มจร สุพรรณบุรีปริทรรศน์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/mcusr <p><strong>ISSN: 2821-9937 (Print) </strong></p> <p><strong>ISSN: 3056-9222 (Online) </strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขต: </strong> เป็นวารสารด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มุ่งเน้นนำเสนอองค์ความรู้ที่เป็นนวัตกรรมทางพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์ทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และผลงานทางวิชาการด้านการบริหารจัดการ โดยเปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>สาขาที่รับตีพิมพ์ :</strong>พระพุทธศาสนา, บริหารธุรกิจและการจัดการ, รัฐประศาสนศาสตร์, รัฐศาสตร์, การศึกษา</p> <p><strong>กำหนดออก: </strong> ปีละ 3 ฉบับ</p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน</p> <p> ฉบับที่ 2 พฤษภา – สิงหาคม</p> <p> ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม</p> <p><strong>ประเภทบทความที่รับตีพิมพ์: </strong>1. บทความวิจัย (Research Article) 2. <span style="font-size: 0.875rem;">บทความวิชาการ (Academic Article) 3.</span> บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ:</strong> บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จำนวนไม่น้อยกว่า 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double – Blind Peer Review)</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์:</strong> เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการเผยแพร่: </strong>ด้วยทางวารสาร มจร สุพรรณบุรีปริทรรศน์ เป็นวารสารที่เปิดใหม่ เปิดรับบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร ในช่วงก่อนรับการประเมินเข้าฐานของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre) ทางวารสารเปิดรับบทความตีพิมพ์โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น จนกว่าจะได้รับการประเมินเข้าฐานของ TCI</p> <p><strong>ข้อมูลลิขสิทธิ์ต่างๆ: </strong>เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สุพรรณบุรีปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น</p> th-TH brother.nop@gmail.com (พระครูโสภณวีรานุวัตร,ผศ.ดร. บรรณาธิการ) deenop2019@gmail.com (ผศ.ดร.นพดล ดีไทยสงค์ หัวหน้ากองบรรณาธิการ) Mon, 29 Apr 2024 17:11:33 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบาทวัดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ : กรณีศึกษา วัดในตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/mcusr/article/view/2875 <p> บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์การศึกษาวิจัยดังนี้คือ 1) เพื่อศึกษาบทบาทวัดในตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี กับการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของวัดในตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) เพื่อศึกษาเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของวัดในตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ <br />มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากภาคสนามร่วมกับข้อมูลเอกสารที่ศึกษา <br />ใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย และนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการเขียนพรรณนา โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 16 รูป/คน เป็นตัวแทนวัด 2 วัด และผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกับกิจกรรมของทางวัด</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1. บทบาทวัดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กรณีศึกษา วัดในตำบล<br />หัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี มีบทบาทอยู่ด้วยกัน 5 บทบาท มี 1) บทบาท<br />ผู้เผยแผ่ศาสนธรรม ในการดำเนินงานปฏิบัติศาสนกิจ ประกอบกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2) บทบาทการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย มีการดำเนินงานรณรงค์ในมีการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ใช้หอกระจ่ายข่าววัดในการให้ความรู้เกี่ยวการดูแลสุขภาพ และการดูแลผู้สูงอายุ <br />3) บทบาทการสร้างเสริมอาชีพ มีการสนับสนุนในการจัดอบรมการสร้างเสริมอาชีพในผู้สูงอายุ <br />และการสนับสนุนการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาจากผู้สูงอายุ 4) บทบาทการศึกษาสงเคราะห์ <br />มีการมอบทุนให้กับโรงเรียน และให้หยิบยืมใช้สถานที่ในการศึกษาเรียนรู้การสร้างอาชีพจากภูมิปัญญาผู้สูงอายุ และ 5) บทบาทสาธารณสงเคราะห์ มีการดำเนินงานบูรณะปฏิสังขรณ์อารามวัด <br />โดยให้ความสำคัญในการรองรับผู้สูงอายุ คนพิการ ในการเข้าร่วมประกอบศาสนกิจในวันสำคัญทางศาสนา และเทศกาลสำคัญ ให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง ติดบ้าน และผู้สูงอายุที่มีฐานะทางเศรษฐกิจในครอบครัวต่ำ 2. ด้านปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน พบว่า มีปัญหาด้านการประสานงานระหว่างวัดกับชุมชน ในการร่วมดำเนินกิจกรรม เพราะเหตุด้วยภาระงานของคนในชุมชน รวมถึงผู้สูงอายุ จึงไม่ได้รับความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมของทางวัดได้อย่างเต็มที่ <br />ขาดการประสานงานจากหน่วยงานภายนอก ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐหรือส่วนอื่น<br />ที่เกี่ยวข้อง ในการกระจ่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนจากความรู้ภูมิปัญญาจากผู้สูงอายุ ในการสร้างเสริมอาชีพที่วัดมีการดำเนินร่วมกับ โรงเรียน และชุมชน 3. เสนอแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ควรมีการติดต่อประสานงานขอความร่วมมือจากหน่วยงานรัฐ หรือส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างเสริมอาชีพ โดยใช้ภูมิปัญญาจากผู้สูงอายุ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนสามารถกระจายออกไปสู่วงกว้าง เพื่อสร้างรายได้ให้คนในชุมชน และผู้สูงอายุ ที่เป็นการให้ผู้สูงอายุได้ตระหนักเห็นคุณค่าในตนเอง</p> <p><strong> </strong></p> พระกิตติพงษ์ มะกรูดอินทร์ Copyright (c) 2024 มจร สุพรรณบุรีปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/mcusr/article/view/2875 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข https://so08.tci-thaijo.org/index.php/mcusr/article/view/2750 <p>มนุษย์เราจะอยู่อย่างมีความสุขในสังคม ถ้าไม่มีหลักพุทธธรรมหรือคุณธรรมก็ทำไม่ได้ เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงต้องกินและบริโภค การดำรงชีพของมนุษย์คือผลประโยชน์ของตนเอง ประกอบกับธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์มักเห็นแก่ตัว ชอบเอาเปรียบผู้อื่น ถ้ามนุษย์ขาดพุทธธรรมในจิตใจ การทำมาหากินก็ต้องมีบาดแผล ทะเลาะวิวาทกับการต่อสู้เพื่อฆ่ากันเพื่อต่อสู้กับสงคราม อย่างไรก็ตาม เผ่าพันธุ์มนุษย์ได้รับการฝึกฝนด้านศีลธรรม คุณธรรมมีมาช้านาน ประชาชนจึงมีสำนึกในคุณธรรมและจริยธรรมในหัวใจ เหตุการณ์รุนแรงต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นได้ยาก ให้สังเกตเหตุการณ์ของประเทศทุกวันนี้ จึงมีหลายวิธีที่จะนำหลักธรรมะในชีวิตไปปฏิบัติ อาจเริ่มต้นด้วยหลักธรรมข้อใดข้อหนึ่งและยึดถือปฏิบัติ ซึ่งอาจนำไปสู่หลักการปฏิบัติที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เช่น ประโยชน์ 3 ประการ, คิหิปฏิบัติ, อิทธิบาท 4 เป็นต้น หลักพุทธธรรมในพระพุทธศาสนาเหล่านี้ล้วนมีส่วนทำให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีแก่ชีวิต ลูกศิษย์ควรใส่ใจปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง</p> ธนัชพร เกตุคง, พระครูอนุกูลกัลยาณกิจ Copyright (c) 2024 มจร สุพรรณบุรีปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/mcusr/article/view/2750 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลคุณค่าของพุทธศิลป์กับการพัฒนาจิตและปัญญาในสังคมไทย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/mcusr/article/view/2868 <p>อิทธิพลคุณค่าพุทธศิลป์กับการพัฒนาจิต ในสังคมไทยเข้ามามีอิทธิพลต่อพุทธศาสนิกชนเริ่มตั้งแต่แรกเกิด มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิต โดยอาศัยวัด ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพุทธศิลป์ที่สำคัญ &nbsp;โดยอาศัยเงินบริจาคที่มาจากประชาชนทั่วไปที่มากราบไหว้สักการะ ไปช่วยส่งเสริมสนับสนุนสังคมในด้านต่าง ๆ และยังมี อิทธิพลและคุณค่าทาง ด้านวัฒนธรรม ก่อให้เกิดประเพณีวัฒนธรรม เกิดการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม&nbsp; ทำให้การท่องเที่ยวในที่นั้นมีการเติบโต ชาวบ้านบริเวณโดยรอบได้ประกอบสัมมาชีพ ซึ่งเป็นการส่งเสริมตอาชีพให้กับชาวบ้านในชุมชนได้เป็นอย่างดี&nbsp; ที่สำคัญเสริมสร้างทางด้านจิตใจ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ มีที่พึ่งพิงทางใจให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย อุ่นใจ สบายใจ ได้ระลึกนึกถึงพุทธคุณ นึกถึงหลักธรรมคำสอนแล้วน้อมนำเอามาใช้ประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน อยู่บนพื้นฐานของปัญญาหรือความมีเหตุผล โดยมุ่งหมายให้เกิดความสงบทางใจ และเกิดสติปัญญาในการแก้ปัญหาชีวิต ได้พัฒนาจิตใจ และปัญญา สามารถอบรมเจริญวิปัสสนาซึ่งเป็นหนทางการดับกิเลส หรือความหลุดพ้นโดยการประพฤติปฏิบัติธรรมในสิ่งที่ดีงามที่ ละเว้นจากการทำชั่วทั้งปวง เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตนเพื่อให้พ้นทุกข์อันเป็นแก่นคำสอนของพระพุทธศาสนาต่อไป</p> ถนัด ยันต์ทอง Copyright (c) 2024 มจร สุพรรณบุรีปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/mcusr/article/view/2868 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 ร่างทรง ตุ๊กตาลูกเทพ : ทวิลักษณ์ทางความเชื่อ มูลค่า ความรุนแรง และความตาย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/mcusr/article/view/2749 <p>ร่างทรง &nbsp;ตุ๊กตาลูกเทพ เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน &nbsp;มีนัยยะของการสร้างสิ่งเชื่อให้เกิดขึ้นผ่านรูป กระบวนการ และวิธีการ แต่นัยยะที่สะท้อนออกมาคือความเชื่อ ที่เป็นได้ทั้งจริง และหลอกลวง รวมไปถึงมูลค่าที่ต้องจ่ายเพิ่มจากความเชื่อนั้น พร้อมสะท้อนทวิลักษณ์ทางความเชื่อที่ปรากฏในคนนั้น เป็น พฤติกรรมและการกระทำที่เกิดขึ้นจริงในสังคม จนกระทั่งนำไปสู่ความรุนแรงทางความเชื่อ การตีโต้ หรือต่อต้านจากฝ่ายทีไม่เชื่อ จนส่งผลให้กลายเป็นความแปลกแยก และเป็นอื่นไปในที่สุด &nbsp;&nbsp;</p> <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทวิลักษณ์ทางสังคมผ่านปรากฏการณ์ร่างทรง และตุ๊กตาลูกเทพ พร้อมใช้หลักการทางพระพุทธศาสนา มาวิเคราะห์สะท้อนมุมมองในปรากฏการนี้</p> พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร Copyright (c) 2024 มจร สุพรรณบุรีปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/mcusr/article/view/2749 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700 การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 เพื่อการพ้นทุกข์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/mcusr/article/view/2759 <p>พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนให้รู้จักทุกข์และวิธีการดับทุกข์มากมาย แต่ทุกคนไม่ค่อยเดินให้ถูกทางไปเดินทางที่มีทุกข์ กันเกือบทั้งนั้น ทำให้สังคมทั้งอดีตและปัจจุบัน จะมีแต่ความเร้าร้อนกันเป็นจำนวนมาก&nbsp; หากบุคคลใดทำความเข้าใจเรียนรู้หลักธรรมในสติปัฏฐานสูตร 4 &nbsp;มีเนื้อหาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติธรรม อันเป็นอุบายวิธีที่จะเข้าถึงสัจธรรมอย่างแท้จริงอันในไปสู่ความพ้นทุกข์ ในทางพระพุทธศาสนา และทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นๆ เป็นผู้ตื่นจากอวิชชาความไม่รู้ รู้แจ้งสัจธรรมอันสูงสุดในทางพุทธศาสนา สามารถเข้าถึงหลักการพัฒนากาย พัฒนาจิต และสติปัญญา อย่างแท้จริง แต่จะต้องนำเอาหลักธรรมนั้นมาประพฤติปฏิบัติธรรม จึงจะรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมได้ ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียน จึงได้ศึกษาเนื้อหาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมในสติปัฏฐาน 4 ว่า มีความเป็นมา ความสำคัญ นำสู่การพ้นทุกข์ นำไปสู่การบรรลุธรรมในทางพระพุทธศาสนาในที่สุด</p> พระครูสถิตธรรมาลังการ (จำเนียน สุชาโต) Copyright (c) 2024 มจร สุพรรณบุรีปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/mcusr/article/view/2759 Mon, 29 Apr 2024 00:00:00 +0700