ปรากฏการณ์วอชแบคของการสอบมาตรฐานความรู้ ภาษาจีนกลาง (HSK) ที่ส่งผลต่อการสอนและ การเรียนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในภาคเหนือของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จาง ฟาจื่อ สาขาวิชาการสอนภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สหัทยา สิทธิวิเศษ โปรแกรมวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • กุลสิรินทร์ อภิรัตน์วรเดช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

วอชแบค, การสอบมาตรฐานความรู้ภาษาจีนกลาง (HSK), การสอนและการเรียนภาษาจีน, ระดับอุดมศึกษาภาคเหนือของประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์วอชแบคของการสอบ HSK ที่ส่งผลต่อการสอนและการเรียนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในภาคเหนือของประเทศไทย และนำผลการศึกษาที่ได้มาเป็นข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนและการเรียนภาษาจีนให้กับอาจารย์และนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย งานวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เครื่องมือวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามปรากฏการณ์วอชแบคของการสอบ HSK ที่ส่งผลต่อการสอนของครูภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในภาคเหนือของประเทศไทย และ แบบสอบถามปรากฏการณ์วอชแบคของการสอบ HSK ที่ส่งผลต่อการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในภาคเหนือของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ อาจารย์สอนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในภาคเหนือของประเทศไทย จำนวน 30 คน และ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนที่เคยผ่านการสอบ HSK มาแล้วจำนวน 150 คน ใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า การทดสอบ HSK มีผลต่อการสอนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในภาคเหนือของประเทศไทย ด้านบวก (x̄ = 3.59 S.D = 0.61) มากกว่าด้านลบ (x̄ = 2.49 S.D = 0.32) ผลปรากฏการณ์วอชแบคต่อการเรียนรู้ภาษาจีนของนักศึกษาด้านบวกเช่นกัน (x̄ = 4.56 S.D = 0.37) มีมากกว่าด้านลบ (x̄ = 3.66 S.D = 0.38)

References

BUCK, G. (1988). Testing listening comprehension in Japanese university entrance examinations. JALT Journal, (10), 12-42.

Hughes.A. (1989). Testing for Language Teachers. Cambridge: Cambridge University Press.

Liu Qi, Fan Xiuying และ Liu Rui. (2020). The Washback Effect of HSK Level 4 Test on Chinese Teachers in Thailand. ว.วิชาการภาษาและวัฒนธรรมจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 7(2), 107-122.

Shen Yi & Yang Anfei. (2020) . Discussion on the Promotion Mode of HSK Test in Thailand. Retrieved 25 April 2022, from https://m.fx361.com/news/2020/1116/7226194.html

Shohamy, E. (1992). “Beyond proficiency testing: a diagnostic feedback testing model for assessing foreign language learning.” The Modern Language Journal, (6), 513-521.

Alderson, J. C., & Wall, D. (1993). Does Washback Exist?. Applied Linguistics, (14), 115-129.

Wang Xuelian. (2020). An investigation of the washback effect of the new HSK Level 3 test on Chinese learners in Kyrgyzstan. (Master of Teaching Chinese to Speakers of Other Languages). Xinjiang: Xinjiang University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31