การจัดทำคำอธิบายเอกสารจดหมายเหตุกลุ่มเอกสารส่วนบุคคลของเจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลพ สุทัศน์) พิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ สำนักงานศาลยุติธรรม
คำสำคัญ:
จดหมายเหตุ, เอกสารจดหมายเหตุ, เอกสารส่วนบุคคลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำคำอธิบายเอกสารจดหมายเหตุกลุ่มเอกสารส่วนบุคคลของเจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลพ สุทัศน์) พิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ สำนักงานศาลยุติธรรม การวิจัยเป็นการวิจัยเอกสาร ประชากร คือ เอกสารส่วนบุคคลของเจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลพ สุทัศน์) จำนวน 97 เรื่อง ประกอบด้วย การบริหารจัดการราชการภายในศาล เรื่องเบ็ดเตล็ดทั่วไป การประพฤติตนของผู้พิพากษา การย้ายผู้พิพากษา เรื่องคดีความ การพิจารณาเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง เรื่องร้องเรียนและบัตรสนเท่ห์ การฟ้องร้อง ผลการสอบไล่ของนักเรียนกฎหมาย ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ การศาลไทยที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการในตำแหน่งเสนาบดี เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลเอกสารระดับคอลเล็กชัน และระดับเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีพิจารณาทีละหัวข้อตามรายการของเอกสารส่วนบุคคลฯ และบันทึกรายละเอียดลงในแบบบันทึกข้อมูล โดยประยุกต์มาตรฐานสากลทั่วไปในการจัดทำคำอธิบายจดหมายเหตุ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 ผลการวิจัย พบว่า การจัดทำคำอธิบายเอกสารส่วนบุคคลของเจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลพ สุทัศน์) ในระดับคอลเล็กชัน ประกอบด้วย 7 ส่วน 26 หน่วยข้อมูล ได้แก่ 1) สัญลักษณ์หรือรหัสอ้างอิง 2) ชื่อกลุ่มเอกสาร 3) วัน เดือน ปี ของเอกสาร 4) ระดับคำอธิบายเอกสาร 5) ขนาดและปริมาณของเอกสาร 6) ชื่อผู้ผลิต/รวบรวมเอกสาร 7) ประวัติหน่วยงาน/ประวัติเจ้าของเอกสาร 8) ประวัติของเอกสาร 9) แหล่งที่ได้รับมอบ/รับโอนเอกสาร 10) ขอบเขตและเนื้อหาของเอกสาร 11) การประเมินคุณค่าการทำลายและการกำหนดอายุการเก็บเอกสาร 12) การเพิ่มขึ้นของเอกสาร 13) ระบบการจัดเรียงเอกสาร 14) เงื่อนไขการเข้าถึงเอกสาร 15) เงื่อนไขการทำสำเนาเอกสาร 16) ภาษา/ตัวอักษร 17) ลักษณะทางกายภาพและความต้องการทางด้านเทคนิค 18) สถานที่เก็บเอกสารต้นฉบับ 19) สถานที่เก็บเอกสารฉบับสำเนา 20) เอกสารที่เกี่ยวข้อง 21) ข้อความเกี่ยวกับการพิมพ์ 22) เครื่องมือช่วยค้น 23) หมายเหตุ 24) บันทึกของนักจดหมายเหตุ 25) กฎ ระเบียบ หรือแนวทางปฏิบัติ 26) วันเดือนปีที่จัดทำ และระดับเรื่อง ประกอบด้วย 5 ส่วน 15 หน่วยข้อมูล ได้แก่ 1) สัญลักษณ์หรือรหัสอ้างอิง 2) ชื่อกลุ่มเอกสาร 3) วัน เดือน ปี ของเอกสาร 4) ระดับคำอธิบายเอกสาร 5) ขนาดและปริมาณของเอกสาร 6) ขอบเขตและเนื้อหาของเอกสาร 7) การประเมินคุณค่า การทำลายและการกำหนดอายุการเก็บเอกสาร 8) เงื่อนไขการเข้าถึงเอกสาร 9) เงื่อนไขการทำสำเนาเอกสาร 10) ภาษา/ตัวอักษร 11) ลักษณะทางกายภาพและความต้องการทางด้านเทคนิค 12) หมายเหตุ 13) บันทึกของนักจดหมายเหตุ 14) กฎ ระเบียบ หรือแนวทางปฏิบัติ 15) วันเดือนปีที่จัดทำ ที่ใช้ในการจัดทำคำอธิบายเอกสารจดหมายเหตุส่วนบุคคลชุดนี้ โดยมีรายละเอียดครอบคลุมขอบเขตและเนื้อหาของเอกสารสามารถทำให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงเอกสารได้สะดวกซึ่งเป็นประโยชน์ในการอ้างอิงและเป็นมาตรฐานในการจัดทำคำอธิบายเอกสารจดหมายเหตุชุดอื่น ๆ ต่อไป
References
Baek, J. E. (2014). A Study on Feature Analysis of Archival Metadata Standards in the Records Lifecycle. Journal of the Korean Society for Library and Information Science. 48(3), 71-111. https://koreascience.kr/article/JAKO201431057370259.pdf
Chaichuay, W. (2013). Development of metadata outlines for managing inscriptions in images. Retrieved March 15, 2022. https://tise2015.kku.ac.th/drupal/sites/default/files/Witsapat-Chaichuay-fulltext.pdf. [In Thai]
Chaiphet, D. (2013). A special guide list to the record related to Phraya Rassadanupradit Mahissarapakdi. Retrieved June 29, 2019. https://sure.su.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/11205/fulltext. pdf?sequence=2&isAllowed=y [In Thai]
Charoenwattana, T. (2012). 130 years of the Court of Justice. Rapeepattanasak Research Institute. Office of the Court of Justice. [In Thai]
Churasri, S. (2012). The creation of archival description of the records of Prince Mahidol of Songkla in the national archives of Thailand. Retrieved December 11, 2017. http://www.sure.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/303 [In Thai]
International Council on Archives. (2000). ISAD (G): general international standard archival description: adopted by the Committee on Descriptive Standards, Stockholm, Sweden, 19-22 September 1999. Retrieved May 15, 2021. https://repositorieslib.utexas.edu/bitstream/handle/2152/14140/ISAD%28G%29.pdf?sequence=2&isAllowed=y
Kidpradub, R. (2021). The Creation of Archival Description of Personal Documents of Chao Phraya Abhai Raja Maha Yuttithammathorn (Mom Rajawongse Lop Suthat) at the Court Museum of Thailand and Archives, Office of the Judiciary. [Photo]. Sukhothai Thammathirat Open University. [In Thai]
Office of the Court of Justice. (2011). Traces of the history of Thai courts. Judiciary Resource Center Office of the Court of Justice. [In Thai]
Thanarataporn, J. (2002). Thai Court Museum. Dulphah Journal, 49(1), 18-25. [In Thai]
Virués-Ortega, J. (2011). A systematic archival inquiry on Juan Huarte de San Juan (1529–88). Retrieved July 2, 2021. https://www.researchgate.net/publication/254096496
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.