ความตระหนักทางจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมต่อการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเทศบาลเมืองพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • สุเนตร ทวีถาวรสวัสดิ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • อนุชัย ถนอมสินรัตน์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ณัฐกฤตา ยะโอษฐ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ความตระหนักทางจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม, การจัดการขยะมูลฝอย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตระหนักทางจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมของประชาชนและเปรียบเทียบความตระหนักทางจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอย เทศบาลเมืองพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 340 ชุดและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่า (t-test) และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) จากการวิจัยพบว่ากลุ่มของประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 41 - 50 ปี มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ มีรายได้ต่อเดือน 10,000 – 15,000 บาท มีระยะเวลาอาศัยอยู่ในชุมชนมากกว่า 20 ปี มีระดับความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชน และระดับของความตระหนักทางจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับปานกลางเมื่อวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ พบว่า ด้านการลดและคัดแยกขยะอยู่ในระดับมากด้านนำกลับมาใช้ใหม่และด้านการใช้ซ้ำอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการกำจัดอยู่ในระดับน้อย และตัวแปรที่มีผลต่อความตระหนักทางจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอย ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาอาศัยอยู่ในชุมชนที่นัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ดังนั้นควรจะส่งเสริมและให้ความรู้เพื่อให้เกิดความตระหนักในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเทศบาลเมืองพระประแดงตั้งแต่การกำจัดขยะมูลฝอย ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหลือใช้ภายในครัวเรือนเพื่อลดผลกระทบจากวิกฤติของปัญหาขยะมูลฝอยและจัดให้มีโครงการชุมชนน่าอยู่ในเทศบาลเมืองพระประแดง

References

Pollution Control Department. (2021). Information on the country’s Solid Waste Situation. Retrieved November 24, 2021. https://thaimsw.pcd.go.th/report1.php?year=2561. [In Thai]

Duangchan, K. (2018). Environmental Ethical Awareness of Solid Waste Management. Journal of Liberal Arts, Prince of Songkla University, 10(2), 438 - 479. [In Thai]

Phra Pradaeng Municipality. (2018). Report on the Solid Waste Situation of Phra Pradaeng Municipality. Retrieved June 16, 2018. www.phrapradaeng.org. [In Thai]

Pukjaroon, S. (2008). Relization of Environmental Ethics of Rajamangala University of Technology Phra Nakhon Students towards the Refuse Disposal Problem. Physic branch Factulty of Science and Technology Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. [In Thai]

Samut Prakran Province Statistical Office. (2018). Important indicators waste: Volume of Solid Waste. Retrieved June 16, 2018. https://province.nso.go.th/smprakan/statistical- information-service/key-indicators-of-the-province/amount-of-solid-waste.html. [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-04