https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/issue/feed วารสารร่มยูงทอง 2023-05-10T00:00:00+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐชา หน่อทอง (บรรณาธิการ) nathnorthn@gmail.com Open Journal Systems <p><strong><img src="https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/9/9a/Banner_Big.jpg" /></strong></p> <p><strong>วารสารร่มยูงทอง</strong></p> <p><strong>Rom Yoong Thong Journal</strong></p> <p><strong>ISSN :</strong> 2985-0193</p> <p><strong>กำหนดระยะเวลาการเผยแพร่ จำนวน 3 ฉบับต่อปี</strong><br />ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน <br />ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม <br />ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม </p> https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/1691 ความพึงพอใจในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ต ของบุคลากรทางการศึกษาในเขตสํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบ้านผือ อําเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 2023-03-22T16:26:07+07:00 นิติกรณ์ จันทรสุริยะศักดิ์ junsuriyasak@gmail.com สุรีฉาย จันทรมณี Junsuriyasak@gmail.com ปนัฏฎา มะโยธี Junsuriyasak@gmail.com ณิชานันท์ จันทรปุ่ม Junsuriyasak@gmail.com <p>การวิจัยนี้วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ตของบุคลากรทางการศึกษาในเขตสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ตของบุคลากรทางการศึกษาในเขตสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี จำแนกปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรทางการศึกษาในเขตเทศบาลตำบลบ้านผือ จำนวน 187 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และ F-test และการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้ Scheffe Analysis</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ตของบุคลากรทางการศึกษาในเขตสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก และ 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งงานแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ตจะไม่แตกต่างกัน ส่วนรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน ความพึงพอใจในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ตจะแตกต่างกัน</p> 2023-05-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/1850 การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหนองผักหนอก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี 2023-04-27T11:11:10+07:00 พรรณนิภา เดชพล punnipa.d@lawasri.tru.ac.th วรนิษฐา จันทร์เอี่ยม punnipa.d@lawasri.tru.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ด้านการสื่อสารในการจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านหนองผักหนอก 2) พัฒนาทักษะการสื่อสารของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหนองผักหนอก และ 3) ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหนองผักหนอก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เน้นการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร การสนทนากลุ่ม การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการผลิตสื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนและคณะครู และแกนนำชุมชน จำนวน 25 คน ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ตัวแทนแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564 </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>สภาพการณ์ด้านการสื่อสารในการจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านหนองผักหนอกยังขาดการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างเป็นระบบ การสื่อสารประชาสัมพันธ์และสื่อที่เผยแพร่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหนองผักหนอกส่วนใหญ่เป็นสื่อที่ผลิตโดยหน่วยงานของรัฐที่เข้าไปส่งเสริมตามภารกิจหน้าที่ ยังไม่ใช่ลักษณะของสื่อเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนที่เป็นระบบอย่างแท้จริง และขาดการบูรณาการร่วมกัน</li> <li>การพัฒนาทักษะการสื่อสารของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารและการเป็นมัคคุเทศก์ให้แก่นักเรียนและคณะครูโรงเรียนบ้านหนองผักหนอก และแกนนำในชุมชน ผลประเมินความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.54)</li> </ol> <p> 3. การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์โปสเตอร์ จำนวน 5 เรื่อง มีคะแนนคุณภาพเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดีมาก (<img style="font-size: 0.875rem;" title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.66) และสื่อวีดิทัศน์ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนมีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (<img style="font-size: 0.875rem;" title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.63)</p> 2023-05-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/1741 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษีอากร 1 (กรณีศึกษานักศึกษาสาขาการบัญชี ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง) 2023-04-03T17:07:57+07:00 ยุพา สะรุโณ yupa_saruno@hotmail.com ปัญจรัศมิ์ สามนเสน yupa_saruno@hotmiail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษีอากร 1 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 และ 3) หาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษีอากร 1 ประชากรกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ทั้งหมดจำนวน 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way Analysis of variance ANOVA) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation Analysis) </p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20 – 22 ปี ผลการเรียนรายวิชาภาษีอากร 1 เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.50 - 2.99 รายได้ของครอบครัวต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,000 - 19,999 บาท ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษีอากร 1 (กรณีศึกษาสาขาการบัญชีชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก =3.80 ประกอบด้วย ด้านอาจารย์ผู้สอน =4.13 ด้านผู้เรียน =3.64 และด้านครอบครัว =3.62 ตามลำดับ และการทดสอบหาค่าความแตกต่างข้อมูลทั่วไปกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ระดับชั้นที่ต่างกันจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ต่างกันระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านผู้เรียน ได้แก่ การใช้เวลาในการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การทำงานระหว่างเรียน และด้านอาจารย์ผู้สอน ได้แก่ การวัดและประเมินผล ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 สำหรับด้านครอบครัว ได้แก่ รายได้ของครอบครัว การดูแลเอาใจใส่ของครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p> 2023-05-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/1751 การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2023-04-12T14:38:22+07:00 ปภาพิต ศรีสว่างวงศ์ papapit2559@gmail.com <p>ในยุคปัจจุบันที่มีการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลนี้ ถือเป็นความท้าทายของการพัฒนาการศึกษาให้มีความก้าวหน้า มีคุณภาพและสร้างมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับตามที่คาดหวัง ทำให้การจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ใหม่ ๆ ควบคู่กับการเรียนแบบบรรยายจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถคิดและแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ดี เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี ของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามก่อนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ชั้นปีที่ 3 จำนวน 65 คน โดยวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) </p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี ของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าหลังเรียน และ 2) การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี ของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05</p> 2023-05-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/1851 การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการรับสินค้าสำเร็จรูป ด้วยเทคโนโลยีรถยกระบบอัตโนมัติ กรณีศึกษาบริษัท ABC 2023-04-28T09:45:14+07:00 กิตติวัลย์ ทองอร่าม kittiwan.t@lawasri.tru.ac.th ปิยวรรณ จันทร์ศิริ pywcsr9579@gmail.com <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการรับสินค้าสำเร็จรูปด้วยแผนภูมิกระบวนการไหล การวิเคราะห์แผนภูมิพาเรโต แนวคิดลีน และแนวคิด ECRS และแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการรับสินค้าสำเร็จรูป ด้วยเทคโนโลยีรถยกระบบอัตโนมัติของฝ่ายผลิต กรณีศึกษาบริษัท ABC โดยการวิเคราะห์กระแสงานในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตและศึกษากระบวนการทำงานจากการปฏิบัติงานจริง ร่วมกับการวิเคราะห์แผนภูมิกระบวนการไหล การวิเคราะห์แผนภูมิพาเรโต แนวคิดลีน กิจกรรมที่เพิ่มมูลค่า และกิจกรรมที่ไม่เพิ่มมูลค่า รวมถึงกิจกรรมที่จำเป็นต้องปฏิบัติ และไม่จำเป็นต้องปฏิบัติ และหลักการ ECRS เพื่อจำแนกขั้นตอนที่สูญเปล่าและไม่จำเป็นออกจากกระบวนการและหาวิธีปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ไม่มีกิจกรรมที่มีมูลค่าเพิ่ม แต่มีกิจกรรมที่ไม่มีมูลค่าเพิ่มแต่จำเป็นต้องทำ 8 กิจกรรม แล้วนำมาวิเคราะห์ กิจกรรมเพิ่มคุณค่าและ ERCS จะเห็นได้ว่ามีขั้นตอนที่สามารถทำให้ง่ายขึ้นได้ทั้งหมด 6 ขั้นตอน โดยใช้เทคโนโลยีรถโฟล์คลิฟท์ระบบอัตโนมัติ (LGV Forklift) ผู้วิจัยจึงศึกษาออกแบบและวางแผนเส้นทางการเดินรถของรถยกระบบอัตโนมัติ พบว่า จากการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ง่ายขึ้นด้วยการนำเทคโนโลยีรถยกระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในกระบวนการรับสินค้าสำเร็จรูป สามารถลดต้นทุนในการทำงานได้ดังนี้ ระยะเวลาในการทำงานลดลง 188 ชั่วโมงต่อปี คิดเป็นเงิน 31,200 บาทต่อปี ผู้ปฏิบัติงานลดลง 4 คน คิดเป็นเงิน 1,476,929 บาทต่อปี ค่าเช่ารถยกลดลง 2 คัน คิดเป็นเงิน 396,000 บาทต่อปี ค่าบำรุงรักษารถยก 20,000 บาท/ปี ค่าสินค้าเสียหาย 8,740 บาทต่อปี รวมค่าใช้จ่ายที่ลดลง 1,912,869 บาทต่อปี</p> 2023-05-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/1690 การศึกษาตํารับยาสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจําเดือน ในศาสตร์การแพทย์แผนไทย 2023-03-24T15:42:40+07:00 วรรณี พรมด้าว wannee.pr@ssru.ac.th แสงสิทธิ์ กฤษฎี wannee.pr@ssru.ac.th สลิลทิพย์ ตันปัน wannee.pr@ssru.ac.th ณัฏฐินีย์ อาจหาญ wannee.pr@ssru.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาตำรับยาสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือน และวิเคราะห์รสยาสมุนไพรในแต่ละตำรับ ซึ่งค้นคว้าในหนังสือแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ) โดยสังเคราะห์คำไทยโบราณที่เกี่ยวกับคำว่าประจำเดือน และได้รวบรวมนำคำที่ได้มาใช้เป็นคำสืบค้นตำรับยาสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือน แล้วนำมาวิเคราะห์จัดเรียงและแบ่งแยกตำรับยาสมุนไพรตามกลุ่มอาการปวดประจำเดือน และประจำเดือนมาไม่ปกติ ผลการศึกษา พบว่า สมุนไพรที่นำมาใช้ในการรักษาอาการปวดประจำเดือนมากที่สุด คือ สะค้าน และช้าพลู จำนวน 13 ตำรับ รองลงมา คือ รากเจตมูลเพลิง ขิงแห้ง พริกไทย และดีปลี มีจำนวน 12 ตำรับ เมื่อวิเคราะห์รสยา พบว่า รสขม เป็นรสที่ใช้รักษากลุ่มอาการปวดประจำเดือนมากที่สุด นอกจากนี้ มี ขิง เป็นสมุนไพรที่นำมาใช้ในตำรับยารักษากลุ่มอาการประจำเดือนมาไม่ปกติมากที่สุด ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 42 ตำรับ และรองลงมาคือ ดีปลี ซึ่งมีจำนวน 36 ตำรับ เมื่อวิเคราะห์รสยาพบว่า รสเผ็ดร้อน เป็นรสที่ใช้รักษากลุ่มอาการประจำเดือนมาไม่ปกติมากที่สุด จะเห็นได้ว่า ในศาสตร์การแพทย์แผนไทย มีการใช้ตำรับยาที่มีรสขม มารักษาอาการปวดประจำเดือน ที่มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิตและดี แก้โลหิตพิการ และใช้ตำรับยาที่มีรสเผ็ดร้อน มาช่วยขับประจำเดือนที่คั่งค้าง ช่วยขับลม บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อจึงเป็นรสที่นิยมนำมาใช้ในกลุ่มอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ</p> 2023-05-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/1653 พื้นที่การเรียนรู้ : ในวันที่โลกหมุนเร็ว 2023-04-05T17:18:45+07:00 พนัส จันทร์ศรีทอง panus.jun@staff.krirk.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่แนวคิดเรื่องพื้นที่การเรียนรู้ ในวันที่โลกหมุนเร็ว ตามการศึกษาค้นคว้าและทัศนะของผู้แต่ง ซึ่งกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกส่งผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อม ต่อบุคคล สังคม ประเทศ อีกทั้งยังส่งผลต่อระบบพื้นฐานของการพัฒนาต่าง ๆ รวมถึงระบบการศึกษา การศึกษาที่เป็นสิ่งสำคัญที่จะขับเคลื่อนกลไกการพัฒนาประเทศ การพัฒนาการศึกษา ซึ่งแนวทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในอนาคตให้มีทักษะและคุณภาพที่พร้อมรับสถานการณ์ต่าง ๆ อีกทั้งการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดความรู้อย่างแท้จริงเกิดขึ้นจากความต้องการพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพมีคุณภาพในการดำรงชีวิต การเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลา การเรียนรู้บางอย่างเกิดขึ้นได้เองโดยอัตโนมัติเป็นไปตามกลไกของธรรมชาติ แต่การเรียนรู้บางด้านต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ และในอนาคตการเรียนรู้มีแนวโน้มที่จะเกิดเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน จะกลายเป็นวิถีชีวิตใหม่ คือเป็น “การเรียนแบบเผชิญหน้า” และ “การเรียนออนไลน์” พื้นที่แห่งการเรียนรู้ บ้าน โรงเรียน ชุมชน จะช่วยบ่มเพาะเส้นทางการเติบโตของผู้เรียนจนเป็นผู้ใหญ่ที่มีทักษะชีวิต ทักษะสุขภาพที่ดี มีความสามารถในการบรรลุผลตามหน้าที่ สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต พื้นที่เรียนรู้จึงเป็นทางเลือกและโอกาสในการพัฒนาศักยภาพให้กับผู้เรียนที่มีความต้องการที่หลากหลาย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงแห่งศตวรรษที่ 21</p> 2023-05-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/1665 นักบัญชีนวัตกรในอนาคต 2023-03-15T18:05:25+07:00 พิมพ์ผกา วงศ์กองแก้ว pimpaka.w2526@gmail.com เอกวินิต พรหมรักษา Pimpaka.w2526@gmail.com <p>บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ศักยภาพของนักบัญชีในอนาคต อันเกิดจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมโลกภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) ปัจจุบันการพัฒนาประเทศถูกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation) และเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital) ส่งผลให้นักบัญชีต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หากนักบัญชียังคงทำงานอยู่แบบเดิม ๆ นักบัญชีก็จะเกิดความหล้าหลังไม่สามารถรับมือการเปลี่ยนแปลงจากการหลั่งไหลเข้ามาของนักลงทุนธุรกิจข้ามชาติ และการเข้ามาของนักวิชาชีพบัญชีต่างชาติ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ได้ ดังนั้น นักบัญชีในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพพื้นฐานสำคัญ ด้านความรู้ ด้านการทำบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร ด้านการวางระบบบัญชี ด้านการบัญชีภาษีอากร และด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี ที่ครอบคลุมถึงคุณลักษณะนักบัญชีมืออาชีพ 5 ด้าน คือ 1) ทักษะทางปัญญา 2) ทักษะทางวิชาการเชิงปฏิบัติการและหน้าที่งาน 3) ทักษะทางคุณลักษณะเฉพาะบุคคล 4) ทักษะทางปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสาร และ 5) ทักษะทางด้านองค์การและการจัดการธุรกิจ ซึ่งเป็นการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างไม่จบสิ้น (Lifelong Learning) จากการศึกษาทบทวนวรรณกรรม แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบพบว่า นักบัญชีจำเป็นและควรตระหนักถึงการพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต (Reskill) 3 ทักษะที่สำคัญ คือ 1) ทักษะการใช้เทคโนโลยี (Technology Skills) 2) ทักษะด้านความรู้ (Hard Skills) และ 3) ทักษะด้านอารมณ์ (Soft Skills) เนื่องจากในอนาคตนักบัญชีจะเป็นผู้รวบรวมองค์ความรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้รวมกันจนสามารถสร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมคุณค่า ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานเป็นองค์ความรู้ใหม่เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่องานบัญชีต่อไป</p> 2023-05-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี