บทบาทชมรมมุสลิมในสถาบันอุดมศึกษาต่อปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
บทบาท, ชมรมมุสลิม, ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาบทบาทของชมรมมุสลิมในสถาบันอุดมศึกษาต่อปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 2.ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อบทบาทของชมรมมุสลิมในสถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ผู้วิจัยหาคำตอบโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม โดยมีคณะกรรมการชมรมและอาจารย์ที่ปรึกษาชมรมเป็นผู้ให้ข้อมูลหลักจากการศึกษาพบว่า บทบาท มี 2 รูปแบบ คือ 1.บทบาทเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์ของมุสลิม การเป็นตัวเชื่อมระหว่างองค์กรในสังคมและนอกสังคมมุสลิม การกล่อมเกลา และการเป็นบ้านหลังที่สองของสมาชิก 2.บทบาทเชิงรุนแรง ได้แก่ การชุมนุมประท้วง การปกป้องและเรียกร้องสิทธิอย่างเคร่งครัดการเผยแพร่ข้อมูลไม่เหมาะสมผ่านสื่อออนไลน์ ส่วนปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการแสดงบทบาทมาจาก 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายใน ได้แก่ ภูมิหลังและภาวะผู้นำของคณะกรรมการชมรม กฎระเบียบของสถาบัน ปัจจัยภายนอก ได้แก่ บริบทสังคมวัฒนธรรม และสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
References
ะทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2555). สถานการณ์ความรุนแรงชายแดนใต้. ค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2558. จาก http://www.msociety.go.th/article_attach/ 9888/14490.pdf
คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ. (2549). รายงานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ: เอาชนะความรุนแรงด้วยพลังสมานฉันท์. กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
จารุพร เพ็งสกุล. (2545). ความคาดหวังของผู้นำชุมชนต่อบทบาทนักพัฒนาในการสร้างเสริมความเข้มแข็งแก่ชุมชนพื้นที่การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤตภาคใต้. วิทยานิพนธ์พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทองอินทร์ วงศ์โสธร. (2540). ประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 1 - 4. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2556). สุขภาพคนไทย 2556 : ปฏิรูปประเทศไทย ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ เพิ่มพลังพลเมือง. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2545). การแสวงหาและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้นำของผู้บริหารมืออาชีพ : กรณีผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สุวีรยาสาสน์
สมาชิกชมรมมุสลิมสายสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. (สัมภาษณ์, 28 สิงหาคม 2558)
สรวุท ชวนะ. (2550). ทหารกับการแก้ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ภาคนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการสาธารณะสำหรับนักบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ. (2553). รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่องสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้และแนวทางแก้ไขเชิงรุก. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักส่งเสริมและพิทักษ์เยาวชน. (2552). โครงการมหาวิทยาลัยรวมใจเพื่อสร้างความสงบใน 3 จังหวัดใต้ (ยุวชนดาวะห์และ อิหม่ามน้อย). กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและพิทักษ์เยาวชน.
สุวรา แก้วนุ้ย และสุภาภรณ์ พนัสนาชี. (2555). สถานการณ์เด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ : 11 ปี ของเด็กและเยาวชนในวังวน. ค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2558. จาก http://www.deepsouthwatch.org//node/6656
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.