วัจนกรรมการแสดงความไม่พอใจของนักศึกษาต่อผู้ปกครองและปัจจัยที่ผู้พูดคำนึงถึง

ผู้แต่ง

  • ชาญวิทย์ เยาวฤทธา สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

กลวิธีการแสดงความไม่พอใจ, วัจนกรรม, วัจนปฏิบัติศาสตร์, แนวปลดปล่อย, การจัดการความสัมพันธ์, ภาษาและวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาวัจนกรรมทำให้เข้าใจพฤติกรรมการสื่อสารของบุคคลในสังคมหนึ่ง ๆ ได้ เนื่องจากสะท้อนความคิดผ่านการเลือกใช้ถ้อยคำในปริบทสังคมและวัฒนธรรมของตนเอง ดังนั้น บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาที่นักศึกษาใช้แสดงความไม่พอใจต่อผู้ปกครอง ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงวัจนกรรมการแสดงความไม่พอใจ และศึกษาเหตุผลของการไม่แสดงวัจนกรรมการแสดงความไม่พอใจ โดยศึกษาตามแนวคิดวัจนปฏิบัติศาสตร์แนวปลดปล่อย (Emancipatory pragmatics) ร่วมกับแนวคิดการจัดการความสัมพันธ์ (Rapport management) ทั้งนี้ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ชุด ชุดละ 139 ฉบับ ซึ่งจำนวนดังกล่าวได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) สำหรับแบบสอบถามทั้ง 2 ฉบับ ได้แก่ 1.แบบสอบถามข้อมูลเบื้องต้น (ไม่ระบุชื่อและนามสกุล) และการเลือกแสดงหรือไม่แสดงวัจนกรรมการแสดงความไม่พอใจในสถานการณ์ต่าง ๆ 4 สถานการณ์ 2.แบบสอบถามที่ใช้ถามปัจจัยซึ่งมีผลต่อการเลือกใช้กลวิธีทางภาษา หลังจากนั้นสัมภาษณ์ข้อมูลเพิ่มเติมจากตัวแทนผู้ตอบแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีทางภาษาที่นักศึกษาใช้แสดงความไม่พอใจต่อผู้ปกครองปรากฏทั้งสิ้น 21 กลวิธีย่อย และ 1 กลวิธีเสริม โดยกลวิธีย่อยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามเจตนาในการสื่อสาร ได้แก่ 1. กลวิธีการแสดงความไม่เห็นด้วยกับการกระทำหรือความคิดของผู้ปกครองจำนวน 14 กลวิธีย่อย 2.กลวิธีการรักษาความสัมพันธ์จำนวน 4 กลวิธีย่อย 3.กลวิธีการแสดงผลกระทบจำนวน 3 กลวิธีย่อยนอกจากนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อกลวิธีทางภาษายังสัมพันธ์กับเรื่องหน้า (Face) และสิทธิทางสังคม (Sociality rights) ตามแนวคิดของ สเปนเซอร์ โอตทีย์ (Spencer-Oatey, 2002) ขณะที่เหตุผลของการไม่แสดงความไม่พอใจมีหลากหลาย แต่ที่ปรากฏและสะท้อนค่านิยมในสังคมไทยคือ เหตุผล “ผู้มีพระคุณ”

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2559). ครอบครัวกับวัยรุ่น. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาพัฒนาการวัยรุ่น หน่วยที่ 8-15. (น.8-1 - 8-58). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

คลี่ปมสังหารยกครัว 3 ศพ อึ้งคดีพลิกที่แท้ ‘ลูกชายคนโต’ มือฆ่า จ่อยิงพ่อแม่น้อง ฉุนกดดันหนัก ขอรถใหม่ไม่ให้. (2557, 11 มีนาคม). เดลินิวส์, น.1.

จำเนียร จวงตระกูล. (2553). การวิจัยเชิงคุณภาพ : เครื่องมือสร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ : ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล.

ฉลาด จันทรสมบัติ และทองสง่า ผ่องแผ้ว. (2555). การเขียนวิทยานิพนธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชาญวิทย์ เยาวฤทธา. (2555). แนวคิดเรื่อง “บุญคุณ” กับวัจนกรรม 3 ชนิดในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทรพีทำแผน 3 ศพ จ่อยิงเรียงหัวพ่อแม่น้อง อ้างถูกด่า-เบี้ยวซื้อรถให้ สำนึกผิดขอขมาหน้ารูป. (2557, 12 มีนาคม). ไทยรัฐ, น.1.

นววรรณ พันธุเมธา. (2551). ไวยากรณ์ไทย. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประชุม สุวัตถี. (2552). การสำรวจด้วยตัวอย่าง: การชักตัวอย่างและการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : โครงการส่งเสริมพัฒนาเอกสารวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เพ็ญแข วัจนสุนทร. (2528). ค่านิยมในสำนวนไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2556). หลักการสัมภาษณ์ในวงการบริหารการสื่อสารมวลชนและการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งอรุณ ใจซื่อ. (2549). วัจนกรรมการแสดงความไม่พอใจในภาษาไทย: กรณีศึกษานิสิตนักศึกษา. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัลภา สบายยิ่ง. (2559). สังคมกับวัยรุ่น. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาพัฒนาการวัยรุ่น หน่วยที่ 8-15. (น. 9-1 - 9-52). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิจิตรมาตรา, ขุน (สง่า กาญจนาคพันธุ์). (2541). สำนวนไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ส.เอเซียเพรส.

วิเชียร รักการ. (2529). วัฒนธรรมและพฤติกรรมของไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์. (2549). วัจนกรรมการตักเตือนในภาษาไทย: กรณีศึกษาครูกับศิษย์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภางค์ จันทวานิช. (2557). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อคิน รพีพัฒน์, ม.ร.ว. (2553). มองสังคมผ่านชีวิตในชุมชน. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

Hanks, W. F., Ide, S., & Katagiri, Y. (2009). Introduction: Towards an emancipatory pragmatics. Journal of Pragmatics, 41 (1), 1-9.

Hurford, J. R. & Heasley, B. (1990). Semantics: a coursebook. Great Britain : Cambridge University Press.

Spencer-Oatey, Helen. (2002). Managing rapport in talk: Using rapport sensitive incidents to explore the motivational concerns underlying the managementof relations. Journal of Pragmatics, 34, 529-545.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30