การประยุกต์ใช้ตำนานในสังคมไทยร่วมสมัย: กรณีศึกษาคณะพุทธนครธรรม จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • วริศรา อนันตโท คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, ตำนาน, คติชนสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาการนำตำนานมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน กรณีศึกษาคณะพุทธนครธรรม จังหวัดลำพูน ผลการศึกษาพบว่า คณะพุทธนครธรรมจังหวัดลำพูน ได้นำตำนานพระนางจามเทวีมาประยุกต์ทั้งด้านเนื้อหาและการใช้ด้านเนื้อหาพบว่ามีการเพิ่มสถานที่และตัวละครแตกต่างจากตำนานศาสนาส่วนด้านการใช้พบว่ามีการนำเสนอตำนานพระนางจามเทวีโดยการใช้สื่อสมัยใหม่ นอกจากนี้คณะพุทธนครธรรมยังได้สร้างชุดความคิดเกี่ยวกับพระนางจามเทวีชุดใหม่ซึ่งมีผลต่อความทรงจำเกี่ยวกับตำนานพระนางจามเทวีของคนในสังคมด้วยกลวิธีการสร้างวัตถุทางศาสนาและสถานที่ต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่เพื่อให้สอดรับกับตำนานพระนางจามเทวีสำนวนของตน ทำให้ตำนานพระนางจามเทวีสำนวนพุทธนครธรรมเป็นรูปธรรมและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีการเลือกนำเสนออัตลักษณ์ของกลุ่มในด้านการเป็นผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเพื่อให้แตกต่างจากกลุ่มคนทรงพระนางจามเทวีกลุ่มอื่น ๆ ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มของผู้ที่ศรัทธาในวงกว้าง จนทำให้มีการนำพระนางจามเทวีมาเป็นสัญลักษณ์ในนามพุทธนครธรรมในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้นับถือ กล่าวได้ว่าการประยุกต์ใช้ตำนานพระนางจามเทวีของคณะพุทธนครธรรมดังกล่าว ทำให้คณะพุทธนครธรรมมีตัวตนและมีพื้นที่ทางสังคม หากพินิจในแง่คติชนสร้างสรรค์ แสดงให้เห็นการนำเรื่องเล่าหรือตำนานเกี่ยวกับ “เจ้านาย” ในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมาสร้างสรรค์และปรับใช้ในบริบทศาสนาและความเชื่อของสังคมไทยปัจจุบัน

References

แก้ว อัมรินทร์. (2554). เกร็ดพระราชประวัติพระนางจามเทวี. กรุงเทพฯ : โอเชี่ยนบุคมาร์ท.

แก้ว อัมรินทร์. (2556). เกร็ดพระราชประวัติพระนางจามเทวี ภาค 2. กรุงเทพฯ : คอมม่าดีไซน์แอนด์พริ้นท์.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2537, สิงหาคม). ลัทธิพิธีเจ้าแม่กวนอิม. ว.ศิลปวัฒนธรรม. 15(10), 78-106.

พระพุทธพุกามและพระพุทธญาณ. (2519). ตำนานมูลศาสนา. กรุงเทพฯ : เสริมวิทย์บรรณาคาร.

พระโพธิรังสี. (2554). จามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา.

พิเชฐ สายพันธ์. (2539). นาคาคติ อีสานลุ่มน้ำโขง: ชีวิตทางวัฒนธรรมจากพิธีกรรมร่วมสมัย. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัตนปัญญาเถระ. (2510). ชินกาลมาลีปกรณ์. แสง มนวิทูร, ผู้แปล. พระนคร : มิตนราการพิมพ์.

วริศรา อนันตโท. (2559). ภาพซีดีรวมพระโอวาทธรรมของพระนางจามเทวี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วริศรา อนันตโท. (2559). ภาพเสื้อพระนางจามเทวีของคณะพุทธนครธรรมจำหน่ายเพื่อใส่ในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วริศรา อนันตโท. (2559). ภาพรูปเคารพเจ้าแม่กวนอิมและพระนางจามเทวีเคียงคู่กันและพระแก้วขาวเสตังคมณี ที่วัดศรีบุญเรือง จังหวัดลำพูน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ศิราพร ณ ถลาง. (2552). ทฤษฎีคติชนวิทยา วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนานนิทานพื้นบ้าน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิราพร ณ ถลาง. (2558). เรื่องเล่าพื้นบ้านไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ศิราพร ณ ถลาง. (2559). คติชนสร้างสรรค์ : บทสังเคราะห์และทฤษฎี. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ศิริพร ภักดีผาสุข. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์และแนวทางการนำมาศึกษาภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2559). นางนาค. ใน พลังผู้หญิง แม่เมีย และเทพสตรี : ความจริง และภาพแทน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สุชีพ ปุญยานุภาพ. (2511). ประวัติศาสตร์ศาสนา. พระนคร : โรงพิมพ์บำรุงสาส์น.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2527). พัฒนาการชีวิตและวัฒนธรรมล้านนา. เชียงใหม่ : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30