TY - JOUR AU - พรมด้าว, วรรณี AU - กฤษฎี, แสงสิทธิ์ AU - ตันปัน, สลิลทิพย์ AU - อาจหาญ, ณัฏฐินีย์ PY - 2023/05/10 Y2 - 2024/03/29 TI - การศึกษาตํารับยาสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจําเดือน ในศาสตร์การแพทย์แผนไทย JF - วารสารร่มยูงทอง JA - romyoongthong VL - 1 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/1690 SP - 75-85 AB - <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาตำรับยาสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือน  และวิเคราะห์รสยาสมุนไพรในแต่ละตำรับ ซึ่งค้นคว้าในหนังสือแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ) โดยสังเคราะห์คำไทยโบราณที่เกี่ยวกับคำว่าประจำเดือน และได้รวบรวมนำคำที่ได้มาใช้เป็นคำสืบค้นตำรับยาสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือน แล้วนำมาวิเคราะห์จัดเรียงและแบ่งแยกตำรับยาสมุนไพรตามกลุ่มอาการปวดประจำเดือน และประจำเดือนมาไม่ปกติ ผลการศึกษา พบว่า สมุนไพรที่นำมาใช้ในการรักษาอาการปวดประจำเดือนมากที่สุด คือ สะค้าน และช้าพลู จำนวน 13 ตำรับ รองลงมา คือ รากเจตมูลเพลิง ขิงแห้ง พริกไทย และดีปลี มีจำนวน 12 ตำรับ     เมื่อวิเคราะห์รสยา พบว่า รสขม เป็นรสที่ใช้รักษากลุ่มอาการปวดประจำเดือนมากที่สุด นอกจากนี้ มี ขิง เป็นสมุนไพรที่นำมาใช้ในตำรับยารักษากลุ่มอาการประจำเดือนมาไม่ปกติมากที่สุด ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 42 ตำรับ และรองลงมาคือ ดีปลี ซึ่งมีจำนวน 36 ตำรับ เมื่อวิเคราะห์รสยาพบว่า รสเผ็ดร้อน เป็นรสที่ใช้รักษากลุ่มอาการประจำเดือนมาไม่ปกติมากที่สุด จะเห็นได้ว่า ในศาสตร์การแพทย์แผนไทย มีการใช้ตำรับยาที่มีรสขม มารักษาอาการปวดประจำเดือน ที่มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิตและดี แก้โลหิตพิการ และใช้ตำรับยาที่มีรสเผ็ดร้อน มาช่วยขับประจำเดือนที่คั่งค้าง ช่วยขับลม บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อจึงเป็นรสที่นิยมนำมาใช้ในกลุ่มอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ</p> ER -