การศึกษาการนำคุณธรรม 12 ประการมาพัฒนาการดำเนินชีวิต เน้นด้านคุณธรรม จริยธรรม และความกตัญญู : กรณีศึกษานิทานพื้นบ้านของจังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
นิทานพื้นบ้าน, คุณธรรม, จริยธรรม, การดำเนินชีวิตด้วยหลักคุณธรรม, ค่านิยม 12 ประการบทคัดย่อ
การศึกษา การนำคุณธรรม 12 ประการมาพัฒนาการดำเนินชีวิต เน้นด้านคุณธรรม จริยธรรม และความกตัญญู: กรณีศึกษานิทานพื้นบ้านของจังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศึกษาวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านด้านรูปแบบการนำเสนอคุณค่า ของนิทานพื้นบ้านและเพื่อศึกษาค่านิยมกลวิธีการอบรมเด็กด้านความกตัญญูและ ยังเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูและเผยแพร่นิทานพื้นบ้านของชน 4 เผ่าในจังหวัดศรีสะเกษ โดยยึดหลัก 12 ประการ ซึ่งอาศัยกรอบทฤษฎีเอกกำเนิด (Monogenesis Theory) มาพิจารณา พบว่า นิทานทั้ง 40 เรื่องจาก 4 เผ่า ไม่สอดคล้องกับทฤษฎีเอกกำเนิด (Monogenesis Theory) ซึ่งผู้วิจัยได้เอามาเป็นแนวทางโดยปรากฏว่ามีส่วนน้อยที่จะเป็นแหล่งกำเนิดเดียวกัน กล่าวคือ นิทานทั้ง 40 เรื่องแตกต่างในหลากที่มาและแหล่งกำเนิด คงมีที่ใกล้เคียงกันมากคือนิทานจากบ้านหนองคู ซึ่งเป็นเผ่าลาวมีความชิดเชื้อใกล้ประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศลาวนั่นเอง ส่วนอีก 3 เผ่า กลับมีทิศทางในการเล่านิทานแปลกแตกต่างกันไปในส่วนรูปแบบการนำเสนอ พบว่า นิทานทั้ง 40 เรื่อง มีกลวิธีการเล่าเรื่องและการดำเนินเรื่องแตกต่างกันหากแต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันนั่นคือ การมุ่งเน้นด้านคุณธรรม จริยธรรม และความกตัญญู ในส่วนของค่านิยม 12 ประการตามสภาพสังคมถือได้ว่ามีครบทั้ง 40 เรื่อง ทั้งนี้เพราะหลายเรื่องแทรกด้านคุณธรรม จริยธรรม และความกตัญญูแตกต่างกัน ออกไป อย่างไรก็ตามนิทานทั้ง 40 เรื่องยังสอดคล้องตามแนวทาง 12 ประการที่รัฐบาลมุ่งชูแม้สภาพแวดล้อมในปัจจุบันจะเหลื่อมล้ำและสวนทางกับความเป็นจริงและประเด็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูและเผยแพร่นิทานพื้นบ้านของชน 4 เผ่าในจังหวัดศรีสะเกษ ครั้งนี้ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นของการรวบรวมและเผยแพร่ในอนาคต อย่างไรก็ตาม จำนวนนิทานทั้ง 40 เรื่องของ 4 เผ่าใน 4 หมู่บ้านของจังหวัดศรีสะเกษ ถือเป็นมรดกอันล้ำค่าของชาวไทย โดยเฉพาะชาวอีสานในปัจจุบันที่สมควรรักษาไว้ในสืบนานเท่านาน ด้วยเพราะเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญยิ่งในภาพสะท้อนวิถีชีวิตของชาวอีสานสมัยก่อนได้ดียิ่ง
References
กนกรัตน์ ตั้งสุขเกษมสันต์. (2552). การผลิตหนังสือนิทานพื้นบ้านเพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กด้อยโอกาส จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2518). คติชาวบ้าน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จารุบุตร เรืองสุวรรณ. (2520). วรรณกรรมพื้นบ้านภาคอีสาน. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.
เจือ สตะเวทิน. (2517). คติชาวบ้าน. กรุงเทพฯ : สุทธิสารการพิมพ์.
ธวัช ปุณโณทก. (2543). วิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นเชิงเปรียบเทียบ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประมวล พิมพ์เสน. (2547). นิทานพื้นบ้านอีสาน 2. ขอนแก่น : ศูนย์การถ่ายทอดภูมิปัญญาไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น.
ประยูร ทรงศิลป์. (2542). การศึกษาวิเคราะห์ตำนานและนิทานพื้นบ้านเขมรภาคที่ 1-9 ว่าด้วยเรื่องนิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏธนบุรี.
เรไร ไพรวรรณ์. (ม.ป.ป.). ว่าด้วยเรื่องนิทานพื้นบ้าน. ค้นเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2558. จาก http://www.thaifolk.com/Doc/literate/tales/importance.htm
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2546). ประวัติศาสตร์สังคม-วัฒนธรรมของภาษาและวรรณคดีในสยามประเทศ. กรุงเทพฯ : มติชน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.