วารสารร่มยูงทอง https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong <p><strong><img src="https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/9/9a/Banner_Big.jpg" /></strong></p> <p> </p> <p><strong>วารสารร่มยูงทอง</strong></p> <p><strong>Rom Yoong Thong Journal</strong></p> <p><strong>ISSN :</strong> 2985-0193 (Online)</p> <p><strong>กำหนดระยะเวลาการเผยแพร่ จำนวน 3 ฉบับต่อปี</strong><br />ฉบับที่ 1 เปิดรับบทความเดือนมกราคม - เมษายน (เผยแพร่เดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป)<br />ฉบับที่ 2 เปิดรับบทความเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม (เผยแพร่เดือนกันยายน เป็นต้นไป)<br />ฉบับที่ 3 เปิดรับบทความเดือนกันยายน - ธันวาคม (เผยแพร่เดือนมกราคม เป็นต้นไป) </p> <p><img src="https://so08.tci-thaijo.org/public/site/images/romyoongthong/poster-pr-new.jpg" alt="" width="1783" height="1426" /></p> คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี th-TH วารสารร่มยูงทอง 2985-0193 การสื่อสารการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ ของผู้บริโภคเจนเนอร์เรชั่น Z ในประเทศไทย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/4148 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ 2) ศึกษาอิทธิพลของการสื่อสารการตลาดดิจิทัลที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) การรับรู้ต่อการสื่อสารการตลาดดิจิทัล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น Z ในประเทศไทย จำนวน 400 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ใช้การวิเคราะห์ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 เพื่อทดสอบสมมติฐาน</p> <p>ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) เพศและอาชีพที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อประเภทสินค้าที่ลูกค้าเลือกซื้อ และ แพลตฟอร์มที่ใช้ในการซื้อ 2) ระดับการศึกษา สถานภาพและรายได้ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อช่วงเวลาในการซื้อ 3) รายได้และสถานภาพที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อวิธีการชำระเงิน การสื่อสารการตลาดดิจิทัล 4) ระดับการศึกษาและสถานภาพที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัล และการใช้พนักงานขายผ่านสื่อดิจิทัล 5) สถานภาพที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการส่งเสริมการขายผ่านสื่อดิจิทัล 6) สถานภาพและรายได้ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการขายและประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อดิจิทัล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ผู้ประกอบการควรพัฒนากลยุทธ์การตลาดให้เหมาะสมกับลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น Z เช่น การสร้างโปรโมชั่นเฉพาะกลุ่ม การเลือกใช้สื่อที่เหมาะสม และการกำหนดช่วงเวลาที่ตรงกับพฤติกรรมการซื้อ เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายและความพึงพอใจของลูกค้า</p> อาทิตยา อาจธัญกรณ์ ณฆรินทร์ ประเสริฐสุข ธนวิชญ์ วงศ์สอน อนิตา ประดาอินทร์ อัจฉราพร แปลงมาลย์ สรวิทย์ ปานพินิจ Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 2 3 1 15 แพลตฟอร์มโมบายแอปพลิเคชันในการจองมัคคุเทศก์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/4016 <p>งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันในการเลือกมัคคุเทศก์ ใช้วิธีการศึกษาตามหลักการของวงจรชีวิตในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ผลการศึกษา ปัญหาของนักท่องเที่ยว ไม่สามารถเลือกมัคคุเทศก์ตามที่ต้องการ ศึกษาความเป็นไปได้ด้านเทคนิค ด้านการปฏิบัติงาน และด้านกฎหมาย ความต้องการนักท่องเที่ยว อยากได้ระบบที่หามัคคุเทศก์ที่ตนเองชอบ และเป็นมัคคุเทศก์ที่ถูกกฎหมาย การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน โดยใช้ Dart และ Flutter Framework ประกอบด้วย การลงทะเบียน การยืนยันตัวตน เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติและยืนยันสถานะของมัคคุเทศก์ การเลือกมัคคุเทศก์ใช้วิธี Collaboration Filtering โดยใช้ข้อมูล 3 ชุด ได้แก่ 1. ข้อมูลนักท่องเที่ยว 2. ข้อมูลคะแนนความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อมัคคุเทศก์ 3. ข้อมูลมัคคุเทศก์ ประมวลผลแบบจำลอง ใช้ Loss Function ด้วยวิธี WARP (Weighted Approximate-Rank Pairwise) ผลการพัฒนาแบบจำลอง แสดงข้อมูลคะแนนความพึงพอใจนักท่องเที่ยวต่อมัคคุเทศก์สูง กับ คะแนนที่แนะนำมัคคุเทศก์ที่มีระดับคะแนนความคล้ายคลึงกัน ด้วยค่าความถูกต้องร้อยละ 72.22 ผลการประเมินการใช้งานของโมบายแอปพลิเคชัน จากนักท่องเที่ยวจำนวน 40 คน ระบบสามารถแนะนำมัคคุเทศก์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานความพึงพอใจด้านประสิทธิภาพ และการออกแบบโมบายแอปพลิเคชัน คะแนนเฉลี่ย 4.34 และ 4.36 ตามลำดับ ในการศึกษาขั้นต่อไป การตรวจสอบและยืนยันสถานะของมัคคุเทศก์จากกรมการท่องเที่ยว สนับสนุนการตัดสินใจในการเลือกมัคคุเทศก์แก่นักท่องเที่ยวให้ความพึงพอใจสูงสุด</p> สุวรรณี อัศวกุลชัย เวหา เกาะประเสริฐ Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 2 3 16 36 การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว พฤติกรรม และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ที่มีต่อตลาดหัวปลี ตำบลพุแค อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/4277 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดหัวปลี 2) ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อตลาดหัวปลี 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อตลาดหัวปลี และ 4) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดหัวปลี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิจัยเอกสาร การสำรวจ และการสัมภาษณ์เจ้าของตลาดและบุคลากรตลาดหัวปลี จำนวน 5 คน เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยว จำนวน 420 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน 2567</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดหัวปลีในปัจจุบันใช้วิธีการสื่อสารหลากหลาย เช่น สื่อบุคคล สื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ กิจกรรมการท่องเที่ยวต่าง ๆ และมีทั้งรูปแบบฟรี ขอความร่วมมือ และเสียค่าใช้จ่าย 2) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รู้จักตลาดหัวปลีจากการบอกต่อ เฟซบุ๊ก เคยมาเที่ยวตลาดหัวปลี 2 – 3 ครั้ง ส่วนใหญ่มาเที่ยวกับครอบครัว จุดมุ่งหมายหลักคือหาอาหารรับประทาน มีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวแต่ละครั้ง 500 บาทขึ้นไป มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดหัวปลีโดยการถ่ายภาพเช็คอิน 3) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยความพึงพอใจ 3 อันดับแรก ได้แก่ การตกแต่งสถานที่สวยงาม สะอาด ร่มรื่น, พ่อค้าแม่ค้ายิ้ม ให้การต้อนรับด้วยมิตรไมตรี และมีมุมให้นั่งพักผ่อน มุมรับประทานอาหาร 4) กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดหัวปลี ได้แก่ ประชาสัมพันธ์ทั้งแพลตฟอร์มออนไลน์กับออฟไลน์ มีการสร้างช่องทางการสื่อสารหรือมีสื่อเป็นของตนเอง การจ้างหรือเสียค่าใช้จ่าย และสื่อที่มีผู้คนนำไปแชร์หรือบอกต่อโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด หมั่นปรับปรุงภูมิทัศน์ของตลาดให้มีความสวยงามอยู่เสมอ</p> วรรณวิสา วงษพันธ์ สุนิสา โพธิ์พรม Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 2 3 37 55 การศึกษาสภาพปัญหาและพัฒนาศักยภาพตามความต้องการของชุมชนในพื้นที่บ้านห้วงมะระ หมู่ที่ 5 ตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/4271 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและพัฒนาศักยภาพตามความต้องการของชุมชนในพื้นที่บ้านห้วงมะระ หมู่ที่ 5 ตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสังเกตภาคสนาม แบบสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามความพึงพอใจ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่มกับกลุ่มผู้นำชุมชน ตัวแทนหน่วยงานราชการ และตัวแทนประชาชน รวมถึงการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่สมาชิกชุมชน จำนวน 30 คน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่เผชิญปัญหาความไม่แน่นอนด้านรายได้ พืชผลการเกษตรราคาต่ำ และขาดการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอาชีพเสริม ชุมชนมีความต้องการในการพัฒนาอาชีพโดยการแปรรูปผลผลิตการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยมีข้อคิดเห็นร่วมกันว่าจะสร้างอาชีพเสริมโดยการทำข้าวเกรียบจากพืชผลในชุมชน สร้างตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ให้สามารถขายเป็นรายได้เสริม การอบรมเชิงปฏิบัติการที่จัดขึ้นช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ในการแปรรูปผลผลิต การสร้างตราสินค้า และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ พร้อมทั้งสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ในการพัฒนารายได้ของตนเองและครอบครัว ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรม พบว่ามีความพึงพอใจในด้านเนื้อหา (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.90, S.D. = 0.23) การดำเนินการ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.77, S.D. = 0.22) และวิทยากร (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.85, S.D. = 0.19) อยู่ในระดับมากที่สุด</p> ภาสกร รอดแผลง Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 2 3 56 72 พฤติกรรมการใช้และแนวทางการพัฒนาทักษะการใช้แอปพลิเคชันไลน์ของผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลโพธิ์พิทักษ์ ตำบลโพนางดำตก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/4262 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันไลน์ 2) ประเมินทักษะในการใช้แอปพลิเคชันไลน์ และ 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาทักษะการใช้แอปพลิเคชันไลน์ของผู้สูงอายุเทศบาลตำบลโพธิ์พิทักษ์ ตำบลโพนางดำตก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท เป็นการวิจัยเผสมผสานระหว่างการวิจัยชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จำนวน 110 คน และการสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน 2567</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันไลน์ของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ใช้ไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ ใช้ส่งข้อความเพื่อติดต่อสื่อสารกับครอบครัว ส่วนใหญ่ใช้ไลน์ทุกวัน เฉลี่ยวันละ 1-2 ชั่วโมง 2) ผลการประเมินทักษะในการใช้งานแอปพลิเคชันไลน์ที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ทำได้ดี คือการส่งข้อความและรูปภาพ ทักษะที่ส่วนใหญ่ยังทำไม่ได้ เช่น การดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน การสร้างกลุ่มไลน์ การสร้างอัลบั้มภาพ การทำหน้าที่เป็นผู้เปิดห้องประชุมผ่านไลน์ การแชร์ตำแหน่งที่ตั้ง การติดประกาศข้อความ การทำโพล ส่วนทักษะที่ทำได้แต่ไม่คล่อง เช่น การเพิ่มเพื่อน/ค้นหาเพื่อน การบันทึกเสียงและส่งข้อความเสียง 3) แนวทางพัฒนาทักษะการใช้งานแอปพลิเคชันไลน์ เช่น ให้บุคคลที่ใกล้ชิดผู้สูงอายุเป็นผู้ให้ความรู้และพัฒนาทักษะโดยสอนการใช้งานแบบค่อยเป็นค่อยไป การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่ผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องในลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิต การอบรมบ่มเพาะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่แกนนำผู้สูงอายุ</p> ฐาปนี เสนารักษ์ กิตติศักดิ์ ศิริเสถียร ธีระ ราวีศรี รัชชนก สวนสีดา Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 2 3 73 90 การรู้ดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/4060 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรู้ดิจิทัลในการปฏิบัติงาน จัดทำแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการรู้ดิจิทัลของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยใช้แบบสอบถาม (ความเชื่อมั่น = 0.964) กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 302 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเลือกตามสะดวก สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test</p> <p> ผลวิจัย พบว่า ระดับการรู้ดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณา พบว่า การเข้าถึงและตระหนักดิจิทัลมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการส่งเสริมพัฒนาการรู้ดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีให้สูงขึ้นก่อนด้านอื่น คือ การสื่อสารเพื่อการปฏิบัติงานและการประเมินดิจิทัล พบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ถัดมาเป็นการใช้งานเครื่องมือด้านดิจิทัลหรือแอปพลิเคชันขั้นต้นสำหรับปฏิบัติงาน การประยุกต์ใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อการทำงาน การใช้ดิจิทัลเพื่อการทำงานร่วมกัน การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับงานประจำ การจัดการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน และการปฏิบัติตามกฎหมายและหลักปฏิบัติที่ดีด้านดิจิทัล พบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ในการพัฒนาการรู้ดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พบว่า ควรแยกกลุ่มตามอายุ ระดับการศึกษา ประเภทตำแหน่ง และอายุการปฏิบัติงาน ตามระดับการรู้ดิจิทัลในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> อาพร สุนทรวัฒน์ Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 2 3 91 107