การสร้างสรรค์นาฏกรรมบำบัดเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
นาฏกรรมบำบัด, ผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิต, นาฏศิลป์ไทย, ผ้าขาวม้าบทคัดย่อ
การสร้างสรรค์นาฏกรรมบำบัดเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ เป็นการศึกษา ค้นคว้า พัฒนาและปฏิบัติการแสดงเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ งานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ การสำรวจระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจำนวน 50 คน ด้วยแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย พบว่าผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตในด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสัมพันธภาพทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการทบทวนวรรณกรรมและทำการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมในกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อสร้างสรรค์โปรแกรมนาฏกรรมบำบัด โดยมีองค์ประกอบสำคัญ คือ บทเพลง ท่ารำและอุปกรณ์ประกอบการรำ ซึ่งโปรแกรมนี้มีการนำผ้าขาวม้ามาประกอบการทำนาฏกรรมบำบัดให้สอดคล้องกับบริบทของผู้สูงอายุ เมื่อนำโปรแกรมมาทำการศึกษานำร่องกับผู้สูงอายุจำนวน 6 คน ร่วมกับการสัมภาษณ์ พบว่าผู้สูงอายุทั้ง 6 คนมีความพึงพอใจระดับสูงสุด เนื่องจากโปรแกรมนาฏกรรมบำบัดเกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการพื้นฐานของผู้สูงอายุในพื้นที่ ผู้สูงอายุเกิดความภาคภูมิใจในตนเองที่ตนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อเป็นแนวทางในการดูแลรักษาสุขภาพกายและจิตของผู้สูงอายุ ยกระดับคุณภาพผู้สูงอายุในทุกมิติ อีกทั้งยังถือว่าเป็นแนวคิดในการพัฒนานาฏศิลป์ไทยเพื่อช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น และการสร้างผลงานใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ในชุมชนและสังคมต่อไป
References
ดวงจิตต์ นะนักวัฒน์. (2550). ปัจจัยที่มีต่อความสัมพันธ์ต่อการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
มานพ วิสุทธิแพทย์. (2556). ทฤษฎีการวิเคราะห์เพลงไทย. กรุงเทพฯ: สันติศิริการพิมพ์.
พิณธร ปรัชญานุสรณ์. (2548). ผลของนาฏกรรมบําบัดต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
สุวิมล ทาริวงศ์ และคณะ. (2564, กรกฎาคม – ธันวาคม). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้ายการรำวงย้อนยุค. ว.วิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 8(2), 49-67.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.
สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล และคณะ. (2556). “รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ” กลุ่มอนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: วัชรินทร์ พี.พี.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). “ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อ”. สืบค้น 22 กันยายน 2564, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/53235-
Motl, R. W., el al. (2001). Measuring enjoyment of physical activity in adolescent girls. American journal of preventive medicine, 21(2), 110-117.
Power M, Hanper A & Bullinger M. (2002). The World Health Organization. WHOQOL-100: tests of the universality of Quality of Life in 15 different cultural groups worldwide. Health Psychology, 18(5), 495-505.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.