วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci <p><strong>วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย </strong><strong>(Chulalongkorn University Journal of Social Science: CUJSS.) </strong>เป็นวารสารวิชาการของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำหนดประเภทบทความที่จะพิจารณาตีพิมพ์เป็น 3 ประเภท ดังนี้ <em>(1) บทความวิจัย (</em><em>Research article) (2) บทความวิชาการ (Academic article) และ (3) บทวิจารณ์หนังสือ (Book review)</em> ทั้งนี้ บทความที่ส่งมาตีพิมพ์กับวารสารฯ<strong><em>ต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน</em></strong> ออกเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (เดือนมิถุนายน และ เดือนธันวาคม) โดยทุกบทความจะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ<strong><em>ไม่น้อยกว่า </em></strong><strong><em>3 คน</em></strong> ตามกระบวนการที่กองบรรณาธิการกำหนด</p> <p><strong><u>การประเมินบทความ</u></strong></p> <p>บทความวิจัยจะได้รับการประเมินแบบ double-blinded peer-reviewed process จากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 3 คนผ่านระบบ ThaiJo2.0</p> <p>Each research article is double-blinded peer-reviewed by at least three expert reviewers and submission is online via ThaiJo2.0</p> th-TH cusocscij@gmail.com (Anong Kanjanaprapakul) superkeng9317@gmail.com (Anong Kanjanaprapakul) Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบรรณาธิการ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/4330 ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์ (Author) Copyright (c) 2024 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/4330 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700 นโยบายและการสร้างเครือข่ายลดความรุนแรงจากอาวุธปืน https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/3818 <p>จากการศึกษาวิจัยเรื่องนโยบายและการสร้างเครือข่ายลดความรุนแรงจากอาวุธปืน พบว่ามีนโยบายเกี่ยวกับการลดความรุนแรงจากอาวุธปืนมากมายหลายรูปแบบ โดยรูปแบบที่มีลักษณะชัดเจนและใช้ได้ผลจริงได้แก่ กฎหมายในรูปแบบใหม่ ๆ การนำนโยบายด้านสาธารณสุขมาปรับใช้ การใช้ชุมชนเป็นฐาน ส่วนนโยบายการป้องกันความรุนแรงจากอาวุธปืนที่เหมาะสมจะนำมาใช้กับประเทศไทยได้แก่ นโยบายที่ใช้ชุมชนและเครือข่ายเป็นฐาน นโยบายด้านการปรับพฤตินิสัยและสันติวิธี นโยบายด้านการใช้สื่ออย่างมีวิจารณญาณ นโยบายด้านการสาธารณสุขและสุขภาพจิต นโยบายการปราบปรามอาวุธปืนผิดกฎหมาย นโยบายด้านกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงการสร้างชุมชนต้นแบบการลดความรุนแรงจากอาวุธปืนด้วยการทำข้อตกลงร่วมกันในชุมชน เรียกว่า “ธรรมนูญชุมชนลดความรุนแรงจากอาวุธปืน”</p> ปิยะพร ตันณีกุล, วชิรวิชญ์ อิทธิธนาศุภวิชญ์ (Author) Copyright (c) 2024 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/3818 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700 การเรียนรู้ของผู้เข้าชมคนไทยในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/3335 <p>พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีศักยภาพในการเป็นสถานที่บ่มเพาะความรู้และแรงบันดาลใจทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สนับสนุนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า การดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์นี้จำเป็นจะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตทางวิทยาศาสตร์ให้มีลักษณะ รูปแบบและเนื้อหาของนิทรรศการให้สนองต่อการเรียนรู้และความต้องการของประชาชนผู้เข้าชม งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาระดับการมีปฏิสัมพันธ์กับนิทรรศการวิทยาศาสตร์ของผู้เข้าชมชาวไทย พร้อมทั้งปัจจัยบริบทที่มีผลต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อการเรียนรู้ในนิทรรศการวิทยาศาสตร์ จากผู้เข้าชมกลุ่มครอบครัวจำนวน 25 คู่ (50 คน) ภายใต้บริบทของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ทั้งนี้เพื่อกำหนดขอบเขตความรู้ความเข้าใจในปัจจุบันเกี่ยวกับพฤติกรรมการเข้าชมที่บ่งชี้ระดับความลึกของการเรียนรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับนิทรรศการ ตลอดจนปัจจัยที่ผู้เข้าชมระบุว่าส่งผลต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับนิทรรศการ ผลการวิจัยพบว่าผู้เข้าชมกลุ่มผู้ปกครองและกลุ่มบุตรหลานร้อยละ 80 ขึ้นไปมีระดับการปฏิสัมพันธ์ต่อนิทรรศการอยู่ที่ระดับเปลี่ยนผ่านไปสู่ปฏิสัมพันธ์ที่ลึกขึ้น (Transitioning behavior) ถึงระดับปฏิสัมพันธ์ขั้นลึก (Breakthrough behavior) นอกจากนี้ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับนิทรรศการชี้ให้เห็นว่านิทรรศการวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันต้องเพิ่มเติมเรื่องสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้ผู้เข้าชมเข้าใจการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และความเกี่ยวข้องของวิทยาศาสตร์กับชีวิตประจำวันของตน รวมไปถึงการรักษาสมดุลการมอบความรู้และความบันเทิงในการออกแบบนิทรรศการ</p> พิมพ์สิริ อรุณศรี (Author) Copyright (c) 2024 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/3335 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700 การแปรเปลี่ยนทุนทางเศรษฐกิจ - วัฒนธรรมสู่ทุนทางการเมือง: กรณีศึกษากีฬาวัวชนในจังหวัดพัทลุง https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/3606 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนทุนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกีฬาชนวัวให้เป็นทุนทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นพัทลุง โดยใช้แนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองและแนวคิดทุน (capital) ของ Pierre Bourdieu เพื่อตอบคำถามว่านักการเมืองท้องถิ่นพัทลุงเปลี่ยนทุนทางเศรษฐกิจและทุนวัฒนธรรมของกีฬาชนวัวให้เป็นทุนทางการเมืองอย่างไร โดยการสัมภาษณ์แบบเฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ</p> <p>กีฬาชนวัวพัทลุงได้รวบรวมคนในเครือข่ายสังคมนักการเมืองท้องถิ่นเข้ามาบทบาทกับกีฬาชนวัว ผลการวิจัยพบว่า (1) ทุนทางเศรษฐกิจวัวชนมีความสัมพันธ์ในรูปของเครือข่ายและทุนวัฒนธรรมที่เป็นความรู้ ภูมิปัญญา การเลี้ยงวัวชนและการชนวัว สำหรับพื้นที่จังหวัดพัทลุง มีพันธุ์วัวชนที่ดี การจัดค่ายวัวชนเพื่อเลี้ยงและฝึกวัวชน (2) ทุนเศรษฐกิจการพนันเป็นทุนสำคัญสร้างผลประโยชน์ด้วยมูลค่าเงินการพนันถือเป็นจุดสนใจของเครือข่ายกีฬาชนวัว</p> <p>นักการเมืองท้องถิ่นมีความได้เปรียบของทุนเศรษฐกิจจำนวนมาก นักการเมืองท้องถิ่นได้ผสานอำนาจผ่านอำนาจทางสังคมเข้าไปสานสัมพันธ์เพื่อจัดให้การการแข่งกีฬาชนวัว ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ที่มีชื่อเสียงน่าเคารพน่าเชื่อถือและความไว้วางใจส่งผลให้เกิดผู้นำบารมีท้องถิ่น แล้วนักการเมืองท้องถิ่นพัทลุงใช้ทุนทางการเมืองผสานระหว่างทุนวัฒนธรรมและทุนทางเศรษฐกิจ มาใช้เป็นประโยชน์ต่อการรักษาฐานเสียงโดยอ้อมกับประชาชนจำนวนมากที่เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง</p> สุทธิชัย รักจันทร์ (Author) Copyright (c) 2024 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/3606 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลกระทบ ผลสะเทือน และสิ่งที่ตามมา ขบวนการเคลื่อนไหวคนรุ่นใหม่ ปี 2563-2564 ต่อการเมืองและสังคมไทย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/3110 <p>ขบวนการเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ไทยปี 2563-2564 เป็นตัวอย่างขบวนการเคลื่อนไหวที่สามารถระดมการสนับสนุนของมวลชนคนรุ่นใหม่ได้จำนวนมาก แต่ไม่สามารถผลักดันข้อเรียกร้องในการรื้อถอนโครงสร้างและความเป็นอนุรักษ์นิยมของรัฐไทยได้อย่างเป็นรูปธรรมดังที่ตั้งใจไว้ในช่วงเริ่มต้นการชุมนุม ไม่ว่าจะเป็นการล้มรัฐบาลที่นำโดยอดีตผู้นำการรัฐประหาร การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ แต่จากการวิจัยกลับพบว่า การเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ส่งผลกระทบและสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมและการเมืองไทยในมิติอื่น ๆใน 5 มิติ ได้แก่ หนึ่ง การสร้างพลเมืองหนุ่มสาวที่มีความตื่นตัวและพร้อมผลักดันการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในระยะยาว สอง ความตื่นตัวอย่างต่อเนื่องของแกนนำเก่าและการสร้างแกนนำการเคลื่อนไหวทางการเมืองรุ่นใหม่ในการผลักดันการเคลื่อนไหวทางการเมืองในระยะต่อ ๆไป สาม ความสำเร็จในการผลักดันแนวคิดเสรีนิยมให้กลายเป็นแนวคิดกระแสหลักในสังคมวงกว้างทั้งในสื่อมวลชนและคนรุ่นอื่น ๆ สี่ ความสำเร็จในการสร้างความเป็นสถาบันให้กับพรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ และ ห้า การเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมายและนโยบายในระยะยาว</p> กนกรัตน์ เลิศชูสกุล (Author) Copyright (c) 2024 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/3110 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700 การบังคับใช้กฎหมายไทยตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงอาเซียนทางด้านสิ่งแวดล้อม https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/3307 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติพัฒนาการแนวคิดและหลักพื้นฐานของพันธกรณีภายใต้ความตกลงอาเซียนทางด้านสิ่งแวดล้อมในประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนเพื่ออนุวัติการความตกลงอาเซียนดังกล่าว ศึกษามาตรการของการบังคับใช้กฎหมายไทยตามพันธกรณีตามความตกลงอาเซียนทางด้านสิ่งแวดล้อมและพันธกรณีตามความตกลงสิ่งแวดล้อมพหุภาคี (MEAs) วิเคราะห์กลไกบังคับใช้กฎหมายไทยและกลไกระงับกรณีพิพาททางด้านสิ่งแวดล้อมตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงอาเซียนทางด้านสิ่งแวดล้อมของประชาคมอาเซียนเปรียบเทียบกับสหภาพยุโรป รวมทั้งเสนอแนะนโยบายและมาตรการเพื่อพัฒนาปรับปรุงกฎหมายไทยในการอนุวัติตามความตกลงอาเซียนทางด้านสิ่งแวดล้อมให้มีการบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผลในบริบทของประเทศไทยและประชาคมอาเซียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสารในการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กับวิธีการประชุมสนทนากลุ่มย่อยในการรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานและผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งมีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยจำนวน 27 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ (2) กลุ่มหน่วยงานภาคเอกชน และ (3) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิภาควิชาการ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการตรวจสอบแหล่งข้อมูลแบบสามเส้า ในการเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้ง 3 กลุ่มตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา วิเคราะห์เชิงตรรกวิทยา และการวิเคราะห์เปรียบเทียบเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายไทยตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงอาเซียนทางด้านสิ่งแวดล้อม กลไกบังคับใช้กฎหมาย และกลไกระงับข้อพิพาทสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผลในบริบทของประเทศไทยและประชาคมอาเซียน รวมทั้งยังได้จัดการประชุมสัมมนาวิชาการเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงสรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะให้มีความถูกต้องและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทยได้ดำเนินการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงอาเซียนทางด้านสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาค และการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ความความร่วมมืออาเซียนทางด้านสิ่งแวดล้อมและความตกลงสิ่งแวดล้อมพหุภาคี (MEAs) หากเกิดปัญหาข้อพิพาทสิ่งแวดล้อมตามพันธกรณีก็ยังมีกลไกบังคับใช้กฎหมายภายในของประเทศไทยและสมาชิกอาเซียนอื่น กฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งกลไกระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงอาเซียนทางด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับภูมิภาคอาเซียน คือ กลไกระงับข้อพิพาทภายใต้กฎบัตรอาเซียน ค.ศ. 2008 และพิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียน ค.ศ. 2004 รวมทั้งกลไกระงับข้อพิพาทในระดับโลก เช่น กลไกระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ หรือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ</p> สุรพล ศรีวิทยา (Author) Copyright (c) 2024 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/3307 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700 การเมืองของขบวนการนักศึกษาเวียดนามใต้: ชาตินิยมอันหลากหลายในยุคสงครามเย็น https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/3832 <p>งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการเมืองของขบวนการนักศึกษาในเวียดนามใต้ในยุคสงครามเย็น และชาตินิยมที่ซับซ้อนและลื่นไหลจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคมของนักศึกษา งานวิจัยนี้ประกอบไปด้วย 3 ประเด็นหลักคือ พัฒนาการขบวนการนักศึกษาในเวียดนามใต้ การปลูกฝังและการจัดการศึกษาของรัฐบาลเวียดนามใต้กับความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา ตลอดจนความหลากหลายของกลุ่มขบวนการนักศึกษาที่มีผูกโยงกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคมนับตั้งแต่สาธารณรัฐเวียดนามถือกำเนิดขึ้น งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิทยาทางประวัติศาสตร์โดยใช้หลักฐานชั้นต้นและชั้นรองจากฝั่งเวียดนามและอเมริกาได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร บทกวี บทเพลงและข้อเขียนของนักศึกษาเวียดนามใต้ ในส่วนที่เป็นหลักฐานฝั่งอเมริกา ได้แก่ หนังสือพิมพ์และจดหมายที่บันทึกการตอบโต้ระหว่างนักศึกษาเวียดนามใต้และกลุ่มนักศึกษาในสหรัฐอเมริกา ผลการศึกษาพบว่าการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ยุคสาธารณรัฐที่ 1 ภายใต้รัฐบาลโงดิ่งห์เสี่ยมและสาธารณรัฐที่ 2 ภายใต้เหงวียนวันเถี่ยว การเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษามีความหลากหลายและซับซ้อนซึ่งไม่ได้เป็นไปเพื่อการต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองเป็นหลักขึ้นอยู่กับบริบทของระดับปัญหาทางการเมืองภายในที่เวียดนามใต้อยู่ในสภาวะความโกลาหลทางการเมืองรวมทั้งสภาวะสงครามที่เพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อรูปแบบการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาและการออกมาตรการในการตอบโต้โดยรัฐ ขบวนการนักศึกษามีอยู่หลากหลายกลุ่มทั้งที่ทำงานร่วมกับรัฐและต่อต้านรัฐ การเติบโตของขบวนการนักศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างมากภายใต้การเปิดเสรีเรื่องการศึกษาซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ชาตินิยมในหมู่นักศึกษาเวียดนามใต้มิใช่การจำกัดกรอบเพียงแค่การต่อต้านรัฐบาลและอเมริกา ทว่ายังหมายรวมถึงการพยายามสร้างชาติภายใต้สภาวะสงครามและต่อต้านรัฐบาลอำนาจนิยมด้วยการถกเถียงเรื่องการสร้างชาติ ความรักชาติ วัฒนธรรมแห่งชาติและต่างชาติ อย่างไรก็ตามหลังปี 1975 ขบวนการนักศึกษาเวียดนามไม่ได้มีบทบาททางการเมืองเช่นในยุคสงครามเย็น</p> มรกตวงศ์ ภูมิพลับ (Author) Copyright (c) 2024 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/3832 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700 การโอบรับเดธทิวิตี: ว่าด้วยการสำรวจภูมิทัศน์ความตาย ผ่านกิจกรรมในบริบทกรุงเทพร่วมสมัย https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/3013 <p>แม้ว่าคุณลักษณะหนึ่งของสังคมสมัยใหม่ คือ การเป็นสังคมปฏิเสธความตายที่การแพทย์และสถาบันทางศาสนาเข้ามามีอำนาจเหนือการตัดสินใจต่อความตายของปัจเจก ในบทความนี้ ผู้เขียนจะใช้แนวคิดของ Tony Walter ที่มองว่าแต่ละสังคมมีวิถีความตาย (Deathway) เฉพาะของตนที่เป็นผลมาจากปัจจัยและประวัติศาสตร์เชิงพื้นที่การศึกษาวิถีความตายของแต่ละท้องถิ่นจึงมีความสำคัญ ผู้เขียนสำรวจปรากฏารณ์การโอบรับกิจกรรมเรื่องตายในบริบทของสังคมเมืองสมัยใหม่ เช่น งานเทศกาลความตาย การจัดแสดงประติมากรรมเรื่องตาย และ คาเฟ่เรื่องตาย เป็นต้น เพื่อชี้ให้เห็นถึงนัยสำคัญของการโอบรับ “มรณิจกรรม” หรือ เดธทิวิตี (Deathivity) ของคนเมืองที่จะเปลี่ยนภูมิทัศน์ของความตายด้วยการประกอบสร้างความหมายใหม่ผ่านตัวแสดง คือ เทคโนโลยีดิจิทัล การทำให้เป็นสาธารณะ และการทำความตายให้เป็นกิจกรรมมากขึ้น ท้ายที่สุดแล้ว ผู้เขียนจะชี้ให้เห็นถึงรูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์ต่อความตายสมัยใหม่ (modern death) ซึ่งเป็นการจัดประกอบหรือเรียนรู้ความตายด้วยประสบการณ์ของปัจเจก ซึ่งอีกนัยหนึ่งคือการพยายามค้นหาความหมายและคุณค่าของการมีชีวิตทำให้การโอบรับอาสัญทนาการที่ปรากฏให้เห็นกลายเป็นพื้นที่ของการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลง (transformative space) หนึ่ง คือ พื้นที่ของการเติบโตภายใน และ สอง คือพื้นที่ของการเปลี่ยนผ่านภูมิทัศน์ความตายสู่กลไกของการกล่อมเกลา ถกเถียงและตั้งคำถามเรื่องตายที่สอดรับกับความเป็นสมัยใหม่มากยิ่งขึ้น ท้ายที่สุดแล้ว ผู้เขียนยังมองว่าแม้ภูมิทัศน์ความตายจะมีตัวแสดงใหม่เข้ามา แต่รากฐานที่ทำให้สังคมไทยไม่ได้เป็นสังคมปฏิเสธความตายอย่างสิ้นเชิง คือสองรากของความเปิดกว้างและการมีส่วนร่วม ที่ทำให้เดธทิวิตีกลายเป็นหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้เรื่องตายของสังคมสมัยใหม่</p> วรากร วิมุตติไชย, ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ (Author) Copyright (c) 2024 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/3013 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700 พลังแห่งการอดอาหารประท้วง: การอดอาหารประท้วงทำงานอย่างไร? https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/3313 <p>บทความนี้ศึกษาการอดอาหารประท้วง (hunger strike) ผ่านการรวบรวมและประมวลข้อค้นพบจากงานศึกษาต่าง ๆ บทความอภิปรายใน 3 ประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกัน ได้แก่ <em>ประการแรก</em> โต้แย้งต่อความเข้าใจที่ว่า การอดอาหารประท้วงจะทำงานได้ผลก็เฉพาะในบางเงื่อนไขอย่างการอดอาหารในบริบทประชาธิปไตยหรือการใช้การอดอาหารต่อผู้ที่รักในตัวผู้อดอาหาร <em>ประการที่สอง</em> เสนอว่าการอดอาหารประท้วงทำงานอย่างไร และ <em>ประการสุดท้าย</em> การสำรวจปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของการอดอาหารประท้วง บทความสำรวจภาพรวมกรณีการอดอาหารประท้วงสมัยใหม่เพื่อยืนยันว่า การอดอาหารประท้วงถูกใช้ในบริบทที่หลากหลาย รวมทั้งในเชิงผลลัพธ์การอดอาหารประท้วงอาจนำไปสู่การได้รับการตอบสนองข้อเรียกร้องแม้ภายใต้ระบอบเผด็จการ บทความเสนอว่า การอดอาหารประท้วงมีกลไกการทำงานที่สำคัญประกอบด้วย การระดมความสนใจในการสื่อสาร, การระดมการสนับสนุนและความเห็นอกเห็นใจ, การบีบบังคับ, และการเบี่ยงเบนสถานะ ความรับผิด เหล่านี้ทำให้การอดอาหารประท้วงยังคงทำงานได้แม้ถูกใช้ในบริบทที่ไม่เป็นประชาธิปไตยหรือใช้ต่อผู้ที่เห็นว่า ผู้อดอาหารเป็นศัตรู</p> เสกสิทธิ์ แย้มสงวนศักดิ์ (Author) Copyright (c) 2024 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/view/3313 Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700