดการหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา พบว่า มหาวิทยาลัยควรเปิดโอกาสให้นักศึกษา ศิษย์เก่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเข้ามามีบทบาทในการออกแบบหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักศึกษา การมีส่วนร่วมในด้านงบประมาณ พบว่า มหาวิทยาลัยควรจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอเพื่อสนับสนุนการเข้ามามีส่วนร่วมในหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้นักศึกษาได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงพร้อมทั้งส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเยาวชนและตอบสนองความต้องการของชุมชนในการสร้างสังคมที่โปร่งใสและสร้างสังคมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีและการมีส่วนร่วมในด้านการบริหารงานทั่วไป พบว่า มหาวิทยาลัยควรเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจการจัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยผู้บริหารและอาจารย์สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้ความรู้และความสามารถได้ตามสิทธิ์ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย</p>
สิริรัตน์ ชูรักษ์
Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-17
2025-01-17
19 1
83
125
-
ความรู้ ความเข้าใจ และความคิดเห็นที่มีต่อการเข้ารับบริการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของผู้เข้าข่ายชำระภาษีในเขตเทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/3280
<p>การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสำรวจผู้เข้าข่ายชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเขตเทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าข่ายชำระภาษีเกี่ยวกับการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง2) ระดับความคิดเห็นของผู้เข้าข่ายชำระภาษีเกี่ยวกับการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และ 3) ระดับความคิดเห็นของผู้เข้าข่ายชำระภาษีต่อการเข้ารับบริการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบและแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้เข้าข่ายชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จำนวน 373 คน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาจำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับความรู้ความเข้าใจทั้งด้านสาระสำคัญของภาษี และด้านขั้นตอนการชำระภาษีอยู่ในระดับค่อนข้างดี 2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการชำระภาษีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสะดวก ความประหยัด ความแน่นอน และความยุติธรรม อยู่ในระดับมากทุกด้าน และ 3) ระดับความคิดเห็นต่อการเข้ารับบริการชำระภาษีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ช่องทางการให้บริการ และขั้นตอนการให้บริการ อยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ ทางเทศบาลควรจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนาระบบการให้บริการที่ดีเพิ่มมากขึ้น</p>
ศดานนท์ วัตตธรรม
Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-20
2025-01-20
19 1
126
151
-
บทบาทกวางทองในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/3521
<p>มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา องค์ประกอบ รูปแบบการแสดง บทบาทกวางทอง ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ การดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย การรับการถ่ายทอดกระบวนท่ารำ การชมวีดิทัศน์การแสดง ผลการวิจัย พบว่า บทบาทกวางปรากฏในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดพระรามตามกวาง กล่าวถึงมารีศแปลงกายเป็นกวางทองตามอุบายของทศกัณฐ์เพื่อล่อลวงให้พระรามออกติดตามกวาง เป็นโอกาสให้ทศกัณฐ์ลักพานางสีดาไปยังกรุงลงกา มีองค์ประกอบการแสดงคือ บทที่ใช้ในการแสดง ผู้แสดงเป็นตัวพระมีรูปร่างเล็ก ปราดเปรียวเหมาะกับบท ใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็งบรรเลงประกอบการแสดง ประกอบด้วยเพลงร้องและเพลงหน้าพาทย์ แต่งกายยืนเครื่องตัวพระสวมศีรษะหน้ากวางทอง รูปแบบการแสดง เป็นลักษณะของการรำติดตามของตัวละครมนุษย์กับสัตว์ กระบวนท่ารำ ประกอบไปด้วย 1. ท่ารำหลักจากเพลงช้า และแม่บท 2. ท่ารำที่เป็นการตีบทตามคำร้อง 3. ท่าเลียนแบบธรรมชาติ สอดแทรกลีลารูปแบบตัวยักษ์ด้วยท่าลงวง ท่ายืดกระทบ ท่าเก็บเท้าและลีลาการใช้มือท่าจีบมือกวาง ท่าก้มตัว ท่าเลียขน</p>
พิชญ์ ยอดเนรแก้ว
จินตนา สายทองคำ
Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-28
2025-01-28
19 1
152
179
-
ประเด็นการพัฒนาสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhusocbru/article/view/3083
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบประเด็นการพัฒนาสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงอนาคต (EDFR: Ethnographic Delphi Futures Research) สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 19 คน เป็นผู้ที่กำหนดนโยบายด้านการศึกษา ผู้ที่ดำเนินงานตามนโยบายด้านการศึกษา และผู้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยพบว่า ประเด็นการพัฒนาสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ คือ 1) ด้านผู้เรียน 2) ด้านครูผู้สอน 3) ด้านผู้บริหารสถานศึกษา 4) ด้านการจัดการเรียนรู้ 5) ด้านกระบวนการบริหาร 6) ด้านแหล่งเรียนรู้ 7) ด้านระบบการศึกษาและ 8) ด้านการเสริมสร้างสุขภาวะทางกายและส่งเสริมศักยภาพด้านกีฬา</p>
พิมล มาประกอบ
มัทนา วังถนอมศักดิ์
Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-01-29
2025-01-29
19 1
180
214