วารสารร่มยูงทอง https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong <p><strong><img src="https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/9/9a/Banner_Big.jpg" /></strong></p> <p> </p> <p><strong>วารสารร่มยูงทอง</strong></p> <p><strong>Rom Yoong Thong Journal</strong></p> <p><strong>ISSN :</strong> 2985-0193 (Online)</p> <p><strong>กำหนดระยะเวลาการเผยแพร่ จำนวน 3 ฉบับต่อปี</strong><br />ฉบับที่ 1 เปิดรับบทความเดือนมกราคม - เมษายน (เผยแพร่เดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป)<br />ฉบับที่ 2 เปิดรับบทความเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม (เผยแพร่เดือนกันยายน เป็นต้นไป)<br />ฉบับที่ 3 เปิดรับบทความเดือนกันยายน - ธันวาคม (เผยแพร่เดือนมกราคม เป็นต้นไป) </p> <p><img src="https://so08.tci-thaijo.org/public/site/images/romyoongthong/poster-pr-new.jpg" alt="" width="1783" height="1426" /></p> th-TH nathnorthn@gmail.com (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐชา หน่อทอง (บรรณาธิการ)) journal.mstru@gmail.com (อาจารย์ ดร.สาวิตรี จูเจี่ย) Fri, 30 Aug 2024 14:19:05 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การบัญชีดิจิทัลกับการเสริมสร้างความยั่งยืนในองค์กร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/3638 <p>การศึกษาวิเคราะห์มีวัตถุประสงค์หลักและมุ่งเน้นการวิเคราะห์เกี่ยวกับการบัญชีดิจิทัลกับการเสริมสร้างความยั่งยืนในองค์กร ผลการวิเคราะห์พบว่า (1) การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบัญชีจะช่วยส่งเสริมความยั่งยืนขององค์กร โดยช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดการผลิตของเสีย เพิ่มความแม่นยำ<br />และประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากร รวมถึงการตัดสินใจทางธุรกิจ ซึ่งมีผลทำให้องค์กรมีความเสถียรและความเชื่อถือได้จากสังคมและผู้ลงทุนอย่างยั่งยืน ซึ่งการบัญชีดิจิทัลมีประโยชน์หลายด้าน เช่น ช่วยลดข้อผิดพลาดและเพิ่มความรวดเร็วในการบันทึกข้อมูล เพิ่มความโปร่งใส ลดการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง <br />และสนับสนุนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของพนักงาน (2) ข้อเสนอแนะที่สำคัญคือองค์กรควรลงทุนในระบบดิจิทัลและจัดอบรมพนักงาน ได้แก่ การใช้บล็อกเชนและระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการบันทึกข้อมูลทางบัญชีและลดการทุจริต รวมถึงใช้ข้อมูลจากระบบบัญชีดิจิทัลในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ อย่างไรก็ตามข้อจำกัดที่อาจพบคือการลงทุนที่สูงและความต้องการในการฝึกอบรมพนักงานอย่างต่อเนื่อง</p> สุกานดา สมานทอง Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/3638 Fri, 30 Aug 2024 00:00:00 +0700 สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/3096 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรศาสตร์กับความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง และ 2) ศึกษาสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง จำนวนประชากร 197 คน โดยวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์<br />การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า 1) บุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปางที่มีเพศ และสังกัดกองหรือฝ่าย แตกต่างกัน มีความสุขในการทำงาน แตกต่างกัน และ 2) สภาพแวดล้อมในการทำงานในด้านความยึดเหนี่ยวระหว่างผู้ร่วมงาน ด้านการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา และด้านการสนับสนุนในการทำงาน <br />มีอิทธิพลทางบวกต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ผจงจิต ติ๊บประสอน , ปัทมราช ใจนันต๊ะ, พิชชาภรณ์ เรือนใจ, จุฬานันท์ ขัดแข็งแรง, ดารารัตน์ ธาตุรักษ์ Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/3096 Fri, 30 Aug 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการเวลาหน้าจอกับพฤติกรรมก้าวร้าว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนวชิรราษฎร์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/3777 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการเวลาหน้าจอกับพฤติกรรมก้าวร้าว2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการเวลาหน้าจอกับพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนวชิรราษฎร์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 103 คน ได้มาจากการคำนวณตามสูตรของ Taro Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารจัดการเวลาหน้าจอและพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ แบ่งเป็น 2 ตอน จำนวน 25 ข้อ โดยใช้การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารจัดการเวลาหน้าจอกับพฤติกรรมก้าวร้าว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีการบริหารจัดการเวลาหน้าจอ อยู่ในระดับปานกลาง 2) ระดับการบริหารจัดการเวลาหน้าจอกับพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีพฤติกรรมก้าวร้าว อยู่ในระดับปานกลาง และ 3) การบริหารจัดการเวลาหน้าจอกับพฤติกรรมก้าวร้าว มีความสัมพันธ์ทางลบ ระดับต่ำ (Correlation Coefficient = -.011) สรุปได้ว่า การบริหารจัดการเวลาหน้าจอไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าว</p> ณัฐวุฒิ ไตรรัตน์, จิดาภา เอี่ยมสำอางค์, นันทิมา อัศวรักษ์ Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/3777 Fri, 30 Aug 2024 00:00:00 +0700 คุณภาพในการให้บริการของบริการแจ้งซ่อมผ่านระบบ Service Desk ภายใน บริษัท พรีซีสชั่น เอนยีเนียริ่ง จำกัด https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/3741 <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อคุณภาพในการให้บริการของบริการแจ้งซ่อมผ่านระบบ Service Desk ภายในบริษัท พรีซีสชั่น เอนยีเนียริ่ง จำกัด 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อคุณภาพในการให้บริการของบริการแจ้งซ่อมผ่านระบบ Service Desk จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ปฏิบัติงานที่ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงภายในบริษัท จำนวน 170 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าร้อยละ การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และสถิติทดสอบเอฟ</p> <p> ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงานที่ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง ภายในบริษัท พรีซีสชั่น เอนยีเนียริ่ง จำกัด ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31 – 40 ปี ตำแหน่งงานระดับปฏิบัติการ และระยะเวลาในการปฏิบัติงานมากกว่า 6 ปี และเมื่อแยกตามวัตถุประสงค์การวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อคุณภาพในการให้บริการของบริการแจ้งซ่อมผ่านระบบ Service Desk ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านความมั่นใจได้ และด้านบริการที่เป็นรูปธรรม ส่วนด้านความน่าเชื่อถือในมาตรฐานคุณภาพ และด้านการตอบสนองต่อการให้บริการมีค่าเฉลี่ยเท่ากันตามลำดับ และ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อคุณภาพในการให้บริการเมื่อจำแนกตามเพศไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อแยกตามอายุ ตำแหน่งงาน และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ณอมร เครือวัลย์, นันทนา แจ้งสว่าง, สุนทรีย์ วิพัฒครุฑ Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/3741 Fri, 30 Aug 2024 00:00:00 +0700 พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยว อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/3630 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวอำเภอสังคมจังหวัดหนองคาย 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวอำเภอสังคมจังหวัดหนองคาย โดยศึกษาจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย จำนวน 400 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในอำเภอสังคมส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุ 20 – 30 ปี มีระดับการศึกษาอนุปริญญา/ปวส. รายได้ต่อเดือน 10,000 – 20,000 บาท 2) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวอำเภอสังคมจังหวัดหนองคายพบว่านักท่องเที่ยวมีวัตถุประสงค์เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ โดยมีอิทธิผลมาจากครอบครัว เดินทางมาเที่ยวกับเพื่อนและครอบครัวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ (เสาร์ - อาทิตย์) ค้างคืน 1 คืน นักท่องเที่ยวส่วนมากมาครั้งแรก ค่าใช้จ่าย 1,000 – 2,000 บาท นักท่องเที่ยวจะกลับมาเที่ยวอำเภอสังคมอีกแน่นอน สถานที่ที่นักท่องเที่ยวไปมากที่สุดคือน้ำตกธารทองและชื่นชอบมากที่สุดคือน้ำตกธารทองเช่นเดียวกัน 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยว อำเภอสังคมผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจด้านสถานที่ท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅= 4.53) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับมาก ( = 4.15) ด้านประชาชนในท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 4.20) ด้านร้านค้า ร้านอาหารและเครื่องดื่มอยู่ในระดับมาก (= 4.01)</p> เสกสรร สายสีสด, วลิดา จันทร์ทา, เมษา สุวรรณหอม Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/3630 Fri, 30 Aug 2024 00:00:00 +0700 ความพร้อมของผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีในหน่วยงานราชการส่วนกลาง ในการใช้ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/3880 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพร้อมในการปฏิบัติงานในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) ของผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีในหน่วยงานราชการส่วนกลาง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพร้อมในการปฏิบัติงานในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) ของผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีในหน่วยงานราชการส่วนกลางที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน การวิจัยในครั้งนี้เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 385 ชุด โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามคือ ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีในหน่วยงานราชการส่วนกลาง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเชิงสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยการวิเคราะห์ด้วยสถิติ t-test, One-way ANOVA และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า ความพร้อมในการปฏิบัติงานในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) ของผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีของหน่วยงานราชการส่วนกลางในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีของหน่วยงานราชการส่วนกลางที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ อันได้แก่ เพศ อายุ ตำแหน่งงาน ระยะเวลาในการทำงาน และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน ยกเว้น ระดับการศึกษา จะมีความพร้อมในการปฏิบัติงานในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> ขวัญวลี อัมพวา, สมชาย เลิศภิรมย์สุข, สุขมงคล เลิศภิรมย์สุข Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/3880 Mon, 02 Sep 2024 00:00:00 +0700