วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci <p><strong>วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย </strong><strong>(Chulalongkorn University Journal of Social Science: CUJSS.) </strong>เป็นวารสารวิชาการของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำหนดประเภทบทความที่จะพิจารณาตีพิมพ์เป็น 4 ประเภท ดังนี้ <em>(1) บทความวิจัย (</em><em>Research article) (2) บทความปริทัศน์ (Review article) (3) บทความวิชาการ (Academic article) และ (4) บทวิจารณ์หนังสือ (Book review)</em> ทั้งนี้ บทความที่ส่งมาตีพิมพ์กับวารสารฯ<strong><em>ต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน</em></strong> ออกเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (เดือนมิถุนายน และ เดือนธันวาคม) โดยทุกบทความจะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ<strong><em>ไม่น้อยกว่า </em></strong><strong><em>3 คน</em></strong> ตามกระบวนการที่กองบรรณาธิการกำหนด</p> <p><strong><u>การประเมินบทความ</u></strong></p> <p>บทความวิจัยจะได้รับการประเมินแบบ double-blinded peer-reviewed process จากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 3 คนผ่านระบบ ThaiJo2.0</p> <p>Each research article is double-blinded peer-reviewed by at least three expert reviewers and submission is online via ThaiJo2.0</p> คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Faculty of Political Science, Chulalongkorn University) th-TH วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2985-1297 บทบรรณาธิการ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/2697 บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ Copyright (c) 2023 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ 2023-12-14 2023-12-14 53 2 c ถกคิด ‘การอภิบาล’ (governance) ในประเทศไทยผ่านงานวิจัยและหลักสูตรการสอนในมหาวิทยาลัย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/1780 <p>‘การอภิบาล’ (governance) เป็นคำศัพท์ทางวิชาการที่สร้างความสับสนให้กับสังคมไทยมาตั้งแต่ช่วงหลังทศวรรษที่ 1990 อันเนื่องมาจากการแปลและนิยามความหมายที่แตกต่างหลากหลายกัน รวมไปถึงบริบทในการนำไปปฏิบัติที่มีเป้าหมายทางการเมืองเฉพาะของการใช้แต่ละความหมายของการอภิบาล บทความวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อทบทวนและวิเคราะห์สถานะความรู้เรื่องการอภิบาลในประเทศไทยที่ปรากฎอยู่ในฐานข้อมูลงานวิจัยสำคัญและหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา โดยงานวิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ผ่านการเก็บข้อมูลด้วยการสำรวจเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดเวทีระดมความคิดเห็น ผลการศึกษาค้นพบว่าทั้งการวิจัยและการเรียนการสอนด้านการอภิบาลให้น้ำหนักอย่างมากกับมุมมองหรือแนวคิด ‘ธรรมาภิบาล’ และถูกนำไปปฏิบัติในการบริหารงานภาครัฐตามแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่เป็นสำคัญ ส่งผลให้สถานะองค์ความรู้การอภิบาลในประเทศไทยเกิดวงจรปัญหาที่ทำให้องค์ความรู้การอภิบาลจำกัดหรือลดรูปเหลือเพียง ‘หลักธรรมาภิบาล’ และถูกนำไปสร้าง ถ่ายทอด และผลิตซ้ำผ่านสถาบันทางวิชาการและหน่วยงานภาครัฐ การออกแบบนโยบาย แผน และวิธีการปฏิบัติงานที่มุ่งใช้กรอบธรรมาภิบาลนี้สะท้อนสภาวะการขาดการนำแนวคิดการอภิบาลในลักษณะอื่นที่เป็นไปได้เข้ามาใช้อย่างเพียงพอหรือการไม่ให้ความสำคัญต่อความรู้การอภิบาลแบบอื่นในทางปฏิบัติ ปัญหานี้ส่งผลต่อทิศทางการแสวงหาความรู้และการพัฒนาการวิจัยที่เกี่ยวกับการอภิบาล ความรู้ในแบบอื่นนอกจาก ‘ธรรมาภิบาล’ ถูกทำให้ไม่สำคัญและหายไป</p> เอกวีร์ มีสุข ธีรพัฒน์ อังศุชวาล วีระ หวังสัจจะโชค ชุติเดช เมธีชุติกุล Copyright (c) 2023 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-14 2023-12-14 53 2 211 235 10.61462/cujss.v53i2.1780 รัฐธรรมนูญนิยมและความเป็นพลเมืองไทยในฐานะส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาสาธารณรัฐนิยมสมัยใหม่สากล (ค.ศ. 1885 – 1932) https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/1930 <p>โครงการวิจัยนี้ศึกษาประวัติการก่อร่างของแนวคิดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญนิยมและความเป็นพลเมืองในสยาม/ไทย ในฐานะส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาสาธารณรัฐนิยมสมัยใหม่สากล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบประวัติภูมิปัญญาของโลก (global intellectual history) โดยมุ่งศึกษาพัฒนาการแนวคิดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญนิยมและความเป็นพลเมืองระหว่างปี ค.ศ. 1885 (เมื่อคำกราบบังคมทูลความเห็นเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2428 ถูกเผยแพร่) จนถึงปี ค.ศ. 1932 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โครงวิจัยชิ้นนี้เสนอว่า ประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญนิยมเผยความเชื่อมโยงระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวกับกระแสการปฏิวัติ-ปฏิรูปของโลกในช่วงเวลาเดียวกันได้โดยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐธรรมนูญนิยมกับสาธารณรัฐนิยมสมัยใหม่และชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ต่าง ๆ ในการจัดวางแนวคิดเรื่องพลเมืองอันรวมไปถึงความคิดเรื่องสิทธิและหน้าที่ต่อสังคมการเมืองในไทย/สยามลงในบริบทของประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาสากล</p> พลอยใจ ปิ่นตบแต่ง Copyright (c) 2023 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-14 2023-12-14 53 2 236 259 10.61462/cujss.v53i2.1930 การเปลี่ยนแปลงระเบียบราชการส่วนกลางที่มีผลต่อการใช้เงินสะสมของ อปท. ขนาดใหญ่ในการจัดบริการสาธารณะ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/2404 <p>เงินสะสมของ อปท. ในปัจจุบันมีปริมาณอยู่ในระดับสูง ถือเป็นการสูญเสียโอกาสการพัฒนาของท้องถิ่น โดยเฉพาะ อปท. ขนาดใหญ่ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯ ปี พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมก่อนปี พ.ศ. 2561 เป็นระเบียบส่วนกลางกำหนดโครงสร้างเงินสะสมที่ซ้ำซ้อน ขาดความยืดหยุ่น มีพื้นที่การคลัง (Fiscal Space) ที่จำกัด การออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯ (ฉบับที่ 4) ปี พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นระเบียบส่วนกลางที่ปรับโครงสร้างสัดส่วนในการกันทุนสำรองเงินสะสมมาอยู่ที่ร้อยละ 15 นำไปสู่การเพิ่มพื้นที่การคลังในการจัดบริการสาธารณะ จากการทดสอบทางสถิติจากกลุ่ม อปท. ขนาดใหญ่ จำนวน 30 แห่ง พบว่าระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2561 มีส่วนทำให้พื้นที่การคลังเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี การเพิ่มขึ้นดังกล่าวไม่ได้เป็นหลักประกันว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้ อปท. ได้ใช้เงินสะสมเพิ่มขึ้น การใช้เงินสะสมส่วนใหญ่เป็นการใช้เพื่อการบริหารองค์กรซึ่งเป็นการใช้เงินสะสมนอกโครงสร้างเงินสะสม นอกจากนี้ อาจมีปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากระเบียบส่วนกลางที่มีเป็นปัจจัยผลักดันให้ อปท. ได้นำเงินสะสมมาใช้จ่าย</p> ชฎิล โรจนานนท์ นภา วรวรางกูร Copyright (c) 2023 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-24 2023-12-24 53 2 260 304 10.61462/cujss.v53i2.2404 พลวัตของปฏิบัติการไม่ใช้ความรุนแรงในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง: กรณีศึกษาการเคลื่อนไหวของเยาวชนในปี 2563-2564 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/2441 <p>บทความวิจัยชิ้นนี้ นำเสนอสันติวิธีในทางปฏิบัติในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง กรณีการเคลื่อนไหวของขบวนการเยาวชนช่วงปี 2563-2564 เพื่อทำความเข้าใจเงื่อนไขในทางปฏิบัติที่ทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวที่เริ่มต้นจากความตั้งใจที่จะใช้สันติวิธี แต่ต่อมามีผู้ใช้ความรุนแรงเชิงตอบโต้แบบไม่มีอาวุธร่วมด้วย งานวิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูล 60 คน จัดกิจกรรมสนทนากลุ่ม และใช้แนวคิดปฏิบัติการไม่ใช้ความรุนแรงที่ให้ความสำคัญกับความรู้จากประสบการณ์ของผู้เคลื่อนไหว และการรับมือของรัฐ</p> <p>บทความนำเสนอสามประเด็น คือ หนึ่ง การยกระดับความรุนแรงเกิดจากปฏิสัมพันธ์โต้ตอบระหว่างฝ่ายรัฐกับผู้ชุมนุม ทั้งสองฝ่ายจึงมีส่วนต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้น สอง ความรู้จากภาคปฏิบัติของนักกิจกรรมพบว่า ผู้ร่วมเคลื่อนไหวบางส่วนต้องการตอบโต้เจ้าหน้าที่รัฐ การห้ามปรามจึงไร้ผล ทางเลือกที่ทำได้คือ ช่วยให้ผู้ชุมนุมที่ไม่ต้องการปะทะได้ออกจากพื้นที่เสี่ยง สาม รัฐสามารถสลายการเคลื่อนไหวแล้วไม่เสียความชอบธรรม เพราะใช้วิธีการปราบปรามอย่างชาญฉลาด </p> บุญเลิศ วิเศษปรีชา อุเชนทร์ เชียงเสน Copyright (c) 2023 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 53 2 305 332 10.61462/cujss.v53i2.2441 การศึกษาวิเคราะห์บทบาทบริษัทข้ามชาติจีนในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมไทย-จีน จังหวัดระยองต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนผ่านแนวคิด “การทูตสามเหลี่ยม” https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/1896 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์บทบาทและความสำคัญของบริษัทข้ามชาติจีนในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมไทย-จีน จังหวัดระยอง ต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ผ่านแนวคิด“การทูตสามเหลี่ยม” เพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการและการวางนโยบายของรัฐบาลไทยในการส่งเสริมบทบาทของบริษัทข้ามชาติจีนในไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) โดยทำการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) ผู้ที่เกี่ยวข้องและข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารและงานวิจัย จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า เหตุปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้บริษัทข้ามชาติจีนในนิคมอุตสาหกรรมไทย-จีน จังหวัดระยอง มีบทบาทและความสำคัญในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน คือ การเป็นนิคมอุตสาหกรรมจีนแห่งแรกในต่างประเทศของจีน ได้รับการผลักดันและสนับสนุนผ่านนโยบายจากรัฐบาลจีนทั้งในอดีต (Going Out) และปัจจุบัน (BRI) โดยมีการให้บทบาทสำคัญแก่บริษัทข้ามชาติจีนในฐานะตัวแสดงของรัฐบาลจีนในการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ กอปรกับนโยบายของไทยในปัจจุบัน เช่น ไทยแลนด์ 4.0 และโครงการ EEC นั้นสอดรับกับนโยบายของจีนอย่าง BRI ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มจำนวนการเข้ามาลงทุนของบริษัทข้ามชาติจีนในประเทศไทย เกิดเป็นสภาพการพึ่งพาอาศัยกันและการแข่งขันกัน ทำให้ความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ระหว่างไทยกับจีนนั้นมีขอบเขตที่กว้างและเป็นไปในทิศทางที่ดีมากยิ่งขึ้น เป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ของทั้งสองประเทศ</p> พรภวิษย์ หล้าพีระกุล แอนนี คำสร้อย Copyright (c) 2023 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 53 2 333 366 10.61462/cujss.v53i2.1896 รอคอยข้ามรุ่น: มานุษยวิทยาว่าด้วยเวลาที่รอคอยของคนยากจนกับนโยบายสังคมของไทย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/1940 <p>บทความวิจัยนี้นำเสนอผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลบางส่วนที่ได้จากการทำงานภาคสนามทางมานุษยวิทยาใน 10 ครัวเรือนในจังหวัดพิษณุโลกที่มีฐานะยากจน ขาดเงินออม มีอัตราการพึ่งพิงกันในครัวเรือนสูงและการศึกษาต่ำอันเป็นคุณลักษณะของครัวเรือนยากจนข้ามรุ่นที่ระบุไว้ในหมุดหมายที่ 9 ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570) โดยบทความวิจัยนี้มีข้อถกเถียงหลักคือ ความยากจนข้ามรุ่นนั้นยังดำรงอยู่เพราะนโยบายการศึกษาและนโยบายสังคมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่ผ่านมายังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนข้ามรุ่นได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ ในระหว่างเวลาของการรอคอยนโยบายสังคมที่ช่วยหยุดการส่งผ่านความยากจนข้ามรุ่นนี้ คนยากจนจากหนึ่งรุ่นสู่อีกรุ่นหนึ่งได้สูญเสียโอกาสในชีวิตมากมาย จากการปริทัศน์วรรณกรรมเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องเวลาที่รอคอย (waiting time) ผู้วิจัยสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยในการวิเคราะห์ข้อมูลจากภาคสนามเพื่ออธิบายว่าเวลาที่คนยากจนข้ามรุ่นรอคอยนั้นสามารถอธิบายได้สามนัยยะสำคัญ คือ <em>หนึ่ง</em> ความยากจนยังดำรงอยู่และถูกส่งผ่านข้ามรุ่น <em>สอง</em> ช่วงเวลาของการรอคอยนโยบายการศึกษาที่จะช่วยตัดตอนวงจรความยากจนข้ามรุ่นเป็นช่วงเวลาที่คนยากจนรุ่นแล้วรุ่นเล่าสูญเสียโอกาสบางอย่างในชีวิตไปอย่างไม่มีวันหวนกลับมา เช่น หลุดออกจากระบบการศึกษาและกลายเป็นแรงงานกึ่งทักษะกึ่งไร้ทักษะ <em>สาม </em>นโยบายการศึกษาที่ผ่านมามีส่วนช่วยขยายโอกาสในชีวิตของคนยากจน แต่อาจยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอในการตัดตอนวงจรความยากจนข้ามรุ่น บทความนี้จะสะท้อนนัยยะทั้งสามประการข้างต้นผ่านข้อมูลจากภาคสนาม รวมทั้งนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายที่ได้จากการสังเคราะห์ข้อมูลจากภาคสนาม</p> ฐานิดา บุญวรรโณ Copyright (c) 2023 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-14 2023-12-14 53 2 367 394 10.61462/cujss.v53i2.1940 ความรับผิดรับชอบและการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจในช่วงโควิด-19 ของรัฐบาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/2125 <p>บทความวิจัยนี้ศึกษาถึงความเชื่อมโยงระหว่างความรับผิดรับชอบของรัฐบาลและปฏิกิริยาต่อวิกฤตการณ์เศรษฐกิจที่เป็นผลมาจากการระบาดของโรคโควิด-19 โดยผ่านกรอบคิดเรื่อง competing principals ที่ชี้ให้เห็นว่าความรู้สึกรับผิดรับชอบของรัฐบาลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ นั้นอาจไม่เท่ากัน และอาจส่งผลต่อผลิตผลเชิงนโยบายด้วยเช่นกัน ในกรณีของการระบาดของโรคโควิด-19นั้น ผลเชิงนโยบายนั้นแสดงออกมาในรูปแบบที่รัฐต้องตัดสินใจว่าจะทุ่มเททรัพยากรเพื่อให้การช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประชาชนกลุ่มไหน มากน้อยเพียงใด โดยอาศัยข้อมูลเชิงปริมาณและการเก็บสถิติเรื่องการให้การช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศจาก The Oxford COVID-19 Government Response Tracker (OxCGRT) และตัวชี้วัดแบบมหภาคอื่นๆ งานศึกษาชิ้นนี้พบว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีความแตกต่างจากที่อื่น ๆ ในโลก กล่าวคือ ความรู้สึกรับผิดรับชอบของรัฐบาลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ แบบเดียวที่มีผลต่อระดับการให้การช่วยเหลือทางเศรษฐกิจต่อประชาชนของรัฐบาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ แบบแนวทแยง (diagonal accountability) ซึ่งเกิดจากการที่สื่อมวลชนและภาคประชาสังคมเปิดเผยและให้ข้อมูลต่อสาธารณชนเพื่อสร้างแรงกดดันต่อรัฐอีกทางหนึ่ง ข้อค้นพบนี้ไม่เพียงแสดงให้เห็นถึงสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกที่รัฐต้องเผชิญเมื่อมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมากในกระบวนการกำหนดนโยบายแต่ยังสะท้อนอีกด้วยว่า 1) รัฐบาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจไม่ได้รู้สึกถึงความรับผิดรับชอบต่อประชาชนโดยตรงมากนัก 2) รัฐบาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจไม่ได้รู้สึกถึงความรับผิดรับชอบต่อกลไกเชิงบริหาร เช่น การตรวจสอบและคานอำนาจเช่นเดียวกัน และ 3) รัฐบาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะรู้สึกว่าต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อตอบสนองหรือให้การช่วยเหลือประชาชนก็ต่อเมื่อสื่อและภาคประชาสังคมเริ่มตีแผ่ปัญหาและให้ข้อมูลแก่สาธารณชน</p> สุรัชนี ศรีใย Copyright (c) 2023 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-14 2023-12-14 53 2 395 417 10.61462/cujss.v53i2.2125 วัฒนธรรมที่มีกลิ่น: การสำรวจกลิ่นหอม การปรุงน้ำหอม และมิติทางสังคมของกลิ่น https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/2451 <p>บทความนี้ เริ่มจากการตั้งคำถามว่า สังคมต่าง ๆ ให้ความหมายกับกลิ่นอย่างไร กลิ่นสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างไร และเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของมนุษย์ที่ซับซ้อนอย่างไร จากนั้นสำรวจความเป็นไปได้ของคำตอบผ่านการทำความเข้าใจพลวัตของกลิ่น บทความแบ่งเป็นห้าส่วน โดยส่วนแรก เป็นการกล่าวถึงกลิ่น ในฐานะผัสสะที่ (เคย) ถูกหลงลืม คุณลักษณะและการทำงานของผัสสะด้านกลิ่นของมนุษย์ในการรับรู้กลิ่น ส่วนที่สอง เป็นการสำรวจพัฒนาการทางการศึกษากลิ่น อันนำมาสู่การศึกษาที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยาอย่างเป็นระบบ ส่วนที่สาม ตรวจสอบน้ำหอมประเภทต่าง ๆ โดยสรุปคุณลักษณะ ส่วนประกอบทางเคมี และวิธีการที่ใช้อธิบายคุณลักษณะและกระบวนการเหล่านี้ ส่วนที่สี่ ย้อนทบทวนประวัติศาสตร์แบบย่นย่อของน้ำหอม ส่วนที่ห้าส่วนสุดท้าย กล่าวถึงสิ่งที่เรียกว่า วัฒนธรรมกลิ่นหอม บทความนี้เสนอว่า วัฒนธรรมกลิ่นหอมและน้ำหอมให้ความกระจ่างถึงความสัมพันธ์อันมีพลวัตระหว่างกลิ่นและสังคม โลกแห่งกลิ่นจึงสมควรได้รับความสนใจและการวิเคราะห์ในเชิงวิชาการมากขึ้น เพื่อให้เข้าใจคุณค่าของประสบการณ์ที่หลากหลายของมนุษย์มากขึ้น</p> ปิยรัตน์ ปั้นลี้ Copyright (c) 2023 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 53 2 418 437 10.61462/cujss.v53i2.2451