การชลประทานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว: มุมมองเชิงนโยบาย
คำสำคัญ:
ระบบชลประทาน, พัฒนาการระบบชลประทาน, ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสังคม, พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวบทคัดย่อ
บทความฉบับนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการชลประทานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะการศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายและข้อจำกัดของพัฒนาการชลประทานในช่วงเวลาดังกล่าว การศึกษาฉบับนี้อาศัยวิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่าการชลประทานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นการพัฒนาที่สืบเนื่องมาจากแผนโครงการชลประทานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและเริ่มมีการขยายโครงการไปนอกพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อย่างไรก็ตามการพัฒนาการชลประทานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประสบปัญหาขาดแคลนงบประมาณ การแบ่งทรัพยากรเพื่อดำเนินโครงการพัฒนาประเทศอื่น ๆ ในช่วงเวลาดังกล่าวยิ่งทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินโครงการชลประทาน สภาพการณ์ดังกล่าวดำเนินต่อเนื่องไปจนถึงหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 และสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
References
กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (ม.ป.ป.). การชลประทานคืออะไร. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
ธนพงศ์ จิตต์สง่า. (มิถุนายน 2563 - พฤษภาคม 2564). “คลองสรรพสามิตกับการพัฒนาการผลิตเกลือในสมัยรัฐบาลคณะราษฎร”. จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์. 65-87.
พอพันธ์ อุยยานนท์. (2558). เศรษฐกิจไทยในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 รักษาเสถียรภาพปูพื้นฐานการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
วีรวัลย์ งามสันติกุล. (2559). ประชาธิปกกาลสมัย ในกระแสธารประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี.
ศรัญญู เทพสงเคราะห์. (2553). กระบวนการกำหนดนโยบายที่ดินในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2475-2500. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
ศราวุฒิ วิสาพรม. (2556, มกราคม – เมษายน). 80 ปี การปฏิวัติสยาม 2475: ย้อนพินิจพรมแดนความรู้การปฏิวัติสยาม 2475 (อีกครั้ง). ว.สถาบันพระปกเกล้า. 11(1), 5-37.
สาโรจน์ แววมณี. (2541). กระบวนการปรับตัวขององค์กรชลประทานราษฎร์ต่อการเปลี่ยนแปลงการเกษตร: กรณีศึกษาฝายเหมืองใหม่ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการพัฒนาสังคม, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
สุนทรี อาสะไวย์ (2521). การพัฒนาระบบชลประทานในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2431 ถึง พ.ศ. 2493. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. กษ. 12 กรมทดน้ำ-กรมชลประทาน เล่มที่ 42/1665 เรื่อง รายงานประมาณการสกีมเชียงราก-บางเหี้ย สุพรรณบุรี นครนายก พายัพ สำหรับปี พ.ศ. 2470.
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.7 กษ.1/2 เรื่อง จัดราชการกระทรวงเกษตรเนื่องจากการตัดทอนงบประมาณให้เป็นดุลยภาพ. (23 มีนาคม 2468 – 7 มีนาคม 2474).
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.7 กษ.2/11 เปลี่ยนนามกรมทดน้ำเป็นกรมชลประทาน (16-20 มีนาคม 2470).
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.7 กษ. 9/6 ทดน้ำ หารือเรื่องโครงการชลประทาน. (5 เมษายน 2470 – 16 ธันวาคม 2474).
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.7 กษ. 9/2 ทดน้ำ และเรื่องขุดคลองป่าสักเหนือ. (25 พฤษภาคม 2466 – 11 พฤศจิกายน 2469).
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. สบ. 2.37/28 เอกสารส่วนพระองค์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง สะกีมการทดน้ำของกระทรวงเกษตร. (5 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2470).
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2) สร.020650/5 กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่อง จัดการบำรุงทางน้ำ. (16 มิถุนายน–24 กุมภาพันธ์ 2479).
องค์การสหประชาชาติ. (2565). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 6 น้ำสะอาด และสุขอนามัย. สืบค้น 28 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://thailand.un.org/th/sdgs/6
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.