กลไกของ "ละคร" หนึ่งศาสตร์ในธุรกิจบันเทิงมอบคุณค่าให้คนบันเทิง

ผู้แต่ง

  • ภัทรนันท์ ไวทยะสิน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ละคร, ธุรกิจบันเทิง

บทคัดย่อ

ละครหรือการแสดงเป็นหนึ่งแขนงในงานธุรกิจบันเทิงเป็นศาสตร์วิชาต้องอาศัย การทำงานร่วมกันไม่ใช่การสร้างสรรค์ผลงานแบบปัจเจกบุคคล ผู้สอนได้มองเห็นถึง กลไกสำคัญนี้จึงนาคุณลักษณะเฉพาะของงานละครมาใช้กับนักศึกษาในรายวิชาการแสดงเพื่อธุรกิจบันเทิงและรายวิชาการกำกับการแสดงเพื่อธุรกิจบันเทิงเพื่อเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างศักยภาพของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง นอกจากความคาดหมายหลักนี้ อาจารย์ผู้สอนมีจุดประสงค์รอง คือ การจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นบริการวิชาการแก่สังคม ตามศักยภาพกำลังและพลังจากนักศึกษา จึงจัดทำโครงการ สื่อสารการแสดงเพื่อเด็กและเยาวชนโดยนักศึกษาในรายวิชาดังกล่าวเป็นผู้สร้างสรรค์ทั้งหมด ทำให้เกิดการบูรณาการความรู้ในด้านการแสดง กระบวนการสร้างละครและการบริหารจัดการงานแสดงโดยนำศักยภาพของนักศึกษาไปใช้ในสถานการณ์จริง ซึ่งอาจารย์ผู้สอนทำหน้าที่เป็นศิลปิน-วิทยากร หรือผู้นำกิจกรรม (Facilitator) ควบคุมและให้คำแนะนำสาหรับการทำงานของนักศึกษาตามหลักการทำงานของละครประยุกต์ (Applied theatre)

References

กฤษรา (ซูไรมาน) วริศราภูริชา. (2551). งานฉากละคร 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ วี.พริ้นท์ (1991).

กุสุมา เทพรักษ์. (2550). เอกสารประกอบการบรรยายวิชาละครและการแสดงสำหรับ เด็ก. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาศิลปะการละคร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา.

ณัฐพล ปัญญโสภณ. (2552). การแสดง (Acting). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พรรัตน์ ดำรุง. (2550). การละครสำหรับเยาวชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรัตน์ ดำรุง. (2557). ละครประยุกต์การใช้ละครเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญา สมไพบูลย์ และษัณปการ แสงจันทร์. (2553). ละครชุมชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

Wilson, E. 1997. The Theatre Experience. New York : McxGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-30